เห็ดฟาง สร้างรายได้จริงหรือไม่

Advertisement


หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เห็ดฟาง สร้างรายได้จริงหรือไม่  (อ่าน 64 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Puttichai9876
Drift King
*****

การ์ม่า: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 25904


ดูรายละเอียด










« เมื่อ: มีนาคม 26, 2016, 09:38:19 pm »



ล้อแม็ก แม็ก แม็กซ์แต่งรถ

↑ ลงทะเบียนรับข่าวสาร

ล้อแม็ก

Advertisement



เชื้อเห็ดฟา

ทำความรู้จักกับเชื้อเห็ดฟางเบี้องต้น 

เห็ดฟาง เป็นพืชที่เพาะเลี้ยงและสามารถให้เก็บผลผลิตได้โดยใช้ระยะเวลาสั้น คือใช้เวลาในการเพาะเลี้ยงในโรงเรือนประมาณ 15-20 วัน ก็สามารถเก็บดอกเห็ดไปจำหน่ายได้ ดอกเห็ดฟางจำหน่ายได้ราคาดี ตลาดมีความต้องการมาก อาชีพการเพาะเห็ดฟางจึงเป็นอาชีพที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรมากอย่างหนึ่ง สิ่งสำคัญประการหนึ่งสำหรับผู้เพาะเห็ดฟางคือ อัตราเติบโตของปริมาณผลการผลิตเห็ดฟาง มีอัตราต่ำกว่าการเติบโตของการบริโภค และยังมีตลาดรองรับที่แน่นอน ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ 

การเพาะเลี้ยงเห็ดฟางมีหลายแบบ แต่หากคิดที่จะผลิตเห็ดเพื่อขายในเชิงพาณิชย์ จะต้องใช้วิธีการการเพาะเลี้ยงแบบโรงเรือน ทั้งนี้เพาะในช่วงหน้าฝนและหน้าหนาว สามารถผลิตเห็ดได้ดีกว่าการเพาะเลี้ยงในรูปแบบอื่น ๆ ทำให้มีรายได้สม่ำเสนอทั้งปี ยิ่งในช่วงที่ฝนตก หรือมีอากาศหนาว ราคาเห็ดฟางจะมีราคาสูงขึ้นกว่าช่วงอื่น ๆ 

อีกทั้งการเพาะเลี้ยงในโรงเรือน สามารถการดำเนินงานได้สะดวก รวดเร็ว ใช้พื้นที่น้อยกว่าการเพาะเห็ดฟางแบบอื่นๆ   การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนนี้ก็ยังมีข้อเสียคือ มีการลงทุนในขั้นแรกที่ค่อนข้างจะสูง มีหลักวิธีการปฏิบัติและขั้นตอนการเพาะมากพอสมควร ดังนั้นผู้ที่จะทำการเพาะเห็ดฟางในเรือนจำเป็นต้องศึกษาให้ทราบ และเข้าใจเป็นอย่างดีเสียก่อน เพราะหากกระทำไม่ถูกวิธีแล้วจะทำให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ 
เหตุใดเห็ดฟางจึงเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนสูง 

การเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง ครั้งหนึ่ง ๆ จะให้ผลตอบแทนหลังหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าแรงงาน ค่าวัสดุเพาะ ค่าหัวเชื้อ ค่าเชื้อเพลิง ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แล้ว จะมีกำไรอยู่ประมาณ 50-65 เปอร์เซ็นต์ โดยคิดราคาถั่วเฉลี่ยที่ขายได้อยู่ประมาณ 65 บาท ต่อกิโลกรัม 

แต่เหตุใด หรือทำไม จึงมีผู้ประสพผลสำเร็จ ได้น้อย อันเป็นเหตุให้ราคาเห็ดฟางคงที่อยู่ตลอดทั้งปี และในบางช่วงราคาอาจสูงถึง ก.ก. ละ 70 – 90 บาท ซึ่งมีเหตุผลดังต่อไปนี้ 

1.เชื้อเห็ดฟาง เป็นพืชที่อ่อนไหวต่อการดูแลรักษาการผลิตมาก มีขั้นตอนการทำงานมาก ซึ่งถ้าหากมีการทำงานผิดพลาดในขั้นตอนต่าง ๆ เพียงขั้นตอนเดียว ก็จะมีผลต่อปริมาณของผลผลิตแล้ว 

2.ผู้เพาะเลี้ยง ส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ในเชิงทฤษฏี รู้แต่วิธีและขั้นตอนการเพาะเลี้ยงที่ถูกกำหนดไว้ตายตัว ซึ่งเห็ดฟางเป็นพืชที่อ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น แสง อากาศ หากสภาพแวดล้อมเปลี่ยน ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงจะต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วย มิเช่นนั้นจะ ทำให้มีผลผลิตที่ต่ำลง 

