Advertisement
โรคเริม (Herpes simplex/Cold sore)โรคเริ คืออะไ
ที่มา : Wikipediaกำเริบได้บ่อยและรุนแรงกว่าปกติ ส่วนในเด็กทารกและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ที่ปลูกถ่ายอวัยวะ อาจมีอาการรุนแรง โดยเชื้อสามารถแพร่เข้าสู่กระแสเลือดกระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว แต่ส่วนใหญ่การติดเชื้อเริมมักไม่แสดงอาการ แต่ยังสามารถแพร่เชื้อไปให้ผู้อื่นได้
สาเหตุของโรคเริม ดังที่กล่ามาแล้วว่าโรคเริมเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ชื่อ เฮอร์ปี ซิมเพล็กไวรัส หรือ เรียกย่อว่า เอชเอสวี (Herpes simplex virus, HSV) ซึ่งไวรัสของโรคเริมนี้เป็นไวรัสต่างชนิดกับโรคงูสวัดและโรคอีสุกอี ใส ถึงแม้จะก่อให้เกิดตุ่มน้ำกับผิวหนังได้คล้ายๆกัน
ในทางการแพทย์สามารถแยกเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคเริมนี้เป็น 2 ชนิด คือ
- เฮอร์ปีส์ ชนิดที่ 1 (herpes simplex virus type I ชื่อย่อ HSV-I)
- เฮอร์ปีส์ ชนิดที่ 2 (herpes simplex virus type II ชื่อย่อ HSV-II)
ซึ่งแต่เดิมเคยเชื่อว่า เฮอร์ปีส์ซิมเพลกซ์ 1 เกิดโรคเฉพาะที่ช่องปากและริมฝีปาก ส่วนเฮอร์ปีส์ซิมเพลกซ์ 2 เกิดโรคเฉพาะที่อวัยวะเพศภายนอกและช่องคลอด แต่ปัจจุบันพบว่าไวรัสทั้ง 2 ชนิด สามารถก่อโรคได้กับผิวหนังทั้ง 2 แห่งได้เช่นเดียวกัน เพียงแต่เชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 1 มักจะทำให้เกิดอาการกำเริบที่ปากมากกว่าที่อวัยวะเพศ ส่วนเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 2 มักจะทำให้เกิดอาการกำเริบที่อวัยวะเพศมากกว่าที่ปาก อนึ่ง HSV เป็นเชื้อไวรัสที่จัดอยู่ใน Fsmily Herpesviridae Subfamily Alphaherpesvirinae ไวรัสตระกูลนี้ทำให้เกิดการติดเชื้อแบบแอบแฝง (latent infection) ที่ปมประสาท
อาการของโรคเริม หลังจากได้รับเชื้อแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ จะเริ่มต้นแสดงอาการ คันๆ เจ็บๆ หรือปวดแสบร้อนบริเวณผิวหนัง แล้วต่อมาจะเริ่มมีอาการอักเสบของผิวหนัง เกิดอาการบวม แดง ร้อน และเริ่มพองเป็นตุ่ม น้ำใส เรียงตัวเกาะกันเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 2-10 เม็ด ลักษณะคล้ายไข่ปลาหรือพวงองุ่น ต่อมาตุ่มน้ำใสเหล่านี้ ก็จะพองโตและแตกออกกลายเป็นแผลเปิดชนิดแผลตื้นๆ หลายแผลติดๆ กัน คล้ายแผลร้อนในภายในช่องปาก และมักจะหายได้เอง ภายใน 1-3 สัปดาห์ ในกรณีที่มีอาการของโรคเริมครั้งแรก ในบางคนอาจมีอาการอ่อนเพลีย ครั่นเนื้อครั่นตัว ไข้ต่ำๆ คล้ายกับอาการของไข้หวัดร่วมด้วย
โดยก่อนหน้าจะเกิดตุ่มพอง อาจอ่อนเพลียแต่ไม่มีอาการอื่น จึงมักไม่รู้ตัวว่า ติดโรค หรือบางคนอาจมีอาการคล้ายไข้หวัดนำก่อน 1 - 3 วันเช่น ไข้สูง หรือ ไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยเนื้อตัว และเมื่อเกิดในปากอาจกินอาหารแล้วเจ็บทำให้กินได้น้อย ผอมลง
