กว่าจะมาเป็น เพลงชาติไทย

Advertisement


หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กว่าจะมาเป็น เพลงชาติไทย  (อ่าน 23 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Navaphon11991
Drift King
*****

การ์ม่า: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 35359


ดูรายละเอียด










« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2016, 03:34:30 am »



ล้อแม็ก แม็ก แม็กซ์แต่งรถ

↑ ลงทะเบียนรับข่าวสาร

ล้อแม็ก

Advertisement




[url=http://easy4seo.com/phleng-chat-thai/tag/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/]เพลงชาติไท

ในสมัยปลายรัชกาลที่ ๔ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๕ ได้มีนายทหารอังกฤษ ๒ คน ซึ่งเข้ามาเป็นครูฝึกทหารเกณฑ์ในวังหลวงและวังหน้า คือ ร้อยเอก อิมเปย์ (Impey) และร้อยเอก น๊อกซ์ (Thomas G. Knox) นายทหารอังกฤษทั้ง ๒ นายนี้ ได้ใช้เพลง ” ก๊อดเซฟเดอะควีน” (God Save the Queen) เป็นเพลงฝึกสำหรับทหารแตร และประเทศอังกฤษเองก็ได้ใช้เพลง “ก๊อดเซฟเดอะควีน” นี้เป็นเพลงประจำชาติ … การฝึกทหารของไทยสมัยนั้นใช้แบบอย่างของประเทศอังกฤษ ดังนั้นเพลง ” ก๊อดเซฟเดอะควีน” จึงถูกใช้เป็นเพลงเกียรติยศ ถวายความเคารพต่อพระมหากษัตริย์ และใช้สำหรับกองทหารไทยในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๙๕ ถึง ๒๔๑๔ เรียกกันว่า “เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ” …ต่อมา พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) จึงได้ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นมาใหม่ โดยใช้ทำนองเพลง “ก๊อดเซฟเดอะควีน”เดิม แต่ตั้งชื่อเพลงขึ้นใหม่ว่า “จอมราชจงเจริญ” นับได้ว่าเป็นเพลงชาติฉบับแรกของประเทศสยาม

เพลงชาติไทยฉบับที่สอง
ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๑๔ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์ ซึ่งในขณะนั้นสิงคโปร์ยังคงเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษ กองทหารดุริยางค์สิงคโปร์จึงบรรเลงเพลง “ก๊อดเซฟเดอะควีน” เพื่อถวายความเคารพ … เมื่อทรงเสด็จกลับถึงพระนคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักดีว่าประเทศมีความจำเป็นจะต้องมีเพลงชาติที่เป็นของตัวเองเพื่อแสดงถึงความเป็นเอกราชของชาติ จึงได้โปรดเกล้าให้ตั้งคณะครูดนตรีไทยขึ้น เพื่อทรงปรึกษาหาเพลงชาติที่มีความเป็นสยามประเทศ มาใช้แทนเพลง “ก๊อดเซฟเดอะควีน” คณะครูดนตรีไทยได้เลือก “เพลงทรงพระสุบิน”หรือเรียกอีกอย่างว่า “เพลงบุหลันลอยเลื่อน” ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) โดยนำมาเรียบเรียงใหม่ให้มีความเป็นสากลขึ้นโดยนาย เฮวุดเซน (Heutsen)นับเป็นเพลงชาติไทยฉบับที่สอง ใช้บรรเลงในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๑๔-๒๔๓๑

เพลงชาติไทยฉบับที่สาม
คือเพลง “สรรเสริญพระบารมี” (ฉบับปัจจุบัน) ประพันธ์โดย ปโยตร์ สชูโรฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์เพลงชาวรัสเซีย คำร้องเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จฯกรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ ใช้บรรเลงเป็นเพลงชาติในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๓๑-๒๔๗๕

[url=http://easy4seo.com/phleng-chat-thai/tag/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/]เพลงชาติไท
คือ เพลง “ชาติมหาชัย” ใช้เป็นเพลงชาติในระหว่างการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยอาศัยทำนองเพลงมหาชัย ส่วนคำร้องนั้นประพันธ์โดยเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เพื่อใช้ขับร้องและบรรเลงปลุกเร้าใจประชาชน ก่อให้เกิดความรักชาติและสร้างความสามัคคีในระหว่างที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ต่อมาจึงดำริจะให้มีเพลงชาติแบบสากล จึงได้มีการมอบหมายให้พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) แต่งทำนองเพลงชาติฉบับแรกขึ้น โดยมีขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) แต่งคำร้อง

เนื้อร้อง เพลงมหาชัย
สยามอยู่คู่ฟ้าอย่าสงสัย เพราะชาติไทยเป็นไทยไปทุกเมื่อ ชาวสยามนำสยามเหมือนนำเรือ ผ่านแก่งเกาะเพราะเพื่อชาติพ้นภัย เราร่วมใจร่วมรักสมัครหนุน วางธรรมนูญสถาปนาพาราใหม่ ยกสยามยิ่งยงธำรงชัย ให้คงไทยตราบสิ้นดิน ฟ้า ฯลฯ

