ภาคประชาชนทนไม่ไหวทุจริต รุกสอบสัญญารื้อตอม่อโฮปเวลล์ระบุ รฟท. เอื้ออิตาเลียนไทยกินเปล่า ฟันประโยชน์ 500 ล้านบาท เตรียมยื่น ปปช. สอบเร่งด่วน
แหล่งข่าวเครือข่ายประชาชนต้านคอรัปชั่น(คปต.) ระบุว่า ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ว่าจ้างบริษัท อิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) ดำเนินการรื้อถอนตอม่อ โครงการ [url=http://www.youtube.com/watch?v=fsmy7r8EgIM]โฮปเวลล พ่วงสัญญารถไฟฟ้าสายสีแดงด้วยงบประมาณมากกว่าจำนวน 200 ล้านบาทนั้น คปต.ได้ตรวจสอบโครงการแล้วพบว่า มีความผิดปกติหลายประการเป็นการเอื้อประโยชน์ให้เอกชนค่อนข้างชัดเจน เพราะนอกจากค่ารื้อถอนแล้ว เอกชนที่เป็นคู่สัญญา ยังได้ผลประโยชน์อย่างอื่นจำนวนมหาศาล
“การรื้อถอนตอม่อโฮปเวลล์ การรถไฟฯ ประกาศยอมจ่ายค่ารื้อถอน เป็นจำนวนเงินไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาทอ้างต้นทุนการรื้อถอนสูงแต่ในข้อเท็จจริงบริษัท อิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์กลับจะมีรายได้ส่วนต่างแฝงจากการรื้อถอนรวมทั้งสิ้นถึง 500 ล้านบาทซึ่งเชื่อว่าผู้บริหารในการรถไฟฯรู้เห็นเป็นใจเป็นอย่างดี โดยมีรายได้จากการขายเศษเหล็กที่มีอยู่ประมาณ 11,000 ตัน ซึ่งจะถูกนำไปบริหารต่อโดยกลุ่มอุตสาหกรรมวิหารแดงที่สระบุรีของอิตัลไทยเอง โดยนำไปหลอมที่โรงงาน คือ โรงงานท้ายบ้าน หรือ 3เอส ส่วนคอนกรีตที่มีจำนวนมหาศาล ก็จะถูกนำไปบดย่อยเพื่อขายให้กับประชาชนทั่วไปใช้สำหรับถมที่โดยคปต.ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ประเมินพบว่า เป็นรายได้ประมาณ 300 ล้านบาท ” แหล่งข่าวจากคปต.ให้ข้อมูล
แหล่งข่าวรายเดียวกัน กล่าวว่า จากการติดตามการดำเนินงาน พบว่า [url=http://www.youtube.com/watch?v=fsmy7r8EgIM]อิตัลไท ได้เชิญบริษัทรับเหมารื้ออาคาร โดยใช้เครื่องจักรพิเศษ เข้าร่วมยื่นซองประกวดราคารับจ้างเหมาตัดในวันที่ 11/3/55 ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมยื่นซองทั้งสิ้น 25 บริษัท ล้วนเป็นบริษัทขนาดกลางถึงใหญ่ โดยมีกำหนด ประกาศผลในวันที่ 20 มีนาคม แต่จนถึงปัจจุบัน ทางบริษัทยังไม่ได้ดำเนินการใดๆทั้งสิ้น เนื่องจากโดยข้อเท็จจริงอิตาเลียนไทย ได้เรียกผู้เข้ายื่นซองประมูลเพื่อสร้างภาพว่า มีการดำเนินการเป็นไปตามมาตรฐาน แต่ภายในองค์กรมีการติดต่อผู้รับเหมารายเล็กประมาณ 5-6 ราย ซึ่งเป็นผู้รับเหมาที่ทำงานรื้อตึกแถวและไม่มีประสบการณ์ในการทำงานใหญ่ หวังลดต้นทุน ซึ่งจะมีปัญหาการทำงานจะส่งผลกระทบให้โครงการมีความล่าช้าและกระทบต่อประชาชนในการใช้เส้นทางสัญจรบริเวณที่มีการรื้อถอน
“ รฟท.รู้ดีว่า เสาตอม่อโฮปเวลล์ มีมูลค่าทางธุรกิจมหาศาล การให้อิตาเลียนไทยรื้อถอนแถมเงินให้อีก 200 ล้านบาทจึงเป็นเรื่องที่ไม่ชอบมาพากล น่าสงสัยว่า เป็นการสมคบกันเพื่อแสวงหาผลประโยชน์หรือไม่ เป็นเรื่องที่คปต. จะส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ปปช.)ตรวจสอบ โดยจะนำข้อมูลเข้าร้องเรียนในเร็วๆนี้” แหล่งข่าวจากคปต. กล่าว