Advertisement
สาเหตุ ข้อแนะนำ วิธีการแก้ปัญหา อาการปวดคออาการ "ปวดคอ" เกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงวัยชรา การที่คอของคนเราเคลื่อนไหวได้ เกิดจากการทางานร่วมกันระหว่าง กระดูกคอ กล้ามเนื้อคอ และเส้นประสาท สาเหตุของการปวดคอ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
1.การเสื่อมของกระดูกต้นคอ ทำให้หินปูนมาเกาะรอบขอบกระดูก (กระดูกงอก) ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเส้นประสาทของคอ
2.แนวของกระดูกคอผิดปกติ จากอิริยาบถของคอที่ไม่ถูกต้อง
3.อาการอักเสบของกล้ามเนื้อ จะพบมีจุดกดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อคอด้านข้างของแนวกระดูกสันหลังส่วนคอ และกล้ามเนื้อท้ายทอย ทาให้มีอาการปวดบริเวณต้นคอและปวดร้าวขึ้นไปที่ศีรษะ
4.อุบัติเหตุต่างๆ เช่น รถชนทาให้คอเคล็ด กระดูกหักหรือเคลื่อนจนเป็นอัมพาตได้
5.ความเครียด และสาเหตุอื่นๆ เช่น การติดเชื้อของกระดูก หรือกระดูกคอผิกปกติมาแต่กำเนิด
อาการที่แสดงออก คือ มีอาการปวดคอ ปวดร้าวลงมาตามบ่า หัวไหล่ แขน หรือสะบัก ชาตามแขนหรือนิ้มมือร่วมด้วย มีการเคลื่อนไหวของคอไม่ถนัด มีอาการตึงหรือปวดๆ ขัดๆ มีอาการแข็ง เกร็งของกล้ามเนื้อต้นคอ มีจุดกดเจ็บบริเวณท้ายทอย หรือต้นคอด้านใน และมีอาการปวดศรีษะตื้อๆ
การรักษา ได้แก่ รักษาทางยา รักษาทางกายภาพบำบัด (นิยมใช้ร่วมกับการรับประทานยา) หรือ การผ่าตัด (ใช้ในกรณีการรักษาทางกายภาพบำบัดไม่ได้ผล หรือมีการอ่อนแรงของแขน-ขา เกิดขึ้น
การบริหารคอ ถือเป็นเรื่องจาเป็นเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อต้นคอให้มีแรง พยุงข้อต่อของคอให้อยู่ในท่าที่สมดุล การบริหารคอแต่ละไม่จาเป็นต้องทำนาน เพียงแต่ให้ทำบ่อยๆ ทุกวัน วันละ 15 นาที
ท่าบริหารคอ ให้คลายอาการ "ปวดคอ" ลง ด้วยท่าง่ายๆ 3 ท่า ที่สามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง ดังนี้
ท่าที่ 1 นำมือประสานกันที่ท้ายทอย แล้วดันศรีษะไปด้านหลัง โดยออกแรงต้านกับมือทั้ง 2 ข้าง ไม่ให้คอมีการเคลื่อนไหว เกร็งไว้ประมาณ 10 วินาที หรือ นับ1-10 แล้วปล่อย ทำประมาณ 10 ครั้ง
ท่าที่ 2 นำมือประสานที่หน้าผาก พยายามก้มศรีษะมาข้างหน้า โดยออกแรงต้านกับมือทั้ง 2 ข้าง เกร็งค้างไว้นับ 1-10 แล้วปล่อย ทำประมาณ 10 ครั้ง
ท่าที่ 3 เอียงศรีษะไปด้านข้าง โดยใช้มือต้านไว้ไม่ให้ศรีษะเคลื่อนไหว และใบหน้าไม่หมุนตามไป ทาค้างไว้ นับ 1-10 แล้วปล่อย ทำ 10 ครั้ง แล้วสลับทำอีกข้างหนึ่ง
ข้อแนะนาสาหรับผู้มีอาการปวดคอ
1. ไม่นอนหมอนที่สูงเกินไป หรือนอนในลักษณะที่ผิดแนวของกระดูคอ เช่น นอนพาดต้นคอกับที่เท้าแขนของโซฟา ถ้ายังรู้สึกปวดคออีก อาจเปลี่ยนมาใช้หมอนในลักษระรูปทรงกระบอกมารองที่ต้นคอ
2. ไม่ควรสะบัดต้นคอแรงๆ เพราะอาจทาให้กล้ามเนื้อและเอ็นของต้นคออักเสบมากขึ้น
3. ประคบด้ว
กระเป๋าน้าร้อน[/url]ครั้งละครึ่งชั่วโมง เช้า-เย็น
4. เวลานั่งทำงานไม่ควรให้ศรีษะอยู่ในท่าเดียวนานๆ ควรพักหรือบริการต้นคอสลับไป-มาบ้าง เพื่อลดการตึงเครียดของกล้ามเนื้อต้นคอ และเก้าอี้ควรมีพนักพิงหลัง
5. ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับการทำงาน เช่น ความสูงของโต๊ะทำงาน เก้าอี้ ควรพอดีกับร่างกาย
6. เมื่อต้องยกของหนัก หรือเดินแบบของนานๆ ควรรักษาท่าทางให้ตัวตรง