กระทู้ล่าสุดของ: smbnetwork_24

Advertisement


  แสดงกระทู้
หน้า: [1]
1  Sitemap SMB / สาระน่ารู้ของรถยนต์ / มารู้จัก "ชนิดของสีพ้นรถยนต์" กันไหมครับ เมื่อ: สิงหาคม 23, 2011, 03:42:24 pm

 

 
ในหลายๆครั้งที่นายทีได้แนะนำเทคนิคการซ่อมแซมภายนอกรถยนต์ไปแล้วบ้าง ซึ่งหลายๆบาดแผลนั้นก็ต้องการการปกปิดร่องรอยโดยสีรถยนต์นั้นก็ต้องมีเอี่ยวอยู่เสมอ แต่บางครั้งเพื่อนๆอาจไม่ทราบกันว่าสีรถยนต์จริงๆนั้นมีกี่ประเภท และเวลาเลือกใช้ให้ถูกนั้นทำยังไง สีไหนทนทานกว่ากัน มาทางนี้เลยครับนายทีมีคำตอบรออยู่แล้วครับ
 
 
 
 
สีประเภทแรกที่เรานั้นเจอะเจอกันตั้งแต่ถอยลูกรักออกมาจากศูนย์ใหม่ๆ ก็คือสี OEM Paint หรือสีที่พ่นมาจากโรงงานครับ สี EOM นั้นมีอีกชื่อหนึ่งว่า สีอบ (Bake Paint) ก็ตามชื่อเลยครับ เพราะว่าสีชนิดนี้ต้องผ่านการอบด้วยอุณหภูมิสูงจากโรงงาน ความร้อนก็ราวๆ 120-170 องศาเซลเซียส โดยเมื่อสีแห้งตัวแล้วชั้นสีจะมีความทนทานสูง มีการยึดเกาะของสีที่ยอดเยี่ยม ให้ความเงางามที่ดี ไม่ซีดจางง่าย ทนแดดทนฝน ทนการกัดกร่อนของน้ำมันดีเซลและเบนซิล ทนความเย็นต่ำสุดได้ที่ -30 องศาเซลเซียส และทนความร้อนสูงสุดได้ที่ 90 องศาเซลเซียส ซึ่งรวมๆก็คือสีจากโรงงานคือสีที่ทนทานที่สุดครับ
 
 
 
 
ทีนี้เรามาดูสีอีกประเภทหนึ่งกันบ้าง ที่เรียกกันว่า สีซ่อม (Refinish Paint) เป็นสีที่ใช้ในการซ่อมแซมสีรถดั้งเดิม โดยหลักๆนั้นจะแยกย่อยได้อีก 2 คณะ เอ๊ย! 2 ประเภทนั้นก็คือ สี 1K และ สี 2 K เรามาดูกันดีกว่าครับว่าสองตัวนี้แตกต่างกันอย่างไร
 
 
 
 
คือสีที่มีส่วนประกอบของตัวสีเพียงอย่างเดียว ในการใช้งานนั้นอาจจะใช้ผสมกับสารทำละลาย(Solvent) เพื่อใช้ในการเจือจางสี โดยปกติสี 1K นี้จะเรียกกันว่า สีแห้งเร็ว โดยสี 1K จะมีด้วยกันหลักๆคือ 3 ชนิดโดยไล่จากการพัฒนาการจาก สี 1K ซินเทติค (1K Synthetic) > สี 1K ไนโตรเซลลูโลส (1K Nitrocellulose) > สี 1K อะคริลิค (1K Acrylic) เมื่อก่อนนั้นสี 1K เป็นสีประเภทเดียวที่นิยมใช้กัน เพราะมีต้นทุนที่ต่ำ แห้งเร็วซึ่งพ่นแล้วรอรับรถได้ไม่เกิน 1 วัน โดยในปัจจุบันนี้ตามอู่ทั่วไปมักไม่ได้นิยมใช้สี 1K กันแล้ว เพราะคุณสมบัติหลายๆเช่น ความเงางามนั้นอยู่ได้เพียง 1-3 ปี (ทั้งนี้ขึ้นกับการดูแล) ความทนทานน้อยไม่ทนต่อทินเนอร์ น้ำมันเบนซิน/ดีเซล น้ำมันเบรก และถ้าหากโดนทินเนอร์โดยตรงอาจจะทำให้สีนั้นหลุดร่อนได้เลย
 
 
 
 
สีน้องใหม่ที่จะมาทดแทนรุ่นพี่อย่าง 1K คือ สี 2K นั่นเองครับ สี 2 K (สีแห้งช้า) คือสีที่มีส่วนประกอบด้วยกัน 2 ส่วนประกอบคือ ตัวเนื้อสีที่มีส่วนผสมเรซิน (Resin) เพื่อจะทำปฏิกิริยากับส่วนประกอบที่ 2 คือและตัวเร่งปฏิกิริยาหรือ Hardener ซึ่งตัวเร่งนี้จะมีหน้าที่ทำปฏิกิริยาเรซินในเนื้อสี ทำให้สีนั้นมีความแห้งตัว มีคุณสมบัติที่ยึดเกาะสูง ทนน้ำมัน ทนเบนซินและดีเซล ทนต่อแดดจัดๆได้ดีคล้ายกับสีชนิด OEM รวมทั้งสีไม่ซีดจางง่าย ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ 2K มี แต่ 1K ไม่มี
 
