เครื่องทำซอง

Advertisement


หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เครื่องทำซอง  (อ่าน 22 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
adzposter
Drift King
*****

การ์ม่า: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 14640


ดูรายละเอียด อีเมล์










« เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2018, 06:16:11 am »



ล้อแม็ก แม็ก แม็กซ์แต่งรถ

↑ ลงทะเบียนรับข่าวสาร

ล้อแม็ก

Advertisement

ความรู้เบื้องต้นงานทำซอ[/b]
งานซองรีทอร์ท ( retort pounch )อยู่ระหว่างเรียบเรียงข้อมูล เพื่อจะนำเสนอ วิธีการผลิต
**** อันดับแรกที่มีความสำคัญที่สุดคือ ต้องทราบก่อนว่า งานที่จะผลิตคืองานอะไร มีลักษณะอย่างไร ต้องการไปบรรจุสินค้าชนิดใด เป็นของเหลวหรือของแข็ง ขนาดบรรจุ มีความต้องการความสวยงามมากหรือน้อย  ถ้ายังไม่ทราบไม่ต้องไปหาข้อมูลเครื่องจักรให้เสียเวลา หรือว่าหาข้อมูลไปก็ผิดพลาดเสียเวลาไปเปล่าๆ หรืออาจจะเสียเงิน  เพราะว่าข้อมูลเริ่มต้นว่าจะผลิตงานอะไรก็ยังไม่รู้เลย***การแก้ไขภายหลังเป็นเรื่องยาก***
***เครื่องจักรไม่สามารถผลิตงานได้ดีทุกงานเหมือนกันหมดทุกเครื่อง ต้องเลือกเครื่องจักร ที่เหมาะสม ผู้ขายเครื่องจักรที่ไม่มีประสบการณ์ จะแจ้งว่าเครื่องจักร สามารถผลิตงานได้ แต่ไม่ได้บอกว่าผลิตได้ดีหรือไม่ดี เมื่อผลิตไม่ได้หรือไม่ดีก็จะโทษว่าคนทำงานไม่ดี***ปัจจุบันสินค้ามีการแข่งขันด้านการตลาดแข่งขันกันด้านราคากันมาก ซึ่งด้านราคาผู้ซื้อเป็นผู้กำหนดหรือเลือกผู้ผลิต ทำให้ผู้ผลิตต้องแข่งขันกันด้านราคา ในการควบคุมราคาหรือต้นทุนการผลิตให้ต้นทุนต่ำ อยู่ที่การควบคุมคุณภาพให้ได้ดีไม่มีการ REJECT. และที่สำคัญคือการลดการสูญเสีย NC & WASTE จึงต้องเลือกเครื่องจักรที่ถูกต้องเหมาะสมกับงานที่ต้องการผลิตเป็นสิ่งสำคัญ***




ด้านล่างสุดของบทความมี VDO เครื่องแพคซอง อัตโนมัติครับ
มีสินค้าที่ต้องการผลิตปรึกษาเราได้ทั้งเรื่อง เครื่องจักร,คน ,วัตถุดิบ ,วิธีการทำงาน, งบลงทุนหรืออ่านบทความแล้วยังเข้าใจไม่ชัดเจน
*******มีความสนใจเครื่องจักร  เรามีบริษัทที่มีความชำนาญ ให้คำปรึกษาได้ครับ
คุณ สง่า พูนอนันต์  โทร 081-583-5879…094-941-6829

