วิธีการเลี้ยงไก่ใต้ให้สมบูรณ์ก่อนออกชน
วิธีการเลี้ยงไก่ใต้ให้สมบูรณ์ก่อนออกชน ไก่ใต้หรือไก่ชนสายพันธุ์เดือยเดิมทีหากย้อนอดีตไปเมื่อ 7-10 ปีที่แล้ว ไก่ภาคใต้จะเป็นที่รู้จักกันในวงแคบๆ หรือรู้จักกันเฉพาะทางภาคใต้ และจะไม่เป็นที่รู้จักหรือยอมรับในวงการไก่แข้ง หรือไก่ชนของทางภาคอื่นๆ เพราะจะไม่มีสื่ออย่างเช่น “นิตยสารไก่ชนต่าง ๆ ” เป็นตัวเผยแพร่ให้รู้ถึงความจริง และความเป็นมาของไก่ใต้ ได้ชัดเจนได้อย่างทุกวันนี้ เพราะทุกวันนี้นิตยสารไก่ชนที่ออกวางแผงทั้งรายปักษ์ และรายเดือน ผู้เขียนกล้าการันตีว่ามีไม่ต่ำกว่า 10 นิตยสารอย่างแน่แท้ ซ้ำบ่อย ๆ ที่มีนิตยสารออกทำเล่ม “เฉพาะกิจ” ขึ้นมาตามกระแสของไก่สายพันธุ์ต่าง ๆ ในวงการไก่ชนเมืองไทย จุดนี้จึงเป็นสิ่งที่ยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า “วงการไก่ชนเมืองไทย” เติบโตกว้างขวางได้อย่างรวดเร็ว แม้จะมีอุปสรรคใหญ่หลวงอย่าง “ไข้หวัดนก” มาทำให้กีฬาไก่ชนเมื่อไทยต้องสะดุดทุกปี แต่ก็ไม่สามารถต้านทานพลังความนิยมของกีฬาไก่ชนเมืองไทยได้เลยส่วนไก่ชนปักษ์ใต้ทุกวันนี้ก็จัดว่าได้รับความนิยมไม่น้อยเช่นกัน เพราะไก่ใต้เลือดร้อยรังแท้เป็นที่ต้องการของคนทุกภาค ทุกระดับชั้น เพื่ออยากได้จุดเด่นในตัวเหล่าพันธุ์ของไก่ชนปักษ์ใต้ ไปพัฒนาสายพันธุ์ของเหล่าไก่ตนเอง จุดเด่นจุดดีของไก่ใต้1.ใช้เดือยจัด และแม่นยำ
2.แทงลงบนเป้าใหญ่ได้อย่างมืออาชีพ
3.ปากจัด จิกตีไม่เลือกที่
4.เชิงชนครบเครื่อง สมเป็นไก่ไอคิว ลีลาเชิงชนเฉพาะตัวของ ไก่ชนภาคใต้ปัจจุบันการคัดไก่มาเลี้ยงจะพิถีพิถันกับเชิงชนของ ไก่ชนภาคใต้ มากขึ้น นักเลงไก่หัวอนุรักษ์เชื่อว่าไก่ปักษ์ใต้มีลีลาเชิงชนโดดเด่นตามสายพันธุ์ จึงพัฒนาไปตามเชื่อว่าไก่ใต้แทบทั้งหมดมีเชิงชนมุดมัด จิกหัว หู กัดตีไม่เลือกที่ แต่ทุกวันนี้ผู้เลี้ยงไก่จะคัดเลือกไก่ที่มีแววเก่งมาฝึกออกกำลังและซ้อมเพื่อวิเคราะห์ลีลาชั้นเชิงที่ถ่ายทอดมาตามสายพันธุ์ขณะเดียวกันก็จะมีความถนัดของไก่แต่ละตัวที่เป็นไปตามสัญชาตญาณการต่อสู้ ไม่สามารถฝึกฝนกันได้ ไก่ใต้มีพื้นฐานที่ดีในเรื่องใจสู้ เฉลียวฉลาดไหวพริบดี มีลีลาหลอกล่อ หลบหลีก เอาตัวรอดในสถานการณ์คับขันได้ดี จึงควรซ้อมไก่เพื่อดูว่าไก่ชนแต่ละตัวนั้นมีเชิงชนแบบไหน และมักจะแพ้ทางเชิงไก่แบบไหน