 
 
 
โดยสี 2K นั้นโดยรวมอาจจะยุ่งยากในการปฏิบัติงาน แถมต้องรอนานกว่าสี 1 K แต่ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาดีนะครับ โดย 2K นั้นให้ความเงางามสูง อายุการใช้งานนั้นยืดยาวกว่า 5 ปี ดูแลและรักษาง่าย ในการพ่นสี 2K นั้นเมื่อตัวสีแห้งดีแล้วจะไม่มีความมันเงาต้องใช้การพ่นเคลียทับหน้า (Clear Coat) โดยสามารถใช้ได้ทั้งสี Metallic , Pearl และ Solid ครับ
 
 
 
เพราะว่างานซ่อมสีหลายๆครั้งที่นายทีได้นำเสนอไป ก็ต้องใช้ความรู้พื้นฐานเช่นนี้มาเป็นตัวตัดสินใจในการเลือกใช้สี ซึ่งก็ส่งผลต่อความเนียน,ความเงางาม,และความคงทนของสีแก่บอดี้รถเพื่อนๆ ก็อย่างว่าแหล่ะครับ พื้นฐานดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
 
 

 



ที่มา : carsociety24.com[/b][/size]
2  Sitemap SMB / สาระน่ารู้ของรถยนต์ / ทำไมต้องตั้ง " ศูนย์ถ่วงล้อ " เมื่อ: สิงหาคม 22, 2011, 06:03:01 pm
[html]

 

 
หากพูดถึงระบบข่วงล่างหลายท่านคงจะเคยขับรถผ่านและพบเห็นอย่างชินตากับร้านที่เขียนว่า เช็คช่วงล่าง ตั้งศูนย์ถ่วงล้อ เบรค-คลัทช์ ใช่ไหมครับ เพราะว่ามีเยอะพอๆกับร้านบะหมี่เกี๊ยวที่เห็นกันทั่วไปเลยหละครับ แต่หลายท่านอาจจะสงสัยว่าการตั้งศูนย์ล้อเค้าตั้งอะไร ตั้งตรงไหน แล้วทำไมต้องตั้งศูนย์ วันนี้นายทีจะมาอธิบายเรื่องการตั้งศูนย์ล้อให้ผู้อ่านที่สงสัยได้เข้าใจกัน รวมถึงวิธีสังเกตุด้วยตนเองว่าเมื่อไหร่ต้องเข้าไปตั้งศูนย์ล้อ
 
 
 
 
ก่อนอื่นต้องขออธิบายก่อนว่าที่ต้องตั้งศูนย์ล้อนั้นไม่ใช่เพราะว่ารถเค้าตั้งมาไม่ดีนะครับ แต่การที่ศูนย์ล้อผิดเพี้ยนไปจากเดิมหรือค่ามาตรฐานที่ผู้ผลิตตั้งมานั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจเกิดจากการขับขี่ของผู้ขับขี่เองเช่นขับไปตกหลุมอย่างแรง หรืออาจจะเกิดการคลายตัวของตัวตั้งมุมล้อก็เป็นได้ ทีนี้แล้วเมื่อไหร่เราถึงจะรู้ว่าเราควรเข้าไปตั้งศูนย์ล้อ ก็ให้สังเกตุโดยการหาถนนที่เป็นทางตรง และเรียบไม่ลาดเอียง ลองขับแล้วปล่อยมือจากพวงมาลัยแล้วสังเกตุดูว่ามีอาการกินไปทางซ้าทางขวาหรือไม่ ถ้าปล่อยมือแล้วรถกินข้างใดข้างหนึ่งอย่างรวดเร็วนั่นคือมันศูนย์เพี้ยนมาก ควรรีบไปตั้งศูนย์ใหม่ อีกวิธีก็ให้สังเกตุอาการเวลาเข้าโค้งว่ามีอาการดื้อโค้งหรือท้ายปัด หรือเค้าโค้งซ้ายและโค้งด้านขวามีอาการไม่เหมือนกัน อีกวิธีก็ให้สังเกตุพวงมาลัยว่าตรงหรือไม่ แต่วิธีทั้งหมดนี้อาจจะสังเกตุได้ยากสำหรับบางท่านและอาจจะไม่แน่นอนเหมือนเครื่องจับศูนย์ล้อที่วัดผลเป็นดิจิตอล ดังนั้นจึงควรหมั่นไปตั้งศูนย์ล้อทุกๆ2-3เดือนก็จะดีกว่า เพราะถ้าศูนย์ล้อเพี้ยนแล้วปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการแก้ไขนอกจากจะขับขี่ไม่ดีและไม่ปลอดภัยแล้วยังจะทำให้ยางสึกไม่เท่ากันเป็นเหตุให้ต้องเปลี่ยนยางก่อนกำหนดเป็นการสิ้นเปลืองอีกด้วยครับ
 
