มะม่วงเป็นผลไม้เก่าแก่ชนิดหนึ่งของโลก ผู้คนท้องถิ่นต่างๆทั่วโลกรู้จักกันดี ที่สำคัญ ชาว

Advertisement


หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มะม่วงเป็นผลไม้เก่าแก่ชนิดหนึ่งของโลก ผู้คนท้องถิ่นต่างๆทั่วโลกรู้จักกันดี ที่สำคัญ ชาว  (อ่าน 59 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Navaphon11991
Drift King
*****

การ์ม่า: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 35359


ดูรายละเอียด










« เมื่อ: สิงหาคม 08, 2015, 03:32:17 pm »



ล้อแม็ก แม็ก แม็กซ์แต่งรถ

↑ ลงทะเบียนรับข่าวสาร

ล้อแม็ก

Advertisement

มะม่วงนอกฤดู
ความหมายของมะม่วงนอกฤดู
ความสำคัญของการผลิตมะม่วงนอกฤดู
การผลิตมะม่วงนอกฤดู
สารชักนำการออกดอก
ขั้นตอนการผลิตมะม่วงนอกฤดู
จุดอ่อนของมะม่วงนอกฤดู
ข้อเสนอแนะ
เอกสารอ้างอิง
ความหมายของมะม่วงนอกฤดู แมงโก้" href="https://www.facebook.com/mangotooslim">แมงโก้
มะม่วงนอกฤดู (off-season mango) คือ มะม่วงที่สามารถเก็บเกี่ยวได้นอกเหนือไปจากช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม หรือมีผลผลิตในช่วงตั้งแต่เดือน สิงหาคม ถึง มีนาคม และสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้อีกสองกลุ่มคือ
1) มะม่วงหลังฤดู หมายถึงมะม่วงที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนสิงหาคม – ธันวาคม เช่น ที่ผลิตโดยวิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งออกมะม่วงตำบลโป่งตาลอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา (ธวัชชัย และฉันทลักษณ์, 2553)
2) มะม่วงก่อนฤดู หมายถึงมะม่วงที่สามารถเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม เช่น ที่ผลิตโดยชมรมผู้ปลูกมะม่วงอำเภอเนินมะปราง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก (ธวัชชัย และรุ่งทิพย์, 2552)
ส่วนมะม่วงของ จ.เชียงใหม่ ที่อยู่เหนือ อ.เมืองขึ้นไป โดยเฉพาะที่ อ.แม่อาย เก็บเกี่ยวได้ในช่วงกลางเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ถือเป็นมะม่วงล่าฤดูตามธรรมชาติ โดยไม่มีการใช้สารชักนำการออกดอกเหมือนมะม่วงนอกฤดูทั้งสองกรณีข้างต้น อย่างไรก็ตามปัจจุบันชาวสวนบางส่วนเริ่มปรับใช้บ้างแล้ว เพื่อแก้ปัญหาความแปรปรวนของลมฟ้าอากาศ (ภาวะโลกร้อน) ซึ่งทำให้มีพืชมีการออกดอกติดผลไม่ปกติ
ความสำคัญของการผลิตมะม่วงนอกฤดู
ในอุตสาหกรรมมะม่วง แม้บริษัทผู้ส่งออกจะเปิดรับซื้อมะม่วงตลอดทั้งปี แต่ช่วงในฤดู (เดือนเมษายน-พฤษภาคม) ราคาจะลดต่ำลงมาก ตัวอย่างเช่น ในปีการผลิต 2551 ที่ผ่านมา ชมรมผู้ปลูกมะม่วงอำเภอเนินมะปราง จ.พิษณุโลก ขายผลผลิตให้ บริษัท ปริ๊นเซส ฟู้ดซ์ จำกัด เพื่อผลิตมะม่วงแช่แข็ง เกษตรกรได้ราคาเพียง 19 บาท/กิโลกรัม (บริษัทซื้อราคา 23 บาท/กิโลกรัม และชมรมฯ หักค่าบริหารจัดการ 4 บาท) ซึ่งราคามะม่วงเพื่อส่งออกในรูปแช่แข็งนั้นจะถูกกว่าส่งออกในรูปผลสด ส่วนในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ (ก่อนฤดู) เกษตรกรจะ