ทั้งนี้ในทางการแพทย์สามารถแบ่งชนิดการติดเชื้อของโรคเริมได้ดังนี้- การติดเชื้อในช่องปากและเหงือกอักเสบ คออักเสบ ส่วนใหญ่การติดเชื้อครั้งแรกมักไม่ปรากฏอาการ ประมาณ 1-2 วันจะพบเม็ดตุ่มพองขึ้นที่เยื่อเมือกของช่องปาก โดยปกติจะพบรอยโรคเฉพาะที่เยื่อเมือกในช่องปากและพบได้หลายตำแหน่งอาจเป็นข้างเดียว หรือทั้ง 2 ข้าง แผลจะค่อยหายภายใน 2 สัปดาห์ ในผู้ใหญ่มักพบ คออักเสบหรือทอนซิลอักเสบ มีอาการเจ็บคอ มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอโต อาจพบแผลในลำคอ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย
- การติดเชื้อเริมที่ริมฝีปาก ภายหลังกาติดเชื้อ HSV-1 ครั้งแรก ตำแหน่งที่พบคือ ริมฝีปากบริเวณรอยต่อของผิวหนังและเยื่อเมือก อาการจะเริ่มจะเกิดเม็ดแดงแสบคันประมาณ 1-2 วัน ต่อมากลายเป็นตุ่มหนองใสขึ้นเป็นกลุ่มเรียก cold sore หรือ fever blister
- การติดเชื้อเริมที่กระจกตาและเยื่อบุตา การติดเชื้อทำให้เกิดอาการตาแดงข้างเดียวก่อน และจะลามไปที่กระจกตา เริ่มแรกจะเป็นแผลตื้น ต่อไปแผลจะลามมีลักษณะแตกกิ่งก้านหรือเป็นแผลรูปกลม ทำให้ตาบอดได้
- การติดเชื้อเริมที่สมอง จะทำให้เกิดสมองอักเสบ พบได้ทั้งการติดเชื้อครั้งแรกและซ้ำอาการที่พบคือมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการทางประสาท มีอาการเด่นชัดคือ อาการอักเสบของสมองเฉพาะส่วน ผู้ป่วยจะมีอาการชัก อัมพาตครึ่งซีก พูดไม่ได้
- การติดเชื้อที่อวัยวะสืบพันธุ์ genital herpes) HSV-2 จะระบาดติดเชื้อทางผิวหนังและระบาดไปยังบริเวณอื่น ทำให้เกิดอาการบวมพุพอง บริเวณอวัยวะเพศและทวารหนัก มีอาการคัน ปวดแสบร้อนและเจ็บบริเวณที่เกิดรอยโรคในผู้หญิงทำให้เกิดการอักเสบที่ปากมดลูกช่องคลอดอักเสบ มักเกิดตุ่มแดง บางครั้งเกิดที่ขาอ่อนหรือสะโพกก้น หลังจากเวลาผ่านไปเล็กน้อยจะมีไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบบวม หลังจากเชื้อแฝงตัวที่ปมประสาท ถ้ามีการกระตุ้น เช่นอ่อนเพลีย มีประจำเดือน จะมีอาการคัน ปวดที่อวัยวะเพศ อาการจะคงอยู่ 1-2 วัน ก่อนที่จะมีแผลพุพอง เมื่อเกิดแผลพุพองจะแสดงอาการเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ หลังจากนั้นอาการจะหายไป โดยพบว่าการติดเชื้อในสตรีมักรุนแรงกว่าบุรุษ
นอกจากนี้โรคเริมเป็นโรคที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยเมื่ออาการขอ
โรคเริมหายดีแล้ว เชื้อไวรัสจะไปหลบซ่อนอยู่ในปมประสาท ซึ่งยาไม่สามารถแทรกซึมเข้าไปทำลายได้ เป็นระยะพักหรือ หลบซ่อนตัวของเชื้อไวรัสโดยที่ไม่แสดงอาการออกมา รอเวลาจนกว่าสภาวะความแข็งแรงของร่างกายลดต่ำลง เช่น ตอนอ่อนเพลีย ภูมิต้านทานของร่างกาย ลดต่ำลง สตรีที่กำลังมีประจำเดือน ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในภาวะที่ทำงานหนัก พักผ่อนน้อยเกินไป อารมณ์เครียด คิดมาก กำลังเจ็บป่วย อากาศร้อนและแสงแดดจัด เมื่อใดก็ตามที่สภาวะของร่างกายอ่อนแอ โรคนี้ก็จะกลับมาเป็นซ้ำได้ใหม่ ณ ตำแหน่งที่เดิมหรือใกล้เคียง
