Advertisement
เงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (4) (ข) เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้รับจากบริษัทมีลักษณะเป็นเงินได้ที่เกิดจากการลงทุนถือหุ้นในบริษัท เมื่อบริษัทประกอบกิจการมีกำไรจะแบ่งเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น สาระสำคัญการจ่ายเงินปันผลคือต้องจ่ายจากกำไรของกิจการ บังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1200 ถึง 1205 บริษัทผู้จ่ายเงินปันผลแก่บุคคลธรรมดามีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งผู้ถูกฟ้องคดีตามมาตรา 50 (2) (จ) แห่ง ป.รัษฎากร โดยให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้ ส่วนเงินได้ที่เป็นเงินลดทุนของบริษัทนั้น ตามมาตรา 40 (4) (ง) แห่ง ป.รัษฎากร เงินลดทุนของบริษัทเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน สาระสำคัญการจ่ายเงินลดทุนนี้ คือ เมื่อบริษัทลดทุนแล้วจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นมีลักษณะเป็นส่วนของเจ้าของลดลงไป โดยที่บริษัทแสดงกำไรสะสมในงบการเงินตามมาตรฐานการบัญชีในลักษณะส่วนหนึ่งของเจ้าของ (Equities) การลดทุนตามความหมายของมาตรา 40 (4) (ง) เป็นการจ่ายเงินคืนทุนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน โดยไม่เข้าลักษณะเป็นการจ่ายเงินปันผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ได้จดทะเบียนลดทุนจาก 435,000,000 บาท เหลือทุนจดทะเบียน 108,350,000 บาท ลดทุนลง 326,250,000 บาท ต่อมาที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของโจทก์มีมติให้ลดเงินสำรองตามกฎหมายของโจทก์ 43,500,000 บาท เหลือเงินสำรองตามกฎหมาย 10,875,000 บาท โดยลดเหลือร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียนที่ลดลงดังกล่าว เงินสำรองตามกฎหมายที่ลดลง 32,625,000 บาท เข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่เป็นเงินลดทุนของบริษัทเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกันตามมาตรา 40 (4) (ง) โจทก์ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (2) โดยให้คำนวณหักตามอัตราภาษีเงินได้ โดยหักภาษีเงินได้เมื่อได้จ่ายเงินนี้ แม้ภายหลังจากการจดทะเบียนลดทุนแล้วที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทโจทก์เห็นชอบให้โอนเงินสำรองตามกฎหมายจำนวน 32,625,000 บาท เป็นกำไรสะสมที่ยังไม่จัดสรร ก็ยังคงเป็นเงินที่ส่วนหนึ่งของเจ้าของลดลง การจ่ายเงินลักษณะนี้ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการจ่ายเงินปันผลหรือส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการของบริษัทตามมาตรา 40 (4) (ข) แห่ง ป.รัษฎากร แม้หนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์จะอ้างว่า มีหนังสือของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าวินิจฉัยว่า บริษัทไม่มีสิทธิคืนเงินทุนสำรองตามกฎหมายส่วนที่เป็นทุนจดทะเบียนที่ลดลงได้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คืนเงินทุนสำรองตามสัดส่วนของทุนจดทะเบียนที่ลดลงนั้น จะเป็นการวินิจฉัยที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือไม่ ก็ไม่ทำให้หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายของโจทก์ตามมาตรา 50 (2) ประกอบมาตรา 40 (4) (ง) แห่ง ป.รัษฎากร เปลี่ยนแปลงไปฐานภาษี คือ จำนวนเงินหรือมูลค่าของทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่คิดคำนวณได้เป็นเงินที่จะต้องนำมาคำนวณภาษีและเสียภาษีตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อเท็จจริงปรากฏตามงบการเงินของโจทก์ว่า รอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ซึ่งเป็นงบแสดงฐานะทางการเงินของรอบระยะเวลาบัญชีก่อนโจทก์จ่ายเงินลดทุนนี้ ผู้ฟ้องคดีมีทุนเรือนหุ้นจดทะเบียน 435,000,000 บาท มีกำไรสุทธิจัดสรรไว้เป็นทุนสำรองตามกฎหมาย 43,500,000 บาท และมีกำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรร 11,347,139.42 บาท เมื่อรวมกำไรสุทธิจัดสรรไว้เป็นทุนสำรองตามกฎหมายกับกำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรรเป็นเงิน 54,847,139.42 บาท จำนวนนี้ คือฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินลดทุนของผู้ฟ้องเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกันตามมาตรา 40 (4) (ง) แห่ง ป.รัษฎากร ผู้ฟ้องคดีจ่ายเงินได้พึงประเมินนี้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (2) โดยต้องคำนวณหักตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนั้น เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งให้นำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบแล้ว และเมื่อเจ้าพนักงานประเมินถือเอากำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรรจำนวน 11,347,139.42 บาท เป็นเงินที่กันไว้รวมกับเงินกำไรสุทธิจัดสรรไว้เป็นทุนสำรองตามกฎหมาย อันเป็นฐานภาษีของเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ง) แล้ว ผู้ฟ้องจึงไม่อาจถือว่าเงินจำนวนนี้เป็นเงินกำไรสะสมที่ยังไม่จัดสรรอันเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ข) แห่ง ป.รัษฎากร ด้วย เมื่อโจทก์ได้หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายแล้ว แต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ผู้ฟ้องคดีต้องร่วมรับผิดกับผู้มีเงินได้ตามมาตรา 54 ทั้งต้องรับผิดเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่ง ป.รัษฎากร หนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับพิพาทมิได้ขัดต่อหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามเกณฑ์เงินสดตามมาตรา 39 และมาตรา 50 (2) แห่ง ป.รัษฎากรอนึ่ง โจทก์ได้หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายและนำส่งจำเลย โดยคำนวณตามมาตรา 50 (2) (จ) แห่ง ป.รัษฎากร โดยคำนวณหักในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้ เป็นเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย 4,393,999.99 บาท และผู้ถูกฟ้องไม่ได้นำเงินจำนวนนี้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีให้ผู้ฟ้องคดี จึงเป็นการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายซ้ำซ้อน จึงให้ผู้ถูกฟ้องนำเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายดังกล่าวมาถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีด้วย
[url=https://www.xn--42cgi4cjab1btnchd1exbza5gvad6dvnqc6f.com/]ทนายเชียงใหม