บริการ แพทย์ พยาบาล ประจำโรงงาน โรงเรียน บริษัท sbsub2000 การให้บริการคืองานของเรา

Advertisement


หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บริการ แพทย์ พยาบาล ประจำโรงงาน โรงเรียน บริษัท sbsub2000 การให้บริการคืองานของเรา  (อ่าน 81 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
iampropostweb
Drift King
*****

การ์ม่า: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 37259


ดูรายละเอียด อีเมล์










« เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2015, 11:41:05 am »



ล้อแม็ก แม็ก แม็กซ์แต่งรถ

↑ ลงทะเบียนรับข่าวสาร

ล้อแม็ก

Advertisement

“ การบริการคืองานของเรา http://www.sbsub2000.com
บริการ แพทย์ พยาบาล ประจำโรงงาน โรงเรียน บริษัท
แก่ พนักงาน ลูกจ้าง ตามข้อกำหนดของกฎกระทรวง
ว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจ
การภายใต้การดำเนินงานจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญ
 
การให้บริการคืองานของเรา
สวัสดิการแรงงาน คือ การดำเนินการใดๆ ไม่ว่าโดยนายจ้าง สหภาพแรงงาน(ลูกจ้าง) หรือรัฐบาลที่มีความมุ่งหมายเพื่อให้ลูกจ้างสามารถมีระดับความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร มีความผาสุกทั้งกายและใจมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีความปลอดภัยในการทำงาน มีความเจริญก้าวหน้า มีความมั่นคงในการดำเนินชีวิตไม่เฉพาะแต่ตัวลูกจ้างเท่านั้นแต่รวมถึงครอบครัวของลูกจ้างด้วยการดำเนินการเพื่อให้มีการจัดสวัสดิการขึ้นในสถานประกอบการนั้น กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานดำเนินภารกิจ 3 ประการ ดังนี้
กำหนดและพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการ
ส่งเสริม สนับสนุนและดำเนินการให้มีการจัดสวัสดิการ
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
การกำหนดและพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการ
ภายใต้ภารกิจการกำหนดและพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการนี้ สวัสดิการแรงงานได้ถูกจัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
สวัสดิการแรงงานตามที่กฎหมายกำหนด
สวัสดิการแรงงานนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด
สวัสดิการแรงงานตามที่กฎหมายกำหนด
 
 เป็นสวัสดิการที่ได้มีการพิจารณาแล้วว่าเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ ซึ่งกฎหมายที่ใช้บังคับเพื่อให้สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปต้องมีการจัดสวัสดิการประเภทนี้ คือ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยสำหรับลูกจ้าง โดยในประกาศฉบับนี้ได้กำหนดรายละเอียดและรูปแบบของสวัสดิการแรงงานที่สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีโดยสรุปดังนี้
 
 1.ให้นายจ้างจัดให้มีน้ำสะอาดสำหรับดื่ม ห้องน้ำ และห้องส้วมอันถูกต้องตามสุขลักษณะและมีปริมาณเพียงพอแก่ลูกจ้าง
 
2.นายจ้างต้องจัดให้มีบริการเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างเมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยในการปฐมพยาบาลหรือในการรักษาพยาบาล
 
1.สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทำงานตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ต้องมีปัจจัยในการปฐมพยาบาล
 
2.สถานที่ทำงานอุตสาหกรรม นอกจากปัจจัยในการปฐมพยาบาลตาม ( 1 ) แล้ว ต้องจัดให้มีห้องรักษาพยาบาล พยาบาล และแพทย์ ดังต่อไปนี้
 
ถ้ามีลูกจ้างทำงานในขณะเดียวกันตั้งแต่สองร้อยคนขึ้นไป ต้องจัดให้มี
 
(ก) ห้องรักษาพยาบาลพร้อมเตียงพักคนไข้หนึ่งเตียง และเวชภัณฑ์อันจำเป็นเพียงพอแก่การรักษาพยาบาล
 