แนวทางการรักษาโรคเริม แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคเริมได้จากประวัติอาการ การตรวจร่างกาย และจากลักษณะตุ่มน้ำ โดยมักตรวจพบตุ่มน้ำใสขนาด 2-3 มิลลิเมตร หลายตุ่มอยู่กันเป็นกลุ่ม ๆ หรือพบตุ่มตกสะเก็ดหรือแผลเล็ก ๆ คล้ายรอยถลอกในบริเวณผิวหนังส่วนใดส่วนหนึ่ง ริมฝีปาก หรือที่อวัยวะเพศ และอาจตรวจพบต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียงโตและเจ็บ ผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้ร่วมด้วย อาจตรวจพบแผลขึ้นพร้อมกันหลายแห่งในช่องปาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กที่เป็นเริมในช่องปาก แต่ถ้าหากแพทย์ไม่แน่ใจว่าใช่อาการของเริมหรือไม่แพทย์ก็อาจจะมีการสั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่ม เช่น การตรวจเลือด การเพาะเชื้อตรวจหาสารก่อภูมต้านทาน การทดสอบทางน้ำเหลืองเพื่อหาระดับภูมิต้านทาน เนื่องจากอาการของเริมนั้นค่อนข้างคล้ายกับโรคอื่น ๆ อาทิ โรคงูสวัด แผลร้อนใน และการติดเชื้อแบคทีเรีย
ปัจจุบันโรคเริมยังคงเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายสนิทได้ ซึ่งโดยหลัก ๆ แล้วการรักษาโรคเริมจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ- การบรรเทาอาการเจ็บปวด
- การควบคุมการแพร่กระจายของไวรัส
ซึ่งโรคเริมที่พบมากคือ บริเวณริมฝีปาก ช่องปาก และอวัยวะสืบพันธุ์ ดังนั้นจึงกล่าวถึงเฉพาะบริเวณดังกล่าวดังนี้ เนื่องจากโรคเริมเกิดจากเชื้อไวรัสและสามารถหายได้เอง จึงแนะนำให้รักษาตามอาการ เช่น ใช้ยาแก้ปวดพาราเซตามอล เมื่อมีอาการปวด หรือมีไข้ และอาจจะประคบเย็นให้กับแผล เช่น การทำ wet dressing (การนำผ้าก๊อซมาชุบน้ำเกลือหมาดๆ วางลงด้านบนของแผล) เพื่อให้ความเย็น รู้สึกสบายแก่แผล และช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น และในกรณีที่แผลแตกเป็นแผลอาจมีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียเป็นหนอง อาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย การใช้ยาต้านไวรัส ซึ่งในปัจจุบันมี 3 ชนิด คือ อะไซโคลเวียร์ (acyclovir), แฟมไซโคลเวียร์ (famciclovir), และวาลาไซโคลเวียร์ (valaciclovir) ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ ในการใช้ยากลุ่มนี้ ควรใช้ให้เร็วที่สุด ก่อนที่ไวรัสจะหยุดการเพิ่มจำนวน จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด ในทางปฏิบัติเมื่อตุ่มน้ำใสแตกออกเป็นแผลแล้วจะไม่แนะนำให้ใช้ยาต้านเชื้อไวรัส เพราะเป็นระยะที่ไวรัสหยุดการเพิ่มจำนวนแล้ว ในรายที่เป็นครั้งแรก