**มีการตั้งคำถาม และคำตอบ ปัญหางานทำซองด้านล่างบทความครับ
( ซองแตกเพราะอะไร? ) , ( ซองตั้งน้ำยาปรับผ้าหรือน้ำยาล้างจานรั่วเป็นตามดที่ตำแหน่งมุมที่เป็นการตั้งซอง ) , (งานใส่ข้าวสาร 5 ก.ก. โยนทดสอบแล้วแตก ) , (งานซองน้ำมันพืชรั่วซึม ) , ( งานติดซิป ติดไม่ดี  ) , (งานซองอลูมิเนียมติดซิปแล้วรอยซีลที่ตำแหน่งอลูมิเนียม อลูมิเนียมแตกเป็นฝอย) , ( ซองมีการทดสอบใต้น้ำแล้วมีฟองอากาศลอยขึ้นมา) , ( ซองทำออกมาแล้วเปิดปากซองเพื่อบรรจุสินค้าไม่ได้,)
***ในบทความมีหลายๆระดับความรู้ เลือกหาอ่านเนื้อหาที่อ่านแล้วมีความเข้าใจ ตามพื้นฐานความรู้เรื่องพิมพ์กราเวียร์[/i] ของแต่ละบุคคลครับ ถ้าบางเรื่อง อ่านแล้วไม่เข้าใจก็อ่านผ่านๆไปก่อน แล้วลองกลับมาอ่านซ้ำเพื่อทำความเข้าใจ เพราะว่ามีรายละเอียดมากทุกขั้นตอนอาจจะเขียนได้ไม่ครอบคลุมทุกเรื่องได้ทั้งหมด ส่วนใหญ่ปัญหาต่างๆเกิดจาก เครื่องจักร , คน ,วิธีการทำงาน ,วัตถุดิบ ถ้าแยกออกเป็นเรื่องย่อยๆแล้วจะใช้เวลาเขียนนาน ควรอ่านเฉพาะที่มีมีความสนใจ ,เข้าใจและประเด็นที่ต้องการอ่านก่อน เพื่อนำไปใช้ทำความเข้าใจ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นว่ามาจากสาเหตุใด อาจจะตรงประเด็นกันบ้าง ไม่ตรงประเด็นกันบ้าง คิดเสียว่ายังมีเรื่องราวเรื่อง เกี่ยวกับพิมพ์ระบกราเวียร์[/url] ให้อ่านบ้างก็ดีนะครับผม
***อ่านบทความก็จะทราบดีว่ามีประสบการณ์จริง เขียนบทความจากประสบการณ์จริง ภาษาที่ใช้เขียนเป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารในการปฎิบัติงานในโรงงาน ถ้าผู้อ่านไม่ได้มาจากสายปฎิบัติงาน (อาจจะมาจากสายวิชาการ- สายทฤษฎี ) หรือยังไม่มีประสบการณ์ ในการทำงานในสายงานนี้ อาจจะอ่านบทความแล้วไม่ค่อยเข้าใจ ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจบ้างพอสมควร
****ไม่ขอแนะนำเครื่องจักรมือสอง สำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ เพราะต้องใช้ประสบการณ์มาก และต้องมีเทคนิคการผลิตสูง ต้องมีความเข้าใจเบื้องต้น เรื่องการซ่อมแซมบำรุงรักษาด้วยตนเองในระดับหนึ่งเพราะเครื่องจักรจะมีการเสียบ่อย ถ้าจ้างช่างเข้ามาซ่อมจะเสียเวลารอ ค่าใช้จ่ายสูง และข้อจำกัดของเครื่องจักรในด้านการพิมพ์ คุณภาพงานพิมพ์ได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่การคาดหวังเริ่มต้นจะคาดหวังเพียงเล็กน้อย ผลิตงานง่ายๆ ตามความเข้าใจของตนเองหรือเห็นการทำงานของคนอื่นที่มีประสบการณ์ แต่จริงๆแล้วไม่ง่ายเลย ลองๆสอบถามคนที่ใช้งานเครื่องมือสองผลิตงานกว่าที่จะได้ผลิตงานได้ระดับที่ขายให้ลูกค้าได้ เขาใช้เวลานานเท่าไร ใช้เงินลงทุนไปเท่าไร ใช้เวลานานเท่าไร คงไม่มีใครตอบว่าใช้งานได้ในเดือนแรกที่เริ่มทำงาน อาจจะใช้เวลา 6 เดือนหรือ 1 ปี หาข้อมูลเปรียบเทียบให้ครบถ้วนทุกๆด้านก่อนการตัดสินใจนะครับ***
อาจมีปัญหาหลายๆปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วที่ทุกๆโรงงาน มีการมองข้ามปัญหาและหา สาเหตุการเกิดปัญหาไม่ได้แต่ได้คำตอบว่าว่า “ไม่เกี่ยวข้องกัน” แต่ก็หาคำตอบไม่ได้สักที ปัญหาก็ยังคงอยู่ต่อไป( ถ้าไม่เปิดกว้างทางด้านความคิดและรับเรื่องเทคนิคการผลิตใหม่ๆเข้ามาเพื่อหาสาเหตุ ก็หาคำตอบไปจนเกษียนก็หาคำตอบไม่ได้ )
