วิธีการเลือกใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์บ้านและที่อยู่อาศัยทั่วไป

Advertisement


หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีการเลือกใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์บ้านและที่อยู่อาศัยทั่วไป  (อ่าน 55 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Brandexdirectory
Drift King
*****

การ์ม่า: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7492


ดูรายละเอียด อีเมล์










« เมื่อ: มิถุนายน 06, 2017, 09:50:36 am »



ล้อแม็ก แม็ก แม็กซ์แต่งรถ

↑ ลงทะเบียนรับข่าวสาร

ล้อแม็ก

Advertisement

เซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ใช้กับบ้านอยู่อาศัยและอาคารทั่วไป ตามมาตรฐาน IEC 60898 หรือ IEC 898 นี้ เหมาะสำหรับการใช้งานเพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินในบ้านอยู่อาศัยและอาคารทั่วไปที่มีแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายไม่เกิน 440 โวลต์ ความถี่ 50 หรือ 60 Hz พิกัดกระแสไม่เกิน 125 A และพิกัดการตัดกระแสลัดวงจรไม่เกิน 25 kA จำนวนขั้วอาจมีได้ตั้งแต่ 1 ถึง 4 ขั้ว

        ประเภทการใช้งานของเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Utilization Category)
    เซอร์กิตเบรกเกอร์ตามมาตรฐาน IEC 60898 สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามความสามารถในการตัดกระแสไฟฟ้าเกินออกทันที (Instantaneous Tripping) ได้ดังนี้


หมายเหตุ 1. In = พิกัดการะแสใช้งานปกติ
                2. ไม่ควรใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์ประเภท D กับวงจรที่ใช้ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด (จะต้องระมัดระวังความปลอดภัยเป็นพิเศษ)
                3. ช่วงกระแสไฟฟ้าเกินที่ต่ำกว่าช่วงที่มีการตัดทันที จะใช้เวลาตัดวงจรมากกว่า 0.1 วินาทีช่วงกระแสไฟฟ้าเกินที่สูงกว่าช่วงที่มีการตัดทันที จะใช้เวลาตัดวงจรน้อยกว่า 0.1 วินาที


(ก) เบรกเกอร์ประเภท B


(ข) เบรกเกอร์ประเภท C


(ค) เบรกเกอร์ประเภท D


   เช่น เบรกเกอร์ประเภท C ขนาดพิกัดกระแส 10 A ถ้ากระแสเกิน 4 เท่า คือ 40 A เวลาการทริฟต่ำกว่า 3 วินาที (ช่วงร้อน 40 °C) สูงสุด 15 วินาที(ช่วงเย็น 25 °C ) เบรกเกอร์จะทริฟทันทีในเวลา 0.01 วินาที(กรณีลัดวงจร) ที่กระแสเกินมากกว่า 5 เท่า คือ 10x5 = 50 A จนถึง 10 เท่า คือ10x10 =100 A แต่ถ้าเลือกเบรกเกอร์ประเภท D ขนาดพิกัดกระแส 10 A ถ้ากระแสเกิน 4 เท่า คือ 40 A เวลา การทริฟต่ำสุด 4 วินาที ( ช่วงร้อน 40 °C ) สูงสุด 20 วินาที(ช่วงเย็น 25 °C ) เบรกเกอร์จะทริฟทันทีในเวลา 0.01 วินาที(กรณีลัดวงจร) ที่กระแสเกินมากกว่า 10 เท่า คือ 10x10 =100 A จนถึง 50 เท่า คือ10x50 =500 A พิกัดกระแสใช้งาน (In) มีขนาดพิกัดกระแสดังนี้ : - 6 , 8 , 10 , 13 , 16 , 20 , 25 , 32 , 40 , 50 , 63 , 80 , 100 และ 125 A
   ตัวอย่างการเรียกประเภทและพิกัดกระแสใช้งาน เช่น C16 หมายถึง เซอร์กิตเบรกเกอร์ประเภท C ขนาดพิกัดกระแสใช้งาน 16 A พิกัดกระแสลัดวงจร (Icn) คือ ค่าพิกัดการตัดกระแสลัดวงจรสูงสุด (Icu) ของเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่กำหนดโดยผู้ผลิต มีขนาด ดังนี้ : - 1.5 , 3.0 , 4.5 , 6.0 , 10.0 , 20.0 , 25.0 kA


            พิกัดการตัดกระแสลัดวงจรสูงสุด (Icu, Ultimate short-circuit breaking capacity) หมายถึง พิกัดการตัดกระแสลัดวงจรที่ในการทดสอบจะไม่คำนึงถึงว่าจะสามารถรับกระแสใช้งานปกติได้ อย่างต่อเนื่องภายหลังการทดสอบหรือไม่ พิกัดการตัดกระแสลัดวงจรใช้งาน (Ics, Service short-circuit breaking capacity) หมายถึง พิกัดการตัดกระแสลัดวงจรที่ภายหลังการทดสอบแล้ว จะต้องสามารถรับกระแสใช้งานปกติได้ อย่างต่อเนื่องด้วย โดยปกติ Ics จะมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ Icu หรือ Icn เช่น Ics = 0.75 Icn หรือ (Icu) สำหรับเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่มีค่า Icn : 6 kA < Icn ≤ 10 kA Ics = 0.75 Icn หรือ (Icu) สำหรับเซอร์กิตเบรกเกอร์ ที่มีค่า Icn ≤ 10 kA จะมีค่า Ics = 0.75x10 = 7.5 kA ที่ 400 V เมื่อเบรกเกอร์ตัดกระแสลัดวงจรหลังจากเกิดการลัดวงจรครั้งแรกแล้ว เบรกเกอร์ตัวนี้จะสามารถตัดกระแสลัดวงจรในครั้งถัดไปได้เพียง Ics = 7.5 kA ที่ 400 V


(จ.) ค่าพิกัดIcs = 0.75 Icn, เมื่อ Icn= 10,000 A (10 kA) 400 V 50/60 Hz, IEC 60898


(ฉ.) เบรกเกอร์ชนิด 3 ขั้ว(pole) 2 ขั้ว และ1 ขั้ว ตามลำดับ


อุณหภูมิใช้งานและความชื้นสัมพัทธ์
        1. อุณหภูมิใช้งานระหว่าง -5 ถึง 40 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ย 24 ชั่วโมงไม่เกิน 35 องศาเซลเซียส
        2. ความชื้นสัมพัทธ์ไม่เกิน 50% ถ้าใช้ที่อุณหภูมิสูงสุดที่40 องศาเซลเซียส แต่สามารถใช้กับความชื้นสัมพัทธ์ 90% ได้ถ้าใช้ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส





สนใจติดต่อ
สยาม-ซันนี่โวลท์ บจก.
519/294-296 ถนนประชาอุทิศ แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140
โทรศัพท์ : +662 815 7619-20,+662 815 9979  โทรสาร : +662 464 2253
อีเมล์ : siam_sunny@yahoo.com
เว็บไซต์ : www.siam-sunnyvolt.com
เว็บไซต์ : siam-sunnyvolt.brandexdirectory.com
เว็บไซต์ : www.สยาม-ซันนี่โวลท์.com



GPSราคาถูก | เครื่องฟอกอากาศในรถยนต์ | Ran Online | Ragnarok | โปรโมชั่น | เกมส์ออนไลน์

Promotion
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