ควรใช้ยาเม็ด เช่น อะไซโคลเวียร์ ขนาด 200 มก./เม็ด วันละ 5 ครั้ง (ทุก 4 ชั่วโมง) เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 5 วัน ในรายที่กลับมาเป็นใหม่ (recurrent attack) อาจรักษาตามอาการ หรือใช้ยาทาอะไซโคลเวียร์ ซึ่งควรใช้ทันทีที่เริ่มมีอาการ อาจช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น และควรใช้ยาทาชนิดนี้ วันละ 5 ครั้ง ทุก 3-4 ชั่วโมง ในรายที่มีการกลับมาเป็นโรคเริมได้บ่อยๆ เช่น เป็นโรคเริมทุกเดือน ในกรณีนี้อาจใช้ยาในขนาดป้องกัน การเกิดโรคเริม ด้วยการกินยาเม็ดอะไซโคลเวียร์ ขนาด 200 มก./เม็ด วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกันทุกวัน จะช่วยลดการกลับมาเป็นใหม่ได้ดี
กลุ่มบุคคลที่มีภาวะเสี่ยงที่จะเป็นโรคเริม โรคเริมสามารถพบได้ในทุกช่วงอายุดังนั้นทุกคนมีโอกาสติดโรคเริมได้ (ทั้งบริเวณปากและอวัยวะสืบพันธุ์) แต่มีรายงานว่าการติดเชื้อมากกว่าร้อยละ ๘๕ ของประชากรโลก โดยติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ที่เป็นสาเหตุของโรคเริมที่ปาก (HSV1)
ซึ่งการติดเชื้อครั้งแรกเกิดขึ้นในวัยเด็กเป็นส่วนใหญ่ อุบัติการณ์สูงสุดเกิดในเด็กระหว่างอายุ ๖ เดือน ถึง ๓ ขวบ เด็กในชุมชนแออัดและสุขอนามัยไม่ดีมีโอกาสติดเชื้อมากกว่าแต่ในปัจจุบันพบในวัยหนุ่มสาวเพิ่มมากขึ้น
การติดต่อของโรคเริม จะเกิดขึ้นได้ ต้องมีสภาพการณ์ดังนี้มีเชื้อไวรัสในน้ำเหลืองจากแผล น้ำลาย น้ำเหลืองหรือน้ำอสุจิ (semen) แล้วเชื้อไวรัสต้องเข้าสู่ผิวหนังที่มีรอยถลอกหรือรอยแผล และอาจจะเข้าสู่เยื่อเมือก เช่น บริเวณปากและอวัยวะเพศ
เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกายแล้วจะมีกระบวนการติดเชื้อ ดังนี้
เฮอร์ปีส์ไวรัสจะแทรกซึมเข้าไปในเซลล์ผิวหนังที่อยู่ชั้นล่างๆของผิวหนังโดยที่บางครั้งก็ไม่มีอาการ
แต่บางรายไวรัสจะแบ่งตัวและทำลายเซลล์ผิวหนัง จึงมีการอักเสบทำให้มีตุ่มน้ำใสเกิดขึ้นเป็นกลุ่ม อยู่บนปื้นแดง เมื่อตุ่มน้ำแห้งหรือแตกไปจะเกิดเป็นสะเก็ด แล้วหายโดยไม่มีแผลเป็น
ภายหลังการแบ่งตัวครั้งแรกแล้ว ไวรัสจะเข้าไปตามเส้นประสาทที่เลี้ยงผิวหนังบริเวณที่เกิดโรคแล้วเข้าไปแฝงตัวอยู่ที่ปมประสาทโดยไม่มีการแบ่งตัว ทำให้ทั้งไวรัสและเซลล์ประสาทอยู่ด้วยกันได้เป็นปกติ ซึ่งเชท้อนี้มีระยะฟักตัวของโรคประมาณ 2-12 วัน แต่โดยเฉลี่ย 6-7 วัน
เราไม่ทราบแน่ชัดว่ามีช่วงใดบ้างที่ไวรัสจะมีการแบ่งตัวและแพร่กระจายออกมาจากเซลล์ที่แฝงตัวอยู่ ในช่วงนี้เองที่จะพบไวรัสในของเหลวของร่างกาย ทำให้เกิดการติดเชื้อแก่ผู้สัมผัสได้ และบ่อยครั้งที่การแบ่งตัวของไวรัสเกิดขึ้นโดยไม่มีอาการ
ซึ่งการติดต่ออาจเกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับตุ่มแผลที่เป็นโรค จากน้ำ จากตุ่มพอง จากน้ำลาย จากสารคัดหลั่ง หรือจากเมื่อใช้ของใช้ร่วมกัน การจูบ การกิน จากมือติดโรคป้ายตาจึงเกิดโรคที่ตา และเมื่อเกิดกับอวัยวะเพศ จะก่อให้เกิดการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ และติดต่อจากแม่สู่ลูกได้ขณะคลอด ถ้าขณะคลอดมารดาติดเชื้อนี้ที่อวัยวะเพศ เมื่อติดเชื้อเริมมักไม่มีอาการอะไร แต่เชื้อจะอยู่ในตัวตลอดชีวิต ในปมประสาท รอจนเมื่อร่างกายอ่อนแอลงจึงแสดงอาการแล้วเป็นอีกได้เรื่อยๆ บางครั้งอาจเกิดถึงปีละ 3 ครั้ง แต่จะค่อยๆห่างไปเมื่อสูงอายุขึ้น มักเกิดอาการตามหลังช่วงที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานต่ำ เช่น อาการเครียด พักผ่อนน้อย อ่อนเพลีย ถูกแสงแดดจัด หลังผ่าตัด หรือช่วงมีประจำเดือน
การปฏิบัติตนเมื่อป่วยเป็นโรคเริม - ควรรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง พักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่เครียดจนเกินไป หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นใหม่
- แยกของใช้ เครื่องใช้ ส่วนตัว รวมทั้งแก้วน้ำและช้อน
- รักษาความสะอาดบริเวณตุ่มพอง และเครื่องใช้ต่างๆ รวมทั้งไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกันเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- ตัดเล็บให้สั้น ป้องกันการเกา และตุ่มน้ำติดเชื้อจากการเกา
- ดื่มน้ำสะอาดมากๆอย่างน้อย 6 - 8 แก้วต่อวันเมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม เช่น โรคหัวใจล้มเหลว
- งดการสัมผัส หรือมีเพศสัมพันธ์กับรอยแผลของโรคเริม จนกระทั่งแผลหายดีแล้ว พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับบริเวณที่เป็นแผล เพราะอาจจะแพร่ไปสู่คนใกล้ชิด หรือบริเวณอื่นๆ ของร่างกายได้ ถ้าจำเป็นควรใช้เครื่องป้องกัน เช่น สวมถุงยางอนามัย เป็นต้น
- ควรเลือกใช้เครื่องแต่งกายที่ขนาดพอดีตัว ไม่คับเกินไป อาจเลือกชุดที่ทำด้วยฝ้าย
- สตรีที่เป็นเริมที่อวัยวะเพศโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจภายในเดือนละ 1-2 ครั้ง
- รีบพบแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้
- ตุ่มพองลุกลามมาก
- ไข้สูง ไข้ไม่ลงภายใน 1 - 3 วัน
- เริ่มมีอาการทางดวงตา เช่น เริ่มเจ็บตา เคืองตา น้ำตาไหล
- ตุ่มน้ำเป็นหนอง เพราะอาจเกิดอาการติดเชื้อแบคทีเรีย
การป้องกันตนเองจากโรคเริม เนื่องจากผู้ติดเชื้อเริม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อซ้ำ ผู้ป่วยมักไม่มีอาการแสดง แต่สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้อยู่ โดยเชื้ออาจมีอยู่ในน้ำตา น้ำลาย คอหอย อวัยวะเพศ ทวารหนัก ท่อปัสสาวะ การป้องกันการติดเชื้อเริมจึงเป็นเรื่องค่อนข้างยาก เพราะไม่มีทางแยกออกได้ว่าใครบ้างที่เป็นผู้ติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม วิธีการป้องกันเริมที่ดีที่สุด ก็คือการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการติดเชื้อทุกชนิด เช่น
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผล น้ำลาย หรือสิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีตุ่มตามผิวหนังหรือเยื่อเมือก หรือผู้ป่วยที่มีแผลเปื่อยในช่องปาก
- หลีกเลี่ยงการเที่ยวหญิงบริการ และมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่คู่ครอง
- หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกับผู้อื่น เช่น จานชาม แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว
- รักษาสุขอนามัย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทั้งห้าหมู่ในทุก ๆ วัน นอนหลับพักผ่อนให้เพียง และทำให้จิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส/หลีกเลี่ยงความเครียด
สำหรับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HSV ทั้งชนิด live หรือ attenuated หรือ subunit vaccine กำลังอยู่ระหว่างการทดลองในสัตว์
สมุนไพรที่ช่วยป้องกัน/รักษาโรคเริม พญายอ ชื่อวิทยาศาสตร์ Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau
วงศ์ Acanthaceae
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ C. burmanni Nees
สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ สารฟลาโวนอยด์ มีฤทธิ์ลดการอักเสบ สารกลุ่ม monoglycosyl diglycerides เช่น 1,2-O-dilinolenoyl-3-O-b-d-glucopyranosyl-sn-glycerol และสารกลุ่ม glycoglycerolipids จากใบ มีฤทธิ์ยับยั้งไวรัสเริม ฤทธิ์ต้านเริม สารสกัดน้ำจากใบ มีฤทธิ์ต้านไวรัส Herpes simplex type 1 และ type 2 โดยตรงก่อนที่ไวรัสจะเข้าสู่เซลล์ และสารสกัดจากใบความเข้มข้นตั้งแต่ 1:1,200 นาน 30 นาที สามารถออกฤทธิ์ทำลายเชื้อ HSV 2 โดยตรงก่อนเพาะเลี้ยงลงเซลล์ สารสกัดเมทานอลและสารสกัดน้ำจากใบไม่สามารถยับยั้งเชื้อไวรัส HSV-2 และ HSV-1, HSV-2 ในเซลล์ ตามลำดับ
ผู้ป่วยโรคเริมที่อวัยวะสืบพันธุ์ทั้งชายและหญิงจำนวน 27 คน ได้รับการรักษาด้วยครีมจากสารสกัดเอทานอลจากใบพญายอ 5% (dilution 1:4,800) เปรียบเทียบกับการรักษาด้วยยา acyclovir cream จำนวน 26 คน และยาหลอก 24 คน โดยทาแผลวันละ 4 ครั้ง ติดต่อกัน 6 วัน พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยครีมพญายอ และ acyclovir cream แผลตกสะเก็ดในวันที่ 3 และหายภายในวันที่ 7 ต่างจากแผลของผู้ป่วยที่ใช้ยาหลอก จะตกสะเก็ดในวันที่ 4–7 และหายในวันที่ 7-14 หรือนานกว่านั้น ครีมพญายอไม่ทำให้เกิดอาการอักเสบ ระคายเคือง ในขณะที่ acyclovir cream ทำให้แสบ
ผู้ป่วยโรคเริมที่อวัยวะสืบพันธุ์ชนิดเป็นซ้ำ จำนวน 56 ราย ได้รับการรักษาด้วยยาจากสารสกัดใบพญายอ เปรียบเทียบการรักษากับยา acyclovir cream จำนวน 54 คน และยาหลอก 53 คน ทาตุ่มหรือแผลวันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 6 วัน พบว่ากลุ่มที่รักษาด้วยยาจากสารสกัดพญายอแผลจะตกสะเก็ดภายใน 3 วัน และหายภายใน 7 วัน ไม่มีอาการแสบแผล และไม่มีความแตกต่างจากการรักษาด้วย acyclovir cream แต่ยา acyclovir cream จะทำให้แสบแผล
จักรนารายณ์ ชื่อสามัญ Purple passion vine, Purple velvel plant
ชื่อวิทยาศาสตร์ Gynura divaricata (L.) DC. (
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Gynura ovalis DC., Gynura auriculata Cass.) จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE) พบว่าสารสกัดเอทานอลมีคุณสมบัติในการต้านไวรัสเฮอร์ปีส์ (Herpes) ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเริม โดยสารที่แสดงฤทธิ์ต้านไวรัสชนิดนี้คือสารผสมของกรดคาฟีออยควินิก (3, 5- และ 4, 5-di -O-caffeoyl quinic acids) และจากการศึกษาร่วมกับการศึกษาในสัตว์ทดลองก็ไม่พบว่าสมุนไพรจักรนารายณ์มีพิษแต่อย่างใด อีกทั้งยังมีศักยภาพเป็นยาทาภายนอกที่ช่วยบรรเทาอาการอักเสบหรือระคายเคืองที่ผิวหนังซึ่งเกิดจากการแพ้ แมลงสัตว์กัดต่อย และโรคเริม
นอกจากนี้สมุนไพรจักรนารายณ์ยังมีฤทธิ์ต้านไวรัสเริมในหลอดทดลอง ซึ่งสารกลุ่มที่แสดงฤทธิ์ดังกล่าว ได้แก่ กลุ่ม 1, 2-bis-dodecanoyl-3-alpha-D-glucopyranosyl-sn-glycerol, dicaffeoyl quinic acids, sitosteryl- และ stigmasteryl glucosides จึงได้มีการทดลองใช้เจลต้านอักเสบที่มีสารสกัดจากจักรนารายณ์เป็นตัวยาในผู้ป่วยที่เป็นเริมที่ริมฝีปาก โดยพบว่าปริมาณไวรัสมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับยาหลอก
แต่ทั้งนี้สมุนไพรที่มีรายงานในการรักษาโรคเริมได้ผลดีที่สุดและเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย คือพญายอ เนื่องจากมีการศึกษาทางคลินิกอย่างแพร่หลายและได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เช่นในการศึกษาในผู้ป่วยโรคเริมที่อวัยวะสืบพันธุ์ ชนิด HSV-2 ทั้งชนิดที่ติดเชื้อครั้งแรกและติดเชื้อซ้ำ จำนวน 163 ราย และ 77 ราย ให้ผู้ป่วยทายาบริเวณแผล วันละ 4 ครั้ง หรือ ทุก 5 ชั่วโมง พบว่าทำให้อาการดีขึ้น และการศึกษาผลของการใช้ยาจากใบพญายอที่ทำให้อยู่ในรูปของทิงเจอร์และ กลีเซอรีน เพื่อใช้ในผู้ป่วยโรคเริม งูสวัด และแผลอักเสบในปาก จำนวน 16 ราย พบว่าสามารถรักษาแผลและลดการอักเสบได้ผลดี โดยระยะเวลาที่อาการปวดและแผลหายไป จะอยู่ระหว่าง 1-3 วัน นอกจากนี้พบว่า ยาครีมที่ได้จากสารสกัดใบพญายอ ไม่พบอาการข้างเคียงในการใช้
เอกสารอ้างอิง- ภก.ดร.วิรัตน์ ทองรอด.การใช้บาในโรคเริม.นิตยสารหมอชาวบ้าน.เล่มที่318.คอลัมน์ล้านคำถามเรื่องยาปรึกษาเภสัชกร.ตุลาคม.2548
- Braunwald, E., Fauci, A., Kasper, L., Hauser, S., Longo, D., and Jameson, J. (2001). Harrison’s principles of internal medicine (15th ed.). New York: McGraw-Hill.
