Advertisement
[/b]
พญาย[/size][/b]
พญายอเป็นไม้พุ่งแกมเลื้อย เถาและใบมีสีเขียวใบไม้ไม่มีหนาม ใบยาวเรียวปลายแหลม ออกตรงข้ามเป็นคู่ ดอกออกเป็นช่อ อยู่ที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 3-6 ดอก กลีบดอกเป็นดอกปลายแยกสีแดงอมส้ม
[url=http://www.disthai.com/16913677/%E0%B8%9E%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD-%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2]พญายอขึ้นได้งามในดินที่สมบูรณ์ แสงแดดปานกลาง พบได้ทั่วไปตามป่าในประเทศไทย หรือปลูกกันตามบ้าน ปลูกโดยใช้ลำต้นปักชำ เป็นต้นไม้ที่ปลูกง่าย ตัดกิ่งออกมาซัก 2-3 คืบ ปักขำให้รากออกมาดีแล้วก็ย้ายไปปลูกในแปลง ดูแลรักษาเหมือน พืชไม้ทั่วไป
ใบ เป็นยา ให้เก็บขนาดกลางที่สมบูรณ์ ไม่แก่หรือไม่อ่อนจนเกินไป ใบของพญายอสามารถลดอาการักเสบของหูได้ดี โดยเฉพาะส่วนที่สกัดด้วยสารละลาย “บิวทานอล” วงศ์สถิต ฉั่วกุล และคณะได้ศึกษาพบว่าสารสำคัญตัวหนึ่งเป็น “เฟลโวนนอยต์” ส่วนด้านที่มีการต้านพิษงูยังไม่ชัดเจน แต่ปลอดภัยพอที่จะใช้
ใบพญายอรักษาอาการอักเสบเฉพาะที่ (ปวด, บวม, แดง ร้อนแต่ไม่มีไข้) จากแมลงที่มีพิษกัดต่อย เช่น ตะขาบ แมงป่อง ผึ้ง ต่อ แตน รักษาโดยการเอาใบสดจากพญายอนี้มาสัก 10-15 ใบ (มากน้อยตามบริเวณที่เป็น) ล้างให้สะอาด ใส่ลงในครกตำยา ตำให้ละเอียด เติมแอลกอฮอล์พอชุ่มยา ตั้งทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ หมั่นคนยาทุกวัน กรองน้ำยา ใช้น้ำ และกากทาบบริเวณที่เจ็บปวดบวม หรือที่ถูกแมลงสัตว์กัดต่อย
ข้อมูลจากงานวิจัยระบุว่า สารสกัดจากใบพญายอ สามารถฆ่าเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคอีสุกอีใส งูสวัด (varicella zoster virus) ทั้งภายในและภายนอกเซลล์ คือ ยับยั้งไวรัสโดยตรง และยับยั้งการเพิ่มจำนสวนของไวรัส
ผู้ป่วยโรคเริมบริเวณอวัยยะสืบพันธุ์ที่ติดเชื้อครั้งแรกและติดเชื้อซ้ำ เมื่อรักษาโดยทาแผลของผู้ป่วยด้วยครีมพญายอ (5%) เปรียบเทียบกับยามาตรฐาน acyclovir พบว่า แผลของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาจากสารสกัดใบ
พญายอและ acyclovir จะตกสะเก็ดภายในวันที่ 3 และหายภายในวันที่ 7 แสดงว่าครีมพญายอและครีม acyclovir มีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยโรคเริมบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ให้หายได้เร็วพอกัน แต่ครีมพญายอ ไม่ทำให้เกิดอาการแสบระคายเคือง ในขณะที่ครีมทำให้แสบและราคาแพง
ผู้ป่วยโรคงูสวัด เมื่อรักษาโดยทาแผลด้วยครีมพญายอ (5%) วันละ 5 ครั้งทุกวัน ปรากฎว่าแผลจะตกสะเก็ดภายใน 1-3 วัน และหายภายใน 7-10 วัน พบว่าผู้ป่วยจะหายเร็วกว่าการใช้ยาชนิดอื่น และไม่พบอาการข้างเคียงใดๆ จากการใช้สารสกัดใ
พญายอ[/url]
เห็นได้ชัดว่า สมุนไพรไทย พญายอ มีสรรพคุณมากมาย อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้สมุนไพร คุณผู้อื่นต้องศึกษาให้ละเอียด
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์รากของพญาปล้องทอง ประกอบด้วยสาร Lupeol, B-Sitosterol, Stigmasterol และมีการทดลองพบว่าสารสกัดด้วยสารละลายบิวทานอล (butanol) จากใบของพญาปล้องทอง มีสารประกอบฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) สามารถระงับอาการอักเสบได้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงได้มีการผลิต ครีมพญายอ ขึ้นเพื่อนำมารักษาผู้ป่วยโรคงูสวัดได้ ทำให้แผลตกสะเก็ดหายเร็ว ลดอาการปวดได้ดี และไม่พบผลข้างเคียงใดๆ จากการใช้ครีมพญายอ จึงไม่ทำให้เกิดอาการแสบระคายเคือง มีการนำมาออกจำหน่ายในระดับอุตสาหกรรม