ได้ราคา 31 บาท/กิโลกรัม (บริษัทซื้อราคา 35 บาท/กิโลกรัม และชมรมฯ หักค่าบริหารจัดการ 4 บาท) (ธวัชชัย และคณะ, 2551) ขณะที่มะม่วงคุณภาพดีสูงสุด (premium grade) เก็บเกี่ยวหลังฤดูปี พ.ศ. 2552 ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งออกมะม่วง ต.โป่งตาลอง จ.นครราชสีมา ม ูลค่า 75-80 บาท/กิโลกรัม เปรียบเทียบกับมะม่วงในฤดูปี พ.ศ. 2553 ซึ่งได้ราคาสูงสุดเพียง 50 บาท/กิโลกรัม (ธวัชชัย และฉันทลักษณ์, 2553) การผลิตมะม่วงนอกฤดูจึงเป็นความต้องการของกลุ่มเกษตรกรมืออาชีพเกือบทั้งหมด
การผลิตมะม่วงนอกฤดู
จากเงื่อนไขเรื่องการตลาดที่กล่าวไว้ในตอนต้น การผลิตมะม่วงนอกฤดู จึงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตมะม่วงมืออาชีพทั่วประเทศ ในการพัฒนาเทคนิคการผลิตมะม่วงนอกฤดู ในช่วงเวลาที่เหมาะสมกับพื้นที่ของตน อย่างไรก็ตามแนวทางหลักที่เกษตรกรนำมาปฏิบัติมี 3 วิธี ได้แก่
1) ใช้พันธุ์ทะวาย มะม่วงไทยที่เป็นพันธุ์ทะวายมีอยู่จำนวนหนึ่ง ที่คนส่วนใหญ่ในภาคเหนือรู้จักกันดี เช่น โชคอนันต์ ปัญหาของพันธุ์ทะวายทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบันคือ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดส่งออก แต่ที่ได้มีการปรับใช้มาอย่างยาวนานก็คือ น้ำดอกไม้ ซึ่งปกติเป็นเพียงมะม่วงพันธุ์เบา ที่ออกดอกง่าย ต่อมาได้มีการคัดเลือก จนได้น้ำดอกไม้ (ทะวาย) เบอร์สี่ ซึ่งมีลักษณะทะวายมากที่สุด (ฉลองชัย, 2546)
2) การฝากท้องบนต้นตอพันธุ์ทะวาย คือ การต่อกิ่ง (เสียบยอด) พันธุ์การค้าที่ต้องการบนตอพันธุ์ทะวาย เช่น โชคอนันต์ ก่อนการสร้างตาดอกประมาณ 1 เดือน
3) การใช้สารเคมีชักนำการออกดอก ถือเป็นวิธีการหลักในการผลิตมะม่วงนอกฤดูสำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน
สารชักนำการออกดอก
สารชักนำการออกดอกที่ใช้อย่างกว้างที่สุดในประเทศไทยคือ พาโคลบิวทราโซล (paclobutrazol, PBZ) จัดเป็นสารหน่วงการเติบโต (growth retardant) ซึ่งเป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชกลุ่มหนึ่ง ที่พืชไม่สามารถสร้างขึ้นเอง คุณสมบัติหลักของสารกลุ่มนี้คือ สามารถยับยั้งการสร้างจิบเบอเรลลิน (gibberellins, GA) ซึ่งปกติเป็นฮอร์โมนที่พืชสร้างขึ้น เพื่อไปทำหน้าที่กระตุ้นการยืดตัวของเซลล์ ให้กิ่งก้านยืดยาว โดยการเคลื่อนย้ายคาร์โบไฮเดรตไปใช้ พืชจึงไม่สามารถสะสมแป้งได้ สภาพต้นที่มี GA อยู่มากพืชจะไม่มีการออกดอก ดังนั้นถ้ามีการใส่สาร PBZ กับต้นมะม่วง ก็จะทำให้ปริมาณจิบเบอเรลลินภายในต้นลดน้อยลง หยุดการเจริญเติบโตทางด้านกิ่งใบ และเปิดโอกาสให้พืชพัฒนาตาดอกขึ้นมาแทน สารนี้เป็นที่นิยมไม่เฉพาะใช้ผลิตมะม่วงนอกฤดูเท่านั้น ทางภาคตะวันออกยังนำมาใช้ชักนำการออกดอกเพื่อผลิตไม้ผลนอกฤดูอีกหลายชนิด รวมทั้ง มะนาว ทุเรียน และชมพู่
มีการเปิดประเด็นว่า สาร PBZ มีการใช้ทางดินซ้ำในพื้นที่เดิมและต่อเนื่องเป็นเวลานานนับสิบปี แม้พบการตกค้างในผลผลิตต่ำกว่าที่กำหนดมาก แต่อาจจะถูกกีดกันเพื่อให้เลิกใช้ เนื่องจากมีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม เช่น มีการสะสมไว้ในดินยาวนานในสภาพแห้งแล้ง หรืออาจเคลื่อนลงสู่สภาพแวดล้อมโดยรอบ จึงมีคำถามว่า สามารถใช้พ่นทางใบได้หรือไม่ หรือยังสามารถชักนำให้ออกดอกได้เหมือนราดลงดินหรือไม่ ช่วงระยะเวลาที่พ่น
