Advertisement
เดี๋ยวนี้พอทำงานเกี่ยวกับขีดๆ เขียนๆ ก็เลยต้องศึกษาเรื่องการอ่านบนจอ smart device ต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เพราะอยากให้ผู้อ่านได้อ่านง่ายขึ้น ลองผิดลองถูกมาแล้ว เลย สรุปมาได้ 5 ข้อที่คิดว่าน่าจะมีประโยชน์เอาไว้ที่นี่
1. ใช้รูป และวิดีโออย่างเหมาะสม – การเขียนให้คนบนโทรศัพท์มือถืออ่านนั้นควรจะใส่รูป และวิดีโอด้วย จากการสำรวจ คนที่อ่านบทความบนโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น ชอบดูรูปมากกว่าอ่านตัวอักขระ ยาวๆ แถมบางเวลาขี้เกียจอ่านเสียอย่างนั้น การใช้วิดีโอก็ช่วยได้นะ
2. ย่อหน้าบ่อยๆ – เราชอบเขียนกันยาวๆ ต้องบอกกับทีมบ่อยๆ ว่า 5 บรรทัดบนหน้า Desktop คือ 10 บรรทัดบน Mobile การย่อหน้าบ่อยจะทำให้คนอ่านบนโทรศัพท์ได้พัก สายตาพอสมควร และทำให้ประสบการณ์การอ่านดีกว่า
3. ตรวจงานบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ – หลายท่านที่เขียนบทความนั้นมักจะเขียนบน Desktop แต่เรามักจะลืมไปว่าเราเขียนให้คนบนโทรศัพท์อ่าน เพราะฉะนี้ตรวจที่เขียนออกมาบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ดีกว่าตรวจบน Desktop อย่างรูปที่เห็นข้างบนนี่ถ้าเปิดมามีแค่นี้อย่า publish ดีกว่า น่าจะไม่รอด ตัวอักษรเล็กไปจริงๆ
4. พาดหัวให้พอเหมาะ – พาดหัวเป็นตัวกระตุ้นให้คนคลิกมาอ่านเรื่องของเรา คนบน Social Media จะอ่านไม่อ่านก็อยู่ที่พาดหัวข่าว แต่เราต้องสร้างสมดุลย์ระหว่างความเป็น Click- bait (พาดหัวสักแต่ว่าล่อให้คลิก) กับบทความที่ดีนะ
5. เขียนให้กะทัดรัด แต่ไม่จำเป็นต้องสั้นจนอ่านไม่รู้เรื่อง – บางท่านบอกว่าไหนๆ คนบนโทรศัพท์มือถือก็ไม่อ่านยาวแล้ว เขียนมันสั้นๆ เลยละกัน ไม่ใช่อย่างนั้นนะ อย่างไรก็ดีบทความ แบบ Long form content นั้นก็ยังมีความหมาย ขอให้คิดว่าเขียนให้คนอ่านได้ง่ายๆ ก็พอ ถ้ามันจะยาวก็ต้องยาว ไม่ใช่มันยาวแต่ไปบังคับให้มันสั้น ก็จะไปกันใหญ่
นอกจากเขียนบทความให้น่าอ่านเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่แล้วยังต้องทำให้รองต่อการทำ SEO,google adwords ด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
tel : 026420450
website:http://www.netdesignrank.co.th/