จึงจะฝึกฝนความเก่งไปตามความถนัด เพิ่มจุดแข็งและแก้ไขจุดด้อย ซึ่งจะทำได้มากหรือน้อยก็จะจำกัดตามความสามารถของไก่ชนนั้นด้วยหลายคนยังไม่เข้าใจ โดยเฉพาะมือใหม่ คิดว่าไก่ภาคใต้จะเหมือนกันหมด ความจริงแล้ว ไก่ชนภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นไก่สายพันธุ์แท้หรือไขว้ผสมเพื่อให้สรีระร่างกายสูงระหงมากขึ้น ดูเชิงถนัดของไก่ ดูจุดอ่อน สังเกตว่าปล้ำซ้อมกับไก่เชิงไหนแล้วมีความได้เปรียบ สามารถแก้ทางไก่เชิงใดได้ดีทำให้เป็นประโยชน์กับการเปรียบไก่เพื่อให้มีโอกาสชนะมากขึ้น ไก่ปักษ์ใต้ต้องฝึกออกกำลังกายเพื่อสร้างพื้นฐานที่ดีในเรื่องร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง จิตใจนักสู้และความอดทนจะเห็นได้ค่อนข้างชัดเจนช่วงไก่อายุ 4-6 เดือน เมื่อเลือกมาฝึกซ้อมแล้วควรมีการพัฒนาให้เก่งตามทางที่ถนัด หลักการอย่างเดียวไม่อาจสรุปได้ว่าไก่มีจะมีเชิงชนอย่างไร ความฉลาดของไก่ใต้เอาตัวรอดเก่งอาจมีหลายเชิงชนก็ได้ไก่ปักษ์ใต้อาจมีลักษณะเป็นไก่เชิงบนสลับล่างมีอาวุธหลากหลายกว่าย่อมได้เปรียบสามารถกอด มุด มัด สาดแข้ง และเปลี่ยนเป็นเชิงตีบนได้เมื่อเห็นจังหวะเหมาะก็จะได้เปรียบเชิง นอกจากลีลาสาดแข้งตามถนัดแล้ว ไก่จะเดินเร็ว มัดเก่ง เข้าปีกบิดคอซ้ายทีขวาที เอาอกทับไหล่คู่ต่อสู้ หัวกดกลางหลัง ดันกระทุ้งปีกมัดคู่ต่อสู้พร้อมกับตีถี่ๆ บริเวณสีข้าง หลัง และปั้นขา ซึ่งจะมีผลให้ฝ่ายตรงข้ามอ่อนแรงลงเรื่อยๆ ไม่ยอมให้คู่ต่อสู้ดิ้นหลุดไปได้ แต่ถ้าเจอเชิงบนจัดไก่ภาคใต้อาจสู้เชิงไม่ได้ ต้องเน้นตีแม่น ตีหนัก ตีเจ็บปวด ไก่พวกนี้ต้องจับตาให้ดี จะเป็นไก่เก่งที่ไม่ท้อถอยและไม่ยอมแพ้ใคร เมื่อต่อสู้กับไก่ชนรูปร่างพอกัน ไม่เสียเปรียบเรื่องความสูงมากนัก ตีแม่นตีหนักพอกัน แน่นอนว่าไก่แต่ละตัวย่อมมีสไตล์ของตัวเอง เพียงแต่ถ้าไก่ตัวไหนฉลาดกว่า แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีกว่าย่อมได้เปรียบคู่ต่อสู้เลี้ยงไก่ชนภาคใต้ อย่างไรให้ถึงบ่อนไก่ชนภาคใต้ ถือเป็นไก่สายพันธุ์ที่มีความพิเศษเฉพาะตัว ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง ความสามารถในตัวไก่ ดังนั้นการเลี้ยงไก่ให้ถึงบ่อนเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ จนกระทั่งไก่โตเต็มวัยเพื่อทำให้ไก่กลายเป็น ไก่ชนภาคใต้นักสู้ตัวจริง หลักการเลี้ยงและฝึกไก่ชนภาคใต้1.