Advertisement
การศึกษาทางพิษวิทยาของกระเทียม สาร allicin มีค่าความเป็นพิษเฉียบพลัน LD50 เท่ากับ 120 มก./ กก.เมื่อฉีดใต้ผิวหนัง และ60 มิลลิกรัม/ กก.เมื่อฉีดเข้าเส้นเลือด สารสกัดกระเทียมมีค่าความเป็นพิษมากกว่า 30 มล./ กก. เมื่อฉีดเข้าช่องท้อง คนที่ กินกระเทียม ปริมาณมากอาจจะทำให้หัวใจขาดเลือดได้
การทดสอบความเป็นพิษ:- 1. การทดลองในหนูขาว เมื่อกรอกสารสกัดด้วยน้ำ ให้หนูขาว LD50 มีค่า 173.8 ซีซี/กก. การให้สารสกัดกระเทียมด้วยน้ำทางปาก หรือฉีดเข้าช่องท้องในขนาด 50 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม ไม่มีผลต่อปอดและตับ แต่ขนาด 500 มก./กก. ทำให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อตับและปอด หรือเมื่อป้อนน้ำมันกระเทียมในขนาด 0.5 ซีซี/ กิโลกรัม พบว่าเป็นพิษเช่นกัน ขณะที่หนูขาวกินสารสกัดด้วยน้ำในขนาด 300 และ 600 มก./ กิโลกรัม/วัน เป็นเวลา 21 วัน พบว่าทำให้การเจริญเติบโตลด และมีผลต่อ biological parameter และเนื้อเยื่อ เมื่อให้ชาชงกระเทียมในขนาดสูงแก่หนูขาว พบว่าลดความเข้มข้นฮีโมโกลบิน ปริมาตร packed cell ปริมาณ lymphocyte เอนไซม์ aspartate aminotransferase และalanine aminotransferase ในขณะที่จำนวนเม็ดเลือดขาวและ leukocyte ประเภทต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
การทดลองความเป็นพิษเฉียบพลันพบว่า เมื่อกรอกสารสกัดกระเทียมซึ่งทำให้แห้งด้วยวิธีแช่แข็งให้หนูขาวพันธุ์ albino ขนาด 2 , 4 , 8และ 16 ก./กก..ไม่พบความผิดปกติ LD50 มีค่ามากกว่า 16 ก./กก.การลองความเป็นพิษเรื้อรัง เมื่อให้หนูขาวรับประทานสารสกัดกระเทียม 12 ก./กิโลกรัม สัปดาห์ละ 5 ครั้งเป็นเวลา 6 เดือน ไม่พบพิษ แต่ในการค้นคว้าของน้ำมันกระเทียมและสารสกัดกระเทียม พบว่ายับยั้งการเจริญเติบโตและทำให้เกิดภาวะเลือดจางในหนูขาว สารประกอบซัลเฟอร์ในกระเทียมบางจำพวกได้แก่ di- , tri- ,tetra-sulfide ทำลายเม็ดเลือดแดงในหลอดวิจัยเนื่องจากเกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งอาจจะสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซีดในหนูขาวที่กินกระเทียมหรือหอม
- 2. การทดลองในหนูถีบจักร การวิจัยตั้งแต่ปี 1944 พบว่า allicin มี LD50 สำหรับฉีดเข้าใต้ผิวหนังและเข้าหลอดเลือดหนูถีบจักร 120 มก./กก.และ 60 มก./กิโลกรัม ตามลำดับและเมื่อฉีดเข้าช่องท้องค่า LD50 เท่ากับ 222 มก./กก. การทดลองพิษเฉียบพลันในหนูถีบจักร พบว่า LD50 เมื่อให้ทางช่องท้องและใต้ผิวหนังมีค่า 30 ซีซี/กก. ในกลุ่มที่ให้ทางช่องท้องของหนูเพศผู้ตาย 5 ใน 10 และเพศเมียตาย 1 ใน 10 หลังจากได้รับสารสกัด 1 วัน การลองความเป็นพิษแบบเฉียบพลันและพิษเรื้อรังของสาร S-allyl cysteine (SAC) จากกระเทียมพบว่าเมื่อให้ทางปาก LD50 มีค่ามากกว่า 54.7 มิลลิโมล/กิโลกรัม.ขณะที่ฉีดเข้าภายในช่องท้อง LD50 มีค่ามากกว่า 20 มิลิโมล/กก. และเมื่อทาน้ำมันหอมระเหยจากกระเทียมบนผิวหนูถีบจักรในขนาด 10 มิลลิกรัม/ตัว พบว่าทำให้หนูตาย
- 3. การทดลองในแมวและสุนัข การค้นพบพิษเรื้อรังของน้ำมันกระเทียมและสารสกัดกระเทียม พบว่ายับยั้งการเจริญเติบโตและทำให้ภาวะเลือดจางในแมวและสุนัข
จากการทดสอบในคนไม่พบอาการพิษเมื่อให้เด็กทานกระเทียม วันละ 900มก.หรือในผู้ใหญ่ขนาด 350 มก.วันละ 2 ครั้ง และการทานสารสกัดกระเทียมด้วยแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ และ สารสกัดด้วยน้ำผสมแอลกอฮอล์ ก็ไม่พบพิษเช่นกัน
ข้อแนะนำ / ข้อควรระวังของกระเทียม
ทฤษฎีแพทย์จีนกล่าวไว้ว่า กระเทียมมีชนิดร้อน รสเผ็ด สำหรับผู้ที่เป็นโรคร้อนเพราะยีนพร่อง คือมีอาการหน้าแดง มีไข้หลังเที่ยง คอแห้ง ท้องผูก ร้อนในกระหายน้ำ ไม่ควรกินหรือกินได้เล็กน้อย-h
ผู้ที่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร หรือกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง มีกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป หรือตาแดง ไม่ควรกินกระเทียม
