Advertisement
ว่านชักมดลูก ปลูกไม่ยาก ว่านชักมดลูกเป็นสมุนไพรที่มีการใช้มาอย่างยาวนานในอดีตแล้ว ซึ่งในอดีตนั้น คนไทยจะขยายพันธุ์ว่านชักมดลูกกันแค่ในรั้วบ้าน และปลูกแค่พอที่จะใช้เป็นยาสมุนไพรในครัวเรือนเท่านั้นไม่ได้มีการนำไปจำหน่ายหรือนำไปส่งออกไปยังต่างประเทศเหมือนในปัจจุบันนี้แต่อย่างใด จึงทำให้แต่ก่อนนี้ยังไม่มีผู้นิยมนำว่านชักมดลูกไปเพาะเพื่อการพาณิชย์แต่อย่างใด แต่ในปัจจุบันเมื่อเริ่มมีการใช้สมุนไพรว่านชักมดลูกกันมากขึ้น จึงทำให้เกิดกระแสการขยายพันธุ์ว่านชักมดลูกเพื่อนำมาจำหน่ายทั้งจำหน่วยแก่ลูกค้ารายย่อยและส่งเข้าโรงงาน จนถึงขั้นที่ว่าเกษตรกรที่ทำการเกษตรในพืชประเภทอื่นต้องหันมาเพาะ
ว่านชักมดลูกเป็นพืชหลักเลยทีเดียว โดยในเมืองไทยนอกจากเกษตรกรจะหันมาปลูกว่านชักมดลูกแล้ว ยังมีการปลูกสมุนไพรอย่างอื่นเป็นอาชีพหลักอีกหลายจำพวก เช่น กระชายดำ ขมิ้นชัน ไพลฯลฯ ซึ่งในการเพาะปลูกสมุนไพรเหล่านี้ก็สามารถทำรายได้ให้แก่เกษตรกรได้เป็นอย่างดี (ซึ่งอาจจะดีกว่าพืชหลักที่ปลูกในอดีตด้วยซ้ำ) ในตอนนี้เราจึงจะมาดูว่าวิธีการเพาะปลูกว่านชักมดลูกให้ได้ผลผลิตที่ดีนั้น ต้องทำอย่างไรบ้าง โดยว่านชักมดลูกนั้นอาจขยายพันธุ์ได้โดยใช้เหง้าแขนงและส่วนหัว (ที่กลมๆใหญ่ๆ) อีกทั้งยังสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย และทนแล้งได้ดี ส่วนช่วงเวลาที่ควรปลูกนั้น ควรเป็นช่วงก่อนฤดูฝน เพราะเมื่อถึงฤดูฝนแล้วต้นของว่านชักมดลูกจะได้เติบโตตามฤดูกาลและอาจสะสมสารอาหาร รวมถึงทำให้มีสารออกฤทธิ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น มาถึงในขั้นตอนการเตรียมแปลงปลูก โดยก่อนปลูกต้องกำจัดวัชพืชต่างๆเสร็จแล้ว ไถพรวนดินและตากดินทิ้งไว้ 5 – 7 วัน หลังจากนั้น 2 – 3 วันให้ใส่ปุ๋ยคอกผสมกับขี้เถ้าแกลบอีก 1 ตันต่อไร่แล้วไถกลบอีกรอบ ขั้นตอนการเพาะปลูกนั้นก่อนขยายพันธุ์ต้องกำจัดวัชพืชอีกครั้งก่อนขยายพันธุ์ 1 – 2 วัน สำหรับการขยายพันธุ์ใช้เหง้าหรือแขนงว่านชักมดลูกที่มีตาสำหรับแทงยอด(จะเป็นต้นต่อไป) หักเป็นส่วนๆใส่หลุม แล้วกลบทับ ระยะการขยายพันธุ์ระหว่างหลุมและระหว่างแถว ประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร เมื่อขยายพันธุ์แล้วหากเป็นช่วงฝนตกอย่างสม่ำเสมอในฤดูฝนก็ไม่ต้องให้น้ำ ส่วนการให้ปุ๋ยให้ใส่ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในระยะเริ่มปลูก และใช้ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยสูตร 12-12-24 ในระยะที่ต้นโตเต็มทีในเดือน กันยายน – ตุลาคม ในการเก็บผลผลิตนั้น ต้องเก็บในช่วงฤดูหนาวถึงฤดูแล้งโดยสังเกตได้จากหากว่านชักมดลูกมีใบเหี่ยวแห้งหมดแล้วก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ เพราะช่วงนี้ว่านชักมดลูกสะสมสารอาหารไว้ในหัวและเหง้าได้เต็มที่แล้วจึงเหมาะสมกับการเก็บเกี่ยว อีกทั้งหากเก็บเกี่ยวไปแล้วในเหง้าและหัวของว่านชักมดลูกจะมีสารออกฤทธิ์ที่มีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่อีกด้วย
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง :
ประโยชน์ของว่านชักมดลูก