Advertisement
อบเชยเทศอบเชยเทศเป็นเปลือกต้นชั้นในของต้นอบเชยเทศ อันมี
ชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Cinnamomum verum J.Presl
มีชื่อพ้อง Cinnamomum zeylanicum L.
ในวงศ์ Lauraceae
มีชื่อสามัญว่า true cinnamon หรือ Ceylon cinnamon
อบเชยเทศนี้ขยายพันธุ์เป็นพืชอาสินที่สำคัญของประเทศศรีลังกา อบเชยเทศเป็นต้นไม้ขนาดกลางสูงราว ๒๐-๒๕ เมตร กิ่งอ่อน มีขนสั้นๆ เปลือกต้นและใบมีกลิ่นหอม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปไข่หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง ๔.๕-๕.๕ เซนติเมตร ยาว ๑๑-๑๖ ซม. ปลายใบมน โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ ก้านใบยาวราว ๒ เซนติเมตร ด้านบนเป็นร่อง เกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อ ที่ปลายกิ่งและตามซอกใบ ยาว ๑๐-๑๒ เซนติเมตร ก้านช่อดอกมีขน เป็นมัน ก้านดอกย่อยยาวราว
๓-๔ มิลลิเมตร มีขน ดอกตูมรูปไข่กลับ ยาวราว ๒-๒.๕ มม. ดอกย่อยมีกลีบรวม ๖ กลีบ ด้านนอกมีขนหนาแน่น ด้านในมีขนแน่นเป็นมัน เกสรเพศผู้มี ๙ อัน เรียงเป็น ๓ วง วงในสุดมีตุ่มที่โคนก้าน เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน มี ๓ อัน รูปผลรียาว ๘-๑๔ มิลลิเมตร มีกลีบรวมติดอยู่กับรวงยาวราว ๔-๘มิลลิเมตร มีสันนูน ๑๒ สัน ระหว่างสันเป็นร่อง ต้นอบเชยเทศในประเทศศรีลังกา อันเป็นแหล่งผลิตและส่งออกอบเชยเทศ ที่ใหญ่ที่สุดในโลกนั้น มีทั้งที่ขึ้นเองในธรรมชาติและปลูกและที่ขยายพันธุ์เพื่อการค้า แต่ชนิดที่ปลูกเพื่อการค้า จะให้อบเชยเทศที่มีคุณภาพดีกว่า เมื่อตัดกิ่งต้นอบเชยเทศจากต้นแล้ว ชาวสวนจะลิดกิ่งและใบขูดเปลือกชั้นนอกออกจนหมด แล้วลอกเปลือกออกซ้อนกัน และต่อกันให้เป็นแท่งยาวราว ๙๐ซม. ตากในร่มตากในที่ร่ม ราว ๓ วัน ในขณะที่ปากใช้นิ้วมือม้วนขอบ ทั้งสองข้างเข้าหากัน จนเปลือกแห้ง จึงมัดรวมกันขาย เรียก อบเชยเทศ เมื่อกลั่นอบเชยเทศด้วยไอน้ำ จะได้น้ำมันระเหยง่ายเรียกน้ำมันอบเชยเทศ ราวร้อยละ ๐.๕ ถึง ๑ น้ำมันที่กลั่นได้ไหม่ๆ จะมีสีเหลือง เมื่อเก็บไว้นานจะเปลี่ยนเป็นสีแดง น้ำมันนี้มีองค์ประกอบหลักเป็นซินนามัลดีไฮด์ ซึ่งมีอยู่ราวร้อยละ ๖๐-๗๕ ใช้แต่งกลิ่นลูกอม ขนมหวาน เหล้า เภสัชภัณฑ์ สบู่ และยาเตรียมที่ใช้สำหรับช่องปาก เมื่อกลั่นใบสดของต้นอบเชยเทศจะได้น้ำมันระเหยง่าย ที่เรียก น้ำมันใบอบเชยเทศ ราวร้อยละ ๑ น้ำมันนี้มีกลิ่นเหมือนกานพลู องค์ประกอบหลักเป็นสารยูจินนอลราวร้อยละ ๖๐-๙๕ ใช้ในอุตสาหกรรมทำเครื่องหอม สบู่
ตำราสรรพคุณยาโบราณว่า
อบเชยเทศมีกลิ่นหอม รสเผ็ดหวาน แก้ลมอัมพฤกษ์ (ลมที่ทำให้อัณฑะบวม) แก้ไข้สันนิบาต แก้อ่อนเพลีย ขับลมผาย อบเชนเทศที่ซื้อได้ในท้องตลาดหลายแห่งมักเป็นอบเชยชวา ที่ได้จากเปลือกต้นที่ทำให้แห้งแล้วของต้นอบเชยชวา ประเภทนี้ผลิตในประเทศอินโดนีเซีย