Advertisement
สรรพคุณว่านน้ำ ตำรายาไทย: เหง้า เป็นยาขับลม ยาหอม แก้ธาตุพิการ เป็นยาขมช่วยเจริญอาหาร ช่วยได้ในอาการท้องเสีย อาหารไม่ย่อย และอ่อนเพลีย ราก แก้ไข้มาลาเรีย แก้หวัด หลอดลมอักเสบ แก้เจ็บคอ แก้ปวดฟัน เป็นยาระบาย แก้เส้นกระตุก บำรุงหัวใจ แก้หืด แก้เสมหะ เผาให้เป็นถ่านกินถอนพิษสลอด แก้ปวดศีรษะ แก้ลงท้อง พอกแก้ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ แก้บิด แก้ไอ แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียด หัว ใช้ขับลมในท้อง แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ แน่นจุกเสียด ช่วยย่อยอาหาร แก้โรคกระเพาะอาหาร แก้ธาตุพิการ แก้ลมจุกแน่นในทรวงอก แก้ลมที่อยู่ในท้องแต่นอกกระเพาะและลำไส้ บำรุงธาตุน้ำ แก้ข้อกระดูหักแพลง ขับเสมหะ แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย แก้บิด ขับพยาธิ กินมากทำให้อาเจียน บำรุงกำลัง แก้โรคลม แก้ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ แก้ไข้จับสั่น บำรุงประสาท หลอดลม บิดในเด็ก ขับเสมหะ ขับระดู ขับปัสสาวะ รากฝนกับสุราทาหน้าอกเด็กเพื่อเพื่อเป็นยาดูดพิษแก้หลอดลมและปอดอักเสบ เหง้าต้มรวมกับขิงและไพลกินแก้ไข้ ผสมชุมเห็ดเทศ ทาแก้โรคผิวหนัง
ตำรายาไทยแผนโบราณว่านน้ำ จัดอยู่ใน “พิกัดจตุกาลธาตุ” ประกอบด้วย หัวว่านน้ำ รากนมสวรรค์ รากแคแตร รากเจตมูลเพลิงแดง สรรพคุณแก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ แก้จุกเสียด แก้เสมหะ แก้โลหิตในท้อง แก้ไข้ แก้ลม
นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5) ปรากฏการใช้เหง้าว่านน้ำ ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย รวม 2 ตำรับ คือ
ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ “ยาประสะกานพลู” มีส่วนประกอบของเหง้าว่านน้ำ ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดท้อง จุกเสียด แน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย เนื่องจากธาตุไม่ปกติ
ยารักษากลุ่มอาการทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ปรากฏตำรับ “ยาประสะไพล” มีส่วนประกอบของเหง้าว่านน้ำ ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้ในสตรีที่ระดูมาไม่สม่ำเสมอ หรือมาน้อยกว่าปกติ ขับน้ำคาวปลาในสตรีหลังคลอดบุตร ในว่านน้ำมีสารชนิดหนึ่งเรียกว่า อาโกริน acorine มีรสขมและแอลคาลอยด์ คาลาไมท์ อยู่ในนี้เป็นยาแก้บิด เป็นยารักษาบิดของเด็ก (คือมูกเลือด) และหวัดลงคอ (หลอดลมอักเสบ) ได้อย่างดี ชาวเมี่ยนจะใช้ผลอ่อนนำมาบริโภคร่วมกับลาบ ช่อดอกอ่อนๆ จะมีรสหวาน เด็กชอบกิน ส่วนรากอ่อนเด็กในประเทศเนเธอร์แลนด์จะชอบนำมาเคี้ยวเล่นเป็นหมากฝรั่ง
สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนจีน ว่านน้ำ รสขมเผ็ด สุขุม มีฤทธิ์ขับลม ขับเสมหะ สงบประสาท ใช้รักษาอาการไอ ตื่นเต้นลืมง่าย สลึมสลือ บิด ท้องเสีย ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ปวดข้อ แผลฝีหนอง และขับพยาธิ
ข้อแนะนำ/ข้อควรระวัง[/b]
สำหรับผู้ที่มีอาการเหงื่อออกบ่อย ๆ หรือเหงื่อออกง่ายไม่ควรใช้สมุนไพรชนิดนี้ บริโภคเหง้าว่านน้ำเกินขนาดจะทำให้อาเจียนได้ และมีรายงานว่าเหง้าว่านน้ำมีสาร β-asarone ซึ่งมีความเป็นพิษต่อตับและเป็นสารก่อมะเร็ง
การแพทย์แผนไทย ห้ามกินมากกว่าครั้งละ 2 กรัม เพราะจะทำให้อาเจียน (อาจใช้ประโยชน์ในกรณีผู้ป่วยกินสารพิษ และต้องการขับสารพิษออกจากทางเดินอาหารด้วยการทำให้อาเจียน)
Tags : ว่าน้ำ