เริ่มต้นด้วยการสืบประวัติไก่ ดูตั้งแต่พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ โดยต้องสามารถมั่นใจได้ว่าการจ่ายลูกออกมาแล้วค่อนข้างนิ่ง ทิ้งให้น้อยที่สุดถือว่าใช้ได้2.เมื่อลูกไก่อายุได้ 5-6 เดือนหากสภาพร่างกายพร้อม คือ ไม่พิการ มีเชิงดี ก็ให้นำมาขุนเพื่อเริ่มปล้ำ โดยระหว่างนี้บำรุงด้วยอาหารและวิตามินต่างๆ เข้าไปเรื่อย จากนั้นเมื่อไก่เริ่มสุดปีกสุดหาง เสียงขันเริ่มชัดเจนขึ้น ประมาณ 8-9 เดือน ก็นำไปลองปล้ำได้เลยโดยก่อนนำไปปล้ำจะต้องเก็บตัวไก่ให้อยู่ในสุ่มประมาณ 10 วัน จากนั้นเริ่มปล้ำได้ ซึ่งจะให้ปล้ำเพียง 3 อันเป็นเบื้องต้น ซ้อมครั้งละ 20-25 นาทีต่อวัน เพื่อไม่ฝืนไก่จนเกินไป3.นำไก่มาฝึกความอดทนด้วยการซ้อมโดยการนวมไก่ ปล้ำประมาณ 2 อัน เพื่อดูท่าที ลักษณะการยืน การชน ดูความมั่นคงของจิตใจไก่และเพิ่มพละกำลังให้ต้านทานการกด การบังคับและเปิดช่องตีให้เป็นก่อน ซึ่งขั้นตอนนี้ค่อนข้างที่จะสามารถทดสอบความเข้มแข็งถ้าจิตใจไม่มั่นคงก็อาจจะท้อใจและเมื่อลงสนามโอกาสแพ้จะสูง ถ้าเป็นไก่เดือยแล้วหัวจิตหัวใจต้องใหญ่กว่าตับน้ำอดน้ำทนต้องดีเยี่ยม4.การบำรุงไก่หรือการถอนตีน เจ้าของควรบำรุงก่อนพาไก่ออกชน ซึ่งการบำรุงนี้เมื่อไก่ได้ผ่านการถูกตีมาบ้างแล้วจากการซ้อมก่อนหน้า ไก่จะรู้จักความบอบช้ำไม่ว่าจะเป็นส่วนปี คอ หน้า เจ้าของมีหน้าที่จัดอาหารบำรุง ทายา จากนั้นก็ซ้อมแบบไม่หนักมาก โดยการฝึกโยนเบาะ ฝึกล่อเมื่อไก่เริ่มแข็งแรงสามารถตีปีกได้ดีแล้ว ให้เจ้าของลองนำไก่ไปซ้อมคู่อีก 1 อัน โดยไม่ต้องหักโหมมาก จากนั้นก็เตรียมพร้อมเพื่อลงสนามจริงได้เลยแต่ถ้ายังไม่มั่นใจก็สามารถเพิ่มการไล่แข็งได้อีก เพราะสภาพร่างกายของไก่แต่ละตัวต่างกัน ความแข็งแกร่งก็ต่างกันไป5.การเปรียบไก่เป็นขั้นตอนที่เจ้าของจะมีโอกาสลุ้น ว่าไก่คู่ต่อสู้ที่ได้นั้นจะทำให้ไก่ของตัวเองมีโอกาสชนะหรือไม่ โดยการเปรียบไก่นี้ ทั้ง 2 ตัวจะต้องมีรูปร่างที่เหมาะสมกัน คือ ขนาดใกล้เคียงกันรวมถึงอายุของไก่ ปลายตอ ปลายคอและต้องรู้จักว่าไก่ตัวเองชอบตียังไงเพื่อจะได้ไม่เกิดการเสียเปรียบนอกจากนี้หากเจ้าของสามารถอ่านเชิงไก่คู่ต่อสู้ได้ ก็จะมีโอกาสลุ้นมากขึ้น ที่สำคัญอย่าฝืนไก่เพราะถ้าเจอตัวที่โตกว่า