Advertisement
จุกหลอ คุณแม่หลายท่านที่กำลังเจอปัญหาลูกมีพฤติกรรมปากดูดนมทั้งที่อุ้มลูกออกจากเต้าแล้ว ครั้นจะนำลูกเข้าเต้าเหมือนเดิม ก็จะทำให้ลูกอิ่มมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้ลูกแหวะนมออกมาได้ พฤติกรรมดูดลิ้นเหมือนตอนที่เขาดูดนมจากคุณแม่เป็นพฤติกรรมที่ต่อเนื่องในเด็กซึ่งจะมีอาการมากน้อยแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน เด็กบางคนติดอาการนี้และเปลี่ยนมาเป็นอาการดูดนิ้ว การแก้อาการดูดนิ้วนี้สามารถแก้ไขได้โดยการใช้จุกหลอก
จุกหลอกจะช่วยทำให้ลูกรู้สึกว่าเขายังคงทำพฤติกรรมดูดนมได้เหมือนเดิม เพียงแต่ไม่ได้รับน้ำนมเพิ่มซึ่งไม่ทำให้เขาอิ่มเกินไป อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ช่วยให้เขาเลิกพฤติกรรมดูดนิ้วอีกด้วย
การดูดนิ้วเป็นประจำ อาจทำให้เขารับเชื้อโรคเข้าร่างกายได้โดยคุณแม่ไม่ทันได้ระวัง เพราะมือของลูกน้อยมีโอกาสสัมผัสกับสิ่งสกปรกรอบตัวได้ อีกทั้งเล็บที่ยาวอาจก่อให้เกิดอันตรายเพราะการควบคุมกล้ามเนื้อในเด็กยังไม่ดีเท่าที่ควร หากเกิดการพลาดเล็บอาจข่วนหน้าหรือตาเด็ก ก่อให้เกิดอันตรายได้ ซอกเล็บยังเป็นที่ซ่อนตัวอย่างดีเยี่ยมของเชื้อโรคและแบคทีเรียต่างๆ ซึ่งหากเชื้อโรคเหล่านี้เข้าไปในร่างกายเด็ก อาจก่อให้เกิดความไม่สบายขึ้นมาได้เช่นกัน จุกเด็กจึงเป็นที่นิยมมากสำหรับเด็กที่มีปัญหาการดูดนิ้ว
อย่างไรก็ตาม เด็กที่อยู่ในช่วงแรกเกิด คือ อายุ 1 – 2 เดือน และมีอาการดุนลิ้นเหมือนดูดนมตลอดเวลาทั้งที่นำเขาออกจากเต้าแล้ว คุณแม่ยังไม่ควรที่จะให้เขาใช้จุกหลอก เนื่องจากเด็กจะรู้สึกแปลกต่อจุกหลอก ซึ่งจะทำให้เขาปฏิเสธการดูดนมแม่ไปด้วย ดังนั้นคุณแม่จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้จุกหลอกกับเด็กแรกเกิด นอกจากนี้ในกรณีที่คุณแม่ต้องการให้ลูกเลิกดูดนม ก็สามารถนำ
จุกหลอกนี้มาใช้กับเด็กเพื่อให้เขาเลิกนมได้เช่นกัน
เมื่อลูกน้อยมีฟันซี่แรกขึ้น คุณแม่ควรหยุดให้เขาใช้จุกหลอก เพราะจะทำให้เกิดอาการฟันผุได้ ... แต่ในเมืองนอกกลับมีผลการวิจัยว่า การให้ลูกใช้จุกหลอกต่อไปจะช่วยให้เขาห่างไกลจากการเกิดภาวะ SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) หรือเรียกอีกอย่างว่า ภาวะไหลตายในเด็ก
ส่วนข้อควรระวังจากการใช้จุกหลอก คือ จุกหลอกอาจจะมีผลทำให้เด็กมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพฟันและช่องปาก , ต่อมทอนซิลอักเสบและหูน้ำหนวกอักเสบ
การให้เด็กใ
Tags : จุกหลอก พีเจ้น