เพลงชาติไทย ประวัติความเป็นมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

Advertisement


หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เพลงชาติไทย ประวัติความเป็นมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  (อ่าน 219 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Puttichai9876
Drift King
*****

การ์ม่า: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 25904


ดูรายละเอียด










« เมื่อ: มีนาคม 19, 2016, 08:48:10 pm »



ล้อแม็ก แม็ก แม็กซ์แต่งรถ

↑ ลงทะเบียนรับข่าวสาร

ล้อแม็ก

Advertisement

เพลงชาติไทย ประวัติความเป็นมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
 
เพลงชาติไทย เป็นชื่อเพลงชาติของสยามและประเทศไทย ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ ในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี พ.ศ. 2475 คำร้องฉบับแรกสุดโดยขุนวิจิตรมาตรา ซึ่งแต่งขึ้นภายหลังในปีเดียวกัน ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อร้องอีกหลายครั้งและได้เปลี่ยนมาใช้เนื้อร้องฉบับปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. 2482
 
กำเนิดของเพลงชาติไทย
 
ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ได้มีการใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ต่างชาติที่เสด็จเยี่ยมประเทศสยามตามธรรมเนียมสากล แม้เพลงดังกล่าวไม่ใช่เพลงชาติของประเทศสยามอย่างเป็นทางการก็ตาม แต่ก็ถืออนุโลมว่าเป็นเพลงชาติโดยพฤตินัยตามหลักดังกล่าว
 
เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้ประกาศใช้เพลงชาติมหาชัย ซึ่งประพันธ์เนื้อร้องโดย เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นเพลงชาติอยู่ 7 วัน (ใช้ชั่วคราว ระหว่างรอพระเจนดุริยางค์แต่งเพลงชาติใหม่) แต่ไม่ได้รับความนิยมจากประชาชน ต่อมาจึงได้เปลี่ยนมาเป็นเพลงชาติฉบับที่แต่งทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการแทนเพลงสรรเสริญพระบารมี
 

 
ที่มาของทำนองเพลงชาติปัจจุบันนั้น จากบันทึกความทรงจำของพระเจนดุริยางค์ ได้เล่าไว้ว่า ราวปลายปี พ.ศ. 2474 เพื่อนนายทหารเรือชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งของท่าน คือ หลวงนิเทศกลกิจ (กลาง โรจนเสนา) ได้ขอให้ท่านแต่งเพลงสำหรับชาติขึ้นเพลงหนึ่ง ในลักษณะของเพลงลามาร์แซแยส ซึ่งพระเจนดุริยางค์ได้บอกปฏิเสธ เพราะถือว่าเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงชาติอยู่แล้ว ทั้งการจะให้แต่งเพลงนี้ก็ยังไม่ใช่คำสั่งของทางราชการด้วย แม้ภายหลังหลวงนิเทศกลกิจจะมาติดต่อให้แต่งเพลงนี้อีกหลายครั้งก็ตาม พระเจนดุริยางค์ก็หาทางบ่ายเบี่ยงมาตลอด เพราะท่านสงสัยว่าการขอร้องให้แต่งเพลงนี้เกี่ยวข้องกับการเมือง ประกอบกับในเวลานั้นก็มีข่าวลือเรื่องการปฏิวัติอย่างหนาหูด้วย
 
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ผ่านไปได้ประมาณ 5 วันแล้ว หลวงนิเทศกลกิจ ซึ่งพระเจนดุริยางค์รู้ภายหลังว่าเป็น 1 ในสมาชิกคณะราษฎรด้วย ได้กลับมาขอร้องให้ท่านช่วยแต่งเพลงชาติอีกครั้ง โดยอ้างว่าเป็นความต้องการของคณะผู้ก่อการ ท่านเห็นว่าคราวนี้หมดทางที่จะบ่ายเบี่ยง เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองในเวลานั้นอยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ จึงขอเวลาในการแต่งเพลงนี้ 7 วัน และแต่งสำเร็จในวันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ตนได้กำหนดนัดหมายวันแต่งเพลงชาติไว้ ขณะที่นั่งบนรถรางสายบางขุนพรหม-ท่าเตียน เพื่อไปปฏิบัติราชการที่สวนมิสกวัน จากนั้นจึงได้เรียบเรียงเสียงประสานสำหรับให้วงดุริยางค์ทหารเรือบรรเลง โดยได้เลือกใช้ทำนองคล้ายคลึงกับเพลงมาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอและมอบโน้ตเพลงนี้ให้หลวงนิเทศกลกิจนำไปบรรเลง ในการบรรเลงตนตรีประจำสัปดาห์ที่พระที่นั่งอนันตสมาคมในวันพฤหัสบดีถัดมา พร้อมทั้งกำชับว่าให้ปิดบังชื่อผู้แต่งเพลงเอาไว้ด้วย
 
อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์ศรีกรุงก็ได้ลงข่าวเรื่องการประพันธ์เพลงชาติใหม่โดยเปิดเผยว่า พระเจนดุริยางค์เป็นผู้แต่งทำนองเพลงนี้ ทำให้พระเจนดุริยางค์ถูกเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ เสนาบดีกระทรวงวัง ตำหนิอย่างรุนแรงในเรื่องนี้ แม้ภายหลังพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี จะได้ชี้แจงว่าท่านและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้คิดการแต่งเพลงนี้ และเพลงนี้ก็ยังไม่ได้รับรองว่าเป็นเพลงชาติเนื่องจากยังอยู่ในระหว่างการทดลองก็ตาม แต่พระเจนดุริยางค์ก็ได้รับคำสั่งปลดจากทางราชการให้รับเบี้ยบำนาญ ฐานรับราชการครบ 30 ปี และหักเงินเดือนครึ่งหนึ่งเป็นบำนาญ อีกครึ่งที่เหลือเป็นเงินเดือน โดยให้รับราชการต่อไปในอัตราเงินเดือนใหม่นี้ ในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนั้นเอง
 
ส่วนเนื้อร้องของเพลงชาตินั้น คณะผู้ก่อการได้ทาบทามให้ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) เป็นผู้ประพันธ์ โดยคำร้องที่แต่ขึ้นนั้นมีความยาว 2 บท สันนิษฐานว่าเสร็จอย่างช้าก่อนวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2475 เนื่องจากมีการคันพบโน้ตเพลงพร้อมเนื้อร้องซึ่งตีพิมพ์โดยโรงพิมพ์ศรีกรุง ซึ่งลงวันที่ตีพิมพ์ในวันดังกล่าวแม้เพลงนี้จะเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไปก็ตาม แต่เพลงนี้ก็ยังไม่ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่าเป็นเพลงชาติ และมีการจดจำต่อๆ กันไปเรื่อยๆ โดยไม่มีใครรู้ที่มาชัดเจน ดังปรากฏว่า มีการคัดลอกเนื้อเพลงชาติของขุนวิจิตรมาตราส่งเข้าประกวดเนื้อเพลงชาติฉบับราชการ เมื่อ พ.ศ. 2476 โดยอ้างว่าตนเองเป็นผู้แต่งด้วย
 
นื้อร้องที่ขุนวิจิตรมาตราประพันธ์เริ่มแรกสุดแต่ไม่เป็นทางการ และ เป็นฉบับต้องห้าม ก่อนที่จะมีการแก้ไขเมื่อมีการประกวดเนื้อเพลงชาติฉบับราชการ ใน พ.ศ. 2476 มีดังนี้ (โปรดเทียบกับเนื้อร้องฉบับราชการ พ.ศ. 2477 ในหัวข้อ เพลงชาติไทยฉบับ พ.ศ. 2475 และ พ.ศ. 2477)
 
แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตต์แดนสง่า
สืบชาติไทยดึกดำบรรพ์บุราณลงมา ร่วมรักษาเอกราษฎร์ชนชาติไทย
บางสมัยศัตรูจู่มารบ ไทยสมทบสวนทัพเข้าขับไล่
ตะลุยเลือดหมายมุ่งผดุงผะไท สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา
อันดินแดนสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราษฎร์คือเจดีย์ที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมมีใจ
ยึดอำนาจกุมสิทธิ์อิสสระเสรี ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้
เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทย สถาปนาสยามให้เทิดชัยไชโย
 
อ้างอิงจาก https://th.wikipedia.org/wiki/เพลงชาติไทย

Tags :  ร้องเพลงชาติไทย, ประวัติเพลงชาติไทย, เนื้อร้องเพลงชาติไทย



GPSราคาถูก | เครื่องฟอกอากาศในรถยนต์ | Ran Online | Ragnarok | โปรโมชั่น | เกมส์ออนไลน์

Promotion
บันทึกการเข้า
ittipan1989
Drift King
*****

การ์ม่า: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 25925


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 25, 2016, 04:35:07 pm »