 
 
 
คราวนี้เมื่อเราเข้าไปร้านตั้งศูนย์ถ่วงล้อแล้วเข้าตั้งอะไรบ้าง นายทีจะอธิบายให้ฟังไว้เพื่อเป็นเกร็ดความรู้ไว้เพื่อจะได้เข้าใจถึงระบบช่วงล่างไปด้วยเลย
 
 
 
 
การตั้งศูนย์หลักๆแล้วจะตั้งอยู่สามมุมก็คือ
1.มุมแคมเบอร์ ก็คือเป็นมุมที่เรามองจากด้านหน้ารถหรือหลังรถแล้วมองดูว่าล้อแบะเข้าหรือแบะออก อธิบายชัดๆเข้าไปอีกก็คือถ้าล้อด้านบนที่ไม่ติดพื้นเอียงเข้ามาหากันและล้อส่วนที่ติดพื้นนั้นเอียงตัวออกจากกันเราจะเรียกว่ามุมแคมเบอร์เป็นลบจะเห็นมากในรถโหลดและรถแข่งที่จะตั้งมุมล้อทั้งสี่ล้อที่ลบมากๆเป็นพิเศษเพื่อบังคับรถได้ง่ายเพื่อให้มีการเกาะถนนที่ดีและการเข้าโค้งที่ดี การตั้งมุมล้อแบบนี้ยางจะกินด้านในเพียงอย่างเดียว โดยมากรถใช้งานทั่วๆไปจะตั้งค่าเป็น0หรืออย่างมากก็ไม่เกิน-2
 
 
 
 
แต่ถ้าล้อด้านที่ไม่ติดพื้นแยกห่างออกจากกัน และล้อด้านที่ติดพื้นนั้นทำมุมเข้าหากันเราจะเรียกว่ามุมแคมเบอร์ล้อเป็นบวก
 
 
 
 
มุมต่อมาก็คือมุมโทอิน (Toe-in) และมุมโทเอ้าท์ (Toe-out) ก็คือถ้าเรามองจากด้านบนหลังคารถลงไปหรือTop View แล้วล้อที่อยู่ทางด้านหน้าสุดของทั้งสองข้างทำมุมเข้าหากันเราจะเรียกว่าโทอิน (Toe-in) แต่ถ้าด้านหน้าสุดของล้อกางออกจากกันแล้วด้านหลังสุดของล้อเข้าหากันเราเรียกว่าโทเอ้าท์ (Toe-out) โดยมากรถใช้งานทั่วไปจะตั้งเป็นกลางหรือเป็น0 หรือบวกลบไม่เกิน1-2 จะมีที่ตั้งกันแบบที่ล้อหน้าตั้งให้เป็นโทอินลบมากๆ และตั้งให้ล้อหลังนั้นบวกมากๆ วิธีนี้เป็นวิธีการปรับมุมโทที่ผิดมากๆ เพราะท้ายรถจะไม่เกาะถนนและท้ายรถจะไวมากๆ ซึ่งนั่นก็เหมาะกับรถดริ๊ฟซึ่งต้องการให้ท้ายนั่นปัดได้ง่ายที่สุด
 
 
 
 
มุมที่สามมุมสุดท้ายก็คือมุมแคสเตอร์ มุมแคสเตอร์ (Caster angle) คือมุมการวางตำแหน่งล้อ เมื่อมองจากด้านข้างตัวรถ เข้าไปหาตัวรถ มุมแคสเตอร์ จะเป็นมุมของแกนหมุนเลี้ยว ที่เอียงจากแนวดิ่งไปตามแนวยาวของรถ เมื่อแกนหมุนเลี้ยวส่วนบน เอียงไปทางด้านหลังรถ มุมแคสเตอร์ จะมีค่าเป็นบวก (Positive) ในทางตรงข้าม ถ้าแกนหมุนเลี้ยวส่วนบนเอียงไปทางด้านหน้ารถ มุม แคสเตอร์จะมีค่าเป็นลบ (Negative)
 
 
 
 
ทั้งหมดนี้ก็เป็นการตั้งมุมล้อที่เวลาเราเข้าไปที่ร้านตั้งศูนย์ล้อเค้าตั้งให้กับเรา อ้อแต่นายทีลืมบอกไปว่าปกติในรถทั่วไปที่ไม่ได้มีการปรับแต่งหรือได้เพิ่มอุปกรณ์พิเศษเพื่อให้สามารถปรับแต่งได้ก็จะไม่สามารถปรับได้ทั้งหมด แต่ไม่เป็นไรหรอกครับเพราะรถปกติที่เราใช้กันอยู่ก็มีตัวปรับมาให้เหมาะสมกับรถแต่ละรุ่นอยู่แล้วครับ แต่ที่สำคัญก็คืออยากให้ผู้ใช้รถได้หมั่นสังเกตุการขับขี่ว่าปกติหรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจก็หมั่นตรวจเช็คระบบช่วงล่างบ่อยๆรวมถึงการตั้งศูนย์ล้อด้วย เพื่อการควบคุมรถที่ดีและก็เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเองยังไงละครับ
 

