Advertisement
การตรวแมมโมแกรม[/url]คืออะไร ป้องกันโรคอะไรได้บ้าง ราคา วิธีการเตรียมตัว และวิธีการดูแลตัวเองหลังการตรวจ
มะเร็งเต้านมภัยเงียบที่คร่าชีวิตสตรีมากเป็นอันดับต้นๆ อย่านิ่งนอนใจ ขอให้หมั่นสังเกต และตรวจหาเป็นประจำโรคมะเร็งเต้านมขึ้นชื่อว่าเป็นโรคร้ายแรงคร่าชีวิตผู้หญิงมากเป็นอันดับสองรองจากโรคมะเร็งปากมดลูก การตรวจหามะเร็งเต้านมสามารถตรวจได้จากการสังเกต การคลำด้วยตัวเองเพื่อหาความผิดปกติ การตรวจด้วยแมมโมแกรม และการตรวจอัลตร้าซาวด์ แต่พบว่าวิธีตรวจที่นิยมมากที่สุดในตอนนี้คือ การตรวจแมมโมแกรม นั่นเอง
การตรวจ
แมมโมแกรมคืออะไร
การตรวจ
แมมโมแกรมคือ การตรวจหาโรคมะเร็งเต้านมด้วยรังสีชนิดพิเศษมีลักษณะคล้ายการเอกซเรย์เพียงแต่มีปริมาณรังสีน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์ทั่วๆ ไป โดยจะถ่ายรูปเต้านมด้านละ 2 รูป ด้วยการบีบเนื้อเต้านมเข้าหากัน และถ่ายภาพเต้านมจากด้านบนและด้านข้าง รวมทั้งสิ้น 4 ภาพ
แมมโมแกรมเป็นวิธีที่สามารถเห็นได้แม้แต่จุดหินปูนในเต้านมจึงสามารถตรวจพบเซลล์มะเร็งได้แม้ในระยะเริ่มแรก ใช้เวลาการตรวจไม่นาน แมมโมแกรมเหมาะสำหรับใช้ตรวจกับผู้ที่คลำได้ลำบาก ผู้ที่เสริมหน้าอกมาแล้ว ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นวัยที่มีเนื้อเต้านมไม่หนาแน่นมาก
การตรวจแมมโมแกรม ถ้าตรวจในผู้ที่ยังไม่มีอาการก็จะเป็นการตรวจเพื่อเฝ้าระวัง หากพบว่า มีอาการที่ผิดปกติแล้ว อาทิ คลำเจอก้อนเนื้อที่เต้านม เจ็บที่เต้านม และมีของเหลวออกมาจากหัวนมแล้วจึงมาตรวจแบบนี้ การตรวจแมมโมแกรมก็จะเป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค เหมาะสำหรับใช้ตรวจกับผู้ที่คลำได้ลำบาก หรือเสริมหน้าอกมาแล้วได้อีกด้วย
ดังนั้นหญิงสาวที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจด้วยวิธีนี้ปีละ 1 ครั้ง และสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจปีละ 2 ครั้ง แต่หากตรวจแล้วพบความผิดปกติ คุณหมอจะทำการนัดตรวจเป็นประจำทุกๆ 3 - 6 เดือน
การตรวจแมมโมแกรมป้องกันโรคอะไรได้บ้าง
การตรวจแมมโมแกรมเป็นเพียงวิธีใช้เครื่องตรวจและถ่ายภาพให้หมอวินิจฉัยเหมือนการเอ็กซเรย์เท่านั้น วิธีการคือ หมอ หรือเจ้าหน้าที่จะบีบเต้านมทั้งสองข้างเพื่อถ่ายรูปเต้านมทั้งด้านข้างและด้านบน ถ้าพบความผิดปกติใดๆ ก็อาจมีการถ่ายรูปเพิ่ม ซึ่งการถ่ายภาพนี้จะรู้สึกเจ็บตึงๆ แบบพอทนได้
ถึงแม้ว่าการตรวจแมมโมแกรมจะเป็นการตรวจด้วยรังสีแต่ก็ไม่มีอันตรายใดๆ ด้วยเหตุว่ารังสีที่ใช้มีปริมาณน้อยกว่ารังสีจากการเอ็กซเรย์ทั่วไปหลายเท่า เพราะฉะนั้นจึงไม่มีการกระจายรังสีไปที่อวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย อีกทั้งการตรวจแมมโมแกรมตามสถานพยาบาลต่างๆ มักนิยมตรวจควบคู่ไปกับการทำอัลตราซาวด์ เพื่อประกอบการวินิจฉัยและใช้ประวัติเก่าของคนไข้ที่เคยตรวจมาประกอบการพิจารณา รวมทั้งเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงและความผิดปกติต่างๆ ของเต้านมอีกด้วย
ติดตามบทความหัวข้อ แมมโมแกรม กันต่อได้ที่ Website :
https://www.honestdocs.co/how-to ... are-after-mammogram