Advertisement
[html]
|
|
|
|
หากพูดถึงระบบข่วงล่างหลายท่านคงจะเคยขับรถผ่านและพบเห็นอย่างชินตากับร้านที่เขียนว่า เช็คช่วงล่าง ตั้งศูนย์ถ่วงล้อ เบรค-คลัทช์ ใช่ไหมครับ เพราะว่ามีเยอะพอๆกับร้านบะหมี่เกี๊ยวที่เห็นกันทั่วไปเลยหละครับ แต่หลายท่านอาจจะสงสัยว่าการตั้งศูนย์ล้อเค้าตั้งอะไร ตั้งตรงไหน แล้วทำไมต้องตั้งศูนย์ วันนี้นายทีจะมาอธิบายเรื่องการตั้งศูนย์ล้อให้ผู้อ่านที่สงสัยได้เข้าใจกัน รวมถึงวิธีสังเกตุด้วยตนเองว่าเมื่อไหร่ต้องเข้าไปตั้งศูนย์ล้อ
|
|
|
|
|
|
|
ก่อนอื่นต้องขออธิบายก่อนว่าที่ต้องตั้งศูนย์ล้อนั้นไม่ใช่เพราะว่ารถเค้าตั้งมาไม่ดีนะครับ แต่การที่ศูนย์ล้อผิดเพี้ยนไปจากเดิมหรือค่ามาตรฐานที่ผู้ผลิตตั้งมานั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจเกิดจากการขับขี่ของผู้ขับขี่เองเช่นขับไปตกหลุมอย่างแรง หรืออาจจะเกิดการคลายตัวของตัวตั้งมุมล้อก็เป็นได้ ทีนี้แล้วเมื่อไหร่เราถึงจะรู้ว่าเราควรเข้าไปตั้งศูนย์ล้อ ก็ให้สังเกตุโดยการหาถนนที่เป็นทางตรง และเรียบไม่ลาดเอียง ลองขับแล้วปล่อยมือจากพวงมาลัยแล้วสังเกตุดูว่ามีอาการกินไปทางซ้าทางขวาหรือไม่ ถ้าปล่อยมือแล้วรถกินข้างใดข้างหนึ่งอย่างรวดเร็วนั่นคือมันศูนย์เพี้ยนมาก ควรรีบไปตั้งศูนย์ใหม่ อีกวิธีก็ให้สังเกตุอาการเวลาเข้าโค้งว่ามีอาการดื้อโค้งหรือท้ายปัด หรือเค้าโค้งซ้ายและโค้งด้านขวามีอาการไม่เหมือนกัน อีกวิธีก็ให้สังเกตุพวงมาลัยว่าตรงหรือไม่ แต่วิธีทั้งหมดนี้อาจจะสังเกตุได้ยากสำหรับบางท่านและอาจจะไม่แน่นอนเหมือนเครื่องจับศูนย์ล้อที่วัดผลเป็นดิจิตอล ดังนั้นจึงควรหมั่นไปตั้งศูนย์ล้อทุกๆ2-3เดือนก็จะดีกว่า เพราะถ้าศูนย์ล้อเพี้ยนแล้วปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการแก้ไขนอกจากจะขับขี่ไม่ดีและไม่ปลอดภัยแล้วยังจะทำให้ยางสึกไม่เท่ากันเป็นเหตุให้ต้องเปลี่ยนยางก่อนกำหนดเป็นการสิ้นเปลืองอีกด้วยครับ
|
|
|
|
|
|
|
คราวนี้เมื่อเราเข้าไปร้านตั้งศูนย์ถ่วงล้อแล้วเข้าตั้งอะไรบ้าง นายทีจะอธิบายให้ฟังไว้เพื่อเป็นเกร็ดความรู้ไว้เพื่อจะได้เข้าใจถึงระบบช่วงล่างไปด้วยเลย
|
|
|
|
|
|
|
การตั้งศูนย์หลักๆแล้วจะตั้งอยู่สามมุมก็คือ