[/b]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 1-3 เมตร มีลำต้นและกิ่งก้านสีเขียวเข้ม ใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน รูปรีแคบขอบขนานกว้าง 1-3 ซม. ยาว 4-12 ซม. ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีแดงส้ม มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียยาวโผล่พ้นหลอดออกมา ปลายแยกเป็น 2 ปาก ผลเป็นผลแห้ง ไม่ค่อยออกดอก ส่วนมากขึ้นตามป่า หรือปลูกกันตามบ้าน ดังนั้นการขยายพันธุ์จึงทำได้โดยการปักชำหรือ การแยกเหง้าแขนงไปปลูก
วิธีการปลูกการปลูก
พญายอ ส่วนใหญ่ใช้กิ่งปักชำโดยเลือกกิ่งที่สมบูรณ์ปราศจากโรค ไม่แก่ หรือไม่อ่อนเกินไป ตัดกิ่งพันธุ์ให้มีความยาว 6-8 นิ้ว และมีตาบนกิ่งประมาณ 1-3 ตา ให้มีใบเหลืออยู่ที่ปลายยอด ประมาณ 1/3 ของกิ่ง ทาปูนแดงบริเวณรอยตัดของต้นตอ และกิ่งพันธุ์เพื่อป้องกันเชื้อรา ปักชำลงในถุงที่มีวัสดุปักชำเป็นดินร่วนปนทราย จะช่วยให้อัตราการออกรากของกิ่งชำสูง คุณภาพของรากดี และสะดวกในการขุดย้ายต้นไปปลูก โดยปักชำกิ่งลงในวัสดุปลูกลึกประมาณ 3 นิ้ว เอียง 45 องศา รดน้ำให้ชุ่มและรักษาความชื้นให้เพียงพอ โดยกิ่งชำไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง และควรดูแลความชื้นในอากาศ กิ่งปักชำจะออกรากภายใน 3-4 สัปดาห์ เมื่อกิ่งชำที่มีอายุ 3-4 สัปดาห์ ที่ชำไว้ในแปลงชำหรือในถุงชำ โดยใช้ช้อนขุดหรือเสียมแซะกิ่งชำลงปลูกในหลุมปลูกที่เตรียมไว้ 1 ต้นต่อหลุม กลบดิน และกดดินที่โคนให้แน่น รดน้ำหลังจากปลูกทันที
การเก็บ เก็บใบขนาดกลาง ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป การเก็บเกี่ยวให้ใช้วิธีการตัดต้นเหนือระดับผิวดินประมาณ 10 ซม. หลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว ต้นตอเดิมยังงอกแตกแขนงเติบโตได้อีก และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตต่อไปได้
การดูแลรักษา ควรให้น้ำในระยะ 1-2 เดือนแรก ควรรดน้ำทุกวัน ถ้าแดดจัดควรรดน้ำเช้า-เย็น เมื่ออายุ 2 เดือนขึ้นไปแล้วอาจให้น้ำวันเว้นวัน ในฤดูฝนถ้ามีฝนตกอาจจะไม่ต้องให้น้ำ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมสมบูรณ์ ชอบดินร่วนปนทรายระบายน้ำดี ไม่ชอบดินลูกรังหรือดินเหนียว ชอบอากาศร้อนชื้น ขึ้นได้ดีทั้งที่มีแดดและที่ร่ม
ลักษณะใบพญาปล้องทอง
ส่วนที่นำมาใช้ ใช้ได้ทั้งใบ และราก
ใบ
- นำมารักษาอาการอักเสบ ถอนพิษ รักษาแผลร้อนในในปาก เริม งูสวัด ให้ใช้ใบสด 10-20 ใบ นำมาตำผสมกับเหล้าหรือ น้ำมะนาว คั้นเอาน้ำดื่มหรือเอาน้ำทาแผลและเอากากพอกแผล
- นำมาทาบริเวณที่แมลงสัตว์กัดต่อยเป็นผื่นคัน ให้ใช้ใบสด 5-10 ใบ ตำขยี้ทาบริเวณที่เป็นแผลที่แพ้ จะยุบหายได้ผลดี
- นำมาแก้แผลน้ำร้อนลวก ให้ใช้ใบตำเคี่ยวกับน้ำมะพร้าวหรือน้ำมันงา เอากากพอกแผลที่ถูกน้ำร้อนลวกหรือไฟไหม้ แผลจะแห้ง หรือ นำใบมาตำให้ละเอียดผสมกับสุรา มีสรรพคุณดับพิษร้อนได้ดี
ราก
พญาย[/b]
ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ ขับระดู แก้ปวดเมื่อยบั้นเอว
[url=http://www.disthai.com/]http://www.disthai.com/[/b]