3.ในการเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง จะมีปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็น (ก๊าซแอมโมเนีย) และมีปํญหาเรื่องแมลงไร ทำให้หาแรงงานได้ยาก แต่ถ้าหากขั้นตอนการทำงานถูกต้อง ปัญหานี้จะน้อยลงไปมาก 

ด้วยเหตุผลทั้ง 3 ประการข้างต้น จึงทำให้ผู้เพาะเลี้ยงรายเดิมเลิกเพาะเลี้ยง หรือหยุดเพาะเลี้ยงในบางช่วงที่อากาศหนาว 

ในขณะที่ผู้เพาะเลี้ยงรายใหม่ ก็ไม่มีประสบการณ์ในการเพาะเลี้ยง ทำให้ประสพปัญหาขาดทุน และเลิกเลี้ยงไปในที่สุด ซึ่งส่งผลให้อัตราการผลิตน้อยลงไปทุกที ในขณะที่การบริโภคไม่ลดลง ซึ่งทำให้ราคาผลผลิตสูงอยู่ตลอด และบางช่วงราคาสูงมาก เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกร ยังคงต้องเพาะเลี้ยงต่อ 

อย่างไรก็ดี หากเกษตรกรรายใด มีคุณสมบัติครบ คือ 

1.มีความรู้ในเชิงทฤษดี ซึ่งสามารถหาอ่านได้ทั่วไป 
2.มีเงินทุน เริ่มต้น 300,000 บาท พอใช้สำหรับ 5 โรงเรือน ในเวลา 4 - 5 เดือน 
3.มีพื้นที่ทำงาน 1 – 2 ไร่ 
4.มีความอดทน และเข้าใจว่าในระหว่างหาประสบการณ์ ประมาณ 10 – 20 ครั้ง การผลิต หรือ ประมาณ 3 – 6 เดือน จะต้องขาดทุนค่าแรงงาน 
5.มีแหล่งหาความรู้ในการทำงานเพาะเลี้ยง หรือสอบถามปัญหา 
6.ไม่มีปัญหาเรื่องแรงงาน 
7.เป็นคนมีวินัยในการทำงาน และเป็นคนทำงานจริงจัง 

คุณก็สามารถจะสร้างรายได้ ขั้นต่ำเดือนละ 2-30,000 บาท ได้อย่างสบาย ๆ ไม่ยาก และถ้าสามารถขยายงานออกไปได้ สามารถทำการตลาดเองได้ คุณก็สามารถที่จะเป็นผู้ที่ไม่มีความเดือดร้อน ในเรื่องการเงิน 
ปัญหาและอุปสรรคในการเพาะเลี้ยง 

จากที่กล่าวมาข้างต้น เกษตรที่คิดจะเป็นผู้เพาะเลี้ยงเห็ดฟางรายใหม่ อาจจะพอเห็นปัญหาและอุปสรรคในการเพาะเลี้ยงบางแล้ว แต่อะไรก็ตามที่ปัญหามาก ผลตอบแทนก็สูงตามปัญหาและอุปสรรค ซึ่งต้องยอมรับว่าผลตอบแทนที่สูง เป็นแรงจูงใจที่ดี อีกอย่างหนึ่ง ถ้าคุณมีความมุ่งมั่นและตั้งใจจริงที่จะสร้างอนาคต ไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคใดที่แก้ไขไม่ได้ ดังนั้นถ้าคุณผ่านอุปสรรคต่าง ๆ ไปได้ คุณก็จะเป็นผู้ประสพผลสำเร็จได้ในอนาคต 

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของผม และคิดว่าผู้เพาะเลี้ยงรายใหม่จะต้องเจอมีดังนี้ 
1.วิธีการเพาะเลี้ยงและขั้นตอนการเพาะเลี้ยง ส่วนใหญ่จะได้รับการอบรมเป็นขั้นตอนที่ตายตัว แต่ถ้าสิ่งแวดล้อมเปลี่ยน ทำให้มีปัญหาตามมาหลากหลาย และถ้าไม่มีความรู้ในเชิงทฤษฏี ก็จะไม่เข้าใจเหตุผล ทำให้ปัญหาเดิม ๆ เกิดขึ้นโดยไม่ได้แก้ไข 

2.ในภาคทฤษฏี มีการทดลองในเชิงภาคปฏิบัติมามากแล้ว ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องทำการทดลองลองถูกลองผิดอีก เพราะจะทำให้เกิดผลเสียหายเพิ่มขึ้น 

