Advertisement
ถิ่นกำเนิดเจียวกูหลาน มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย ในบริเวณที่มีภูมิประเทศเป็นป่าเขาที่มีความสูงระดับ 3 เป็นป่าเขาที่มีความสูงระดับ 300 – 3200 เมตร จากระดับน้ำทะเล ทางภาคตะวันออกของประเทศจีน และมีการเพาะปลูกกระจายไปยังประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย พบตามธรรมชาติที่ดอยอินทนนท์ และมีการนำมาเพาะพันธ์ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ปัจจุบันมีเกษตรกรปลูกเป็นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ชัยภูมิ จันทบุรีและนครราชสีมา
ลักษณะทั่วไปของเจียวกูหลาน แบ่งได้เป็น 2 สายพันธุ์ คือ
- เจียวกู่หลานป่าเป็นพืชที่ขึ้นตามธรรมชาติ รสชาติที่ได้จะมีรสขม
- เจียวกู่หลานบ้าน คือ เพาะปลูกตามแหล่งปลูกทั่วไป รสชาติจะมีรสขมปนหวาน
ต้นเจียวกู่หลาน จัดอยู่พรรณไม้ล้มลุกตระกูลหญ้าแบบเถาเลื้อย ยาว ประมาณ 1 – 150 ซม. มีรากอยู่ใต้ดินเป็นรากเลื้อย เส้นเล็ก ยาวประมาณ 50 – 100 ซม. มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของรากประมาณ 1 ซม. ลำต้นเป็นข้อๆ มีมือเกาะตามข้อ มีขนบางๆ เล็กน้อย เลื้อยไปตามพื้นดินหรือเลื้อยพันกับพืชชนิดอื่นๆ
ใบเจียวกู่หลาน ใบออกเรียงสลับ มักเรียบแบบขนนก กิ่งหนึ่งมีใบประมาณ 3 – 7 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปกลมรีหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบกลม บริเวณขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยเล็กน้อย ตรงกลางของใบ
เจียวกู่หลานจะยาวได้ประมาณ 4 - 8ซม. และกว้างประมาณ 2 - 3 ซม. เส้นใบล่างมีขนสั้นปกคลุม ใบ 2 ข้าง มักเรียงคู่กันเล็กกว่าใบตรงกลาง
ดอกเจียวกู่หลาน ออกดอกเป็นกระจุกมีสีเหลืองเขียว โดยจะออกตามซอกใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศแต่อยู่บนต้นเดียวกัน กลีบดอกเป็นเส้น ปลายแหลมยาว ได้ประมาณ 1มล. ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน มีเกสรเพศเมีย 3 อัน
ผลเจียวกู่หลาน ประเภทของผลเป็นรูปทรงกลม ผลอ่อนเป็นสีเขียว บริเวณผลแก่เป็นสีเขียวออกดำ ลูกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 – 8 มล. ในลูกมีเมล็ด ลักษณะเป็นรูปกลมรี ยาวได้ประมาณ 4 มล. เมล็ดจะเป็นเส้นย่น
การขยายพันธุ์ของจียวกูหลาน พันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้า- พันธุ์อ่างขาง เป็นพันธุ์ที่เพาะปลูกและเพาะโดยมูลนิธิโครงการหลวงอ่างขาง
- พันธุ์จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยภาคเอกชนนำมาปลูกขยายพันธุ์และจำหน่าย
การเตรียมพันธุ์เจียวกูหลาน- การปลูกเมล็ด ใช้วัสดุเพาะปลูกเป็นทรายละเอียด โดยโรยเมล็ดในแปลงปลูก จากนั้น 8 – 14 วัน เมล็ดจะเริ่มงอก ทำการย้ายกล้าเมื่อมีใบจริง 2 – 3 ใบ ควรเพาะเมล็ดในช่วงอากาศเย็น แต่ไม่ควรเพาะปลูกเมล็ดในช่วงฝนตกชุก หรือหยอดเมล็ด 2 – 3 ใบ ลงในหลุมปลูกโดยตรง
- การปักชำ ใช้เถาที่เจริญเติบโตเต็มที่ ไม่อ่อนหรือไม่แก่เกินไป ตัดเป็นท่อนๆ ให้มี 3 – 4 ข้อ ริดใบที่อยู่ 2 ข้อล่างออก ปักลงพื้นให้ลึก 1 – 2 ข้อ โดยปักให้เอียงเล็กน้อย ทำมุมประมาณ 45 องศา เอนส่วนปลายไปทางทิศตะวันตก เมื่อรากงอกและยอดยางประมาณ 10 – 15 ซม. ให้ย้ายลงแปลงเพาะ โดยรากจะงอกประมาณ 7 วันหลังปักชำ
- การขยายพันธุ์โดยใช้ลำต้นใต้พื้นดิน โดยขุดลำต้นใต้พื้นดินขึ้นมา ตัดเป็นท่อนๆ ขนาด 5 ซม. ในแต่ละท่อนมี 1 – 2 ข้อ ขุดหลุมเป็นแนว ใช้ 1 ท่อนพันธุ์ต่อหลุม
- การเก็บเมล็ดพันธุ์ โดยเก็บเกี่ยวผลแก่จัดที่มีลักษณะสมบูรณ์ ประมาณปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน นำไปทำให้แห้ง เอาเปลือกออก เก็บเมล็ดในที่เย็น แห้ง อากาศถ่ายเทได้ดี
สภาพพื้นที่ปลูก - เจริญเติบโตได้ทั้งบนเขาและที่ราบ ในระดับความสูงจากน้ำทะเล 300 – 3200 เมตร
- สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม อุณหภูมิ 16 – 28 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพันธ์ที่เหมาะสมมากกว่าร้อยละ 80
- ลักษณะพื้นดิน ควรเป็นดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนหรือด่างอ่อน มีการระบายน้ำได้ดี ความชื้นในดินไม่สูงเกินไป แต่หน้าดินต้องสามารถอุ้มน้ำได้ดี
- ความต้องการแสง ขอบที่ร่ม อากาศชื้น ไม่ทนความแห้งแล้ง มีปริมาณแสงร้อยละ 40 – 60