Advertisement
ถิ่นกำเนิดถั่งเช่า ถั่งเช่าพบเจอได้ แถบทุ่งหญ้าประเทศจีน (ธิเบต) , เนปาล , ภูฎาน ในระดับความสูง 10000 -12000 ฟุต จากระดับน้ำทะเล แต่ในปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยง ส่วนใหญ่เพาะเลี้ยงในบริเวณภาคใต้ของมณฑลชิงไห่ , เขตซานโตวในธิเบต มณฑลเสฉาน ยูนนาน และกุ้ยโจว
ลักษณะทั่วไปถั่งเช่า ถั่งเช่า ที่เรียกว่า
หญ้าหนอน เพราะสมุนไพรชนิดนี้ประกอบไปด้วย 2 ส่วน ฤดูหนาวเป็นหนอน ฤดูร้อนเป็นหญ้า คือ ส่วนที่เป็นตัวหนอน ตัวหนอนของผีเสื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ Hepialus armoricanus Oberthiir และบนตัวหนอนมีเห็ดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ Cordyceps sinensis (Berk.) Saec. หนอนชนิดนี้ในฤดูหนาวจะฝังตัวจำศีลอยู่ใต้ดินภูเขาหิมะ เมื่อน้ำแข็งเริ่มละลาย สปอร์เห็ดจะพัดไปกับน้ำแข็งที่ละลาย และไปตกที่พื้นดิน จากนนั้นตัวหนอนเหล่านี้ก็จะกินสปอร์ และเมื่อฤดูร้อนสปอร์ก็เริ่มเจริญเติบโตเป็นเส้นใยโดยอาศัยการดูดสารอาหารและแร่ธาตุจากตัวหนอนนั้น เส้นใยงอกออกจากห้องของตัวหนอน และงอกออกจากปากของมัน เห็ดเหล่านี้ต้องการแสงอาทิตย์มันจึงงอกขึ้นสู่พื้นดิน รูปลักษณะภายนอกคล้ายไม้กระบอก ส่วนตัวหนอนเองก็จะค่อย ๆ ตายไป อยู่ในลักษณะของหนอนตามซาก ฉะนั้น “ถั่งเช่า” ที่ใช้ทำเป็นยาก็คือ ตัวหนอนและเห็ดที่แห้งแล้วนั่นเอง โดย
ถั่งเช่าที่มีคุณภาพดี ตัวหนอนต้องมีสีเหลืองสดใส และมีความยาว ปริมาณใหญ่สมบูรณ์ ด้านหน้าตัดมีสีขาวแกมเหลือง และส่วนที่เป็นรา มีสีน้ำตาลเข้ม
การขยายพันธุ์ถั่งเช่า - เตรียมขวดแก้ว
- เตรียมสารอาหารสำหรับเชื้อเห็ดถั่งเช่าสีทอง คือ ข้าวสังข์หยด , ปลายข้าว , ข้าวโพด . ถั่วเขียว , ถั่วเหลือง , กากถั่วเหลืองรำข้าว , ตัวหนอนไหม(ดักแด้)(บด) เพื่อมาเป็นแหล่งโปรตีน หากช่วงไหนไม่มีหนอนไหม ก็ให้ใช้ไข่แทน
- นำน้ำเปล่าที่ต้มกับมันฝรั่ง , ข้าวโพดอ่อน , ไข่ และนำไปเติมในขวดที่ใส่อาหารไว้
- นำไปนึ่ง ในหม้อนึ่งความดัน ที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส , ด้วยความดันที่ 15 ปอนด์/ตารางนิ้ว เป็นเวลา 30 นาที กรณีที่นึ่งด้วยลังถึง ให้นึ่งนานเป็นเวลา 30 – 40 นาที จากเมื่อน้ำเดือด , แล้วนำมาพักไว้ 1 วัน , แล้วนำมานึ่งแบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง
- จากนั้นนำไปเขี่ยใส่เชื้อเห็ด ลงในขวดสารอาหาร แล้วนำไปบ่งเชื้ออีก 2 อาทิตย์ ในที่มืด
- จากนั้นนำมาเลี้ยงต่อในที่ ควบคุมอุณหภูมิ ให้มีความเย็น 18 องศา ต่ออีก 2 – 3 เดือน จนเห็ดขึ้นเต็มที่จึงเก็บผลผลิตได้
องค์ประกอบทางเคมี ถั่งเช่ามีองค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญคือ สารแมนนิทอล (manniton) หรือกรดคอร์ดิเซพิก (cordycepic acid) มีปริมาณร้อยละ 7 – 29 (แตกต่างกันในระยะเจริญเติบโตต่าง ๆ ของดอกเห็ด) และสารคอร์ดิเซพิน (cordycepin) ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของสารอะดีโนซีน (adenosine) นอกจากนี้ยังพบสารกลุ่มนิวคลีโอไซค์ (nucleosides) โปรตีน พอลิแซ็กคาไรค์ (polysaccharides) ไขมันสเตอรอล (syerols) วิตามิน แร่ธาตุปริมาณไม่เยอะ เป็นต้น
Tags : หนอนถั่งเช่า,ถั่งเช่าสีทอง,การเพาะเห็ดถั่งเช่าสีทอง