3.ในการเริ่มต้นหาประสพการณ์ทำงานจริง จะเกิดปัญหาขึ้นมาก และเป็นอะไรที่คาดไม่ถึง อันเนื่องจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือคิดไปเองว่าเป็นเช่นนั้น แต่พอทำงานจริง จึงเห็นปัญหาแล้วจึงเข้าใจว่าไม่ใช่ เช่น ตอนผมไปดูการเพาะเลี้ยงตามที่ต่าง ๆ จะไม่มีผู้อบรมรายใด ให้ความสำคัญในเรื่องเตาที่ใช้ในการอบไอน้ำ ทั้งนี้เพราะมันไม่ใช่ขั้นตอนการเพาะเลี้ยง แต่การสร้างเตา ถ้าผิดไปจะทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงสูงมาก หรือไม่ถ้าไม่สามารถทำความร้อนได้พอ ก็จะทำให้ผลผลิตเสียหาย ผมไปมอง ๆ ดูว่าเตาเขาทำอย่างไร คิดว่าง่ายและไม่มีอะไร แต่จริงๆ แล้วเตาเป็นหัวใจของการเพาะเลี้ยงเห็ดอย่างหนึ่งเลย ถ้าไม่ถูกต้องก็ไม่มีโอกาสสำเร็จ 

4.ในระหว่างหาประสบการณ์ ผลผลิตที่ได้จะน้อย ทำให้หาแหล่งขายได้ยาก แต่ถ้าคุณทำงานเข้าที่แล้ว มีผลผลิตที่มากพอ แน่นอนและสม่ำเสมอ คุณก็จะไม่มีปัญหาเรื่องการขายผลผลิต ตรงกันข้ามจะมีผู้คำประกันราคารับซื้อให้คุณเลยละ และยังมารับซื้อถึงที่อีกด้วย 

[url=http://www.pifarmmushroom.com/]



ข้อดีของการเพาะเลี้ยง 

อ่าน ๆ ผ่านมา หลายคนคงไม่คิดที่จะทำการเพาะเลี้ยงแล้ว มีแต่ปัญหาและอุปสรรคมากมาย ไม่น่าจะดี แต่จริงแล้ว การเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง เป็นพืชตัวหนึ่งในไม่กี่ชนิด ที่มีแรงจูงใจที่ดีคือ 

1.ไม่มีปัญหาในเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ ไม่ว่าเศรษฐกิจจะตกต่ำอย่างไร เห็ดของคุณก็ยังคงขายดี เห็ดฟางราคาสูงเท่าไร ก็ยังคงมีผู้จำเป็นต้องใช้เป็นวัตถุดิบในร้านอาหาร ไม่ต้องกลัวขายผลผลิตไม่ได้ 

2.ถ้าคุณมีผลผลิตสม่ำเสมอ คุณจะได้ราคาขายที่ตายตัว ผู้ซื้อบางรายรับประกันราคาขั้นต่ำให้คุณทั้งปีได้เลย ซึ่งถ้าคุณผ่านปัญหาไปได้ คุณจะมีรายได้เป็นที่แน่นอน สม่ำเสมอตามผลผลิตของคุณ และในช่วงที่เห็ดราคาสูง (บางครั้ง ก.ก 90-100 บาท จากปกติ 55-60 บาท) ถ้าคุณมีความรู้ในการเพาะเลี้ยงเพียงพอ คุณจะยิ่งมีรายได้สูงขึ้นไปอีก 

3.หากคุณมีอาชีพเป็นช่างทำผม สมมุติคุณมีรายได้เดือนละ 10,000 บาท หากคุณต้องการเพิ่มรายได้เป็น 20,000 บาท บนอาชีพเดิมทำไม่ได้ แต่เห็ดฟาง ถ้าคุณทำเพิ่มได้เท่าไร ขยายกำลังการผลิตได้เท่าไร มีคนรับซื้อครับ รับไม่จำกัดจำนวนด้วย เพียงมีเงื่อนไขเดียวให้คุณ คือคุณต้องทำให้ได้ปริมาณสม่ำเสมอ 

4.หากคุณมีความรู้และประสบการณ์เพียงพอ อาชีพเพาะเห็ดฟาง จะเป็นอาชีพหนึ่ง ที่คุณไม่มีโอกาสขาดทุน ไม่ว่าจะมีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น 

หากคุณคิดว่าข้อดีในการเพาะเลี้ยงเห็ดฟางทั้งหลายนี้ เป็นแรงจูงใจที่ดีที่จะทำให้คุณฟันฝ่าอุปสรรคและปัญหาต่างๆ ได้ มันก็จะมีผลทำให้คุณมีฐานะที่มั่นคงในอนาคตได้ และผมก็ยังขอยืนยันคำเดิม ให้คุณมั่นใจได้เลยว่าคุณจะเป็นผู้ที่ไม่มีความเดือดร้อน ในเรื่องการเงิน 



