Advertisement
หากท่านรู้สึกระคายเคืองที่เหงือก เหงือกมีสีแดงและเกิดอาการบวม นั่นอาจเป็นสัญญาณของโร
เหงือกอักเสบ[/url] (Gingivitis) ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับเหงือกที่พบได้บ่อยที่สุด แม้อาการของเหงือกอักเสบจะไม่รุนแรงนัก แต่เราก็ไม่ควรละเลย เพราะเมื่อปล่อยไว้นานไปอาจยิ่งมีอาการรุนแรงขึ้น จนทำให้สูญเสียฟันได้
โรค
เหงือกอักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากละเลยการดูแลรักษาความสะอาดของช่องปาก ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลรักษาอาจกลายเป็นโรคปริทันต์ ซึ่งเป็นการติดเชื้ออย่างรุนแรงของเหงือก ส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อและกระดูกบริเวณรอบๆ ฟัน ทำให้ฟันโยกและหลุดไปในที่สุด
อาการของโรคเหงือกอักเสบ
โดยปกติ เหงือกที่มีสุขภาพดีจะมีสีชมพูอ่อนๆ มีความแข็งแรง และขอบเงือกเรียบติดกับฟัน แต่หากท่านสังเกตถึงอาการผิดปกติของเหงือกและฟันดังต่อไปนี้ ก็เป็นไปได้ว่าคุณกำลังมีอาการ
เหงือกอักเสบ- เหงือกบวม
- เหงือกมีแดงออกดำคล้ำ
- เมื่อสัมผัสเหงือกดูรู้สึกเจ็บ
- เหงือกร่น
- มีเลือกออกตามไรฟันบ่อยๆ หลังจากแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน
- มีกลิ่นปาก
- ฟันโยก
- มีอาการเสียวฟัน
สาเหตุของโรค
เหงือกอักเสบเหงือกอักเสบมักเกิดจากการขาดสุขอนามัยในการดูแลช่องปากและฟัน ทำให้คราบสกปรกและแบคทีเรียก่อตัวขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นคราบหินปูนเกาะอยู่ตามซอกเหงือก ซึ่งหินปูนเหล่านี้เป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียจำนวนมาก และเมื่อนานไปก็สร้างความระคายเคืองให้เนื้อเยื่อเหงือกบริเวณรอบๆ ฟัน ทำให้เกิดการอักเสบขึ้นในที่สุด นำมาซึ่งอาการเหงือกบวม และมีเลือดออกตามไรฟันหลังจากแปรงหรือใช้ไหมขัดฟัน
นอกจากนี้ ปัจจัยบางอย่างก็อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเหงือกอักเสบได้มากขึ้น ได้แก่
- การแปรงฟันผิดวิธี หรือแปรงไม่บ่อยเท่าที่ควร
- การมีฟันคุด การจัดฟัน หรือการใส่อุปกรณ์ต่างๆ ในช่องปาก อาจเอื้อให้เกิดคราบแบคทีเรียสะสมเพิ่มมากขึ้น
- การมีฟันเกหรือฟันซ้อน
- การใช้ยาบางอย่างที่ทำให้เกิดภาวะน้ำลายแห้ง (Xerostomia) หรือทำให้เหงือกบวมโตขึ้น
- การสูบบุหรี่
- โรคเบาหวานการขาดสารอาหารบางชนิด อย่างเช่น วิตามินซี เป็นต้น
- การตั้งครรภ์และการใช้ยาคุมกำเนิด
- ภาวะที่ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ดังเช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ และการเข้ารับการรักษาโรคมะเร็ง
- การติดเชื้อไวรัสและการติดเชื้อรา
- ปัจจัยทางพันธุกรรม
- การวินิจฉัยโรค
เหงือกอักเสบหากสังเกตถึงอาการผิดปกติในช่องปากและฟันดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ท่านควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา โดยเบื้องต้นทันตแพทย์จะสอบถามถึงอาการและประวัติการรักษาโรคต่างๆ ของผู้ป่วย รวมถึงโรคภายในช่องปาก จากนั้นจะตรวจดูฟัน เหงือก ลิ้น และภายในช่องปากเพื่อดูคราบหินปูนหรือหาลักษณะของโรคเหงือกอักเสบ และตรวจเหงือก ซึ่งจะทำโดยการใช้เครื่องมือวัดความลึกของร่องเหงือก รอบๆ ตัวฟัน ปกติจะมีค่าอยู่ที่ 1 - 3 มิลลิเมตร ถ้ามากกว่า 3 มิลลิเมตร เเสดงว่าเริ่มมีโรคเหงือกอักเสบ นอกจากนี้อาจมีการถ่ายภาพรังสีเพื่อดูกระดูกบริเวณรอบตัวฟันว่าปกติดีหรือไม่ รวมทั้งตรวจหาสาเหตุของอาการเหงือกอักเสบด้วยวิธีอื่นๆ หรือในกรณีที่อาการรุนแรง อาจต้องส่งตัวผู้ป่วยไปพบแพทย์เฉพาะทางด้านโรคเหงือก
การรักษาโรคเหงือกอักเสบ
การรักษาที่ทันท่วงทีสามารถช่วยให้เหงือกของคุณ ๆกลับมามีสุขภาพดีเหมือนเดิม รวมทั้งช่วยป้องกันโรคปริทันต์และการสูญเสียฟัน หมอจะให้การรักษาโดยเริ่มจากการทำความสะอาดคราบสกปรกและหินปูนที่สะสมอยู่ออกไป และอาจให้ใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการติดเชื้อด้วย รวมทั้งเสนอแนะให้ผู้ป่วยดูแลสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื่องที่บ้านเป็นประจำ
ส่วนผู้ที่มีปัญหาเหงือกอักเสบเนื่องจากการใส่สะพานฟัน ฟันปลอม หรือการจัดฟัน ทำให้เกิดการระคายเคืองหรือทำความสะอาดได้ยาก คุณหมออาจแนะนำให้แก้ไขที่ปัญหาเหล่านี้ ทั้งนี้ หลังจากรับการรักษาเรียบร้อยแล้ว ท่านควรไปพบทันตแพทย์เพื่อติดตามอาการและตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ ซึ่งจะช่วยควบคุมปัญหาโรคเหงือกได้อย่างดี
ติดตามเนื้อหาของ ภาวะแทรกซ้อนของโรคเหงือกอักเสบ และการป้องกันโรคเหงือกอักเสบต่อได้ที่
เว็บไซต์ :
https://www.honestdocs.co/what-is-gingivitis