ควรเป็นระยะใด ยังใช้ในระยะใบเพสลาดเหมือนราดลงดินได้หรือไม่ คำตอบบางส่วนคือ สารนี้เคลื่อนที่ได้ดีทางท่อน้ำของต้นพืช เมื่อถูกดูดซึมเข้าทางราก สารก็จะเคลื่อนไปยังส่วนยอด ยับยั้งการสร้างจิบเบอเรลลินในส่วนนั้น แต่การพ่นทางใบ สารไม่ค่อยเคลื่อนจากใบแก่ไปยังยอดอ่อน ทำให้ประสิทธิภาพของสารต่ำกว่าการใช้ทางดินมาก ดังนั้นวิธีที่ยังยืนยันว่าใช้ได้ผลดีกับมะม่วงคือ ผสมน้ำแล้วราดลงดิน (soil drench) ที่โคนต้น มะม่วงน้ำดอกไม้จะตอบสนองโดยการสร้างตาดอกหลังการราดสารภายใน 45-60 วันเท่านั้น
ประสบการณ์การใช้สารพาโคลบิวทราโซลมามากว่า 10 ปีของเกษตรกร ชมรมผู้ปลูกมะม่วงจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีพื้นสวนอยู่ใน จ.เชียงราย ระบุว่า หลังจากราดสารแล้วหากใบที่ปลายยอดเริ่มบิดเป็นเกลียวแสดงว่าเกิดการตอบสนองต่อสารแล้ว หากมีการใช้สารในปริมาณมาก ใบก็จะยิ่งบิดมาก ช่อใบและช่อดอกจะหดสั้น การพ่นทางใบกับต้นมะม่วงอายุประมาณ 8-10 ปี ในอัตรา 400 กรัม/น้ำ 20 ลิตร (สารออกฤทธิ์ 10%) ในระยะใบเพสลาด พบว่า มีการออกดอกดี ใบบิดเป็นเกลียว แต่การออกดอกไม่สม่ำเสมอเท่ากับราดลงดิน การตัดแต่งกิ่งช่วงต้นเดือนกันยายน ใบใหม่ที่ออกมาจะสมบูรณ์พร้อม เนื่องจากได้รับน้ำฝนช่วงปลายฤดู หลังจากนั้นประมาณปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม เมื่อใบเข้าสู่ระยะเพสลาด หรือระยะที่ใบอ่อนเริ่มเปลี่ยนสีจากม่วงเป็นเขียว ก็เริ่มราดสารได้ แต่หากตัดแต่งกิ่งทันทีหลังเก็บเกี่ยวช่วงต้นเดือนกรกฎาคม ใบที่ผลิใหม่ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมซึ่งยังมีฝนตกชุก จะเป็นโรคแอนแทรคโนสเกือบหมดทั้งสวน ส่วนในพื้นที่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ชาวสวนจะราดสารประมาณ 20 กันยายน ถือได้ว่าเป็นช่วงเดียวกันกับการราดสารใน จ.เชียงราย นอกจากนี้มีสมาชิกอีกราย ยืนยันว่าการราดสารลงดินในอัตราสูงถึง 400 กรัม/ต้นนั้น พบว่า ใบบิดมาก และใบและต้นแห้งตาย แสดงให้เห็นว่าสารนี้มีอันตรายต่อพืชหากใช้ในปริมาณมาก รวมทั้งมีการสะสมในดิน
การใช้สารพาโคลบิวทราโซลนั้น ไม่ได้นำมาใช้เพื่อผลิตมะม่วงนอกฤดูทุกสถานการณ์ ในประเทศฟิลิปปินส์ เลือกผลิตมะม่วงนอกฤดูโดยการใช้พันธุ์คาราบาว (Carabao) ซึ่งเป็นพันธุ์ทะวายอยู่แล้ว จึงใช้เฉพาะสารโพแทสเซียมไนเตรท (KNO3) ส่งเสริมการผลิดอกเท่านั้น หลักการทำงานของสารพาโคลบิวทราโซล ดังที่กล่าวในตอนต้นแล้วคือ ยับยั้งการสร้างฮอร์โมน GA ให้หยุดการสร้างกิ่งใบใหม่ และสะสมอาหารไว้สร้างตาดอก แต่จะทำงานได้ดีต้องมีผลร่วมของสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับการสร้างตาดอก เช่น ความแห้งแล้ง และอุณหภูมิต่ำในระยะเวลาที่เหมาะสม เป็นต้น




เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง : [url]https://www.facebook.com/mangotooslim[/url]

Tags : แมงโก้, แมงโก้เต้, MANGO ลดความอ้วน



GPSราคาถูก | เครื่องฟอกอากาศในรถยนต์ | Ran Online | Ragnarok | โปรโมชั่น | เกมส์ออนไลน์

Promotion
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