เพลงชาติไทยเชิงอรรถ

เนื้อร้องทีขุนวิจิตรมาตรา[/url]ส่งประกวดในปี พ.ศ. 2482 มีดังนี้
"ไทยไทยไทย ระลึกไว้ เผ่าของเรา
ที่รวมเข้า มาเป็นชาติ ไทยกาจกล้า
เอาเนื้อถม สร้างแผ่นดิน ถิ่นไทยลงมา
เอาเลือดทา ไว้เอกราช คงชาติไทย
ไทยเชื้อเรา สร้างไทย ไว้สำหรับไทยอยู่
เราต้องชู เชิดไทย ไว้ให้ได้
ใครรุกราน ไทยพร้อม ไม่ยอมให้ใคร
เอาชีพแลกชาติ ประเทศไว้ เพื่อไทยไชโย"

ดู สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. ความเป็นมาของ[url=http://xn--72caj8bk2b6abu1fycza3mpc6c.blogspot.com/]เพลงชาติไทปัจจุบัน หน้า 85.)

 ตามที่ปรากฏประกาศเพลงชาติลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2477 ซึ่งตีพิมพ์ในราชกิจนุเบกษาเล่ม 51 ตอน 0 ง วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2477 ได้พิมพ์ข้อความในวรรคนี้เป็น "แม้ถึงไทยไทยด้อยจนย่อยยับ" ซึ่งผิดจากลายมือต้นฉบับของฉันท์ ขำวิไล ซึ่งเขียนไว้ว่า "แม้ถึงภัยไทยด้อยจนย่อยยับ" ทำให้อ่านไม่ได้ความหมาย ในบทความนี้จึงถือเอาความตามลายมือของฉันท์ ขำไว้ไลแทนฉบับที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ดู สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. ความเป็นมาของเพลงชาติไทยปัจจุบัน. หน้า 45 - 46

บันทึกการเข้า
Jeatnarong9898
Drift King
*****

การ์ม่า: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 24436


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มีนาคม 29, 2016, 05:46:26 am »

กลอ[/size]

ธงชาติไทย ไกวกวัด สะบัดพลิ้ว             แลริ้วๆสลับงามเป็นสามสี
ผ้าผืนน้อยบางเบาเพียงเท่านี้                       แต่เป็นที่รวมชีวิตและจิตใจ
       ชนรุ่นเยาว์ ยืนเรียบระเบียบแถว           ดวงตาแน่วนิ่งตรง ธงไสว
ประเทศไทย รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย            ฟังคราใดเลือดซ่านพล่านทั้งทรวง
       ผืนแผ่นดินถิ่นนี้ที่พำนัก                      เราแสนรักและแสนจะแหนหวง
แผ่นดินไทย ไทยต้องครองทั้งปวง               ชีพไม่ร่วงใครอย่าล้ำมาย่ำยี
       เธอร้องเพลงชาติไทยมั่นใจเหลือ           พลีชีพเพื่อชาติที่รักสมศักดิ์ศรี
เพลงกระหึ่มก้องฟ้าก้องธาตรี                    แม้นไพรีได้ฟังยังถอนใจ
       แต่สิ่งหนึ่งซึ่งไทยร้าวใจเหลือ                คือเลือดเนื้อเป็นหนอนคอยบ่อนไส้
บ้างหากินบนน้ำตาประชาไทย                   บ้างฝักใฝ่ลัทธิชั่วน่ากลัวเกรง
       ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง                    แต่หวั่นทรวงศึกใกล้ไล่ข่มเหง
ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง                         จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง

ที่มา หนังสือดอกไม้ใกล้หมอน
ของ นภาลัย ฤกษ์ชนะ(สุวรรณธาดา)

บันทึกการเข้า
Jeatnarong9898
Drift King
*****

การ์ม่า: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 24436


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: มีนาคม 30, 2016, 11:24:26 pm »

[url=http://xn--72caj8bk2b6abu1fycza3mpc6c.blogspot.com/]เพลงชาติไท[/size]
ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย
เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน
อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี
ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย

เพลงสรรเสริญพระบารมี
คำร้อง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ทำนอง : พระเจนดุริยางวงค์ (ปิติ วาทยะกร)

ข้าวรพุทธเจ้า เอามโนและศิระกราน
นบพระภูมิบาลบุญดิเรก เอกบรมจักริน
พระสยามินทร์พระยศยิ่งยง เย็นศิระเพราะพระบริบาล
ผลพระคุณ ธ รักษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์
ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด จงสฤษดิ์ดัง
หวังวรหฤทัย ดุจถวายชัย ชโย

บันทึกการเข้า
raraymondas
Drift King
*****

การ์ม่า: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 37247


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: มีนาคม 31, 2016, 03:47:28 am »

ขอบคุณสำหรับเนื้อหาเกี่ยวกับ เพลงชาติไทย ครับ

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