Advertisement
ฟันคุดคือ ฟันที่ไม่สามารถโผล่พ้นเหงือกออกมาเรียงตัวกับฟันซี่อื่นๆ ได้ตามปกติ หรือโผล่ขึ้นมาได้เพียงบางส่วนเท่านั้น สาเหตุเพราะว่ามีฟัน เนื้อเยื่อ หรือกระดูกปิดขวางอยู่ ฟันซี่ที่มักพบว่า เป็นฟันคุดบ่อยๆ คือ ฟันกรามแท้ซี่ที่สามล่าง (lower third molar)
ซึ่งโดยทั่วไปแล้วฟันซี่นี้จะโผล่พ้นเหงือกออกมาในช่วงอายุระหว่าง 17–21 ปี นอกเหนือจากฟันกรามซี่นี้แล้วก็อาจพบได้ในฟันกรามซี่สุดท้าย ฟันกรามน้อย และเขี้ยว
เราจะทราบได้อย่างไรว่า มีฟันคุด?
จะรู้ได้จากการตรวจช่องปากว่า ฟันกรามแท้ซี่นี้โผล่พ้นเหงือกออกมาหรือยัง แต่หากฟันกรามยังฝังตัวอยู่ใต้เหงือก ต้องมีการเอ็กซเรย์ช่องปากเพื่อดูว่า มีฟันกรามแท้ซี่นี้ฝังคุดอยู่หรือไม่ ในบางครั้งการงอกของฟันคุดมักทำให้รู้สึกถึงแรงกด หรือปวดบริเวณหลังของฟันกรามแท้ซี่ที่ 2
ซึ่งหากมีอาการปวดในบริเวณดังกล่าวควรไปพบหมอฟัน เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยช่องปากและเอ็กซเรย์ก่อน จากนั้นจึงสามารถประเมินมุมของการงอกและระยะการเติบโตของฟันคุดเพื่อทำการรักษาต่อไป
ต้องถอน
ฟันคุดออกหรือไม่?
หากมีฟันคุดแล้วไม่ถอนออก อาจเกิดอันตรายได้ ได้แก่ อาการปวดฟันคุดตอนที่ฟันคุดกำลังขึ้นนั้นเกิดจากการที่เราทำความสะอาดเหงือกบริเวณนั้นได้ไม่ดีพอ อาการปวดฟันคุดนั้นอาจหยุดได้เป็นพักๆ
แต่หากไม่ได้รับการแก้ไข อาจส่งผลให้เหงือกบริเวณดังกล่าวอักเสบ บวมแดง และหากปล่อยให้อักเสบอย่างเรื้อรังก็อาจทำให้เกิดหนองตามมาได้ในที่สุด
ฟันคุดยังทำให้เกิด ฟันซ้อนเก หมายถึง ฟันคุดไปดันฟันซี่ข้างเคียง หรือกดบนเส้นประสาทที่อยู่ในขากรรไกรล่าง ทำให้เกิดฟันซ้อนเกได้
ถุงน้ำรอบ
ฟันคุด หมายถึง ถุงน้ำจะทำให้ฟันเคลื่อนผิดไปจากตำแหน่งเดิม และละลายกระดูกรอบฟันซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อฟันและเหงือกรอบๆ ได้ และสุดท้าย ฟันข้างเคียงผุ
หากฟันคุดซี่สุดท้ายขึ้นชนฟันกรามที่ติดกันมักทำให้เศษอาหารเข้าไปติดได้ง่าย เมื่อทำความสะอาดไม่ทั่วถึงมักทำให้เกิดกลิ่นปากได้ กรณีเหล่านี้มีวิธีแก้ไขทางเดียวคือการถอนฟันคุดออก หรือผ่าตัดฟันคุดออก
อย่างไรก็ตาม
ฟันคุดบางซี่อาจไม่ต้องถูกถอนออก หากหมอฟันประเมินแล้วว่า ฟันคุดซี่นี้สามารถงอกออกจากเหงือกได้ตามปกติเพียงแต่อาจต้องใช้เวลา
สัญญาณและอาการของฟันคุดที่ติดเชื้อมีอะไรบ้าง?
การอักเสบของเหงือกที่คลุมฟันเป็นสาเหตุหลักที่ต้องทำการถอนฟันคุดออกอย่างเร่งด่วน และมักจะเกิดขึ้นเพราะฟันกรามไม่มีที่ว่างพอจะงอกออกมาจากเหงือกเต็มที่
การติดเชื้อที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้มีอาการแดง เหงือกที่ฟันคุดบวม มีกลิ่นปาก เจ็บปวด และมักกัดโดนฟันบ่อยครั้ง อีกทั้งบางกรณีก็อาจมีหนองออกจากบริเวณนั้นด้วย
ในบางครั้งการติดเชื้อก็ทำให้เนื้อเยื่อ เหงือก แก้ม หรือบริเวณโดยรอบของกรามข้างที่มีอาการบวมออก ซึ่งการบวมนี้จะทำให้เกิดแรงดันที่อาจลามไปยังหูจนก่อให้เกิดอาการปวดหูอย่างรุนแรงอีกด้วย
นอกจากนี้บางครั้งการติดเชื้อที่หู หรือไซนัสก็สามารถก่อให้เกิดอาการปวดลงฟันได้เช่นกัน ทำให้จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องทำการตรวจร่างกายเพื่อมองหาสัญญาณต้องสงสัยของการติดเชื้อ
จะทำอย่างไรถ้าคุณเจ็บฟันคุดและไม่สามารถถอนออกได้ทันที?
หากมีอาการบวม อาการติดเชื้อ กลืนอาหารลำบาก มีกลิ่นปาก มีไข้ หรือรู้สึกเจ็บปวดอย่างมาก อาจเกิดจากเหงือกอักเสบเฉียบพลัน
สิ่งที่ต้องทำคือ การกลั้วปากด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ หรือน้ำยาบ้วนปากต้านเชื้อโรค การทานยาแก้ปวด ถือว่าเป็นวิธีการรักษาเฉพาะหน้าได้
แต่วิธีที่ดีที่สุดคือ การไปพบหมอฟันโดยเร็วเพื่อตรวจวินิจฉัย ประเมินอาการแล้วให้การรักษาอย่างถูกต้องต่อไป
การถอนฟันคุดทำอย่างไร?
เมื่อทันตแพทย์ตรวจและวินิจฉัยแล้วว่า คนไข้ต้องถอน
ฟันคุดออก หมอฟันจะใช้ยาชาเฉพาะที่ในการถอนฟันเพื่อไม่ให้คนไข้รู้สึกเจ็บปวดในขณะถอน
แต่หากฟันคุดอยู่ลึกลงไปใต้เนื้อเยื่อของเหงือกก็จำเป็นต้องมีการผ่าตัดขนาดเล็กขึ้นเพื่อให้นำฟันออกมาจากเบ้าฟันได้ หลังการถอนฟันแพทย์จะเย็บแผลที่ผ่าตัดด้วยไหมเย็บเพื่อเร่งการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อ
หลังผ่าตัด 3 วันจะนัดให้คนไข้กลับมาพบเพื่อตรวจดูแผล และหลังผ่าตัดครบ 7 วัน หมอฟันจะนัดตัดไหมออก
สามารถติดตามอ่านเนื้อหาดี ๆ ได้ที่
เว็บไซต์ :
https://www.honestdocs.co/what-is-a-teeth-third