Advertisement
ขมิ้นอ้อยขมิ้นอ้อย เป็นทั้งเครื่องยาและเครื่องเทศคล้ายกับขมิ้นชัน ได้จากนอกของพืชอันมี
ชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Curcuma zedoaria (Christm.) Roscoe
จัดอยู่ในวงศ์ Zingiberaceae
ฝรั่งเรียก Zedoary
พืชลักษณะนี้เพาะกันทั่วไป สำหรับใช้ปรุงแต่งอาหาร เน่าแห้งใช้เป็นยา หาซื้อได้ตามร้านขายสมุนไพรทั่วไป ขมิ้นอ้อยเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี ใบไม้แห้งและตั้งหัวในฤดูแล้ง แต่จะแตกใบออกใหม่ในฤดูฝน สูงราว ๑-๑.๕ เมตร มีเหง้ารูปไข่ มีแขนงรูปทรงกระบอก แตกออกทั้งสองข้างตรงข้ามกัน เนื้อในเหง้ามีสีเหลือง มีกลิ่นเฉพาะ เหง้าตั้งตรงโผล่ ขึ้นมาเหนือดินลางส่วน (จึงเรียก ขมิ้นอ้อย หรือ ขมิ้นขึ้น หรือ ขมิ้นหัวขึ้น หรือ ว่านหัวตั้ง หรือ สากกะเบือละว้า) ใบเป็นใบเดี่ยว ก้านใบยาว แทงออกจากเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนหุ้มกัน ขนาดกว้าง ๑๕ – ๒๐ เซนติเมตร ยาว ๔๐ – ๕๐ เซนติเมตร แผ่นใบเหนียว ดอกเป็นดอกช่อ ก้านช่อแทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก ยาว ๗ – ๑๕ เซนติเมตร ดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับอยู่ส่วนล่างของช่อ มีสีเขียวปลายชมพู แต่ที่อยู่ส่วนบนเป็นรูปใบหอก สีชมพูหรือชมพูอมขาว ขมิ้นอ้อยจะถูกขึ้นมาในหน้าแล้ง เมื่อสีของใบเริ่มเปลี่ยนจากเขียวเป็นเหลือง
ขมิ้นอ้อยมีองค์ประกอบทางเคมีแตกต่างขมิ้นชัน มีสารสีเหลืองเช่นเดียวกัน แต่สีอ่อนกว่าสีขมิ้นชัน คนไทยนิยมใช้ขมิ้นอ้อยปรุงอาหารมากกว่าขมิ้นชัน เพราะกลิ่นไม่ฉุน ชอบใช้เหง้าสดๆแต่งสีอาหาร เช่นข้าวเหนียวเหลือง ข้าวเหนียวหน้ากุ้ง ขนมเบื้องญวน โดยทั่วไปหมอยาไทยนิยมใช้ขมิ้นอ้อยเป็นอย่างมากกว่าขมิ้นชัน
ตำราคุณสมบัติยาโบราณว่าขมิ้นอ้อยมีรสฝาด เป็นยาสมาน แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน แก้ไข้ ใช้หุงกับน้ำมันมะพร้าว ใส่แผล เพื่อฆ่าเชื้อและสมานแผล และใช้บดผสมกับน้ำปูนใส กินแก้ท้องร่วง
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง :
สรรพคุณขมิ้นอ้อย