ความรู้ทางทฤษฏี

โดยความเข้าใจของคนทั่วไป   มักจะเข้าใจวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง เป็นความรู้ทางทฤษฏี จริง ๆ แล้วเป็นเพียงขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการเพาะเลี้ยงเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ในการอบไอน้ำวัสดุเพาะเห็ด บางตำราให้อบไอน้ำที่อุณหภูมิ 60 องศา เป็นเวลา 4-6 ช.ม บางทีให้อบที่อุณหภูมิ 65 องศา เป็นเวลา 4-5 ช.ม บางทีให้อบที่อุณหภูมิ 70 องศา เป็นเวลา 2-4 ช.ม ถามว่าแล้วอันไหนถูก อันไหนผิด ตอบว่าถูกทั้งหมดครับ 

ในการเพาะเลี้ยงเห็ดจะต้องมีการหมักวัสดุเพาะ อุณหภูมิของอากาศ ความชื้นของกองวัสดุเพาะ ความสูงของการกองวัสดุเพาะ ความหนาของการกองวัสดุเพาะ ประเภทของวัสดุที่ใช้เป็นวัสดุเพาะ มีผลต่ออุณหภูมิของกองวัสดุเพาะ หากคุณกองวัสดุเพาะและวัดอุณหภูมิได้เท่าใด คุณต้องอบไอน้ำให้ได้เท่านั้น บวกกับ 10 องศา

เพื่อให้ราที่เกิดในวัสดุเพาะอ่อนแอลงเป็นอาหารให้กับเห็ดฟาง หากคุณอบไอน้ำน้อยกว่า 10 องศามาก ๆ จะทำให้ราเหล่านี้ยังแข็งแรงและจะกินเชื้อเห็ดฟางเป็นอาหาร หากคุณอบไอน้ำมากกว่า 10 องศามาก ๆ จะทำให้ราอาหารเห็ดอ่อนแอจนเกินไป ไม่สามารถจะแพร่ขยายต่อไปจะทำให้เห็ดฟางที่จะเก็บในรอบที่ 2 หรือ รอบที่ 3 มีขนาดดอกเล็กและน้อยลง เพราะขาดอาหาร 

ส่วนระยะเวลาในการอบไอน้ำ ถ้าคุณวางแผนจะเก็บดอกเห็ดแค่รอบแรกแล้วรื้อทิ้งทำใหม่ คุณก็อบแค่ 2-3 ช.ม. ก็พอ หากคุณคิดจะเก็บรอบสองหรือสามด้วย ก็ต้องอบไอน้ำให้นานขึ้นไม่เช่นนั้น เห็ดอื่นจะขึ้นงามกว่าเห็ดฟางในการเก็บเห็ดรอบหลัง ๆ เหล่านี้เป็นความรู้ทางทฤษฏีที่คุณต้องรู้

ไม่เช่นนั้น คุณก็จะเพาะเห็ดได้มากบางน้อยบาง ขึ้นอยู่กับ อุณหภูมิของอากาศ ความชื้น ความสูงและความหนาของกองวัสดุเพาะ จำนวนวันในการหมักวัสดุเพาะ ของแต่ละครั้ง ทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่สม่ำเสมอ 
พูดแบบนี้เกษตรกรบางท่านคงพอจะเข้าใจได้ว่า ทำไมบางคนจึงทำแบบเดียวกับเราแล้วได้ผลผลิตที่ดี แต่ทำไมเราทำแบบเดียวกับเขาไม่ได้ผลเหมือนกัน 

ในการอบรมการเพาะเลี้ยงหรือคำแนะนำขั้นตอนปฏิบัติการเพาะเลี้ยง ไม่มีผู้ใดให้รายละเอียดเหล่านี้ เพราะจะทำให้ดูยุ่งยาก และเสียเวลาในการอบรม ทำให้เกษตรกรดูยากไม่อยากเพาะเลี้ยง 
ที่กล่าวนี้เป็นเพียงรายละเอียดเกี่ยวกับอุณหภูมิและระยะเวลาในการอบไอน้ำเท่านั้นนะครับ จริงแล้วในแต่ละขั้นตอนการปฏิบัติทุกขั้นตอนมีเหตุผลของการปฏิบัติอยู่ ถ้าคุณรู้เหตุผลมันก็ไม่มีอะไรเป็นปัญหาให้คุณ แต่ถ้าคุณไม่รู้ ปัญหาของคุณก็ยังวนเวียนเกิดขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่ได้แก้ไข 

ที่มา http://www.pifarmmushroom.com/






GPSราคาถูก | เครื่องฟอกอากาศในรถยนต์ | Ran Online | Ragnarok | โปรโมชั่น | เกมส์ออนไลน์

Promotion
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