Advertisement
ไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ลักษณะคล้ายผีเสื้ออยู่ด้านหน้าของหลอดลมบริเวณช่วงลำคอ ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญพลังงาน ระบบย่อยอาหาร ควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย กล้ามเนื้อ รวมถึงอารมณ์ ความรู้สึก ดังนั้นหากต่อมไทรอยด์ถูกกระตุ้นให้ทำงานหนักมากเกินไปก็จะส่งผลให้มีการหลั่งฮอร์โมนมากเกินความต้องการของร่างกายจนเกิดเป็นความผิดปกติได้ เช่น เมื่อการเผาผลาญพลังงานสูงขึ้นกว่าปกติก็เหมือนคนที่อยู่ ๆ ไปออกกำลังกายแบบหักโหมเพิ่มขึ้น น้ำหนักตัวจึงลดลงเร็วผิดปกติทั้งที่กินจุขึ้น การเผาผลาญพลังงานที่เพิ่มขึ้นนี้ยังทำให้เรากลายเป็นคนขี้ร้อน เหงื่อออกมาก เหนื่อยง่าย มือสั่น ใจสั่น นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน และหงุดหงิดตามมา นอกจากนี้มักมีลักษณะอยู่ไม่สุข ชอบทำโน่นทำนี่ ขยันมากกว่านิสัยปกติ เรียกภาวะเช่นนี้ว่า “ไทรอยด์เป็นพิษ” หรือที่บางคนรู้จักในชื่อไฮเปอร์ไทรอยด์ (Hyperthyroidism)
ภาวะไทรอยด์เป็นพิษนี้ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากโรคเกรฟส์ (Graves’ disease) หรือโรคคอพอกตาโปน ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด โดยจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 5 – 10 เท่า โดยเฉพาะสาว ๆ ที่มีอายุระหว่าง 20 – 40 ปี ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคนี้ด้วย บางครั้งการติดเชื้อ ความเครียด การได้รับไอโอดีน สารสเตียรอยด์ หรือสารพิษมากเกินไปก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคคอพอกตาโปนได้
ปกติแล้วไทรอยด์เป็นพิษสามารถรักษาให้หายได้ โดยแพทย์มักเริ่มการรักษาด้วยการให้ยา หากไม่ได้ผลก็จะใช้การรักษาด้วยรังสีไอโอดีน หรือผ่าตัด ในระหว่างที่ทำการรักษา ผู้ป่วยควรดื่มน้ำ พักผ่อนให้เพียงพอ และปรับพฤติกรรมอาหารเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ด้วย แต่หากผู้ป่วยละเลยการรักษาก็อาจจะสร้างปัญหาร้ายแรงต่อหัวใจ กระดูก กล้ามเนื้อ รวมถึงการเจริญพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหญิงตั้งครรภ์อาจนำไปสู่ความผิดปกติของมารดาและทารกได้
อาหารผู้ป่วย บำบัดไทรอยด์เป็นพิษ ดูเพิ่มเติมที่นี่ [url]https://thetastefood.com/อาหารสายยาง/[/url]