 


[/html]


เข้ามาดูข้อมูลอีกมากมายได้ที่
ที่มา : carsociety24.com[/b][/size]
3  Sitemap SMB / สาระน่ารู้ของรถยนต์ / การดูแลรักษารถของท่านด้วยตนเอง สำหรับ&# เมื่อ: สิงหาคม 22, 2011, 03:59:59 pm
การดูแลรักษารถของท่านด้วยตนเอง

 

การดูแลรักษารถด้วยตนเองที่นำเสนอนี้ เป็นแนวทาง ทั่วๆไป ที่เน้นหนักไปที่รถ TOYOTA แต่สำหรับรถยี่ห้ออื่นก็สามารถ  นำไปเป็นแนวทางปฏิบัติได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าสิ่งที่นำเสนอนี้ต่างไปจากหนังสือคู่มือรถ ก็ขอให้ยึดถือข้อมูลในหนังสือคู่มือเป็นหลัก

รายการที่ควรตรวจเช็ค 
1. น้ำหล่อเย็น ควรตรวจเช็คระดับน้ำหล่อเย็นให้อยู่ในระดับ Full อยู่เสมอ โดยตรวจเช็คในขณะที่ดับเครื่องและเครื่องเย็น ถ้าระดับน้ำลดลงเป็นปริมาณมากก็อาจ จะมีปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นได้ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องพิจารณาหาสาเหตุ หรือนำรถเข้าศูนย์บริการ เพื่อตรวจเช็คสาเหตุ (อย่าลืมเติมน้ำก่อนนำรถไป) 
2. ระดับน้ำมันเครื่อง การตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่องอุ่นเครื่องยนต์จนถึงอุณหภูมิทำงานแล้วดับเครื่องเช็คระดับน้ำมันเครื่องโดยใช้ก้านวัดระดับน้ำมันเครื่อง 

     - เพื่อให้การตรวจเช็คถูกต้อง รถควรอยู่ในแนวระดับเครื่องยังร้อน และทำการวัดหลังจากดับเครื่อง 2-3 นาที          เพื่อให้น้ำมันเครื่องไหลกลับลงด้านล่างก่อน
     - ดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องออก เช็คน้ำมันเครื่องที่ติดกับก้านวัดด้วยผ้า
     - เสียบก้านวัดน้ำมันเครื่องคืนกลับจุดเดิม
     - ดึงก้านวัดออกมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่องที่ปลายก้านวัด ถ้าระดับน้ำมันเครื่องอยู่ระหว่าง " F " กับ " L "  แสดงว่าระดับน้ำมันเครื่องปกติ

  ข้อควรระวัง 
    
- หลีกเลี่ยงการเติมน้ำมันเครื่องมากเกินไป เพราะอาจ ทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้
    - ตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่องที่ก้านวัดอีกครั้งหลังเติม น้ำมันเครื่องลงไป

 

3. ระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่ ควรตรวจเช็คระดับน้ำกลั่น แบตเตอรี่ ให้อยู่ในตำแหน่ง UPPER/LEVEL และไม่ควรเติมเกิน กว่าระดับ UPPER/LEVEL เพราะถ้าเติม มากเกินไป น้ำยาอิเลคโทรไลท์ซึ่งเป็นสารละลายกรด ซัลฟูริค จะเจือจางทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง นอกจากนี้ น้ำยาอิเลคโทรไลท์อาจจะกระเด็นออกทาง รูระบายไอ และไปกัดกร่อนชิ้นส่วนต่างๆ ในห้องเครื่องยนต์ได้

 
   
 ข้อควรระวัง

- ปิดฝาเติมน้ำกลั่นให้แน่น
- ขั้วแบตเตอรี่ที่ขั้วบวกและลบขันแน่น
- แบตเตอรี่ยึดแน่นกับฐานที่ตั้ง

 

 4. ระดับน้ำมันเบรก ควรตรวจเช็คด้วยสายตา สังเกตดูที่กระปุกน้ำมันเบรกมีคำว่า MAX และ MIN ระดับน้ำมันเบรกควร อยู่ที่ระดับ MAX อยู่เสมอ สาเหตุที่เป็นไปได้ ที่มีผลทำให้ปริมาณน้ำมันเบรกในกระปุกน้ำมันเบรก ลดลงต่ำลงมี 2 ข้อ คือ