(ข) พยาบาลไว้ประจำอย่างน้อยหนึ่งคน และ
 
(ค) แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งคนเพื่อตรวจรักษาพยาบาลเป็นครั้งคราว
ถ้ามีลูกจ้างทำงานในขณะเดียวกันหนึ่งพันคนขึ้นไป ต้องจัดให้มี
(ก) สถานพยาบาลพร้อมเตียงพักคนไข้สองเตียง และเวชภัณฑ์อันจำเป็นเพียงพอแก่การรักษาพยาบาล
(ข) พยาบาลไว้ประจำอย่างน้อยสองคน
(ค) แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งอย่างน้อยสองคนประจำตามเวลาที่กำหนดในเวลาทำงานปกติคราวละไม่น้อยกว่าสองชั่วโมง และ
(ง) ยานพาหนะพร้อมที่จะนำส่งลูกจ้างส่งสถานพยาบาล โรงพยาบาล หรือสถานีอนามัยชั้นหนึ่งที่นายจ้างได้ตกลงไว้ เพื่อให้การรักษาพยาบาลลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยได้โดยพลัน
อย่างไรก็ตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ลงนามในกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2548 โดยจะมีผลบังคับใช้แทนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยสำหรับลูกจ้าง ตั้งแต่ วันที่ 25 กันยายน 2548 เป็นต้นไป กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานดำเนินภารกิจ 3 ประการ ดังนี้
ข้อ 1 ในสถานที่ทำงานของลูกจ้าง ให้นายจ้างจัดให้มี
 
1.น้ำสะอาดสำหรับดื่มไม่น้อยกว่าหนึ่งที่สำหรับลูกจ้างไม่เกินสี่สิบคน และเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนหนึ่งที่สำหรับลูกจ้างทุกๆ สี่สิบคน เศษของสี่สิบคนถ้าเกินยี่สิบคนให้ถือเป็นสี่สิบคน
2.ห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ให้นายจ้างจัดให้มีห้องน้ำและห้องส้วมแยกสำหรับลูกจ้างชายและลูกจ้างหญิง และในกรณีที่มีลูกจ้างที่เป็นคนพิการ ให้นายจ้างจัดให้มีห้องน้ำและห้องส้วมสำหรับคนพิการแยกไว้โดยเฉพาะ
 
ข้อ 2 ในสถานที่ทำงานของลูกจ้าง ให้นายจ้างจัดให้มีสิ่งจำเป็นในการปฐมพยาบาลและ การรักษาพยาบาล ดังต่อไปนี้
 
1.สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทำงานตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ต้องจัดให้มีเวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาลในจำนวนที่เพียงพอ อย่างน้อยตามรายการดังต่อไปนี้
 
(ก) กรรไกร
 
 (ข) แก้วยาน้ำ และแก้วยาเม็ด
 
 (ค) เข็มกลัด
 
 (ง) ถ้วยน้ำ
 
 (จ) ที่ป้ายยา
 
 (ฉ) ปรอทวัดไข้
 
 (ช) ปากคีบปลายทู่
 
 (ซ) ผ้าพันยืด
 
 (ฌ) ผ้าสามเหลี่ยม
 
 (ญ) สายยางรัดห้ามเลือด
 
 (ฎ) สำลี ผ้าก๊อซ ผ้าพันแผล และผ้ายางปลาสเตอร์ปิดแผล
 
 (ฏ) หลอดหยดยา
 
 (ฐ) ขี้ผึ้งแก้ปวดบวม
 
 (ฑ) ทิงเจอร์ไอโอดีน หรือโพวิโดน-ไอโอดีน
 
 (ฒ) น้ำยาโพวิโดน-ไอโอดีน ชนิดฟอกแผล
 
 (ณ) ผงน้ำตาลเกลือแร่
 
 (ด) ยาแก้ผดผื่นที่ไม่ได้มาจากการติดเชื้อ
 
 (ต) ยาแก้แพ้
 
 (ถ) ยาทาแก้ผดผื่นคัน
 
 (ท) ยาธาตุน้ำแดง
 
 (ธ) ยาบรรเทาปวดลดไข้
 
 (น) ยารักษาแผลน้ำร้อนลวก
 
 (บ) ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
 
 (ป) เหล้าแอมโมเนียหอม
 
 (ผ) แอลกอฮอล์เช็ดแผล
 
 (ฝ) ขี้ผึ้งป้ายตา
 
 (พ) ถ้วยล้างตา
 
 (ฟ) น้ำกรดบอริคล้างตา
 
 (ภ) ยาหยอดตา
 
2.สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทำงานในขณะเดียวกันตั้งแต่สองร้อยคนขึ้นไป ต้องจัดให้มี
 
 (ก) เวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาลตาม ( 1 )
 
 (ข) ห้องรักษาพยาบาลพร้อมเตียงพักคนไข้อย่างน้อยหนึ่งเตียง เวชภัณฑ์และยานอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ตามความจำเป็นและเพียงพอแก่การรักษาพยาบาลเบื้องต้น
 
