Advertisement
[url=https://www.chivalabcare.com/category/1/" target="_blank]
[/url]
การเลือกครีมกันแดด
แนะนำการเลือกครีมกันแดด>> ผลิตภัณฑ์กันแดดที่ดีควรปกป้องผิวได้ทั้งรังสี UVA-I, UVA-II และ UVB
>> แดดเมืองไทยแนะนำให้เลือกผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่า SPF 30-50 ,PA มากกว่า 3+ หรือ PPD มากกว่า 10
ในโลกนี้ไม่มีผลิตภัณฑ์กันแดดใดๆ ที่กัน UVA และ UVB ได้สมบูรณ์แบบ 100% การทาผลิตภัณฑ์กันแดดเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการป้องกันความเสียหายของ DNA ที่ผิวเรา สิ่งที่ควรทำไปควบคู่กันไป คือการหลีกเลี่ยงแสงแดด
ย้อนไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด ไม่ค่อยมีความหลากหลายในการตอบโจทย์ปัญหาผิวของผู้บริโภค ซ้ำยังพบปัญหาอื่นๆตามมา เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF สูงๆ หลังทาจะรู้สึกเหนียว เหนอะหนะ ทำให้ผิวมัน เกิดสิวตามมา สารกันแดดชนิดสะท้อนหรือหักเหแสง (Physical Sunscreen) ทำให้สีผิวหน้าลอยขาวหรือหน้าวอก อีกทั้งสารกันแดดรุ่นเก่ายังไม่มีความเสถียรพอที่จะปกป้องรังสียูวีได้ยาวนาน ปัญหาฝ้า กระ รอยดำ จึงไม่ลดลง แม้จะทาไปในปริมาณมากและสม่ำเสมอ
ในปัจจุบัน นับเป็นความโชคดีที่ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงแก้ปัญหาของผลิตภัณฑ์กันแดดที่ผ่านมา จนเริ่มเป็นที่ยอมรับและใช้กันแพร่หลายมากขึ้น มาลองอัพเดท 3 Tips การเลือกผลิตภัณฑ์กันแดดแบบครอบคลุมและเจาะลึกกัน
[url=https://www.chivalabcare.com/category/1/" target="_blank]รับผลิตครีมกันแด 3 Tip ควรรู้1. ผลิตภัณฑ์กันแดดที่ดีควรปกป้องผิวได้ทั้งรังสี UVA-I, UVA-II และ UVBแสงยูวีที่จะก่ออันตรายต่อผิวหนังจะประกอบด้วยรังสี UVA I และ UVA II มีอำนาจทะลุทะลวงสูงเข้าสู่ชั้นหนังแท้ ทำให้เกิดการทำลายคอลลาเจนซึ่งเป็นสาเหตุหลักของรอยย่น ความหย่อนคล้อย กระ และมะเร็งผิวหนัง โดยที่รังสี UVA I หรือ Long UVA มีอำนาจทะลุทะลวงสูงที่สุด ส่วนรังสี UVB มีอำนาจทะลุทะลวงผิวหนังน้อยกว่า จึงเข้าสู่ชั้นหนังกำพร้าทำให้เกิดฝ้า ผิวคล้ำ ผิวไหม้จากแดด (sunburn )
Sunscreen หรือสารกันแดดที่ผสมในผลิตภัณฑ์ แบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ตามคุณสมบัติคือ
Physical Sunscreen สารกันแดดแบบฟิสิคัล ทำหน้าที่เหมือนเป็นกระจกเงาสะท้อนหรือหักเหรังสี UV ออกไปจากผิว สารในกลุ่มนี้มีอยู่สองตัวคือ Titanium Dioxide และ Zinc Oxide (ปกป้องผิวจากรังสี UVA-I,UVA-II,UVB ได้)
Chemical Sunscreen สารกันแดดแบบเคมีคัล ทำหน้าที่ดูดซับรังสีไม่ให้ทะลุผ่านไปยังผิวหนังได้ เป็นสารกันแดดที่พบได้ทั่วไป (ปกป้องผิวจากรังสี UVB ได้ทุกตัว แต่การปกป้องจากรังสี UVA-I, UVA-II แตกต่างกันไป)
Hybrid Sunscreen สารกันแดดแบบผสม มีคุณสมบัติทั้งสะท้อนและดูดซับรังสีในตัวเอง เช่น Bis-Benzotriazolyl Tetramethylbutylphenol หรือ Tinosorb M (ปกป้องผิวจากรังสี UVA-I,UVA-II, UVB ได้)
Sunscreen หรือสารกันแดดทุกตัว สามารถปกป้องผิวจากรังสี UVB ได้ทุกตัว แต่จะป้องกันรังสี UVA-I และ UVA-II ได้ครบหรือไม่นั้น นอกจากคำชวนเชื่อที่ผลิตภัณฑ์อ้างที่ตัวบรรจุภัณฑ์ เราสามารถดูสารกันแดดที่ปกป้องได้ครบถ้วน ว่าสารเหล่านี้มีในผลิตภัณฑ์ที่เราใช้หรือไม่