   - มีการรั่วของน้ำมันเบรกออกจากระบบเบรก
   - การสึกหรอของผ้าเบรก ซึ่งระดับน้ำมันเบรกจะลดลงน้อย และช้ามาก ในกรณีนี้ไม่จำเป็นต้องเติมน้ำมันเบรกถ้าพบว่าระดับน้ำมันเบรกในกระปุกน้ำมันเบรก ลดลงต่ำลงรวดเร็ว ควรนำรถเข้าศูนย์บริการ เพื่อตรวจ เช็คสาเหตุ

 5. ระดับน้ำมันคลัทช์ ควรตรวจเช็คด้วยสายตา สังเกตดูที่กระปุกน้ำมันคลัทช์ จะมีคำว่า MAX กับ MIN ระดับน้ำมันคลัชท์  ควรอยู่ที่ระดับ MAX เสมอ ถ้าพบว่าระดับ น้ำมันคลัทช์ในกระปุกลดลงต่ำลง ควรนำรถเข้าศูนย์ บริการ เพื่อตรวจเช็คหาสาเหตุ

 6. ระดับน้ำมันเกียร์ AUTO ควรตรวจเช็คขณะที่เครื่องยนต์ติดอยู่ โดยการดึงก้านวัดน้ำมันเกียร์ AUTO ออกเช็คน้ำมันเกียร์ ที่ติดก้านวัดด้วยผ้า แล้วเสียบก้านวัด น้ำมันเกียร์คืนกลับจุดเดิม ดึงก้านวัดออกมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อตรวจระดับน้ำมันเกียร์ที่ปลายก้านวัด ถ้าระดับน้ำมัน เกียร์อยู่ที่ขีด F พอดี แสดงว่าระดับน้ำมันเกียร์ปกติ

 7. ตรวจเช็คระดับน้ำมัน POWER ควรตรวจเช็คขณะที่เครื่องยนต์ติดอยู่ โดยการหมุนฝาปิดกระปุกน้ำมันPOWER จะติด อยู่กับฝากระปุกน้ำมัน POWER ที่ก้าน วัดจะมีคำว่า HOT และ COLD อยู่คนละด้าน ถ้าวัดตอนที่ เครื่องยนต์ยังเย็นอยู่ให้ดูด้าน COLD ถ้าวัดตอนเครื่อง ร้อนให้ดูด้าน HOT ถ้าเป็นรุ่นใหม่ให้ดูที่กระปุกน้ำมัน POWER จะเป็นพลาสติกใส ที่กระปุกจะมีคำว่า HOT และ COLD อยู่คนละด้าน และมีขีดระดับ MAX กับ MIN อยู่ด้วยระดับน้ำมัน POWER ควรอยู่ระดับ MAX เสมอ ถ้าดูตอนเครื่องยนต์เย็นให้ดูด้าน COLD และถ้าดูตอน เครื่องยนต์ร้อนให้ดูด้าน HOT

 8. ตรวจเช็คสภาพของสายพาน โดยวิธีการมองดูที่สายพานถ้าพบรอยแตกเกิดขึ้น ควรทำการเปลี่ยนแต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะใช้รถได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ก็ควรตรวจดูความตึง ของสายพานด้วย โดยการใช้นิ้วกดลงบนสายพานตรงกลาง ระหว่างมู่เล่สองข้าง ถ้าสามารถกดลงได้เล็กน้อย ประมาณ 10 มม. ก็น่าจะพอใช้ได้ (ถ้าไม่แน่ใจควรให้ช่างตรวจสอบ เพราะการตรวจด้วยวิธีดังกล่าว ผู้ตรวจต้องมีความชำนาญ พอสมควร)

 9. ตรวจเช็คสภาพภายในห้องเครื่อง โดยวิธีการมองดูรอบๆภายในห้องเครื่อง ให้สังเกตดูว่า มีอะไรผิดปกติหรือไม่ เช่น ท่อยางหม้อน้ำมีคราบน้ำซึมหรือไม่ สายไฟภายใน ห้องเครื่องเรียบร้อยดีหรือไม่ มีหนูขึ้นมากัดหรือไม่ มีคราบ น้ำมันเครื่องรั่วซึมหรือไม่ เป็นต้น

 10. ตรวจเช็คระบบไฟส่องสว่าง และไฟสัญญาณต่างๆ เปิดไฟทั้งหมดดูว่าทำงานตามปกติหรือไม่ มีหลอดไหนไม่ติด หรือไม่ ถ้าพบว่ามีไฟหลอดไหนไม่ติดควรเปลี่ยน ให้อยู่สภาพพร้อมใช้งาน หรือนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อ ตรวจเช็ค