เนื่องจากกระเทียมมีรสฉุน กระเทียมที่ปรุงสุกแล้วจะไม่มีกลิ่น หรือเมื่อจำเป็นต้องกินกระเทียมดิบ หลังจากกินกระเทียม ให้เคี้ยวใบชาหรือน้ำชาแก่ๆ บ้วนปาก หรือจะเคี้ยวพุทราจีนสัก 2-3 เม็ดก็ได้ กลิ่นกระเทียมก็จะหายไป
แม้ว่ากระเทียมจะเป็นพืชที่มีคุณสมบัติอยู่มากมาย แต่คุณก็ไม่ควรที่จะเลือกใช้กระเทียมเพื่อหวังผลในการรักษาอาการหรือโรคใดโรคหนึ่ง อีกทั้งผลลัพธ์ที่ได้ในแต่ละบุคคลก็อาจจะแตกต่างกันออกไป ดังนั้นคุณควรเลือกรับประทานให้หลากหลายและครบ 5 หมู่ จะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะพืชผักสมุนไพรทั่ว ๆ ไป ถ้าวิจัยกันจริง ๆ แล้ว มันก็มีคุณสมบัติไม่น้อยไปกว่ากันเลย
อาการไม่พึงประสงค์:
อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ หรือมีอาการทางเดินอาหารผิดปกติ หากทานกระเทียมขณะท้องว่าง เช่น เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เป็นต้น และกลิ่กระเทียม[/url]จะติดที่ผิวหนัง และลมหายใจ บางกรณีอาจจะเกิดอาการหอบหืดได้ และทำให้เลือดแข็งตัวได้ช้าทำให้เสี่ยงต่อภาวะเลือดหยุดไหลยากหลังผ่าตัด จึงไม่ควรกินกระเทียมก่อนการผ่าตัด เพราะจะทำให้เลือดแข็งตัวได้ช้าลง
การทานกระเทียมอาจทำให้มีลมหายใจและกลิ่นตัวเหม็น ด้วยเหตุนี้บริษัท ผู้ผลิตอาหาร และยาบางรายจะผสมชะเอมเทศหรือลิคอริซ (Liquorice) เพื่อ กลบกลิ่นและรสชาติที่ไม่พึงประสงค์ และยังอาจให้ประคุณสมบัติทางยาอีกด้วย เช่น รากหรือเหง้าของชะเอมเทศมีสารในกลุ่มไกลเซอร์ไรซิน (Glycyrrhizin) ที่มี คุณสมบัติช่วยดับกระหาย มีฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ต้านเชื้อไวรัส และปก ป้องตับจากการทำลายของอนุมูลอิสระ
การทำปฏิกิริยากับสารอื่นๆ
กระเทียมมีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด ยับยั้งการเกาะกันของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดเหลวและแข็งตัวช้า ดังนั้นต้องระมัดระวังการใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น warfarin หรือยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด และยา NSAIDs บางชนิด เช่น aspirin, และ indomethacin เพราะจะทำให้ค่าลองระยะเวลาที่เลือดแข็งตัวเพิ่มขึ้น และอาจทำให้เลือดออก นอกจากนี้ควรหยุดทานกระเทียมขนาดสูง 4-8 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด หรือการ
รักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด
กระเทียมมีผลยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ CYP ที่ใช้เปลี่ยนสภาพยาหลายประเภท ได้แก่ เอ็นไซม์ CYP2D6, CYP2E1, CYP2P9, CYP3A4, CYP3A5 และ CYP3A7 ดังนั้นควรระมัดระวังการทานกระเทียมร่วมกับยาที่ถูกทำลายด้วยเอ็นไซม์เหล่านี้ เช่น dextromethorphan, alprazolam, midazolam และ paracetamol เนื่องจากอาจทำให้ระดับยาในเลือดของยาเหล่านี้สูงกว่าปกติ แล้วทำให้เกิดความเป็นพิษจากยาได้ นอกจากนี้มีรายงานว่ากระเทียมมีผลลดระดับยาต้านไวรัสเอดส์ เช่น saquinavir และยังมีผลทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดตกในผู้ป่วยเบาหวานเนื่องจากไปเพิ่มผลการลดน้ำตาลในเลือดของยา chlorpropamide
Isoniazid เป็นยาที่ใช้ในการรักษาวัณโรค กระเทียมอาจลดการดูดซึมยาตัวนี้ได้ เป็นเหตุให้ใช้ยาดังกล่าวมีจำนวนไม่พอต่อการรักษาโรค
ยาคุมกำเนิด กระเทียมอาจลดประสิทธิภาพของยาลงได้
ยาต้านการแข็งตัวของเลือด กระเทียมอาจทำให้ฤทธิ์ของยาต้านการจับตัวเป็นก้อนเลือดได้ ทำให้เกิดมีเลือดออกได้
Medications for HIV/AIDs กระเทียมสามารถลดระดับของสาร Protease inhibitors ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรค HIV
Non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs) ทั้ง NSAIDs และกระเทียมสามารถทำให้เกิดมีเลือดออก (bleeding)