Advertisement
ติดตั้งระบบผลิตน้ำดี
ระบบระบายน้ำหมายถึง การนำน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดหลายแห่งไปรวมกันยังสถานที่ที่จะบำบัด โดยผ่านท่อระบายน้ำ แบ่งออกเป็น2รูปแบบ
1.ระบบท่อรวบรวม (Combined System ) เป็นระบบที่ใช้ระบายน้ำฝนและน้ำเสียโดยอาศัยท่อเดียวกันมักจะระบายน้ำเสียลงสู่คลอง จะต้องสร้างท่อดักน้ำเสีย ( Interceptor ) เพื่อรวบรวมน้ำเสียไปยังบ่อบำบัดน้ำเสีย
2.ระบบท่อแยก (Separated System) เป็นระบบที่แยกท่อระบายน้ำเสียออกจากท่อระบายน้ำฝน
ระบบบำบัดน้ำในเบื้องต้นจะมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้คือ
1. ตะแกรงดักเศษขยะ : ตะแกรงดักเศษขยะในเบื้องต้นควรมีตะแกรงขนาดหยาบขนานระหว่าง 1.5-2.5 นิ้ว หรือ 37.8-63 มม. แล้วตามด้วยตะแกรงขนาดละเอียดแบบมีเครื่องกวาด (Mechanical Bar Screen) ประมาณ 0.5-1.0 นิ้ว หรือ 12.5-25 มม.
2. ถังรับน้ำเสีย : โดยปกติถังรับน้ำเสียอาจจะเลือกเป็นแบบบ่อสูบ (Pump Sump) หรือถังรวมน้ำเสียหรือถังปรับสมดุลในน้ำเสีย (Equalization Tank,ET) เพื่อสูบน้ำเสียไปบำบัดยังหน่วยบำบัดต่อไป
3. รางดักเศษกรวดทราย (Grit Chamber) : หน่วยบำบัดนี้มีความจำเป็นในกรณีที่ระบบท่อรวบรวมน้ำเสียเป็นท่อรวม (Combined Sewer) ซึ่งในช่วงที่มีฝนตก ฝนจะชะเอาเศษหิน ทราย กรวดบนท้องถนนเข้าไปในท่อซึ่งอาจมีผลทำให้ท่อขนาดเล็กอุดตันได้ หรือเกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ในระบบบำบัดน้ำเสีย วิธีการกำจัดเศษกรวดทราย ได้แก่ การออกแบบรางดักเศษกรวดทรายที่มีความยาวเพียงพอที่จะปล่อยให้ของแข็งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.2 มม. ที่มีความถ่วงจำเพาะประมาณ 2.65 ตกตะกอนภายในรางโดยรูปร่างของรางจะมีลักษณะที่ทำให้ความเร็วของน้ำเสียคงที่ที่ประมาณ 0.3 ม./วินาที และจะใช้รางดักเศษกรวดทรายบางประเภทจะเป็นชนิดมีการเป่าอากาศ ซึ่งมีวิธีการเป่าอากาศนี้จะสร้างความเร็วเทียมขึ้นในรางด้านความยาวของถัง เพื่อให้เกิดลักษณะการไหลของน้ำเป็นแบบ Spiral Flow เพื่อป้องกันมิให้สารอินทรีย์ตกตะกอนในรางนี้
4. เครื่องวัดอัตราการไหล (Flow Measurement) : น้ำเสียที่ไหลผ่าน Grit Chamber จะผ่านมายังเครื่องวัดอัตราการไหล เพื่อจะได้ทราบอัตราการไหลของน้ำเสียตลอดเวลา ในทางปฏิบัติแล้วอัตราการไหลนี้มีความสำคัญ เพราะป็นเครื่องมือประกอบการประเมินประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียและให้รู้ว่าระบบบำบัดน้ำเสียสามารถรับน้ำเสียได้สูงสุดมากน้อยเพียงใด รวมทั้งจะต้องเตรียมตัวขยายระบบบำบัดให้รับน้ำเสียในส่วนที่เพิ่มขึ้นเมื่อใด
การบำบัดหลัก (Secondary Treatment)ขั้นตอนของการบำบัดหลักเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เนื่องจาก BOD ที่มีค่าสูงกว่ามาตราฐานจะต้องมาบำบัดให้มีค่าลดลงเหลือไม่เกิน 2. มก./ล. กระบวนการบำบัดอาศัยกระบวนการทางชีวภาพ ซึ่งโดยทั่วไปกระบวนการบำบัดทางชีวภาพจะมีอยู่หลายชนิด อาทิ ระบบแบบบ่อผึ่ง (Stabilization Pond) ซึ่งใช้พื่อนที่มากที่สุดระบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon) ซึ่งใช้พื่นที่ปานกลางและระบบเลี้ยงตะกอนจุลินทรีย์ (Activated Sludge) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้พื่นที่น้อยที่สุดสำหรับรายละเอียดของแต่ละระบบมีดังนี้
1. ระบบบำบัดแบบบ่อผึ่ง (Stabilization Pond , SP) เป็นระบบที่ใช้พื่นที่มาก เป็นบ่อดินหรือบ่อดาดคอนกรีต หรือพลาสติก ข้อดี ของระบบนี้คือ ไม่มีเครื่องจักรกล ระบบไม่ยุ่งยาก ค่าดำเนินการต่ำ ข้อเสีย คือ ใช้พื้นที่มาก หลักการทำงานของระบบบำบัดแบบนี้ขะอาศัยธรรมชาติมากที่สุด สามรฃารถแบ่งออกเป็นประเภทตามลักษณะการย่อยสลายสารอินทรีย์ของแบคทีเรีย
2. ระบบบำบัดแบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon , Al) เป็นระบบบำบัดที่พัฒนาขึ้นจากระบบบำบัดแบบ SP โดยเพิ่มอุปกรณ์สำหรับให้ออกซิเจน เช่น เครื่องเติมอากาศ (Aerator) เข้าไป ประสิทธิภาพและข้อดีต่างๆเป็นเช่นเดียวกับระบบ SP เพียงแต่มีข้อดีเพิ่มขึ้น คือ จะใช้พื้นที่ในการก่อสร้างระบบน้อยลง มีปัญหาเรื่องกลิ่นและแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงน้อยลง แต่มีข้อเสีย คือ มีค่าใช้จ่ายในการควบคุมระบบมากขึ้น เช่น การซ่อมบำรุงเครื่องเติมอากาศ เป็นต้น ต้องการใช้คนงานที่มีความรู้ความชำนาญบ้างพอสมควร และสิ้นเปลืองมากที่สุดคือ ค่าไฟฟ้าในการเดินเครื่องเติมอากาศ
3. ระบบบำบัดแบบเลี้ยงตะกอนเร่ง (Activated Sludge,AS) เป็นระบบบำบัดที่พัฒนาสูงขึ้นจาก AL อีกชั้นหนึ่ง คือ แทนที่จะใช้แบบบ่อดินก็เปลี่ยนเป็นแบบบ่อคอนกรีตหรือโลหะ และใช้เครื่องมือเครื่องจักรมากกว่ามีการนำตะกอนแบคทีเรียกลับมาใช้ใหม่ มีประสิทธิภาพสูงสุดสามารถบำบัดน้ำเสียที่มีความเข้มข้นสูงๆได้ เช่น น้ำเสีย จากโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งสามารถรับการเปลี่ยนแปลง Load ของน้ำเสียได้สูงมากขึ้น ระบบ AS เป็นระบบที่ใช้ที่ดินน้อยมาก มีประสิทธิภาพในการบำบัดสูง
4. ระบบจานหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contactor,RBC) ระบบบำบัดน้ำเสียแบบนี้มีหลักการใช้วิธีหมุนตัวกลางให้สัมผัสกับน้ำเสีย และอากาศสลับกันลักษณะตัวกลางจะประกอบเป็นจาน หรือแผ่นทรงกลมขนานกันจำนวนมาก โดยจมอยู่ในน้ำเสียประมาณ 40% จานเหล่านี้จะหมุนช้าๆทำให้แบคทีเรียที่เกาะอยู่รอบตัวกลางเป็นเมือก Biofilm ได้สัมผัสกับสารอินทรีย์ในน้ำเสียและออกซิเจนในอากาศสลับกันไป เมือกที่หนามากจะถูกแรงเฉือนเมื่อสัมผัสกับผิวน้ำทำให้หลุดออกเป็นตะกอนของแข็งแขวนลอย ไหลปนไปกับน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วเข้าสู่ถังตกตะกอน เพื่อแยกตะกอนออกก่อนปล่อยให้น้ำใสล้นทิ้งไป ส่วนตะกอนก็จะถูกสูบเข้าสู่ระบบกำจัดตะกอน ระบบ RBCนี้จะมีค่าก่อสร้างสูงกว่าระบบเป็นสินค้าในระยะเวลาไม่นานมานี้ จัว่าเป็นระบบค่อนข้างใหม่ปัจจุบันนี้ใช้ในประเทศไทยหลายแห่ง
ฮาร์ท เทคนิคัล บจก.ได้ดำเนินธุริจเกี่ยวกับการออกแบบก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย และระบบผลิตน้ำดีที่ใช้งานอุตสาหกรรมการผสมผสานประสบการณ์ และความรู้ทางเทคโนโลยีต่างๆ อีกทั้งยังทำการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียและผลิตน้ำดีโดยใช้ความรู้และ ประสบการณ์ที่ทันสมัย ให้ระบบมีความยืดหยุ่น และมีเสถียรภาพที่เหมาะกับสิ่งแวดล้อมในแต่ละพื้นที่ ให้ง่ายต่อการบำรุงรักษา และประหยัด คุ้มค่าต่อการลงทุน
บริษัทของเรา ให้การบริการระบบบำบัดน้ำเสีย และผลิตน้ำดีที่ครอบคลุมทั้งสำหรับโรงบำบัดใหม่ และโรงบำบัดเดิมที่มีอยู่แล้ว บริษัทของเรา ทำการปรับปรุงระบบและวิธีบำบัด รวมทั้งดูแลลูกค้าแต่ละรายด้วยการให้บริการที่มีประสิทธิผล และคุ้มค่าที่สุด นอกจากนั้นบริษัทของเรายังให้บริการเดินระบบบำรุงรักษาระบบบำบัดทีทมี ประสิทธิภาพอีกด้วย
ปรึกษา ออกแบบ และติดตั้งระบบบำบัดน้ำ ให้เหมาะกับคุณลักษณะของน้ำและงบประมาณ ให้คำปรึกษา ออกแบบ ก่อสร้างและติดตั้ง ระบบผลิตน้ำดีและบำบัดน้ำเสีย ปรับปรุง แก้ปัญหา ระบบผลิตน้ำดี และระบบบำบัดน้ำเสีย
- จำหน่ายสารกรอง เช่น ทรายกรองน้ำ แอ็คติเวตเต็ทคาร์บอน เรซิน สารกรองสนิมเหล็ก และอื่นๆ
- จำหน่าย อุปกรณ์ท่อ และวาล์วทุกชินด ปั๊มสูบน้ำ ปั๊มจ่ายสารเคมี ถังPE สารเคมีป้อมกันการอุดตันเมมเบรน ไส้กรองเมมเบรน ไส้กรองทุกชนิด เครื่องวัดคุณภาพของน้ำ และอื่นๆ