 11. ตรวจเช็คที่ปัดน้ำฝน ยางปัดน้ำฝนเมื่อใช้ไประยะหนึ่ง ก็อาจมีการเสื่อมสภาพ ซึ่งเนื่องมาจากสาเหตุเหล่านี้ 
  - ผิวสัมผัสส่วนปลายมีการสึกหรอ จากการทำงานปกติของ ใบปัด
  - มีสิ่งสกปรก และหินทรายละเอียดอยู่ระหว่างยางใบปัดกับกระจกทำให้ยางปัดน้ำฝนสึกหรอ
  - เมื่อใบปัดน้ำฝนผ่านการใช้งานนานๆ ยางใบปัดน้ำฝน จะแข็งตัว การยืดหยุ่นจะลดลง และความบกพร่องในการ ปัดจะเกิดขึ้น เนื่องจากหน้าสัมผัสระหว่างยางใบปัดกับ กระจกไม่ดี รวมทั้งอาจเกิดจากใบปัดน้ำฝนเกิดอาการ สั่นเต้น หรืออาการอื่นๆ ถ้าพบอาการเหล่านี้ควรเปลี่ยนยางปัดน้ำฝนใหม่

 12. ตรวจเช็คยาง ควรเช็คแรงดันลมยางอยู่เสมอๆ โดยใช้ ความดันลมยางตามที่ผู้ผลิตกำหนด และควรเช็คขณะที่รถ ยังไม่ได้ใช้งาน(ยางยังไม่ร้อน) ถ้าลมยางอ่อนผิดปกติ ควรนำไปตรวจสอบว่า มีตะปูตำหรือไม่ ดูสภาพยางด้วยตา ดูที่ผิวยางมีรอยแตกเล็กๆ หรือไม่ ดูการสึกหรอของดอกยาง กล่าวคือ ดอกยางสึกมากไปหรือยัง หรือมีการสึกหรอผิด ปกติ เช่น ลึกเฉพาะตรงกลางหน้ายาง (เติมลมมากเกินไป) สึกเฉพาะขอบยางทั้ง 2 ข้าง (ลมยางอ่อนเกินไป) หรือสึก ด้านใดด้านหนึ่ง ฯลฯ ซึ่งกรณีเหล่านี้ ควรปรึกษาช่าง เพราะ ควรจะมีการตรวจเช็คช่วงล่าง และศูนย์ล้อ เอาเล็บมือกดดู ที่เนื้อยางว่า นิ่ม หรือ แข็ง ถ้ายางหมดสภาพ เนื้อยางจะกดไม่ลงจะแข็งมาก

 


 การบำรุงรักษารถด้วยตนเองที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ควรทำบ่อยแค่ไหน ?
คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับรถของท่านว่า ใหม่หรือเก่า มีสภาพเป็นอย่างไร ถ้าเป็นรถใหม่ๆ ทำอาทิตย์ละครั้งก็มากพอแล้ว แต่ถ้าเป็นรถเก่าสภาพไม่ดีนักก็อาจต้องทำทุกวัน

 คำแนะนำ 
       ข้อควรระวังในการบำรุงรักษารถด้วยตัวของท่านเองถ้าท่านทำการบำรุงรักษารถด้วยตัวท่านเอง, ก่อนอื่นต้อง แน่ใจว่า ได้ปฏิบัติตามข้อควรระวังที่ให้ไว้ในส่วนนี้ อย่างถูกต้องไม่เช่นนั้นแล้วจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้คำแนะนำในส่วนนี้ใช้เฉพาะในการบำรุงรักษารถ เฉพาะส่วนที่บำรุงรักษาง่ายๆการทำงานใดๆ เกี่ยวกับรถยนต์ของท่านควรจะใช้ความระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นตาม คำแนะนำ หรือคำเตือนดังต่อไปนี้

 คำเตือน : 
    - ขณะเครื่องยนต์กำลังทำงาน ระวังอย่าให้มือ, เสื้อผ้าและ เครื่องมือต่างๆเข้าใกล้ใบพัด และสายพานขับเครื่องยนต์ (ควรถอดแหวน, นาฬิกา และเนคไท ออกก่อนทำการ ตรวจซ่อม)
    - หลังจากใช้รถให้ระวังอย่าสัมผัสกับเครื่องยนต์, หม้อน้ำและท่อไอเสีย เนื่องจากความร้อนของสิ่งเหล่านี้
    - อย่าสูบบุหรี่ ใกล้น้ำมันเชื้อเพลิง เนื่องจากไอน้ำมันเชื้อ - เพลิงจะไวไฟมาก
    - ให้ระมัดระวังอันตรายจากน้ำกรด และไอน้ำกรดจากแบตเตอรี่ เมื่อทำงานอยู่กับแบตเตอรี่
    - อย่าเข้าใต้ท้องรถโดยมีเพียงแม่แรงรองรับเท่านั้น ควรใช้ขาตั้งรองรับเสียก่อน
    - ใช้อุปกรณ์ป้องกันตาขณะทำงานในที่ที่อาจมีของตก มีการพ่นหรือละอองของเหลวกระเด็นออกมาไม่ว่าจะอยู่บนหรือใต้รถก็ตาม

   - ควรระมัดระวังเมื่อมีการเติมน้ำมันเบรก เนื่องจากน้ำมันเบรกเป็นอันตรายต่อตาของท่าน และทำลายสีรถได้ ถ้า น้ำมันเบรกกระเด็นเข้าตาหรือโดนสีรถให้รีบล้างด้วยน้ำสะอาดโดยทันที