บทความ
***ด้านล่างบทความมี  VDO  การทำงานเครื่อง ทำซองซีล 3 ด้าน ติดซิป ซองตั้งและ เครื่องAUTO PACK สำหรับแพคสินค้าแบบเป็นซองอัตโนมัติ
***ในบทความมีหลายๆระดับความรู้ เลือกหาอ่านเนื้อหาที่อ่านแล้วมีความเข้าใจ ตามพื้นฐานความรู้เรื่องพิมพ์กราเวียร์ ของแต่ละบุคคลครับ ถ้าบางเรื่อง อ่านแล้วไม่เข้าใจก็อ่านผ่านๆไปก่อน เพราะว่ามีรายละเอียดมากทุกขั้นตอนอาจะเขียนไม่ครอบคลุมทั้งหมด ส่วนใหญ่ปัญหาต่างๆเกิดจาก เครื่องจักร , คน ,วิธีการทำงาน ,วัตถุดิบ ถ้าแยกออกเป็นเรื่องย่อยๆแล้วน่าจะใช้เขียนนาน อ่านเฉพาะที่เข้าใจและที่ต้องการอ่าน เพื่อนำไปใช้ทำความเข้าใจแก้ปัญหาที่เกิดจากการทำงาน อาจจะตรงประเด็นกันบ้าง ไม่ตรงประเด็นกันบ้าง คิดเสียว่ายังมีเรื่องราวพิมพ์กราเวียร์ให้อ่านบ้างก็ดีนะครับผม
*** ถ้ามีการทำซองผิดพลาดเสียหาย จะเป็นการสูญเสียทั้งหมด ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตแรกเริ่ม พิมพ์, ดราย, สลิท เพราะฉะนั้นขั้นตอนการผลิตนี้จะมีความสำคัญมาก และย้อนการแก้ปัญหากลับไปทุกขั้นตอนการผลิต ที่ทำการผลิตก่อนหน้า***
ปัญหาหนี่งที่พบที่แผนกทำซองแต่ปัญหาเกิดจาการสลิทงานมาให้เครื่องทำซองซีลกลาง จากเครื่องสลิทงานออกมา ได้ภาพและขนาดภาพไม่ตรงกึ่งกลางทำให้งานที่ออกมาภาพไม่อยู่กึ่งกลางภาพ
#การตั้งขนาดงาน ควรวัดขนาดงาน(ตั้งตำแหน่งที่วางมีด)จากกึ่งกลางงาน (กึ่งกลางม้วน,ภาพที่อยู่แถวกลาง)แล้ววัดออกไปด้านข้าง ที่มีภาพด้านข้าง (แถวข้าง) แล้วให้สลิทงานออกมาเพียงเล็กน้อย ตัดภาพงานที่สลิทออกมา วางงานทับซ้อนกันเพื่อตรวจเช็คว่างานที่ออกมาทุกภาพ ทุกแถวที่อยู่ในม้วนเดียวกัน มีขนาดตรงกันหรือไม่ และภาพตรงกันหรือไม่ เพราะว่าอาจจะพบกับการที่งานมีขนาดความกว้างตรงกันแต่ทำไมเมื่อส่งไปทำซอง ซีลกลางหรือส่งให้ลูกค้าจะพบปัญหาการทำซองซีลออกมาแล้วขนาดซองมีขนาดได้ตรงตามสเปคแต่ภาพที่ออกมาไม่อยู่กึ่งกลางซอง
# ข้อสังเกตุ รูปร่างของเครื่องจักร อาจจะเหมือนกันหมดเพราะทำรูปแบบเดียวกัน ดูด้วยสายตาดูแล้วว่าสวยดี เพราะว่าเครื่องจักร ผลิตมาจากรูปแบบเดียวกัน แต่ในส่วนลึกๆที่จริงแล้ว จะมีความแตกต่างกันในสิ่งที่มองไม่เห็น เช่น เนื้อเหล็กที่ทำโครงสร้างเครื่อง – ความหนาของโครงสร้างเครื่องจักร  -ความแข็งแรง – การถ่ายเทความร้อนของฮีตเตอร์และการใช้เวลาที่ทำให้ฮีตเตอร์ร้อน – ความเร็วในการตอบสนองของชุดควบคุมความตึง,หย่อน ( tension  control ) – ความได้ศูนย์กลางของเครื่องจักร…..ยกตัวอย่างเหมือนกับเตารีดไฟฟ้า รีดผ้าทำไม ? มีราคาที่หลากหลายราคา แต่การรีดผ้าให้เรียบ และ.