“อุตตม” ชี้ EEC คือ “ความจำเป็น” และ “โอกาส” ของไทย

Advertisement


หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “อุตตม” ชี้ EEC คือ “ความจำเป็น” และ “โอกาส” ของไทย  (อ่าน 23 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
xcepter2016
Drift King
*****

การ์ม่า: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 20112


ดูรายละเอียด อีเมล์










« เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2018, 08:33:23 pm »



ล้อแม็ก แม็ก แม็กซ์แต่งรถ

↑ ลงทะเบียนรับข่าวสาร

ล้อแม็ก

Advertisement

“อุตตม” ชี้ EEC คือ “ความจำเป็น” และ “โอกาส” ของไทย
EEC คือ “ความจำเป็น” และ “โอกาส” สำหรับประเทศไทย ในมุมมองของ รมว.อุตสาหกรรม หลังจากไทยไม่มีการลงทุนขนาดใหญ่มานานกว่า 30 ปี EEC จะเป็นจุดเริ่มต้นสร้างความเจริญใหม่ ในภาคตะวันออก ยึดโยงกับทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
 
.
 

 
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และประธานคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก สะท้อนภาพให้เห็นถึง “ความจำเป็น” และ “โอกาส” จากโครงพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออ (EEC) บนเวทีสัมมนา “EEC ไม่มีไม่ได้” ในโอกาสครบรอบ 35 ปี เครือผู้จัดการ
นายอุตตมชี้ว่าเป้าหมายของ EEC คือ เป็นฐานสร้างความเจริญใหม่ หลังจากไทยไม่ได้ลงทุนขนาดใหญ่มานาน 30 กว่าปี EEC จะสร้างอุตสาหกรรม ความเจริญแบบองค์รวม และสร้างเมืองใหม่ไปพร้อมกัน ประชาชนในพื้นที่จะได้รับการยกระดับคุณภาพชีวิตในทุกด้าน เชื่อมโยงกับพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ และเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

“ถ้ามองทั่วโลกมีเขตพัฒนาแบบ EEC เกือบ 4 พันแห่ง ทั้งในเอเชียและยุโรป แต่ที่น่าสนใจคือเกือบครึ่งอยู่ในเอเชีย กำหนดเป็นเขตเพื่อโฟกัสแล้วสร้างให้เป็นจริง พร้อมทั้งยึดโยงกับพื้นที่อื่น EEC จะเป็นจุดเริ่มต้นนำไปสู่การสร้างฐานความเจริญใหม่ โดยคำนึงถึงพื้นที่อื่นในประเทศร่วมไปด้วย”
 
.
 

 
3 โจทย์ใหญ่ ก่อกำเนิด EEC
รมว.อุตสาหกรรม อธิบายให้เห็นถึงโจทย์ใหญ่ 3 ข้อ เพื่อตอบข้อสงสัยว่าทำไมไทยต้องลงทุนมูลค่ามหาศาลในโครงการ EEC มีความจำเป็นแค่ไหน ถ้าไม่มีแล้วจะเป็นอย่างไร 
1.จะทำอย่างไรทำให้ประเทศไทยเป็นที่สนใจของนักลงทุนในทุกๆ ด้านอย่างแท้จริง
2.การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของยุคดิจิทัล ทำให้มีระยะเวลาปรับตัวสั้นลง เป็นตัวเร่งให้ต้องรีบปรับตัว ไม่เช่นนั้นไทยจะถูกทิ้งห่าง
3.ต้องแก้ไขปัญหาที่สะสมมานาน โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และปัญหาพื้นฐานอื่นๆ เช่น ความเหลื่อมล้ำ ความยากจน ช่องว่างทางโอกาส
นอกจากจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศแล้ว หากปล่อยปัญหาทั้งหลายเอาไว้ในโลกปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จะส่งผลกระทบรุนแรงยิ่งกว่าในอดีต
จากเหตุปัจจัยทั้ง 3 ข้อนี้ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องลงทุนโครงการ EEC ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ผลักดันไปสู่การปฏิบัติเพื่อพัฒนาประเทศในทุกมิติอย่างยั่งยื่น และครอบคลุมทุกภาคส่วน ต้องสร้างโครงสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลเชื่อมโยงคนทั้งประเทศเพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกัน เช่นเดียวกับโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม

ด้านอุตสาหกรรม ต้องพัฒนาและต่อยอดเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมเดิม ไม่ใช่แค่ผลิตตามออเดอร์แล้วส่งขายเหมือนในอดีต เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ที่เราเป็นอันดับหนึ่งของอาเซียนอยู่แล้ว ก็ต้องพัฒนาไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า พัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เช่น แบตเตอรี่ และระบบควบคุมไฟฟ้า
ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างอุตสหกรรมขึ้นมาใหม่ (NEW S-Curve) เพื่อใช้ภายในประเทศและส่งออก จึงต้องเป็นสินค้าที่มีศักภาพในการแข่งขัน ตรงกับความต้องการของตลาดโลก
 
.
 
 

 
อุตสาหกรรมใหม่ที่ต้องให้ความสำคัญ คือ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพราะจะช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเข้าถึงตลาดเร็วกว่า ป็นสิ่งจำเป็นทั้งในโรงงานและสถาบันการศึกษา ทำให้ไทยต้องนำเข้าหลายแสนล้านบาทต่อปี โรงงานในพื้นที่ EEC ไม่มีหุ่นยนต์ของคนไทยเลย รัฐบาลจึงมีแผนให้สิทธิประโยชน์เพื่อกระตุ้นความต้องการใช้หุ่นยนต์ให้มากขึ้น และผลิตหุ่นยนต์ให้เพียงพอ ทัดเทียมกับต่างประเทศ
การเกษตร เดิมไทยขายแต่สินค้าวัตถุดิบและประสบปัญหาการตลาด จากนี้จะยกระดับสู่อุตสาหกรรมอาหารสมัยใหม่ เกษตรสมัยใหม่ การแปรรูปอาหารแห่งอนาคต อาหารเพื่อสุขภาพ อาหารที่เหมาะกับคนเฉพาะกลุ่ม ด้วยวัตถุดิบที่เรามี ต่อยอดไปถึงอุตสาหกรรมชีวภาพ เอาวัตถุดิบมาแปรรูปด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งเป็นสินค้าที่ตลาดต้องการ
 
.
 

 
การศึกษา จะต้องเน้นสายอาชีพ สายผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มอุตสาหกรรม เช่นเดียวกับหลายประเทศ อาทิ ญี่ปุ่นและเยอรมนี รวมทั้งช่วยเหลือ SMEs อย่างครบวงจร ทั้งการเข้าถึงเทคโนโลยี สนับสนุนด้านเงินทุน และทำการตลาด
 
www.salika.co/
 

คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : eec คือ

Tags : eec คือ,eec คือ



GPSราคาถูก | เครื่องฟอกอากาศในรถยนต์ | Ran Online | Ragnarok | โปรโมชั่น | เกมส์ออนไลน์

Promotion
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