  ข้อควรระวัง : 
     - จำไว้ว่าสายจากแบตเตอรี่และสายไฟจุดระเบิด มีกระแส หรือแรงดันไฟสูงมาก จะต้องระมัดระวังอย่าให้เกิดการลัดวงจร
     - ก่อนปิดกระโปรงหน้า ตรวจสอบให้แน่ใจว่า ไม่ลืมเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ไว้
     - ถ้าท่านทำน้ำมันต่างๆ หกรดโดนชิ้นส่วนต่างๆ ให้รีบล้างออกโดยน้ำสะอาดเพื่อป้องกันชิ้นส่วน หรือสีเสียหาย
     - อย่าเติมน้ำมันเกียร์อัตโนมัติมากเกิน มิฉะนั้นระบบเกียร์อาจเสียหายได้
     - อย่าเติมน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์มากเกิน มิฉะนั้นระบบพวงมาลัยเพาเวอร์อาจจะเสียหายได้

เข้ามาดูข้อมูลอีกมากมายได้ที่
ที่มา : carsociety24.com[/b][/size]
4  Sitemap SMB / สาระน่ารู้ของรถยนต์ / แต่งตัวให้คาลิปเปอร์กัน เถอะครับ ;D เมื่อ: สิงหาคม 22, 2011, 03:30:38 pm

 

 
คาลิปเปอร์หรือ “เบรคก้ามปู” นั้น เป็นอุปกรณ์ในระบบเบรคที่มีหน้าที่ในการจับยืดจานเบรค เพื่อให้จานเบรกนั้นชะลอความเร็วจนหยุดรถได้ วันนี้หากใครเบื่อหน้าตาคาลิปเปอร์แบบเดิมๆ อยากจะแต่งหน้าทาปากให้คาลิปเปอร์ให้มีสีสันฉูดฉาด ให้รถเรานั้นดูซิ่งและเฉี่ยวมากขึ้น วันนี้นายทีมีวิธีเด็ดๆในการเปลี่ยนสีคาลิปเปอร์ง่ายๆ โดยไม่ต้องรื้อหรือถอดคาลิปเปอร์ให้วุ่นวายครับ
 
 
 
 
ซึ่งปกติรถบ้านทั่วๆไปที่ถอยออกจากศูนย์ จะใช้ล้อกระทะที่ทึบจนไม่สามารถมองไม่เห็นคาลิปเปอร์กันอยู่แล้ว ถ้าหากเพื่อนๆอยากจะเปลี่ยนสีคาลิปเปอร์นั้นก็ต้องมีล้อแม็กซ์ที่มีลายโปร่งเสียก่อน อย่างลาย 5 ก้าน 8 ก้าน 10 ก้าน ไปจนถึง 15 ก้าน ถึงจะโชว์ความจัดจ้านของคาลิปเปอร์ได้อย่างเต็มที่
 
 
 
 
Caliper Paint นั่นคือสีไว้ใช้สำหรับทาคาลิปเปอร์โดยเฉพาะ ก็เพราะว่าสีประเภทนี้ออกแบบมาเพื่อให้ทนความร้อนของคาลิปเปอร์ได้เป็นอย่างดี สีไม่หลุดลอกเวลาเจอกับอุณหภูมิสูงจัดๆ ซ้ำยังทนน้ำมันอีกต่างหาก ที่แนะนำและหาซื้อได้ง่ายก็คือ Dupli Color Caliper Paint Kit ซึ่งประกอบไปด้วย สเปรย์ทำความสะอาดคาลิปเปอร์, สี ,และแปรง ใช้สะดวกดีครับ
 
 
 
 
นอกจากนั้นที่ต้องใช้ก็มี แม่แรง, เทปกาว 3 M, ถุงขยะดำ, หนังสือพิมพ์,ถุงมือ&หน้ากาก ,เครื่องขัดแบบคอยาวพร้อมแปรงลวดขนาด 3 นิ้ว(ถ้ามี),กระดาษทราย,แปรงสีฟันเหลือใช้ สุดท้ายคือฝีมือด้านศิลปะ(นิดหน่อย)และหัวใจที่อยากได้คาลิปเปอร์เท่ๆครับ
 
 
 
 
ขั้นตอนแรกนั้นถึงเราจะไม่ได้ถอดคาลิปเปอร์ แต่ก็ต้องถอดล้อก่อนอยู่ดีครับ โดยให้เราคลายน็อตออกเพียงครึ่งนึงก่อน จากนั้นให้ใช้แม่แรง(Jack)สอดประกอบ ณ จุดขึ้นแม่แรง จากนั้นให้คลายน๊อตล้อออกให้หมด แต่เพื่อความปลอดภัยเหมือนที่นายทีได้เคยนำเสนอไปแล้ว หลังจากที่เราขึ้นแม่แรงเรียบร้อยแล้วทุกครั้ง แนะนำให้หาอิฐบล็อกมาวางประกบล้อที่ติดพื้นไว้ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากรถลื่นไหลครับ
 