ให้ความร้อนได้เร็ว ความร้อนมีความสม่ำเสมอ รีดผ้าได้เรียบแบบคงที่ ต้องใชัเตารีดราคาที่มีราคาที่สูง เพราะว่าโลหะที่ทำเครื่องรีดผ้ามีคุณภาพสูง ทั้งวัสดุผิวหน้าเตารีดที่ลื่น เงา, ถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่า,ขดลวดความร้อนที่ให้ความร้อนเร็ว ตอบสนองการรีดได้ตามความต้องการ มีอุณหภูมิร้อนคงที่ ทำให้ได้คุณภาพที่ดี…เช่น เดียวกันกับเครื่องทำซองถ้าสิ่งเหล่านี้คุณภาพไม่ดีตอบสนองได้ไม่ดี เครื่องจักรจะเดินด้วยความเร็วไม่ได้ จะซีลซองไม่ติดและไม่เรียบ (ย่น, งอ ) หรือติดไม่ดีสม่ำเสมอเท่าๆกันทุกซอง อันตรายมากจะตรวจสอบคุณภาพได้ยากมาก จะพบเมื่อลูกค้านำไปใช้งานแล้ว ซองรั่ว, แตก สินค้าเสียหาย แล้วก็จะหาสาเหตุไม่ได้ว่าเกิดจากสาเหตุใด พนักงานเดินเครื่องก็จะบอกว่าเช็คงานที่ผลิตแล้ว ขณะทำงานรอยซีลติดดี ,คิวซีก็สุ่มตรวจเช็คแล้วคุณภาพก็ผ่านตรงตามสเปค แต่อย่าลืมว่าลูกค้าต้องการซองขั้นตอนสุดท้าย บรรจุสินค้ามีคุณภาพ 100 % ( จ่ายเงินครบก็ต้องได้สินค้าดีๆครบด้วย) ลูกค้าต้องการความมั่นใจในสินค้าที่มีคุณภาพ เพราะถ้าเกิดปัญหาลูกค้าจะเสียหาย ต่อสินค้าที่ผลิตออกมา ( สินค้าบางชนิดมีวันที่หมดอายุ ) และเสียโอกาศในการขายสินค้า
***ในหัวข้อบทความของทุกขั้นตอนการผลิต แต่ละบทความมี เรื่องปัญหาต่างๆที่พบในการพิมพ์ระบบกราเวียร์ และในขบวนการผลิต ได้มีการตอบวีธีการแก้ไขหลายๆปัญหาที่พบในการพิมพ์ ระบบกราเวียร์ โปรดอ่านเผื่อว่าจะตรงกับ ปัญหาที่ท่านกำลังหาคำตอบอยู่ ถ้าเปิดผ่านๆไปไม่ได้ความรู้ ขอแนะนำว่า ควรอ่านเป็นอย่างยิ่ง “การเลือกเครื่องจักรให้ถูกต้องกับชนิดของงาน เป็นสิ่งสำคัญ”  เพราะว่าเครื่องจักรมีหลายแบบ แม้รูปร่างเครื่องจักรจะเหมือนๆกัน แต่เครื่องจักรแต่ละแบบ ที่ถูกออกแบบมาให้ทำงานตรงและเหมาะสมกับชนิดของสินค้า จะทำงานได้ดีมีคุณภาพสินค้าที่ดีถูกต้องตรงกับความต้องการ ส่วนสินค้าที่มีความแตกต่างกันออกไป ผู้ที่ต้องการซื้อ ต้องให้ข้อมูลผู้ผลิตหรือผู้ขายเครื่องจักรเพื่อให้ได้เครื่องจักรตรงกับสินค้า… เครื่องจักรที่ถูกออกแบบมาทั่วๆไป จะผลิตสินค้าได้คุณภาพได้ไม่ดีเท่ากับเครื่องจักร ที่ออกแบบมาตรงชนิดกันกับความต้องการผลิตสินค้าชนิดนั้นๆ (เพราะสินค้ามีรูปแบบและคุณสมบัติที่หลากหลายชนิดแตกต่างกันมาก)
***** การที่จะทราบว่างานมีปัญหาหรือไม่เริ่มตั้งแต่ รับงานที่ถูกลูกค้า  nc – complen- reject  ร่วมประชุมเพื่อหาสาเหตุ ,การแก้ไข ,การป้องกัน ไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำ ถ้าได้รับคำตอบที่ไม่มีข้อสรุป โทษกันไป โทษกันมา ยกเว้นโทษตนเอง  วนเวียนคำตอบเป็นวงกลม ไม่สิ้นสุดและหาผลสรุปไม่ได้ ก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ลูกค้าก็จะหมดความน่าเชื่อถือ สุดท้ายงานก็จะหายไป ปัญหาก็ยังคงอยู่ต่อไป
****แผนกทำซองและแผนกสลิท จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะสะท้อนกลับปัญหาต่างๆที่แผนกก่อนหน้าทำสูญเสียแล้วถูกเก็บไว้ในม้วน จะออกมาชัดเจนที่แผนกทำซอง เพราะเดินเครื่องจักรช้าพนักงานสามารถตรวจสอบด้วยสายตาได้ การสูญเสียแผนกทำซองที่เกิดจากเครื่องทำซองจริงๆจะสูญเสียน้อยมาก ถ้าไม่ตั้งเครื่องผิดสเปคหรือตั้งขนาดงานผิด ( หรือเครื่องจักรคุณภาพไม่ดีคุณภาพรอยซีลจะไม่ดี)
**** แต่จะเป็นแผนกที่ส่วนมากจะถูกแผนกอื่นโยนปัญหาให้รับไว้ทั้งที่ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดจากแผนกทำซอง
**** ถ้ามีการทำซองผิดพลาดเสียหาย จะเป็นการสูญเสียทั้งหมด ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตแรกเริ่ม พิมพ์, ดราย ,สลิท เพราะฉะนั้นขั้นตอนการผลิตนี้จะมีความสำคัญมาก และจะสะท้อนปัญหากลับไปทุกขั้นตอนการผลิตที่ผลิตก่อนหน้า
***ในแต่ละหัวข้อด้านกลางๆบทความ จนถึงจบจะมีแสดงปัญหาที่เกิดขึ้นและการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นคร่าวๆเพื่อเป็นข้อควรระวัง ขอแนะนำ ครับ****
***การผลิตทุกขั้นตอนจนกระทั่งถึงลูกค้า มีผลกระทบกันทุกขั้นตอนการผลิต ไม่ใช่ขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง เริ่มตั้งแต่รับงานจากลูกค้ามาจนถึง ลูกค้ารับสินค้าด้วยความพึงพอใจ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด***
*** ปัจจุบันการซื้อ -ขายเครื่องจักร ที่ผู้ขายเครื่องจักรมีความต้องการแต่เพียงต้องการขายเครื่องจักรอย่างเดียว มีการนำเสนอ ในการแนะนำสิ่งแรกที่ให้เกิดความจูงใจกับผู้ซื้อคือราคาที่ถูก มีการลดราคาได้มากจากการต่อรองของผู้ซื้อ ผู้ซื้อจะมีความภูมิใจว่าได้ซื้อเครื่องจักรที่มีราคาถูก (ถูกกว่าที่ผู้ซื้ออื่นที่ได้ซื้อไปก่อนหน้า) เป็นการเริ่มต้นที่ให้ผู้ซื้อให้ความสนใจมากที่สุด หรือเพิ่มเติม วิธีการใช้งานเครื่องจักร ,การควบคุมเครื่องจักร แค่เพียงเท่านั้นไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ซื้อ เพราะผู้ซื้อเครื่องจักรอาจจะไม่มีความเข้าใจ ว่าลักษณะงานที่ผู้ซื้อเครื่องจักรมีความต้องการผลิตสินค้าชนิดนั้นๆได้เลือกเครื่องจักร ตรงตามความต้องการหรือไม่ อาจจะเกิดความผิดพลาดซื้อเครื่องจักรที่ไม่สามารถผลิตงานได้ตรงความต้องการ จะเกิดความเสียหายสูงมากเมื่อซื้อเครื่องจักรมาจอด เพราะเครื่องจักรที่ซื้อมาไม่ตรงกับการผลิตสินค้าที่ต้องการผู้ขายเครื่องควรให้คำแนะนำผู้ซื้อว่าลูกค้าต้องการผลิตสินค้าชนิดใด เครื่องจักรที่เหมาะสม คือเครื่องจักรต้องมีลักษณะอย่างไร ให้คำแนะนำเรื่องการป้องกันปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับชนิดงานนั้นๆ การป้องกันงานสูญเสียที่มีผลกับต้นทุนการผลิต และแนะนำขั้นตอนการทำงานที่ถูกต้อง เพราะปัจจุบันผู้ซื้อเครื่องจักร จะคำนึงถึงราคาเครื่องจักรที่มีราคาถูกเป็นลำดับแรก จุดนี้เองเป็นจุดที่ผู้ขายใช้เป็นสิ่งจูงใจลำดับแรกแต่เมื่อซื้อเครื่องจักรแล้วไม่ตรงกับความต้องการผลิตหรือผลิตได้คุณภาพไม่ดี มีการสูญเสียสูง ผู้ขายเครื่องจักรไม่เข้ามาเยี่ยมเยียน ร่วมกันช่วยแก้ไขปัญหาร่วมกันให้กับผู้ซื้อได้รับความพึงพอใจในการใช้งานเครื่องจักรได้ตรงตามความต้องการ ปล่อยให้ผู้ซื้อเครื่องจักรรับปัญหาในการที่ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ เรื่องนี้มีความสำคัญที่ผู้ซื้อควรคำนึงถึงเป็นอย่างมาก ( ผู้ขายเครื่องจักรประเภทที่เมื่อมีปัญหาในการผลิตงานก็เพียงให้คำพูดการยืนยันอย่างเดียวว่าเครื่องจักรที่ตนเองขายนั้นดี ที่สุดในโลกโทษแต่คนทำงาน(operator )ไม่ดี ก่อนตัดสินใจซื้อเครื่องจักร ควรให้การพิจารณาเป็นพิเศษ ***
***ลูกยางกดทับ ( nip roll ) ไม่ดี แข็งเกินไป,นิ่มเกินไป,บวม,เป็นร่อง,เป็นขุย  etc. ..มีผลกับ ระบบควบคุมความตึง-หย่อน ( tension) ของเครื่องจักร เพราะะว่าเมือกดทับได้ไม่ดี ทำให้ระบบ จะไม่แยกการควบคุมเป็นช่วงๆ  UNWINDER – IN FEED – OUT FEED- REWINDER จะทำงานไม่แยกส่วนการควมคุม มีผลทำให้ ฟิล์มที่ใช้ผลิตงานจะควบคุมความตึง หย่อนได้ จะยึดและหดเกินกว่าค่ามาตรฐานที่ใช้งานได้ดี* ฟิล์มจะส่ายไปมา หรือถ้าลูกยางแข็งเกินจะฟิล์มยับ เป็นร่องตามลูกยาง**ระยะการตัดซองภาพจะไม่ตรงและระยะซองจะสั้นหรือยาวกว่ามาตรฐาน และท้ายที่สุดคือตัวเซ็นต์เซอร์จับระยะ  ( ตาไฟ ) จะไม่จับ EYE MARK หรือเครื่องจักรอาจจะหยุดการทำงาน***
ปัญหางานผลิตซอง ( Production problems envelopes )
–  ซองรั่ว ( leak Case )
–  ซองย่น  ( corrugated Cases )
–  ซองแตก  ( Envelope leakage )
–  ซองรั่วซึม   ( leak Case )
–  ซองรอยซีลไม่สวย ( Sealing the envelope is not pretty )
– ซองเป็นฟองอากาศ ( Envelope bubbles)
– ซองแพ็คสินค้าทิ้งไว้ระยะเวลาสั้นๆ มีการรั้่วซึม ( bag packs goods left a short time. A leak water )
-ซองบรรจุสินค้าแบบแห้งหรือแบบผงบรรจุสินค้าไม่ลงถึงก้นถุง ( Product packaging dry goods into the bottom of the bag.)
– ซองผลิตออกมาแล้วซอง ม้วนงอ เปิดปากซองไม่ได้  ( bag Sung made it bend .)
– ซองผลิตส่งออกไปให้ลูกค้าที่แพ็คเครื่อง AUTOไม่สามารถแพ็คได้ ซีลไม่ติด……….เครื่อง ต้องใช้ความเร็วลดลง ( Envelope production exported to customers who pack. AUTO can not pack Seal not air The need for speed reduction)
– ซองผลิตออกมาแล้วเปิดปากซองไม่ออก เปิดปากซองยาก ( Then open the envelope flap is not made out. Open the flap hard)
– ซองผลิตออกมาแล้วบรรจุสินค้าที่เป็นผง สินค้าไม่ลงถึงก้นซอง ( bag produced and packaged powdered product. Its not down to the bottom of the pack )
ปัญหาระหว่างเดินเครื่องจักรผลิตซอง( During the machining envelope production)
– เดินเครื่องแล้วม้วนส่ายด้านริม ซ้าย- ขวา รอยซีลไม่เท่ากัน ( Walk along the left side line, then roll the joint seals are not equal.)
– เดินเครื่องแล้วการเจาะรูแขวนไม่ตรงกัน ระหว่างแพ็คและระหว่างแถว (Walk along the left side line, then roll the joint seals are not equal.)
– เดินเครื่องแล้วรอยซีลย่น และ:ซีลละลาย
– เดินเครื่องแล้วซีลติดไม่ดี หรือ ติดดีเป็นช่วงๆ
– เดินเครื่องแล้วซีลความแน่นของรอยซีลไม่ดี รับแรงดึงไม่ได้
– เดินเครื่องแล้วระยะภาพ สั้น และ ยาว กว่าตัวอย่างงาน
– เดินเครื่องงานซองตั้งแล้วก้นซองไม่ตรง,ตั้งซองได้ไม่ตรงซองตัั้งแล้วเอียง
– เดินเครื่องงานซองซิป, ซิปติดไม่ดี,ซิปย่น,ซิปบวมงซิป ปิดไม่ได้ บิดงอเดินงานซิปและงานเคลือบด้วยอลูมิเนียม การติดของรอยซีลติดไม่ดี, รั่วหรือ ซองแตกที่รอยซีล
– เดินซองออกมาแล้วรอยซีลแตกเป็นเส้นตรงคล้ายๆถูกใบมีดโกนกรีด(โดยเฉพาะงาน CPP จะชัดเจนมาก)
-เดินงานซองซีลกลางแล้วรอยซีลกลางย่น, งอ ทำให้ซองม้วนงอ แพ็คแล้วซองฟูจัดเข้าแพคไม่ได้
-เดินงานออกมาแล้วรอยมีดตัดซอง เป็นขุย หรือเป็นใยพลาสติก
-เดินซองแล้วรูเจาะกลมสำหรับแขวน เจาะไม่ขาดหรือ เจาะแล้วไม่เรียบ
ลักษณะรูปแบบซองที่ใช้ในการบรรจุสินค้า
  – ซีลสามด้าน …..(งานข้าว 5 กก.,งานซองขนมขนาด 5 บาท )
– ซีลสามด้านมีซิป…..( งานสาหร่ายทะเลปรุงรส ,งานมันฝรั่งทอดกรอบ )
– ซีลกลาง …..( งานข้าว 2กก.งานมันฝรั่งทอดกรอบ,งานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป )
– ซีลสี่ด้าน…..(งานข้าว 2 กก.งานถุงกาแฟแพ็ค 3 im 1  ขนาดบรรจุ 10 ซอง ..มีขอบซองแข็ง 4 ด้าน และซองสูญญากาศ )
– ซีลซองตั้งแบบก้นชิ้นเดียว …..(งานน้ำยาล้างจาน )
– ซีลซองตั้งแบบก้นสองชิ้น…..( งานน้ำยาปรับผ้านุ่ม )ซีลซองตั้งแบบติดซิปที่ปากซอง…(งานขนมคุ๊กกี้ ,งานสาหร่ายทะเลปรุงรส)
ลักษณะการทำรูบแบบการเจาะและตัดรูปแบบซอง
เจาะรูกลม, เจาะวีคัท, ตัดมุม ,เจาะดายคัท,เจาะผีเสื้อ, เจาะระบายอากาศเป็นรูเข็มขนาด 1 มม ,ระบายอากาศที่รอยซีล
ส่วนที่สำคัญของเครื่องจักร
น้ำเย็น…อย่ามองข้ามไม่ให้ความสำคัญนะครับ เพราะพลาสติกมีความต้องการใช้อุณหภูมิต่ำในการเซ็ตตัว ต้องเย็นและการไหลหมุนเวียนดี (flow)..การที่มีไอน้ำเกาะที่ส่วนระบายความร้อน ไม่ใช่หมายความว่ามีความเย็นเพียงพอ
แต่เป็นการไหลเวียนของน้ำเย็นไม่ดี การไหลเวียนดีจะไม่มีไอน้ำเกาะ (condent)  ประเทศไทย เป็นประเทศที่อากาศร้อน ชื้น  มีความต้องการความเย็นมากกว่าต่างประเทศที่อากาศหนาว และอากาศแห้ง การใช้เพียง cooling towerเพื่อระบายความร้อนไม่เพียงพอ และการใช้แบบตู้ทำความเย็นก็ไม่เพียงพอ เพราะต้องการปริมาณน้ำเย็นที่เพียงพอกับการหมุนเวียนให้อุณหภูมิ คงที่สม่ำเสมอกับการใช้งานแบบต่อเนื่อง 12 ชม.เป็นอย่างน้อยหรือตลอดระยะเวลาทั้งสัปดาห์
 ฮีตเตอร์ ต้องให้อุณหภูมิที่ร้อนได้เร็ว และถ่ายเทความร้อนให้กับชิ้นงาน ให้ทันกับการซีลและความเร็วเครื่อง..ไม่ตั้งอุณภูมิร้อนเกินเพราะเพื่อต้องการให้ซีลติดดี แต่จะเป็นการทำให้ฟิล์มชั้นบนกรอบแตก

