Advertisement
มะขามป้อมกับข้อมูลการศึกษาทดลอง มะขามป้อมนับเป็นสมุนไพรอีกประเภทหนึ่งในหลายๆคุณสมบัติ เช่น มะรุม กระชายดำ กวาวเครือขาว ที่มีการศึกษาและวิจัยกันอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศไทย และในต่างประเทศ นั่นอาจจะเป็นเพราะสารออกฤทธิ์และประโยชน์ของมะขามป้อมที่มีอย่างมากล้น จึงทำให้นักค้นหาและนักวิทยาศาสตร์เหล่านี้สนใจที่จะค้นคว้าวิจัยและวิจัยเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆของมะขามป้อม โดยเฉพาะเรื่องที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับบรรดาผู้ที่กำลังใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากมะขามป้อมหรือผู้ที่สนใจเกี่ยวกับมะขามป้อม เช่นองค์ประกอบทางเคมีของมะขามป้อม หรือแม้แต่ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และการวิจัยเกี่ยวกับพิษวิทยาของมะขามป้อม แต่ในเรื่องราวที่เกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีนั้นผู้เขียนได้นำเสนอไปแล้วในบทความก่อนหน้านี้ จึงเหลืองานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาในมะขามป้อมที่จะนำเสนอในบทความนี้ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ฤทธิ์แก้ไอในมะขามป้อม มีการทดสอบโดยให้แมวที่ถูกทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่หลอดลมและปอด กินสารสกัดเอทานอลจากผลมะขามป้อมในขนาด 200 มก./น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม สามารถช่วยลดความถี่ในการไอและลดความแรกในการไอ และเมื่อเปรียบเทียบกับยาแก้ไอ dropoizine ขนาด 100 มิลลิกรัมแล้วมีผลดีกว่า ฤทธิ์ในการลดการอักเสบ พบว่าสารสกัดใบมะขามป้อมด้วยเมทานอลมีฤทธิ์ลดอาการอักเสบของอุ้งเท่าหนูทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยคาราจีแนนโดยการไม่ยับยั้งเซลล์เม็ดเลือดขาว และอีกการทดสอบหนึ่งคือ ให้หนูทดลองกินสารสกัดราก
มะขามป้อมด้วยเมทานอลที่ทำให้แห้งขนาด 5 มก.แล้วละลายด้วน้ำเกลือก่อนจะถูกทำให้อุ้งเท้าบวมด้วยพิษงู พบว่าสารสกัดไปทำให้พิษงูหมดฤทธิ์มีผลทำให้อุ้งเท้าหนูทดลองมีการอักเสบลดลง ฤทธิ์ในการขับเสมหะ มีการทดลองในกระต่ายคือ ป้อนสารสกัดผลมะขามป้อมด้วยอีเทอร์เอทานอล ขนาด 4 กรัม /ตัว พบว่ามีฤทธิ์ขับเสมหะได้ เช่นเดียวกับการฉีดสารสสกัดผลมะขามป้อมด้วยเอทานอลขนาด 1 กรัม/ตัว ทางหลอดเลือดดำ ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ พบว่าสารพวกแทนมินใ
มะขามป้อม[/url] เช่น เอมบลิกานิน 10 , เอมบลิกานินบี , พูนิกลูโคนิน ฯลฯ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้เช่นเดียวกับวิตามินซีในผลของมะขามป้อม ส่วนในด้านการวิจัยความเป็นพิษนั้นมีดังนี้ ในการทดสอบพิษเฉียบพลัน โดยการให้สารสกัดผลมะขามป้อมด้วยเอทานอลและน้ำ (1:1) โดยการป้อน ในขนาด 100 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก. พบว่าไม่ทำให้เกิดพิษ แต่เมื่อฉีดเข้าใต้ผิวหนังพบว่า ค่าที่ทำให้สัตว์ทดลองตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่ง (LD₅₀) เท่ากับ 4.8 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก. และมีการวิจัยพิษถึงเฉียบพลัน โดยให้หนูลองแต่พบการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักอวัยวะภายในเช่น ปอด ตับ หัวใจ แต่ไม่เกิดอาการเป็นพิษในสัตว์ทดลอง จากการที่ได้ค้นหารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาทดลองของนักวิจัยในมะขามป้อมแล้ว และได้นำเสนอมาทั้งหมดนั้น ผู้กินหรือผู้ใช้มะขามป้อมก็อาจมั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่ามะขามป้อมนั้นยังเป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูงติดอันดับต้นๆของสมุนไพรไทยเลยก็ว่าได้