 
 
 
ต่อมานั้นเมื่อล้อและชุดดุมล้อนั้นถูกแยกออกจากกันแล้ว ก็จะเหลือให้เห็นแต่ดิสก์เบรคและคาลิปเปอร์ขุ่นๆดั่งที่เราเห็นกันอยู่ แต่ก่อนอื่นให้เพื่อนๆใช้ถุงขยะดำที่เตรียมมา ปูรองพื้นไว้ พร้อมกับกระดาษหนังสือพิมพ์หอแปะทับทุกส่วนที่ไม่มีเอี่ยวด้วยไว้ เพราะงานนี้เลอะเทะแนะๆ
 
 
 
 
จากนั้นให้ป้องกันสุขภาพกันด้วยถุงมือและหน้ากาก การใส่หน้ากากนี้ไม่ใช่การใส่หน้ากากเข้าหากันนะครับ แต่เป็นการใส่หน้ากากเข้าหาสารเคมีเช่นสเปรย์และกลิ่นสีที่กำลังจะได้สูดดมกัน(ครึ่งค่อนวัน)ต่างหาก
 
 
 
 
ขั้นตอนต่อไป ให้เราทำความสะอาดคาลิปเปอร์กันเสียก่อน เพราะสภาพการใช้งานของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคันถอดออกมาคาลิปเปอร์ดำปี๋ บางคนก็มีแค่สีขุ่นๆแบบในภาพก็ถือว่าดีไปครับ โดยถ้าใครมีเครื่องปัดพร้อมกับแปรงลวดจะดีมากๆครับ โดยใช้เครื่องปัดต่อเข้ากับหัวแปรงและทำการขัดๆๆเอาคราบดำๆหรือสนิมออก แต่ถ้าใครไม่มีสามารถใช้กระดาษทรายเบอร์ 320-340 โดยขัดให้ทั่วทุกรูขุมขน จากนั้นให้ใช้ชุดสเปรย์)ทำความสะอาดคาลิปเปอร์มาพ่นให้ทั่ว และให้แปรงสีฟันเหลือใช้ ขัดอย่างบรรจง เพื่อให้พื้นผิวของคาลิปเปอร์สะอาดพร้อมที่จะลงสีครับ
 
 
 
 
พอถึงขั้นตอนนี้ความสนุกก็ได้เริ่มขึ้น โดยการแปะเทปกาว 3 M ไว้ทั่วผ้าเบรก เพราะว่าปกติแล้วเนี่ยเราจะเปลี่ยนแค่สีของคาลิปเปอร์กัน ไม่ได้จะเปลี่ยนสีผ้าเบรกแต่อย่างใด (เพราะมันไม่สวยเลย) หลังจากที่พร้อมแล้วให้เราเปิดกระป๋องสีและจัดการคนให้เนื้อสีนั้นเข้ากันประมาณ 1-2 นาที โดยไม่ต้องผสมน้ำแต่อย่างใดครับ
 
 
 
 
นี่คือเทคนิคเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับการลงสีครับ ทั่วไปพอเปิดกระป๋องปุ๊ปก็จะปาดๆกันไม่ยั้งเลยใช่ไหมครับ นั่นก็ไม่ผิด แต่ว่าผลงานที่ออกมาจะไม่เนียนและสีจะไม่ทนทานซักเท่าไหร่ ทริคก็คือเราจะลงสีกันถึง 4 ครั้ง โดยชั้นแรกให้จุ่มสีเพียงเล็กน้อยและลงสีอย่างเบาบาง และทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 45 นาทีถึงจะลงอีกครั้ง ทำและรอ 45 นาทีแบบนี้จนครบ 4 ครั้ง ก็จะได้คาลิปเปอร์สีสวยๆเนียนๆแล้วละครับ
 
 
 
 
แต่ยังไม่เสร็จดีครับ นายทีซะอย่างจะทำอะไรก็ต้องไม่เหมือนใคร ด้วยคาลิปเปอร์สีแดงๆแบบนี้ใครเขาก็มีกัน นายทีจึงอยากจะสร้างความแตกต่างโดยแปะโลโก้ของรถยนต์ลงไป โดยหาซื้อสติกเกอร์โลโก้รถ หรืออยากได้ทนๆแบบ 3M ก็สั่งทำก็ไม่กี่ร้อยบาท เท่านี้เพื่อนๆก็จะได้คาลิปเปอร์ที่เท่ห์ๆ ซิ่งๆ โดยไม่ต้องไปเสียเงินใส่ Brembo ของแท้ราคาหลายแสนแล้วละครับ
 
 
 

 


เข้ามาดูข้อมูลอีกมากมายที่
ที่มา : carsociety24.com[/b][/size]
หน้า: [1]
ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย