Advertisement
ใบย่านาง มีผลต่อโรคความดันโลหิตสูงจริงหรือ แล้วเราจะกินใบย่านางอย่างไรดีสวัสดีครับ วันนี้พี่ wawa@taladnadonline จะมาแถลงไขเกี่ยวกับใบย่านาง สมุนไพรไทย ที่เขาบอกกันว่ามีฤทธิ์ ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง จะจริงแค่ไหนเราลองมาดูกันโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคใกล้ตัวที่เราจะมองข้ามไม่ได้ เพราะปัจจุบันมีคนป่วยด้วยโรคนี้ต้องรับการรักษาไม่น้อย ซึ่งนอกจากการรักษาด้วยการรับประทานยาแล้ว การรับประทานอาหาร และการใช้สมุนไพรบางชนิดก็ช่วยให้ความดันโลหิตที่เคยสูงลดลงได้
โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension/High Blood Pressure) เป็นภาวะความดันเลือดภายในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงตามมา จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
อาการของโรคความดันโลหิตสูงโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ไม่ค่อยแสดงอาการผิดปกติ ยกเว้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงระยะรุนแรงก็อาจมีอาการแสดง เช่น ปวดศีรษะรุนแรง หายใจสั้น เลือดกำเดาไหล ซึ่งอาการเหล่านี้ยังถือว่าเป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจงและบอกไม่ได้ชัดเจน หรือในบางรายทราบเมื่อตรวจพบภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงขึ้นแล้ว ทำให้ต้องหมั่นมีการตรวจสุขภาพและวัดค่าความดันอย่างสม่ำเสมอ จึงทำให้โรคนี้ถูกเรียกว่าเป็นฆาตกรเงียบ (Silent Killer) ที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างไม่ทันระวังตัว
สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงโรคความดันโลหิตสูงแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ชนิดที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด (Primary Hypertension หรือ Essential Hypertension) ซึ่งไม่สามารถระบุถึงต้นเหตุการเกิดได้ และชนิดที่ทราบสาเหตุ (Secondary Hypertension) ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสภาวะ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคไต ปัญหาต่อมไทรอยด์ เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต หลอดเลือดผิดปกติแต่กำเนิด การใช้ยาบางชนิด การใช้สารเสพติด หรือแอลกอฮอล์
การวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงแพทย์จะวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงโดยดูจากการวัดค่าความดันโลหิตของผู้ป่วยเป็นหลัก และมีการตรวจวัดหลายครั้ง เพื่อความแม่นยำของผลการตรวจ ซึ่งค่าความดันโลหิตที่วัดได้จะแบ่งออกเป็น 2 ค่า โดยตัวแรก (หรือตัวบน) เรียกว่า ค่าความดันซิสโตลิก (Systolic) เป็นความดันโลหิตในหลอดเลือดแดงขณะที่หัวใจบีบตัวและตัวที่สอง (หรือตัวล่าง) เรียกว่า ค่าความดันไดแอสโทลิก (Diastolic) เป็นค่าความดันโลหิตในหลอดเลือดแดงขณะหัวใจคลายตัว หากวัดค่าความดันโลหิตได้สูงตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป แพทย์จะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง หากวัดได้ค่าความดันโลหิตสูงตั้งแต่ 130/80 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป แพทย์จะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวะก่อนความดันโลหิตสูง (Prehypertension) ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโรคหิตสูงในอนาคต
การรักษาโรคความดันโลหิตสูงแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในด้านการรับประทานอาหารเบื้องต้น โดยการลดอาหารประเภทโซเดียมสูง เน้นรับประทานผักและผลไม้ที่มีกากใยสูง ธัญพืช ปลาที่อุดมไปด้วยกรดไขมันที่ดีต่อร่างกาย หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแดง ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและการใช้ยาร่วมด้วย เพื่อช่วยปรับค่าความดันโลหิตให้ลดลงอยู่ในระดับปกติ ทั้งนี้การรักษายังต้องคำนึงถึงชนิดของโรคด้วย เพราะหากเป็นชนิดที่ทราบสาเหตุ ผู้ป่วยมีโอกาสในการรักษาหายได้มากกว่าชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุ
การป้องกันโรคความดันโลหิตสูงการควบคุมความดันโลหิตในระยะยาวสามารถทำได้โดยการปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ทั้งในเรื่องของการรับประทานอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่สูบบุหรี่ และควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเป็นพื้นฐาน รวมไปถึงการหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อตรวจดูว่าความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ
สมุนไพรไทยลดความดันโลหิตสูงใบย่านาง สมุนไพรโบราณสุดมหัศจรรย์ที่เปี่ยมสรรพคุณทางยา และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง
ย่านาง เป็นสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้ตั้งแต่โบราณในการรักษาโรคต่าง ๆ รวมถึงการนำมาทำอาหารหลากหลายชนิด นักบำบัดสุขภาพทางเลือก เคยนำมาอธิบายไว้ในหนังสือ "ย่านาง สมุนไพรมหัศจรรย์" เกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคุณมากมายของย่านาง ซึ่งทางภาคอีสานหมอยาโบราณเรียกย่านางว่า "หมื่นปี บ่ เฒ่า" แปลเป็นภาษากลางว่า "หมื่นปีไม่แก่" และในปัจจุบัน ย่านาง ถูกใช้อย่างแพร่หลายในการรักษาแบบแพทย์ทางเลือก เพื่อรักษาอาการป่วยต่าง ๆ รวมทั้งการปรับสมดุลในร่างกาย เรามาทำความรู้จักกับพืชชนิดนี้กันให้มากกว่านี้ดีกว่า รับรองว่าจะต้องทึ่งกับสรรพคุณที่มากมายของย่านางแน่นอน
ย่านาง หรือใบย่านาง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Tiliacora triandra (Colebr.) Diels มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Bamboo grass
ทางภาคเหนือเรียกว่า จ้อยนาง ภาคกลางเรียก เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว และภาคใต้จะเรียกว่า ยาดนาง เป็นพืชในตระกูลไม้เลื้อย กิ่งอ่อนมีขนอ่อนปกคลุม เมื่อแก่แล้วผิวค่อนข้างเรียบ รากมีขนาดใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ รูปร่างใบคล้ายรูปไข่หรือรูปไข่ขอบขนานปลายใบเรียว
ย่านางเป็นพืชที่มีฤทธิ์เย็น สามารถช่วยดับพิษร้อนต่าง ๆ ได้
สรรพคุณทางยาของย่านางย่านางนั้นมีสรรพคุณทางยาที่ขึ้นชื่อมากมาย ซึ่งสรรพคุณทางยาไม่ได้มีเพียงแค่ในใบย่านางเพียงอย่างเดียว แต่ส่วนอื่น ๆ ของต้นก็มีประโยชน์มากมายเช่นกัน
ใบย่านาง คือเป็นส่วนที่มีประโยชน์และถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคมากที่สุด เพราะเป็นพืชที่มีฤทธิ์เย็น และมีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง นอกจากนี้ถูกจัดเอาไว้ในตำราสมุนไพรว่าเป็นยาอายุวัฒนะอีกด้วย ซึ่งประโยชน์ของใบย่านางในการรักษาโรคมีดังนี้ ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง ช่วยในการปรับสมดุลของร่างกาย
วิธีการทำน้ำใบย่านางเป็นการใช้ใบย่านางในการเพิ่มคลอโรฟิลล์ คุ้มครองเซลล์ ฟื้นฟูเซลล์ ปรับสมดุล บำบัดหรือบรรเทาอาการที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลของร่างกาย ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
1. ใช้ใบย่านางสด มาล้างทำความสะอาดโขลกให้ละเอียดแล้วเติมน้ำ หรือขยี้ใบย่านางกับน้ำหรือปั่นในเครื่องปั่น (แต่การปั่นในเครื่องปั่นไฟฟ้า จะทำให้ประสิทธิภาพลดลงบ้าง เนื่องจากความร้อนจะไปทำลายความเย็นของย่านาง)
2. กรองน้ำใบย่านางที่ได้ผ่านกระชอนเอาแต่น้ำ
3. ดื่มครั้งละ 1/2-1 แก้ว วันละ 2-3 เวลา ก่อนอาหาร หรือตอนท้องว่างหรือผสมเจือจางดื่มแทนน้ำ เพราะถ้าเกิน 4 ชม. มักจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไม่เหมาะที่จะดื่ม แต่ถ้าแช่ในตู้เย็น ควรใช้ภายใน 3-7 วันโดยให้สังเกตุที่กลิ่นเปรี้ยวเป็นหลัก
ถ้าจะให้ได้รสชาติ คั้นกับใบเตย จะหอมอร่อยมาก หรือจะใส่กับน้ำมะพร้าวก็จะหอมชื่นใจมากขึ้น ( แต่ถ้าใส่น้ำมะพร้าวจะเสียเร็วนะ) ผักฤทธิ์เย็น นำมาคั้นร่วมกับย่านางก็ได้ เช่น ผักบุ้ง ตำลึง ใบบัวบก ใบเตย
ถ้าไม่ให้เสียเวลา ทางเว็บขอแนะนำ ใบย่านางแคปซูล เพียงทานก่อนอาหารครั้งละ 2 เม็ด เช้า กลางวัน และเย็น ทานประมาณ 1-2 เดือน อาการความดันสูงก็จะสามารถลดลงได้คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง :
Biyanangเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง :
[url]http://www.taladnadonline.com/index.php?route=content/articleview&article_id=153[/url]
Tags : Binanang,ใบย่านางสมุนไพรไทย,ใบย่านางรักษาโรคความดันโลหิตสูง