ประวัติความเป็นมาของเพลงชาติไทย

Advertisement


หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติความเป็นมาของเพลงชาติไทย  (อ่าน 63 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
suChompunuch
Drift King
*****

การ์ม่า: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23655


ดูรายละเอียด อีเมล์










« เมื่อ: มีนาคม 27, 2016, 04:50:25 am »



ล้อแม็ก แม็ก แม็กซ์แต่งรถ

↑ ลงทะเบียนรับข่าวสาร

ล้อแม็ก

Advertisement

ประวัติความเป็นมาของเพลงชาติไทย
 
 
   เพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ แสดงความเป็นเอกราชของชาติ ไม่เป็นเมืองขึ้นของใคร เป็นแหล่งรวมใจของคนในชาติให้เป็นจุดเดียวกันสร้างความรู้สึก สำนึก ในความเป็นพี่น้อง สร้างความภูมิใจในศักดิ์ศรีสิทธิเสรีภาพระหว่างคนในชาติ และเพื่อปลุกใจให้เกิดความรักชาติ
 
ความคิดเรื่องเพลงประจำชาติ เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ในปี พ.ศ. ๒๔๑๔ โดยได้รับ อิทธิพลตะวันตก ซึ่งมีเพลง ประจำชาติมาก่อน โดยเฉพาะอิทธิพลจากประเทศอังกฤษ โดย นายทหารอังกฤษ ๒ คน ซึ่งเข้ามาเป็นครูฝึกทหารเกณฑ์ ในวังหลวงและวังหน้าในปลาย รัชกาลที่ ๔ ปี พ.ศ. ๒๓๙๕ ชื่อร้อยเอกอิมเปย์ (Impey) และร้อยเอกน๊อกซ์ (Thomas G. Knox) นายทหารอังกฤษทั้ง ๒ นายนี้ ได้ใช้เพลง กอดเสฟเดอะควีน (God Save the Queen) เป็นเพลงฝึกสำหรับทหารแตร และอังกฤษได้ใช้เพลงกอดเสฟเดอะควีนนี้ เป็นเพลง ประจำชาติ
 
ในการฝึกทหารของไทยสมัยนั้น ใช้แบบอย่างของประเทศอังกฤษหมด ดังนั้นเพลงกอด เสฟเดอะควีน (God Save the Queen)จึงใช้เป็นเพลงเกียรติยศ ถวายความเคารพต่อพระ มหากษัตริย์ ใช้สำหรับกองทหารไทยในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๙๕ ถึง ๒๔๑๔ เรียกกันว่า "เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ"
 
พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) ได้ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นมาใหม่โดยใช้ เนื้อ เพลงกอดเสฟเดอะควีนเดิม และตั้งชื่อเพลงขึ้นใหม่ว่า "จอมราชจงเจริญ"นับเป็นเพลงชาติฉบับแรกของประเทศสยาม
 
ในปี พ.ศ. ๒๔๑๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาส เมืองสิงค โปร์ ในขณะนั้นสิงคโปร์ยังเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษอยู่ กองทหารดุริยางค์ สิงคโปร์ บรรเลงเพลงกอดเสฟเดอะควีน เพื่อถวายความเคารพ
 
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงตระหนักดีว่าประเทศมีความจำเป็น จะต้องมีเพลงชาติที่เป็นของตัวเองขึ้น เพื่อแสดงถึงความเป็นเอกราชของชาติครั้นเมื่อทรง เสด็จกลับถึงพระนคร จึงได้โปรดให้ตั้งคณะครูดนตรีไทยขึ้น เพื่อทรงปรึกษา หาเพลงชาติที่มีความเป็นไทยมาใช้แทนเพลงกอดเสฟเดอะควีน คณะครูดนตรีไทย ได้เลือก เพลงทรง พระสุบันหรือเรียกอีกอย่างว่า เพลงบุหลันลอยเลื่อน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ โดยนำมาเรียบเรียงใหม่ ให้มีความเป็นสากลขึ้น โดย เฮวุดเซน(Heutsen) นับเป็น เพลงชาติไทยฉบับที่สอง ใช้บรรเลงในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๑๔-๒๔๓๑
 
สำหรับเพลงชาติไทยฉบับที่สาม คือ เพลงสรรเสริญพระบารมี(ฉบับปัจจุบัน)ประพันธ์ โดย ปโยตร์ สชูโรฟสกี้(Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์ชาวรัสเซีย คำร้องเป็นพระนิพนธ์ ของสมเด็จฯ กรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ ใช้บรรเลงเป็นเพลงชาติ ในระหว่างปี พ.ศ.๒๔๓๑-๒๔๗๕
 
เพลงชาติไทยฉบับที่สี่ คือ เพลงชาติมหาชัย ใช้เป็นเพลงชาติ ในระหว่างการเปลี่ยนแปลง การปกครองปี พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยอาศัยทำนองเพลงมหาชัย ส่วนคำร้องนั้น ประพันธ์โดย เจ้า พระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เพื่อใช้ขับร้อง และบรรเลงปลุกเร้าใจ ประชาชนก่อให้เกิดความรักชาติและสร้างความสามัคคี ในระหว่างที่มีการเปลี่ยนแปลง ทางการเมือง
 
เพลงชาติไทยฉบับที่ห้า คือ เพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ ผู้ประพันธ์ทำนองมีคำร้องประ พันธ์โดยขุนวิจิตรมาตรา(สง่า กาญจนาคพันธุ์) ใช้เป็นเพลงชาติระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๗๗
 
เพลงชาติฉบับที่หก คือ เพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ ที่เพิ่มคำร้องของนายฉัน ขำวิไล เข้าต่อจากคำร้องของขุนวิจิตรมาตรา ใช้เป็นเพลงชาติระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๘๒ เป็นเพลงชาติที่เป็นฉบับของทาง "ราชการ" ฉบับแรก
 
เพลงชาติฉบับปัจจุบัน คือ เพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ ที่เปลี่ยนคำร้องประพันธ์โดย พันเอกหลวงสารานุประพันธ์(นวล ปาจิณพยัคฆ์) ใช้เป็นเพลงชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ กระทั่งปัจจุบัน ครั้งนั้นทางรัฐบาลได้ประกาศประกวด เพลงชาติขึ้นใหม่ ในเดือน กันยายน ผลประกวดปรากฏ ผู้ชนะได้แก่ นายพันเอกหลวง สารานุประพันธ์(นวล ปาจิณพยัคฆ์) ซึ่งส่ง ในนามของ กองทัพบก
 
รัฐบาล ได้ประกาศใช้เพลงชาติไทย ฉบับปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
 
อ่านต่อเนื้อหาเกี่ยวกับเพลงชาติและบุคคลสำคัญ : http://xn--72caj8bk2b6abu1fycza3mpc6c.blogspot.com/

เครดิต : [url]http://www.allnewmazda3.com/index.php?topic=75136.new[/url]

Tags : เพลงชาติไทย, ร้องเพลงชาติไทย, เนื้อร้องเพลงชาติไทย



GPSราคาถูก | เครื่องฟอกอากาศในรถยนต์ | Ran Online | Ragnarok | โปรโมชั่น | เกมส์ออนไลน์

Promotion
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