1.มุมแคมเบอร์ ก็คือเป็นมุมที่เรามองจากด้านหน้ารถหรือหลังรถแล้วมองดูว่าล้อแบะเข้าหรือแบะออก อธิบายชัดๆเข้าไปอีกก็คือถ้าล้อด้านบนที่ไม่ติดพื้นเอียงเข้ามาหากันและล้อส่วนที่ติดพื้นนั้นเอียงตัวออกจากกันเราจะเรียกว่ามุมแคมเบอร์เป็นลบจะเห็นมากในรถโหลดและรถแข่งที่จะตั้งมุมล้อทั้งสี่ล้อที่ลบมากๆเป็นพิเศษเพื่อบังคับรถได้ง่ายเพื่อให้มีการเกาะถนนที่ดีและการเข้าโค้งที่ดี การตั้งมุมล้อแบบนี้ยางจะกินด้านในเพียงอย่างเดียว โดยมากรถใช้งานทั่วๆไปจะตั้งค่าเป็น0หรืออย่างมากก็ไม่เกิน-2
|
|
|
|
|
|
|
แต่ถ้าล้อด้านที่ไม่ติดพื้นแยกห่างออกจากกัน และล้อด้านที่ติดพื้นนั้นทำมุมเข้าหากันเราจะเรียกว่ามุมแคมเบอร์ล้อเป็นบวก
|
|
|
|
|
|
|
มุมต่อมาก็คือมุมโทอิน (Toe-in) และมุมโทเอ้าท์ (Toe-out) ก็คือถ้าเรามองจากด้านบนหลังคารถลงไปหรือTop View แล้วล้อที่อยู่ทางด้านหน้าสุดของทั้งสองข้างทำมุมเข้าหากันเราจะเรียกว่าโทอิน (Toe-in) แต่ถ้าด้านหน้าสุดของล้อกางออกจากกันแล้วด้านหลังสุดของล้อเข้าหากันเราเรียกว่าโทเอ้าท์ (Toe-out) โดยมากรถใช้งานทั่วไปจะตั้งเป็นกลางหรือเป็น0 หรือบวกลบไม่เกิน1-2 จะมีที่ตั้งกันแบบที่ล้อหน้าตั้งให้เป็นโทอินลบมากๆ และตั้งให้ล้อหลังนั้นบวกมากๆ วิธีนี้เป็นวิธีการปรับมุมโทที่ผิดมากๆ เพราะท้ายรถจะไม่เกาะถนนและท้ายรถจะไวมากๆ ซึ่งนั่นก็เหมาะกับรถดริ๊ฟซึ่งต้องการให้ท้ายนั่นปัดได้ง่ายที่สุด
|
|
|
|
|
|
|
มุมที่สามมุมสุดท้ายก็คือมุมแคสเตอร์ มุมแคสเตอร์ (Caster angle) คือมุมการวางตำแหน่งล้อ เมื่อมองจากด้านข้างตัวรถ เข้าไปหาตัวรถ มุมแคสเตอร์ จะเป็นมุมของแกนหมุนเลี้ยว ที่เอียงจากแนวดิ่งไปตามแนวยาวของรถ เมื่อแกนหมุนเลี้ยวส่วนบน เอียงไปทางด้านหลังรถ มุมแคสเตอร์ จะมีค่าเป็นบวก (Positive) ในทางตรงข้าม ถ้าแกนหมุนเลี้ยวส่วนบนเอียงไปทางด้านหน้ารถ มุม แคสเตอร์จะมีค่าเป็นลบ (Negative)
|
|
|
|
|
|
|
ทั้งหมดนี้ก็เป็นการตั้งมุมล้อที่เวลาเราเข้าไปที่ร้านตั้งศูนย์ล้อเค้าตั้งให้กับเรา อ้อแต่นายทีลืมบอกไปว่าปกติในรถทั่วไปที่ไม่ได้มีการปรับแต่งหรือได้เพิ่มอุปกรณ์พิเศษเพื่อให้สามารถปรับแต่งได้ก็จะไม่สามารถปรับได้ทั้งหมด แต่ไม่เป็นไรหรอกครับเพราะรถปกติที่เราใช้กันอยู่ก็มีตัวปรับมาให้เหมาะสมกับรถแต่ละรุ่นอยู่แล้วครับ แต่ที่สำคัญก็คืออยากให้ผู้ใช้รถได้หมั่นสังเกตุการขับขี่ว่าปกติหรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจก็หมั่นตรวจเช็คระบบช่วงล่างบ่อยๆรวมถึงการตั้งศูนย์ล้อด้วย เพื่อการควบคุมรถที่ดีและก็เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเองยังไงละครับ
|
|
|
|
[/html]
เข้ามาดูข้อมูลอีกมากมายได้ที่
ที่มา : carsociety24.com[/b][/size]