Advertisement
โครงการพัฒนา OTOP แบบเดิมมีสินค้าโอทอป ที่เข้าหลักเกณฑ์มาตรฐานตามหน่วยงานรัฐได้ตั้งมาตรฐานไว้เพียง 15,000 สินค้า จากทั้งหมด 83.538 รายการ มีผลทำให้สินค้าอีกราวๆ เจ็ดหมื่นรายการที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ขาดโอกาสในการเข้าร่วมการดำเนินการ รูปแบบเดิมภาครัฐช่วยในการสร้างช่องทางตลาด จัดให้มีการสินค้าโอทอปตามงาน Event ต่างๆ ผู้ผลิตที่ผ่านเกณฑ์ได้มีโอกาสไปขายตามงาน Event ต่างๆ นอกจากนี้ภาครัฐยังให้ความช่วยเหลือผลักดันในด้านต่างๆ
แต่การพัฒนา OTOP ในยุคใหม่จะเปลี่ยนไปจากเดิมโดยผลักดันให้ขายสินค้าอยู่ภายในชุมชนเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน พร้อมกับนำภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี และความคิดสร้างสรรค์ ที่เป็นเสน่ห์ของแต่ละท้องถิ่น มาทำการเปลี่ยนให้เป็นรายได้ภายในชุมชน และเป็นการเพิ่มความเข้มแข็งให้กับแต่ละท้องถิ่น คนในท้องถิ่นไม่จำเป็นต้องไปขายสินค้าตามงาน Event ต่างๆ ที่ภาครัฐจัดขึ้นเหมือนแต่ก่อน
แต่อย่างไรก็ตามท้องถิ่นที่จะเข้าโครงการ OTOP นวัตวิถี ก็ยังต้องผ่านหลักเกณฑ์ในการพิจารณาต่างๆ เหล่านี้อยู่
- มีปริมาณนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวที่ชุมชน รุ่มพอประมาณ
- พิจารณาศักยภาพความพร้อมของท้องที่
- มีการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว ตามที่หน่วยงานรัฐกำหนด เช่น เช่น แหล่งท่องเที่ยวหลัก คือ 22 เมืองหลัก แหล่งท่องเที่ยวรอง คือ 55 เมืองรอง ส่วนแหล่งท่องเที่ยวเล็ก ก็คือ ชุมชนท่องเที่ยวที่มีกิจกรรม สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ โดยสามารถต่อยอดจากหมู่บ้าน OTOP
- มีความน่าสนใจสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติภายในชุมชน
- มีความน่าสนใจด้านศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น
- ต้องมีความเข้มแข็งของชุมชน ภายในชุมชนมีความพร้อม
- มีการจัดทำแผนธุรกิจ ปฏิทินท่องเที่ยวของชุมชน
- ส่งเสริมจำหน่ายสินค้าโอทอปของชุมชน ที่เป็นเสน่ห์และเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
- ต้องมีการใช้งบประมาณอย่างมีเหตุมีผล
Tags : โอทอป,OTOP