 (ค) พยาบาลตั้งแต่ระดับพยาบาลเทคนิคขึ้นไปไว้ประจำอย่างน้อยหนึ่งคนตลอดเวลาทำงาน
 
ทำงานในขณะเดียวกันตั้งแต่หนึ่งพันคนขึ้นไป ต้องจัดให้มี
 
 (ก) เวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาลตาม ( 1 )
 
 (ข) ห้องรักษาพยาบาลพร้อมเตียงพักคนไข้อย่างน้อยหนึ่งเตียง เวชภัณฑ์และยานอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ตามความจำเป็นและเพียงพอแก่การรักษาพยาบาลเบื้องต้น
 
 (ค) พยาบาลตั้งแต่ระดับพยาบาลเทคนิคขึ้นไปไว้ประจำอย่างน้อยสองคนตลอดเวลาทำงาน
 
 (ง) แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งคน เพื่อตรวจรักษาพยาบาลไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละสองครั้งและเมื่อรวมเวลาแล้วต้องไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละหกชั่วโมงในเวลาทำงาน
 
 (จ) ยานพาหนะซึ่งพร้อมที่จะนำลูกจ้างส่งสถานพยาบาลเพื่อให้การรักษาพยาบาลได้ โดยพลัน
 
ข้อ 3 นายจ้างอาจทำความตกลงเพื่อส่งลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาลกับสถานพยาบาล ที่เปิดบริการตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงและเป็นสถานพยาบาลที่นายจ้างอาจนำลูกจ้างส่งเข้ารับการ รักษาพยาบาลได้โดยความสะดวกและรวดเร็ว แทนการจัดให้มีแพทย์ตามข้อ 2 (2) หรือข้อ 2 (3) ได้โดยต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
การส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการให้มีการจัดสวัสดิการ
 
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดไว้ในมาตรา 96 ให้นายจ้างของสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง อย่างน้อยห้าคน โดยที่กรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการให้มาจากการเลือกตั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด และในกรณีที่สถานประกอบกิจการใดของนายจ้างมีคณะกรรมการลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยแรงงาน สัมพันธ์แล้ว ให้คณะกรรมการลูกจ้าง ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการตาม พระราชบัญญัตินี้




เจตนารมณ์ของการจัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิการฯเป็นการส่งเสริมระบบทวิภาคีเพื่อเปิดโอกาสให้ลูกจ้างได้มีการ หารือกับนายจ้างในการจัดสวัสดิการอื่นๆ ซึ่งนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดได้อย่างเหมาะสมแก่สถานประกอบกิจการ และเป็นสวัสดิการที่ลูกจ้างเองก็ต้องการ มิใช่นายจ้างจัดการแต่ฝ่ายเดียว แต่ไม่เป็นที่สนใจของลูกจ้าง การที่เปิดโอกาสให้ลูกจ้างได้แสดงความต้องการ และได้รับฟังความคิดเห็นข้อมูลจากนายจ้างว่าสามารถจัดสวัสดิการที่เสนอได้หรือไม่ เป็นการส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์ และยุติปัญหาข้อเรียกร้องข้อพิพาทแรงงานแต่เบื้องต้น ทั้งนี้คณะกรรมการฯ ดังกล่าว กฎหมายได้กำหนดหน้าที่ไว้ (มาตรา 97 ) ดังนี้
1.ร่วมหารือกับนายจ้างจัดสวัสดิการแก่ลูกจ้าง
 
 2.ให้คำปรึกษาหารือและเสนอแนะความเห็นแก่นายจ้างในการจัดสวัสดิการสำหรับลูกจ้าง
 
 3.ตรวจตรา ควบคุม ดูแล การจัดสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้าง
 
 4.เสนอข้อคิดเห็น และแนวทางในการจัดสวัสดิการที่เป็นประโยชน์สำหรับลูกจ้างต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน
 
คณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ จึงเป็นเสมือนสื่อกลางที่จะถ่ายทอดความต้องการด้าน สวัสดิการของลูกจ้างให้นายจ้างทราบ และร่วมปรึกษาหารือให้ข้อเสนอแนะตลอดจนตรวจสอบ ดูแล การจัดสวัสดิการ ภายในสถานประกอบกิจการ เพราะ กฎหมาย (มาตรา 98 ) ยังได้กำหนดไว้ว่านายจ้างต้องจัดให้มีการประชุมหารือกับคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการอย่างน้อยสามเดือนต่อหนึ่งครั้ง หรือเมื่อกรรมการสวัสดิการในสถาน ประกอบกิจการเกินกึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดหรือสหภาพแรงงานร้องขอโดยมีเหตุผลสมควร
 
การที่กฎหมายกำหนดไว้เช่นว่านั้นเท่ากับเป็นการส่งเสริม สนับสนุนและดำเนินการให้มีการจัดสวัสดิการแรงงาน ขึ้นในสถานประกอบกิจการ ซึ่งหากสถานประกอบกิจการใดไม่ดำเนินการจะมีบทลงโทษทั้งจำคุกและปรับ นอกเหนือจากกิจกรรมดังกล่าว กองสวัสดิการแรงงานยังเป็นฝ่ายจัดสวัสดิการแรงงานให้แก่ผู้ใช้แรงงานโดยใช้ งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล 2 กิจกรรมด้วยกัน คือ
 
 1.การจัดตั้งศูนย์เด็กเล็กวิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัยในพระราชูปถัมภ์ โดยที่ศูนย์ดังกล่าวเกิดจากพระราชดำริ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ที่มีพระประสงค์ให้มีการดูแลบุตรของผู้ใช้แรงงานในเขตที่ม ีสถานประกอบกิจการมากเพื่อบิดา มารดา จะสามารถทำงานได้โดยไม่มีความเป็นห่วงกังวลในเรื่องการเลี้ยงดูบุตรก่อน วัยเรียนของตน ซึ่งปัจจุบันมีการจัดตั้งศูนย์ เด็กเล็กลักษณะนี้ ขึ้น 2 ศูนย์ และสามารถให้การดูแลเด็กเล็กที่เป็นบุตรของ ผู้ใช้แรงงานประมาณ 1,300 คน ทั้งนี้โดยได้รับเงินงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลและเงินบริจาคจากผู้ใช้แรงงาน ที่เป็นบิดา มารดาของเด็กสมทบอีกส่วนหนึ่ง การดำเนินงานของศูนย์ ทั้ง 2 แห่งอยู่ภายใต้การกำกับ ดูแลของ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กองสวัสดิการแรงงาน และมูลนิธิสิรินธรราชวิทยาลัยในพระราชูปถัมภ์
 
 2.การจัดตั้งกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน เป็นการจัดสรรเงินทุนหมุนเวียนจากรัฐบาลเพื่อให้ผู้ใช้แรงงานกู้โดยผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการและรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการพัฒนารายได้แก่ผู้ใช้แรงงานและเพื่อการออมทรัพย์และปลดเปลื้องหนี้สินของผู้ใช้แรงงานโดยผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงานจะให้กู้ได้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ อัตราร้อยละ 2.25
 
ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
 
นอกเหนือจากการดำเนินการดังกล่าว การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดสวัสดิการนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด ยังเป็นการที่เจ้าหน้าที่ภาครัฐเข้าไปในสถานประกอบกิจการเพื่อแนะนำรูปแบบของสวัสดิการต่างๆ ที่กฎหมายไม่ได้ กำหนดไว้แต่หากสถานประกอบกิจการใดมีความพร้อมเพียงพอก็สามารถจัดให้เป็นไปตามความต้องการของลูกจ้างได้ สวัสดิการนอกเหนือกฎหมายที่กองสวัสดิการแรงงานนำเสนอเป็นทางเลือกสำหรับสถานประกอบกิจการจัดเพิ่มเติม แบ่งออกได้เป็นหมวดใหญ่ๆ ดังนี้
 
1. สวัสดิการที่มุ่งพัฒนาลูกจ้าง
 
การส่งเสริมการศึกษาทั้งในและนอกเวลาทำงาน
 
การจัดตั้งโรงเรียนในโรงงาน
 
การอบรมความรู้เกี่ยวกับการทำงานทั้งในและนอกสถานที่ทำงาน
 
การจัดให้มีห้องสมุด หรือมุมอ่านหนังสือ ฯลฯ เป็นต้น
 
2. สวัสดิการที่ช่วยเหลือในเรื่องค่าครองชีพ
 
การจัดตั้งร้านค้าสวัสดิการหรือสหกรณ์ร้านค้า
 
การให้เงินช่วยเหลือต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานอุปสมบท งานศพ
 
