Advertisement
โรคเบาหวาน วินิจฉัยอย่างไรบ้าง ?
ในเบื้องต้น เมื่อเราเดินทางไปพบแพทย์ แพทย์ก็จะเริ่มต้นสอบถามอาการ ประวัติการเจ็บป่วย รวมไปถึงคนในครอบครัว จากนั้นก็จะมีการตรวจร่างกาย ตรวจเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาล ซึ่งวิธีการวิเคราะห์ระดับน้ำตาลก็จะมีอยู่หลายวิธี ดังนี้
วิธีที่ 1 : การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้
วิธีที่ 2 : การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
วิธีที่ 3 : การทดสอบการตอบสนองของฮอร์ดมนอินซูลินที่มีต่อระดับน้ำตาลในเลือด
วิธีที่ 4 : การตรวจน้ำตาลเฉลี่ยสะสม หรือฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี
หากผู้ป่วยไม่มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจนคือ หิวน้ำมาก ปัสสาวะบ่อยและมาก น้ำหนักตัวลดลง โดยที่ไม่มีสาเหตุ การตรวจด้วยวิธีทั้งหมดข้างต้นจำเป็นต้องมีการตรวจซ้ำอย่างน้อย 1 ครั้งด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งอีกครั้งหนึ่งเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย
อาการของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
หากกล่าวถึงโดยภาพรวมอาการของผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวานนั้นจะปัสสาวะบ่อย มีน้ำหนักที่ลดลง หิวบ่อย บางครั้งก็มีอาการอ่นเพลีย อันเนื่องมาจากการที่มีน้ำตาลในเลือดสูง คราวนี้ เราลองมาดูกันลึกลงไปอีกนิดว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานจะมีอาการใดแสดงให้เห็นเพิ่มเติมได้อีกบ้าง
ในคนทั่วไปที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวานก่อนที่จะรับประทานอาหารเช้าจะมีระดับน้ำตาลในเลือดเพียง 70 – 110 มก.% โดยหลังจากที่รับประทานอาหารเช้าเข้าไปแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง ก็จะมีระดับน้ำตาลในเลือดไม่เกิน 140 มก.% ซึ่งที่มีระดับน้ำตาลไม่มากก็อาจจะไม่แสดงอาการใดๆ ออกมา สำหรับการวินิจฉัยโรคเบาหวานนั้นทำได้ด้วยการเจาะเลือด มีอาการที่พบได้บ่อยดังนี้
คนปกติที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวานมักจะไม่ลุกขึ้นมาปัสสาวะในช่วงเวลากลางดึก หรือปัสสาวะเป็นอย่างมากไม่เกิน 1 ครั้ง ซึ่งเมื่อมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดที่เกินกว่า 180 มก.% น้ำตาลก็จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ ทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อยและเกิดการสูญเสียน้ำ อีกทั้งยังอาจพบได้ว่าปัสสาวะของตนเองมีมดตอม
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานมักจะหิวน้ำบ่อย อันเนื่องมาจากต้องมีการทดแทนน้ำที่ร่างกายขับออกมาทางปัสสาวะ
มีอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักตัวลดลงเนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลที่มีอยู่ได้ จึงได้ย่อยสลายส่วนที่เป็นโปรตีนและไขมันออกมา
ที่มา
http://wi-mesnowboards.com/คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง :
วิธีดูแลสุขภาพTags : การดูแลสุขภาพ, ลดความอ้วน, ยารักษาโรค