เพลงชาติไทยฉบับที่ห้า
คือเพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ ผู้ประพันธ์ทำนองมีคำร้องประพันธ์โดยขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ใช้เป็นเพลงชาติระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๗๗ ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๗ รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเพลงชาติขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่น-นราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงเป็นประธาน มีกรรมการท่านอื่นๆดังนี้คือ พระเรี่ยมวิรัชพากย์, พระเจนดุริยางค์, หลวงชำนาญนิติเกษตร,จางวางทั่ว พาทยโกศล และนายมนตรี ตราโมท คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่พิจารณาเกี่ยวกับเพลงชาติโดยเฉพาะผลการตัดสินปรากฏว่า เพลงที่ได้รับคัดเลือกคือฉบับที่ประพันธ์โดย จางวางทั่ว พาทยโกศล

เพลงชาติไทยฉบับที่หก
คือเพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ ที่เพิ่มคำร้องของนายฉันท์ ขำวิไล เข้าต่อจากคำร้องของขุนวิจิตรมาตรา ใช้เป็นเพลงชาติระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๘๒ เป็นเพลงชาติที่เป็นฉบับของทาง “ราชการ” ฉบับแรก สำหรับเพลงชาติฉบับนี้ เนื่องจากมีความยาวมาก ช่วงระยะหนึ่งได้ตัดตอนแบ่งการร้องออกเป็นช่วงเช้าและช่วงเย็น ช่วงละ ๒ บท พอมาตอนหลังจึงตัดตอนเหลือเฉพาะเพลงบรรเลงเท่านั้น และในปี พุทธศักราช ๒๔๘๒ รัฐบาลเปลี่ยนชื่อประเทศจาก ” สยาม” มาเป็น “ประเทศไทย” ทำให้เกิดการแก้ไขเนื้อร้องใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยประกาศให้ยื่นประกวดเนื้อเพลงที่แต่งให้เข้ากับทำนองเพลงชาติที่มีอยู่เดิม มีรางวัลให้ผู้ชนะเป็นเงิน ๑,๐๐๐ บาท การประกวดครั้งนี้ถือเป็นเนื้อร้องเพลงชาติที่แน่นอนสืบไปโดยมีคณะรัฐมนตรีเป็นผู้วินิจฉัยตัดสินในชั้นสุดท้าย

เนื้อเพลงชาติไทย ฉบับพิสดาร
… แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตแดนสง่า สืบเผ่าไทยดึกดำบรรพ์โบราณลงมา รวมรักษาสามัคคีทวีไทย บางสมัยศัตรูจู่โจมตี ไทยพลีชีวิตร่วมรวมรุกไล่ เข้าลุยเลือดหมายมุ่งผดุงไผท สยามสมัยโบราณรอดตลอดมา อันดินสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า เอกราชคือเจดีย์ที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมมีใจ รักษาชาติประเทศเอกราชจงดี ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้ เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินไทย สถาปนาสยามให้เทอดไทยไชโย
…เหล่าเราทั้งหลายขอน้อมกายถวายชีวิต รักษาสิทธิ์อิสระ ณ แดนสยาม ที่พ่อแม่สู้ยอมม้วยด้วยพยายาม ปราบเสี้ยนหนามให้พินาศสืบชาติมา ถึงแม้ไทย ไทยด้อยจนย่อยยับ ยังกู้กลับคงคืนได้ชื่นหน้า ควรแก่นามงามสุดอยุธยา นั้นมิใช่ว่า จะขัดสนหมดคนดี เหล่าเราทั้งหลายเลือดและเนื้อเชื้อชาติไทย มิให้ใครเข้าเหยียบย่ำขยำขยี้ ประคับประคองป้องสิทธิ์อิสรเสรี เมื่อภัยมีช่วยกันจนวันตาย จะสิ้นชีพไว้ชื่อให้ลือลั่น ว่าไทยมันรักชาติไม่ขาดสาย มีไมตรีดียิ่งทั้งหญิงชาย สยามมิวายผู้มุ่งหมายเชิดชัยไชโย …ฯลฯ

เพลงชาติไทยฉบับที่เจ็ด (ปัจจุบัน)
ในเดือนกันยายนปีเดียวกันนั้นเอง ผลปรากฏว่าผู้ชนะได้แก่เนื้อร้องที่ประพันธ์โดย นายพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ซึ่งส่งเข้าประกวดในนามของกองทัพบก คณะกรรมการได้คัดเลือกบทเนื้อร้องของหลวงสารานุประพันธ์เสนอให้คณะรัฐมนตรีวินิจฉัย ที่ประชุมปรึกษาพิจารณาแล้วลงมติรับบทเพลงนั้น โดยแก้ไขไปบ้างตามความเหมาะสม รัฐบาลจึงได้ประกาศใช้เป็นเพลงชาติไทยฉบับปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดังที่เราได้ยินได้ฟังกันจนถึงทุกวันนี้
เพลงชาติไทยในปัจจุบัน
ทำนอง – พระเจนดุริยางค์
คำร้อง – นายพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์)
ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่ สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี เถลิงประเทศชาติไทยทวีมีชัยชโย …ฯลฯ


[/size]



GPSราคาถูก | เครื่องฟอกอากาศในรถยนต์ | Ran Online | Ragnarok | โปรโมชั่น | เกมส์ออนไลน์

Promotion
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