- ประเสริฐ ทองเจริญ.(2528).เริม.กรุงเทพฯ,สำนักพิมพ์เมดาร์ท จำกัด.
- หนังสือตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2. “เริม (Herpes simplex)”. (นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ). หน้า 969-974.
- Molly,E.(2003).Acyclovir,A commonly used medication for HIV and AIDS patient.(Online).Available: March 1
- ศ.นพ.สมยศ จารุวิจิตรรัตนา.โรคเริม.นิจสารหมอชาวบ้าน.เล่มที่320.คอลัมน์โรคน่ารู้.ธันวาคม.2548
- อภิชาต ศิวยาธร.(2538). โรคเริมที่อวัยวะเพศ.ในพิไลพันธ์ พุธวัฒนะ และชโลบล อยู่สุข. Human Herpesviuses. กรุงเทพฯ,สาขาจุลชีววิทยา ปรสิตวิทยาและอิมมิวโนวิทยามหาวิทยาลัยมหิดล.โรงพิมพ์อักษรสมัย,หน้า12.7-12.9
- เริม-อาการ,สาเหตุ,การรักษา.
- จันทพงษ์ วะสีและคณะ.(2530).ไวรัสวิทยาการแพทย์.กรุงเทพฯ สาขาไวรัสวิทยาภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลซโรงพิมพ์อักษรสมัย
- Yoosook C, Bunyapraphatsara N, Boonyakiat Y, Kantasuk C. Anti-Herpes simplex virus activities of crude water extracts of Thai medicinal plants. Phytomedicine 1999;6(6): 411-9.
- พญายอ.ฉบับประชาชน.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. http://www.disthai.com/[/b]
- หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “จักรนารายณ์”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 178.
- ชื่นฤดี ไชยวสุ ทวีผล เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา เครือวัลย์ พลจันทร ปราณี ชวลิตธำรง สุทธิโชค จงตระกูลศิริ. การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากใบเสลดพังพอนและใบพญายอต่อเชื้อ Herpes simplex virus type-2 ในหลอดทดลอง. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2535;34(4):153-8.
- สมุนไพรรักษาโรคเริม.กระดานถาม-ตอบ.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก
- Yoosook C, Panpisutchai Y, Chaichana S, Santisuk T, Reutrakul V. Evaluation of anti-HSV-2 activities of Barleria lupulina and Clinacanltus nutans. J Ethnopharmacol 1999;67:179-87.
- สมชาย แสงกิจพร เครือวัลย์ พลจันทร ปราณี ธวัชสุภา ปราณี จันทเพ็ชร. การรักษาผู้ป่วยโรคเริมที่อวัยวะสืบพันธุ์ชนิดเป็นซ้ำด้วยยาสารสกัดของใบพญายอ. วารสารกรมการแพทย์ 2536;18(5):226-31
- ดร.เรณู อยู่เจริญ.เริม....ภัยเงียบจากไวรัส.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ปีที่4ฉบับที่4 ตุลาคม 2554-กันยายน2555.หน้า23-29
- ชื่นฤดี ไชยวสุ เครือวัลย์ พลจันทร สมชาย แสงกิจพร มาลี บรรจบ ปราณี ชวลิตธำรง. การศึกษาทดลองในคน : การรักษาผู้ป่วยโรคเริม Herpes simplex virus type 2 ที่อวัยวะสืบพันธุ์ด้วยยาจากสารสกัดใบพญายอ. วารสารโรคติดต่อ 2535;18(3):152-61.
Tags : โรคเริม