แข็งกว่าไก่เราต้องใช้พละกำลังเยอะกว่าจะตีเขาได้เผลอๆโดนแผลคู่ต่อสู้อาจหนีได้ง่ายๆ ยาโด๊ปก็เถอะเจอแผลคมๆ ไม่รอดสักราย เทคนิคการเลี้ยงไก่เดือยไก่เดือย คือไก่ที่ตีปล่อยเดือย หรือเสริมเดือยเทียมที่ทำจากเขาสัตว์หรือมีด การเลี้ยงไก่ประเภทนี้มีเทคนิคแตกต่างจากไก่แข้งซึ่งเป็นที่คุ้นเคยในบ้านเราอย่างสิ้นเชิง เพราะไก่เดือยนั้นจะไม่เน้นความแข็งแกร่งอึดทนอะไรมาก แต่เน้นที่บินแรง ตีแม่น เพราะฉะนั้นการเลี้ยงไก่เดือยออกชนจึงต้องเลี้ยงให้ติดเบา หมายความว่า น้ำหนักตัวจะไม่ใช่น้ำหนักของไก่ที่สมบูรณ์เต็มที่ แต่จะค่อนมาทางเบา เช่นไก่ใต้น้ำหนักตัวปกติอยู่ที่ 3.2 กิโลกรัม ถ้าเลี้ยงชนเดือยตอนเลี้ยงออกชนน้ำหนักจะต้องค่อนมาทาง 3.0 – 3.1 กิโลกรัม เพื่อให้บินดี บินเร็ว มีความคล่องตัวสูง มีโอกาสแทงคู่ต่อสู้ได้ก่อน เพราะถ้าแทงได้ก่อน แทงเข้าเป้าก็หมายถึงชัยชนะแบบไม่ยืดเยื้อ วันนี้ผู้เขียนจะขอแนะนำหลักการสำคัญ การเตรียมตัวไก่ที่ออกชนเดือย 1. การฟิตซ้อม ไม่ต้องหนักมากให้เน้นการซ้อมบิน ถ้าปล่อยบินฉะก็แบ่งเป็นรอบๆ ละสองถึงสามนาที แต่ทำหลายๆ รอบขึ้นกับลักษณะการชนจริงในสังเวียน
2. อาหาร ให้ข้าวเปลือกเป็นหลัก เสริมด้วยแหล่งโปรตีนที่ดี เช่น ไข่ เนื้อปลา ตอนเริ่มเลี้ยงควรให้กินอาหารจนอิ่ม อย่าเพิ่งจำกัดปริมาณอาหารเพื่อให้ไก่สร้างมัดกล้ามเนื้อได้เต็มที่ก่อน ซึ่งจะช่วยให้ไก่สมบูรณ์แข็งแรง บินแรง เมื่อปรับสภาพร่างกายให้เข้าที่พร้อมแล้วจึงค่อยพิจารณาลดน้ำหนักหาพิกัดน้ำหนักที่เหมาะสมโดยค่อยๆ ลดทีละครึ่งขีด แล้วซ้อมปล้ำดูความแข็งแรงของการวางเดือย ดูการบิน ถ้ายังอืดอยู่ก็ลดลงอีก หรือถ้าดูเปลี้ยเกินไปก็ค่อยๆ เพิ่มน้ำหนักจนได้จุดสมดุลของไก่ ซึ่งไก่แต่ละตัวจะมีจุดสมดุลไม่เหมือนกันในระหว่างนี้การฟิตซ้อมออกกำลังและการให้อาหารจะต้องสัมพันธ์กัน ถ้าจะลดน้ำหนักให้พิจารณาจาก 3 สิ่งสำคัญคือ การจำกัดปริมาณอาหาร การออกกำลังกาย และการกราดแดด สิ่งสุดท้ายที่จะขาดไม่ได้เลยก็คือ หญ้าอ่อนใบเขียวๆ เพื่อรักษาสมดุลทางเดินอาหาร ร่วมกับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ ไม่ให้มีสิ่งรบกวน เพียงเท่านี้ก็จะทำให้ไก่เดือยของท่านสมบูรณ์ อยู่ในฟอร์มพร้อมลุยสังเวียนแล้ว แหล่งที่มา longhomdi
แทงไก่ชนออนไลน์[/url]
casa982
[/color]
เว็บพนันนออนไลน์ครบเครืทางเข้[/color]