สารที่ป้องกันผิวจากรังสี UVA ได้ครบทั้ง UVA-I ,UVA-II และ UVB ก็คือ Titanium Dioxide ,Zinc Oxide ,Butyl Methoxydibenzoylmethane (Avobenzone) ,Bis-Ethylhexyloxyphenol Methoxyphenyl Triazine (Tinosorb® S), Drometrizole TriSiloxane (Mexoryl® XL), Terephthalylidene Dicamphor Sulfonic Acid (Mexoryl® SX) ,Methylene Bis-Benzotriazolyl Tetramethylbutylphenol (Tinosorb® M)
2. ค่าในการปกป้องผิวจากรังสี UVA และ UVB ต้องสูงเข้าไว้มาตรฐานทั่วโลกที่ใช้วัดค่าการป้องกันรังสี UVB คือ SPF (Sun Protection Factor)
> ค่า SPF 30 หากกล่าวแบบง่ายๆ หมายถึงผลิตภัณฑ์ตัวนั้นสามารถป้องกันรังสี UVB ได้มากกว่าปกติ 30 เท่า สมมติถ้าเราไปตากแดด 15 นาทีผิวถึงจะเริ่มไหม้แสบแดง การที่ทา Sunscreen ที่มี SPF 30 ก็จะอยู่กลางแดดได้นานขึ้นอีก 30 เท่า นั่นก็คือ 450 นาที (15 x 30 = 450) หรือประมาณ 7 ชั่วโมง หากเราเราอยู่กลางแดดนานเกินกว่านี้ก็ควรทาซ้ำ
> สิ่งที่ควรทราบคือ เราต้องใช้ผลิตภัณฑ์ ในปริมาณ 1/2 ช้อนชา ทาให้ทั่วใบหน้าหรือลำคอเพื่อที่จะได้ค่า SPF ตามที่ระบุเอาไว้บนฉลาก (ส่วนตามร่างกายประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะสำหรับแขนและขา)
> ที่ SPF 30 ป้องกันรังสี UVB ได้ 97% ในขณะที่ SPF มากกว่า 50 ป้องกันได้ 98% ซึ่งแตกต่างกันเพียง 1% จึงอาจไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเลือกใช้ครีมกันแดดที่มี SPF สูงๆ ซึ่งมักเป็นเรื่องที่หลายคนเข้าใจผิดว่าค่า SPF ยิ่งสูง ยิ่งดี ในเมืองไทยจึงอนุญาตให้เคลมได้ที่ SPF50 หากมากกว่านั้น ผลิตภัณฑ์จะระบุว่า SPF50+
> สำหรับแดดที่ร้อนระอุในเมืองไทย และ UV Index แรงขนาดนี้ แนะนำให้เลือกผลิตภัณฑ์ที่มี SPF มากกว่า 30 ขึ้นไป
มาตรฐานที่ใช้วัดค่าการป้องกันรังสี UVAปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานสากลในการวัดค่าการป้องกัน UVA ที่พบได้บ่อยเราจะเห็นมี PPD กับ PA (+)
PPD (Persistent Pigment Darkening) ค่า PPD นั้นใช้บอกว่าผลิตภัณฑ์ตัวนั้นจะช่วยปกป้องผิวจาก UVA ได้มากกว่าปกติกี่เท่า ซึ่งเราจะพบผลิตภัณฑ์ที่ระบุค่า PPD ได้จากผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในยุโรปหรือผลิตเพื่อจำหน่ายในยุโรป หากจะเลือกใช้ แนะนำให้เลือกที่ PPD มากกว่า 10 ขึ้นไป
PA (+) หรือ Protection grade of UVA เป็นค่าการป้องกัน UVA ซึ่งริเริ่มโดยสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องสำอางประเทศญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 2006 โดยมีหลักการดังนี้
>> PA+ หมายถึง มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA เริ่มต้น
>> PA++ หมายถึง มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA กลาง
>> PA+++ หมายถึง มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA สูง
>> PA++++ หมายถึง มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA สูงสุด
สำหรับแดดเมืองไทย ควรเลือกที่ PA มากกว่าหรือเท่ากับ 3+ ( PA+++, PA++++)
3. หากผิวแพ้ง่าย ควรเลือกผลิตภัณฑ์แบบไหน สำหรับผิวแพ้ง่าย หรือผิวเด็กนั้น มีหลักการดังนี้
>> เลือกผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารกันแดดอย่าง Zinc Oxide และ Titanium Dioxide (กลุ่ม Physical Sunscreen) เพราะไม่ตกค้างหรือดูดซึมสู่ผิว และอุดตันรูขุมขนน้อย