การจัดชุดทำงาน
 
การจัดหอพัก
 
การจัดให้มีรถรับ-ส่ง
 
เงินโบนัส ค่าครองชีพ เบี้ยขยัน ค่าเข้ากะ
 
3. สวัสดิการที่ช่วยเหลือการออมของลูกจ้าง
 
สหกรณ์ออมทรัพย์
 
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
 
4. สวัสดิการที่พัฒนาสถาบันครอบครัวของลูกจ้าง
 
การจัดสถานเลี้ยงดูบุตรของลูกจ้าง
 
การช่วยค่ารักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัว
 
การช่วยเหลือค่าเล่าเรียนบุตรของลูกจ้าง
 
การประกันชีวิตให้กับลูกจ้าง
 
 5. สวัสดิการที่ส่งเสริมความมั่นคงในอนาคต
 
เงินบำเหน็จ
 
เงินรางวัลทำงานนาน
 
ให้ลูกจ้างซื้อหุ้นของบริษัท
 
กองทุนฌาปนกิจ
 
เงินกู้เพื่อสวัสดิการที่พักอาศัย
 
 6. สวัสดิการนันทนาการและสุขภาพอนามัย
 
การจัดทัศนศึกษา
 
การแข่งขันกีฬา
 
การจัดงานเลี้ยงสังสรรค์พนักงาน
 
การให้ความรู้เรื่องสุขภาพอนามัย
 
การสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน
1.) ส สะสาง คือ การแยกของที่จำเป็นออกจากของที่ไม่จำเป็น และขจัดของที่ไม่จำเป็นออกไป
เทคนิคการปฏิบัติ ส สะสาง นั้น ผู้ปฏิบัติจะต้องเป็นผู้กำหนดว่าสิ่งของที่ใช้ในงานประจำวันนั้น ของสิ่งใดจำเป็น ของสิ่งใด ไม่จำเป็น โดยสิ่งของจำเป็นคือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับผลสำเร็จของงาน

2.) ส สะดวก คือ การจัดวางหรือจัดเก็บสิ่งของต่าง ๆ ในสถานที่ทำงานอย่างเป็นระบบ เพื่อประสิทธิภาพ คุณภาพ และ ความปลอดภัยในการทำงาน
3.) ส สะอาด เป็น ส ที่คนส่วนใหญ่มักคิดถึงเวลา กล่าวถึง 5 ส และทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าการทำ 5 ส คือการทำความสะอาด แต่ที่ถูกต้องแล้ว สะอาดในความหมายของ 5 ส ไม่ใช่แค่เพียงแต่การปัด กวาด เช็ด ถู แต่จะต้องครอบคลุมไปถึงการตรวจสอบด้วย โดยความหมายของ ส สะอาด คือการทำความสะอาด (ปัด กวาด เช็ด ถู) และตรวจสอบเครื่องมือ อุปกรณ์ รวมทั้งบริเวณสถานที่ทำงาน
 
การทำความสะอาด มีอยู่ 3 ระดับ คือ
 1. การทำความสะอาดประจำวัน
 2. การทำความสะอาดแบบตรวจสอบ
 3. การทำความสะอาดแบบบำรุงรักษา
4. ส สุขลักษณะ ทำไมต้องทำสุขลักษณะ
1. เพื่อรักษามาตรฐานของความเป็นระเบียบ
 2. ป้องกันไม่ให้กลับไปสู่สภาพที่ไม่ดี
 3. ให้เกิดความสร้างสรรค์ในการปรับปรุงงาน
 4. เพื่อความสมบูรณ์ทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจของบุคลากร
5.) สร้างนิสัย การปฏิบัติตามมาตรฐาน 5ส และระเบียบ กฎเกณฑ์ของหน่วยงานอย่างสม่ำเสมอ จนกลายเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นเอง โดยอัตโนมัติหรือโดยธรรมชาติ
 
คำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับพยาบาลวิชาชีพที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน ด้วยเหตุลักษณะงานพิเศษด้านการพยาบาล
1. พยาบาลวิชาชีพ
 หมายถึง ผู้ที่สำเร็จการศึกษาพยาบาลในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จากมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยพยาบาล ที่สภาการพยาบาลรับรอง ที่มีใบประกอบวิชาชีพฯ ที่ยังใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ถูกพักใช้หรือเพิกถอนหรือยังไม่หมดอายุ และปฏิบัติงานให้บริการด้านสุขภาพตามวุฒิการศึกษาดังกล่าว
 
2. พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการพยาบาล ในแต่ละกลุ่ม ประกอบด้วย
 กลุ่ม 1
 1.1 พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการในแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลและสถานบริการทุกระดับ
 หมายถึง พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการพยาบาลในแผนกหรือหน่วยงานผู้ป่วยนอกของ โรงพยาบาล และสถานบริการทุกระดับ (เช่น ศูนย์บริการสาธารณสุข สถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชนหรือหน่วยบริการสุขภาพอื่น ๆ ที่มีลักษณะเทียบเคียงกับหน่วยบริการดังกล่าว) และหมายรวมถึงพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องฉุกเฉินในกรณีที่โรงพยาบาลหรือสถานบริการไม่ได้แยกทีมให้บริการพยาบาลระหว่างแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินและแผนกผู้ป่วยนอก
 1.2 พยาบาลวิชาชีพในงานการพยาบาลครอบครัวและชุมชน
 หมายถึง พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการพยาบาลดูแลสุขภาพแบบองค์รวม แก่ครอบครัวที่บ้าน และในชุมชน
 1.3 พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการในงานอนามัยชุมชน/อนามัยโรงเรียน/อาชีวอนามัย
 หมายถึง พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการพยาบาลด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ ในชุมชน/โรงเรียน/สถานประกอบการต่าง ๆ
 1.4 อาจารย์พยาบาลที่สอนและคุมการฝึกปฏิบัติงานและร่วมให้บริการในกลุ่มนี้
 หมายถึง อาจารย์พยาบาล ที่สอนและคุมการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาลในหน่วยบริการหรืองานบริการในกลุ่ม 1
 กลุ่ม 2
 2.1 พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการใน ER
 หมายถึง พยาบาลวิชาชีพ ที่ให้บริการพยาบาลประจำหน่วยหรือแผนกอุบัติเหตุและ ฉุกเฉิน รวมทั้งการให้การพยาบาลในห้องฉุกเฉิน การให้การพยาบาล ณ จุดเกิดเหตุ และการพยาบาลในห้องสังเกตอาการ
 2.2 พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการใน LR
 หมายถึง พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการพยาบาลการเฝ้าคลอด การคลอด และการดูแลมารดาและทารกหลังคลอด ในห้องคลอด
 2.3 พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการใน OR
 หมายถึง พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการผ่าตัดประจำห้องผ่าตัดทั้งในระยะก่อน ระหว่าง และหลังผ่าตัด
 2.4 พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการใน IPD
 หมายถึง พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการพยาบาลในหอผู้ป่วยในทุกหอผู้ป่วย รวมทั้งพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานใน ICU, CCU หรือหอผู้ป่วยหนัก/ผู้ป่วยวิกฤต ซึ่งยังไม่ผ่านการ อบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางผู้ป่วยหนัก/ผู้ป่วยวิกฤต
 2.5 พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการในงาน IC
 หมายถึง พยาบาลวิชาชีพผู้ทำหน้าที่พยาบาลควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล
 2.6 พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการในงานตรวจและบำบัดพิเศษต่าง ๆ
 หมายถึง พยาบาลวิชาชีพ ที่ผ่านการฝึกอบรมและปฏิบัติงานประจำในหน่วยงานตรวจ และบำบัดพิเศษ เช่น เคมีบำบัด รังสีรักษา ตรวจรักษาผ่านกล้อง หรือเครื่องมือพิเศษ กระตุ้นพัฒนาการเด็ก ตรวจสวนหัวใจ ตรวจสมรรถภาพหัวใจและปอด ไตเทียม ปอดและหัวใจเทียม ปลูกถ่ายอวัยวะ การบำบัดสารเสพติด การบำบัดทางจิต การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย/ผู้พิการ งานบริการปรึกษาด้านสุขภาพอนามัย (Counseling) งานตรวจรักษาขั้นต้นโดยพยาบาลที่ได้รับอนุมัติบัตรพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป ฯลฯ (สภาการพยาบาลเป็นผู้กำหนดงานตรวจและบำบัดพิเศษ)
 2.7 อาจารย์พยาบาลที่สอนและคุมการฝึกปฏิบัติงานให้บริการในกลุ่มนี้
 หมายถึง อาจารย์พยาบาล ที่สอนและคุมการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาลในหน่วยบริการหรืองานบริการในกลุ่ม 2
 กลุ่ม 3
 3.1 พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการในงานพยาบาลวิสัญญี
 หมายถึง วิสัญญีพยาบาลที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรวิสัญญีพยาบาล ที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการรับรองจากสภาการพยาบาลแห่งประเทศไทย หรือจากต่างประเทศที่สภาการพยาบาลแห่งประเทศไทยให้การรับรอง และปฏิบัติงานบริการวิสัญญีทั้งในระยะก่อน ระหว่าง และหลังการระงับความรู้สึก
 3.2 พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการในงานพยาบาลเวชปฏิบัติ (NP)
 หมายถึง พยาบาลวิชาชีพที่เป็นพยาบาลเวชปฏิบัติ (NP) ซึ่งได้รับวุฒิบัตรจากสภาการพยาบาลแห่งประเทศไทย หรือวุฒิบัตรจากต่างประเทศที่สภาการพยาบาลแห่งประเทศไทยให้การรับรอง และปฏิบัติงานการตรวจรักษาขั้นต้นในโรงพยาบาล/สถานบริการหรือในชุมชน
 3.3 พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการในงานการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง
 หมายถึง พยาบาลวิชาชีพ ที่ให้บริการในงานการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง หรือการผดุงครรภ์ขั้นสูง (APN) ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรจากสภาการพยาบาลแห่งประเทศไทย หรือวุฒิบัตรจากต่างประเทศที่สภาการพยาบาลแห่งประเทศไทยให้การรับรอง หรือเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางการพยาบาลทางคลินิกหรือปริญญาเอก และปฏิบัติงานการพยาบาลขั้นสูงตรงตามสาขา
 3.4 พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการในงานการพยาบาลใน ICU ,CCU หรือผู้ป่วยหนัก/ผู้ป่วยวิกฤต
 หมายถึง พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการพยาบาลใน ICU, CCU หรือผู้ป่วยหนักหรือผู้ป่วยวิกฤต ซึ่งเป็นพยาบาลที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางผู้ป่วยหนัก/ผู้ป่วยวิกฤต ที่สภาการพยาบาลให้การรับรอง
 3.5 พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการในงานการพยาบาล ผู้ป่วยติดเชื้อรุนแรง/อันตราย
 หมายถึง พยาบาลวิชาชีพ ที่ให้บริการพยาบาลในหอผู้ป่วยติดเชื้อรุนแรง/อันตราย (โรคติดเชื้อรุนแรง/อันตราย เป็นไปตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข)
 3.6 หัวหน้าทีมควบคุมคุณภาพการบริการทางการพยาบาล
 หมายถึง เฉพาะหัวหน้าพยาบาลในโรงพยาบาล หรือสถาบันเฉพาะทาง หรือหน่วยบริการชื่ออื่นที่เทียบเท่า
 3.7 อาจารย์พยาบาลที่สอนและคุมการฝึกปฏิบัติงานให้บริการในกลุ่มนี้
 หมายถึง อาจารย์พยาบาล ที่สอนและคุมการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาลในหน่วยบริการหรืองานบริการในกลุ่ม 3
 
ติดต่อเรา
เอส บี ทรัพย์สมบูรณ์การพยาบาล
บริการทีมพยาบาลวิชาชีพ และ แพทย์ประจำสถานประกอบกิจการ
ระบบงาน First Aid Room
เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายยาและเวชภัณฑ์
ตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ ฉีดวัคซีน
ทีมวิทยากรอบรมให้ความรู้ หลักสูตรการกู้ชีพ
หากท่านมีความสนใจ กรุณาส่งเรื่อง/ข้อความเพื่อติดต่อเรา
แล้วทางทีมงานจะติดต่อกลับไป
ขอบคุณค่ะ

สำนักงานจังหวัดชลบุรี
: 471 ถนน สาธิตเกษตร - ทองหลาง ซอย 5 หมู่ที่ 5 ตำบลคลองตำรุ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20000
สำนักงานจังหวัดระยอง
: 88/774 หมู่4 ตำบลมาบยางพร อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง 21140
สำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา
: 92/31 หมู่5 ตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24130
092-8052228 คุณพรสงกรานต์ ประจง (เมย์)
sbsub2000@gmail.com
http://www.sbsub2000.com
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : พยายาลโรงงาน



GPSราคาถูก | เครื่องฟอกอากาศในรถยนต์ | Ran Online | Ragnarok | โปรโมชั่น | เกมส์ออนไลน์

Promotion
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