ความสำพันธ์กันระหว่างน้ำเย็น ชุดระบายความร้อน และ ฮีตเตอรฺ์ทำความร้อน คือจุดสำคัญของความแข็งแรง ความสวยงามของรอยซีล,การเจาะขาดของรูกลมการแก้ไขปัญหางานมีดตัดไม่ขาด,งานเป็นขุย ( มีเส้นใย ),ฟิล์มงอ,งานยืด-หด จับระยะงานไม่ได้,งานมีกลิ่นเหม็นพลาสติกจากการซีล
*** เครื่องจักรที่ออกแบบมาที่จะสามารถผลิตสินค้านั้นๆได้ดี คือเครื่องจักรที่ออกแบบโดยตรง มาเพื่อสินค้านั้นๆ หรืออาจจะใกล้เคียงบ้างเล็กน้อย แต่จะไม่สามารถผลิตสินค้าได้ดี ทุกชนิดเพราะฉะนั้น สิ่งแรกที่ควรทำคือการเลือกเครื่องจักรที่ถูกต้องกับความต้องการผลิตสินค้าได้ตรงกับชนิดสินค้านั้นๆ*****
ผลต่อเนื่องจากการเคลือบงานมาจากเครื่องCOATING EXTRUSION
** เคลือบงานทำซองซีลสามด้าน (three side seal ) ออกมาดีแล้วตรงตามสเปค แต่เมื่อไปทำซองที่เครื่องทำซองแล้วการประกบขึ้นรูปซอง ซองออกมารูปภาพด้านหน้าซองและรูปภาพด้านหล้งซองไม่ตรงกัน หรืออีกกรณีหนึ่งคือขนาดของซองที่ออกมามีความยาวไม่เท่ากัน,ซองที่ออกมาเจาะรูกลม( โอ คัท, O-CUT ) ,วีคัท (V-CUT) ไม่ตรงกัน,ขนาดรอยซีลด้านข้าง-ด้านหัวซอง
– ด้านล่างซอง มีขนาดไม่เท่ากันการเคาะซองรวมแพ็ค 50 ซองหรือ 100 ซองไม่สามารถรวมแพ็คได้เพราะซองขนาดไม่เท่ากัน……เกิดจากการเคลือบออกมาแล้วไม่ตรวจเช็คขนาดความยาวของภาพ ให้ครบทุกขั้นตอนการผลิตจนกระทั่งถึง สินค้าสำเร็จรูป จะทราบก็ต่อเมื่อถึงขั้นตอนสุดท้าย (ทำซอง ) ทำให้เกิดการสูญเสียสูงหรืออาจใช้ไม่ได้ทั้งหมด
ปัญหาจากเครื่องทำซองส่วนใหญ่มาจากขั้นตอนการผลิตก่อนหน้า ตั้งแต่ชนิดฟิล์มที่เคลือบก่อนที่จะนำมาทำซอง
1.CPP เป็นฟิล์มที่ซีลแล้วเกาะติดยาก หรือต้องใช้อุณหภูมิสูง เป็นเหตุให้ซองม้วนงอ,รอยซีลย่น..ควรที่จะต้องปรับปรุงเนื้อ cpp ให้ซีลติดด้วยอุณหภูมิต่ำ  เครื่องทำซองเมื่อเดินงานซอชนิดชั้นซีลที่เป็น CPP จะเดินซองยากมาก ถ้าใช้อุณหภูมิที่แท่งซีลต่ำจะซีลไม่ติดหรือไม่แข็งแรง…ใช้อุณหภูมิสูงจะเป็นรอยย่น และกรอบแตก ลักษณะการแตกจะเป็นเส้นตรงเหมือนใช้ใบมีดกรีด
( เครื่องจักรที่จะผลิตงานซอง CPP และ ไนล่อน ซอง จะมีการเน้น ที่เป็นเครื่องจักรที่เน้นเป็นพิเศษ ถึงจะเดินซองได้คุณภาพดีและแข็งแรง สองสเปคนี้เดินซองยากที่สุด ถ้าเป็นงานติดซิปยิ่งยากขึ้นไปอีกมาก  )2. LLD.PE และ LD.PE. ก็เช่นเดียวกัน อยู่ที่สูตรการผลิตฟิล์มว่าสามารถซีลด้วยอุณหภูมิต่ำได้หรือไม่ ถ้าไม่เห็นความสำคัญส่วนนี้จะสร้างปัญหาให้กับเครื่องทำซอง ซึ่งก็มีข้อจำกัดในการซีลให้แข็งแรงและสวยงาม ได้ระดับหนึ่งอยู่แล้ว ( พนักงานประจำเครื่องก็ปรับเครื่องจักรเต็มที่แล้ว,ปรับสุดความสามารถแล้ว,ลดความเร็วเครื่องจักรแล้วแต่ทำไมก็ยังซีลติดไม่ดี,ไม่สวยงาม )
3. การเลือกชนิดการใช้ ซิป สำหรับงานซองมีซิปควรเลือกชนิดซิปให้เหมาะกับชนิดฟิล์มที่เคลือบ ก็เหมือนกับการซีลซองปกติ ต้องใช้ซิปชนิด ที่ใช้อุณหภูมิในการซีล ด้วยอุณหภูมิต่ำ ไม่เช่นนั้น ซิปอาจจะแตก ด้านขอบซองกดซีลซิปไม่เรียบ ไม่สวยงาม มีอากาศเข้าไปได้
การแก้ไขต้นเหตุเบื้องต้นนี้แล้วไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่องจักรที่มีราคาสูงมากเกินความจำเป็น เครื่องจักรที่มีราคาสูงได้ช่วยระดับหนึ่งเพื่องแค่ความคงที่ สม่ำเสมอการทำงานของเครื่องจักร ,ความแม่นของตำแหน่งการซีล , การยืด-หดของขนาดซอง ,ความแข็งแรงของเครื่อง …ความแข็งแรงของซอง พื้นฐานมาจากชนิดของ**** ฟิล์ม***ที่ใช้ในชั้นสุดท้ายที่ต้องซีลติดดี
LD.PE c4 , LLD.PEc8 , CPP LOW TEMPERATURE, การผลิตของ แต่ละ SUPPLIER มีสูตรการผลิตไม่เหมือนกันควรเลือกชนิดฟิล์มที่เหมาะสมกับเครื่องจักรของเรา งานของเรา ( ไม่ใช่เครื่องจักร และงานของ SUPPLIER ) หรือการส่งม้วนให้ลูกค้าต้องทราบเครื่องจักรที่ลูกค้าใช้ด้วย เพื่อให้เหมาะสมกับเครื่องจักรลูกค้าจะสามารถใช้งานสินค้าที่เราผลิตส่งม้วนได้ดี
บางครั้งต้องการความแข็งแรงความเหนียวของฟิล์ม อาจจะมองข้าม การผลิตในขั้นตอนการทำซอง หรือถ้าเป็นงานส่งม้วนให้ลูกค้าแพ็คแบบ AUTO อาจจะถูก REJECT. ปัจจุบันการแข่งขันคุณภาพไม่แค่เพียงความแข็งแรงของซอง เท่านั้น ต้องมีความสวยงามของรอยซีลด้วยเป็นสิ่งสำคัญ


(ในครั้งหน้าจะเพิ่มเรื่อง การ ยืด- การหด ของขนาดงาน,การแก้ไขงานรั่วซึมของซองบรรจุน้ำหรือน้ำยาต่างๆ ,เป็นตามด,ความลื่น-ความฝืด)
การบริการหลังการขาย…มีทีม SERVICE หรือไม่มี, หรือ ว่ามีทีมแต่ไม่มีคุณภาพ,ใช้เวลาในการบริการนานเท่าไร,หลังการติดตั้งเครื่องแล้ว ส่งมอบเครื่องจักรแล้ว มีการติดตามคุณภาพเครื่องจักร,การใช้งานเครื่องจักรให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดหรือไม่.สามารถให้คำแนะนำลูกค้าเรื่องเทคนิคการเดินเครื่องจั



GPSราคาถูก | เครื่องฟอกอากาศในรถยนต์ | Ran Online | Ragnarok | โปรโมชั่น | เกมส์ออนไลน์

Promotion
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