>> เลี่ยงน้ำหอม Fragrance Oil โดยเฉพาะน้ำมันจากลาเวนเดอร์ (Lavender oil) น้ำมันจากพืชตระกูลส้ม มะนาว มะกรูด (Citrus Oil) เพราะทำให้ผิวระคายเคืองง่าย เมื่อโดนแดด ทางที่ดีมองหาสูตรปราศจากน้ำหอมที่บอกว่า Fragrance Free หรือ Perfume Free ดีที่สุด
>> เลี่ยงสูตรที่ผสมแอลกอฮอล์ (Alcohol) เพราะสามารถก่อให้เกิดอนุมูลอิสระกับผิวได้ และก่อให้เกิดความระคายเคืองได้ในผิวแพ้ง่าย
>> เราควรทาผลิตภัณฑ์กันแดดก่อนออกจากบ้านอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้สารกันแดดชนิดเคมีคัลเซตตัวกับผิว (ถ้าผลิตภัณฑ์นั้นมีเพียงสารกันแดดฟิสิคัล ก็สามารถออกแดดได้เลย)
>> หากเราต้องทำกิจกรรมที่โดนน้ำหรือเป็นคนมีเหงื่อออกมากก็ต้องหาผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่าเป็น Water Resistance (กันแดดได้ 40 นาทีหากว่ายน้ำ) / Very Water Resistance (กันแดดได้ 80 นาทีหากว่ายน้ำ) ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารกันแดดแบบเคมีคัล สูตรแบบกันน้ำ ส่วนมากมักทำให้หน้าดูมันเงาเนื่องจากผลิตภัณฑ์สร้างชั้นฟิลม์ที่สามารถทนน้ำได้หากเราไม่ได้มีกิจกรรมทางน้ำ จึงไม่ค่อยแนะนำให้ใช้ แต่ถ้าใครมีกิจกรรมทางน้ำ แนะนำให้ทาซ้ำทุก 1-2 ชั่วโมงหากเป็นไปได้
>> เลือกเนื้อผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับสภาพผิว ในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์กันแดดนั้นมีอยู่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Cream, Lotion, Gel , Spray ถ้าคนผิวหน้ามันง่ายควรเลือกสูตร Gel หรือ Spray แต่ถ้าจะมีกิจกรรมทางน้ำเลือกแบบครีมเข้มข้นจะเหมาะกว่า เพราะแบบอื่นๆ จะไม่เสถียรและหลุดง่าย แม้ว่าจะเคลมว่ากันน้ำได้ดี
>> สำหรับสาวๆ ที่รักการแต่งหน้า อาจพบปัญหาผลิตภัณฑ์กันแดดไม่เข้ากันกับรองพื้นหรือแป้งแต่งหน้า แนะนำให้ซื้อผลิตภัณฑ์กันแดดขนาดเล็กมาทดลองก่อน เพื่อหายี่ห้อที่เหมาะสมกับเครื่องสำอางที่เรามี
>> ในปัจจุบัน มีผลิตภัณฑ์กันแดดที่ผสมสารปรับสีผิวให้กระจ่างใส หรือสารต้านอนุมูลอิสระป้องกันริ้วรอยก่อนวัย ใครที่อยากมีผิวกระจ่างใส ผิวหน้าเด้งไปนานๆ พร้อมปกป้องผิวจากแสงแดดก็สามารถเลือกได้
>> ผลิตภัณฑ์กันแดด ห้ามแช่เย็น เพราะการแช่เย็น จะทำให้ประสิทธิภาพการกันแดดของสารกันแดดกลุ่มเคมีคัล (Chemical Sunscreen) ลดลง เนื่องจากเกิดการตกผลึกของสารกันแดดแยกชั้นออกจากส่วนผสม แนะนำให้เก็บในอุณหภูมิห้องที่ไม่ร้อน หลีกเลี่ยงแสงแดดในบริเวณที่เก็บ หากหมดอายุควรทิ้ง อย่าเสียดาย
สิ่งสำคัญที่อยากบอกไว้คือ ในโลกนี้ไม่มีผลิตภัณฑ์กันแดดใดๆ ที่กัน UVA และ UVB ได้สมบูรณ์แบบ 100% และการทาผลิตภัณฑ์กันแดดเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการป้องกันความเสียหายของ DNA ที่ผิวเรา สิ่งที่ควรทำไปควบคู่กันไป คือการเลี่ยงแดดในช่วง 11.00-13.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่มีความเข้มข้นของรังสี UV มากที่สุด กางร่มหรือหลบแดดเท่าที่ทำได้ และควรสวมแว่นตากันแดดที่มีการเคลือบสารกรองรังสี UV เพื่อปกป้องดวงตาเป็นประจำด้วย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >>
https://pinpuribeauty.blogspot.com/คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง :
ขายส่งเครื่องสำอางTags : ขายส่งเครื่องสำอาง,ขายเครื่องสำอาง,ครีมหน้าขาว