คู่มือฉบับสมบูรณ์: การติดเชื้อ HIV หรือโรคเอดส์

Advertisement


หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คู่มือฉบับสมบูรณ์: การติดเชื้อ HIV หรือโรคเอดส์  (อ่าน 58 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
guupost
Drift King
*****

การ์ม่า: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1050


ดูรายละเอียด อีเมล์










« เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2019, 07:35:57 pm »



ล้อแม็ก แม็ก แม็กซ์แต่งรถ

↑ ลงทะเบียนรับข่าวสาร

ล้อแม็ก

Advertisement



หลายสิบปีมาแล้วที่ "การติดเชื้อไวรัHIV[/url] หรือ เอชไอวี" และ "โรคเอดส์" จัดเป็นโรคติดเชื้อที่น่ากลัวอันดับต้นๆ ของโลก แม้ปัจจุบันก็ยังคงเป็นเช่นนั้นอยู่  ทั้งนี้เพราะยังไม่มีวิธีรักษาการติดเชื้อ HIV และโรคเอดส์ให้หายขาดได้  มีเพียงทำได้แค่ประคับประคองอาการและป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนอันจะนำมาซึ่งการเสียชีวิตได้เท่านั้น   สำหรับสถานการณ์โรคเอดส์ในประเทศไทย  ปัจจุบันนับว่าดีขึ้นมากโดยพบจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์น้อยลงซึ่งเป็นผลจากประสิทธิภาพของยาต้านไวรัสที่คิดค้นขึ้นมาใหม่  อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อเอดส์ทั่วโลกยังคงน่าเป็นห่วง องค์การอนามัยโลกเผยข้อมูลว่า ค.ศ,2015 มีประชากรทั่วโลกติดเชื้อ HIV หรือเอดส์ จำนวนมากถึง 36.7 ล้านคนทั่วโลก

เมื่อการติดเชื้อ HIV เป็นโรคที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ฉะนั้นสิ่งสำคัญที่สุดที่ทุกคนสามารถทำได้คือ "การป้องกันอย่างถูกวิธีเพื่อไม่ให้ติดเชื้อไวรัส HIV " โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง อาทิเช่น วัยรุ่นบาง กลุ่มที่มีค่านิยมทางเพศบางอย่าง เช่นว่า การเปลี่ยนคู่นอนไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้ป้องกันอย่างถูกวิธี   นอกจากคนกลุ่มนี้จะมีแนวโน้มติดเชื้อ HIV  เอดส์ แล้วยังรวมถึงมีโอกาสติดโรคทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ อีกด้วย อย่างเช่น หนองใน ซิฟิลิส สูงขึ้นเรื่อยๆ  บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักการติดเชื้อ HIV ว่า คืออะไร แตกต่างกับโรคเอดส์เช่นไร  โรคเอดส์คืออะไร  มีการดำเนินโรคอย่างไร และป้องกันได้อย่างไร  อย่างครบถ้วนและสมบูรณ์

เอชไอวี (HIV) และเอดส์ (AIDS) คืออะไรและแตกต่างกันอย่างไร
ก่อนสิ่งอื่นใดต้องทราบว่า HIV และโรคเอดส์ไม่ใช่โรคเดียวกัน รวมทั้งผู้ติดเชื้อ HIV ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคเอดส์เสมอไป  คราวนี้มาดูความหมายของทั้งสองคำนี้กันแบบละเอียด

HIV คือ เชื้อไวรัส ซึ่งย่อมาจาก  Human Immunodeficiency Virus   เชื้อไวรัสตัวนี้สามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้  โดยจะกระจายผ่านเม็ดเลือดขาวไปตามอวัยวะต่างๆ เกือบทั่วร่างกาย   เชื้อไวรัสตัวนี้จะไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4  หรือ T cells  ซึ่งทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคและป้องกันร่างกายของมนุษย์จากการติดเชื้อต่างๆ  เมื่อเชื้อไวรัส HIV ทำลายเม็ดเลือดขาว CD4 และระบบภูมิคุ้มกันแล้วจะทำให้ร่างกายอ่อนแอลงจนทำให้ติดเชื้อและเจ็บป่วยได้ง่าย

 ผู้ติดเชื้อ HIV ในระยะแรกๆ โดยมากจะยังไม่แสดงอาการทำให้ผู้ติดเชื้อไม่รู้ตัวว่า กำลังติดเชื้ออยู่ โดยทั่วไปผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV จะมีระยะฟักตัว (ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มรับเชื้อเข้ามาในร่างกายจนกระทั่งเริ่มปรากฏอาการ) ประมาณ 3-5 ปี หรือนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย อายุของแต่ละคน บางคนอาจติดเชื้อ HIV นานหลายปีโดยไม่มีอาการแสดงก็ได้  แต่ก็มีผู้ป่วยส่วนน้อยที่เชื้อ HIV อาจมีระยะฟักแค่เป็นหลักเดือนเช่นกัน ทั้งนี้หากมีการติดเชื้อ HIV แล้ว เชื้อนี้จะอยู่ในร่างกายตลอดไป

“เอดส์” มาจากคำว่า AIDS ซึ่งเป็นย่อมาจาก Acquired Immune Deficiency Syndrome  โรคเอดส์ คือ กลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HIV  จะเกิดขึ้นเมื่อเชื้อไวรัสนี้ทำลายภูมิคุ้มกันในร่างกายจนทำให้ปริมาณเม็ดเลือดขาว CD4 ลดต่ำลงมาก ร่างกายจึงอ่อนแอและมีโอกาสติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่ายกว่าคนปกติ   หากติดเชื้อ HIV และไม่ได้รับการรักษา โดยทั่วไปมักจะใช้เวลาประมาณ 10 ปีในการพัฒนาเป็นโรคเอดส์  หรือกล่าวได้ว่า คือ "โรคเอดส์เป็นระยะร้ายแรงของการติดเชื้อ HIV ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด"

โรคเอดส์นับได้ว่าเป็นโรคที่เพิ่งพบใหม่ มีรายงานครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาในราวเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2524 โดยศูนย์ควบคุมโรคติดต่อแห่งสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control) พบว่า มีกลุ่มชายรักชายร่วมเพศ จำนวน 5 คน ป่วยเป็นปอดบวมจากเชื้อนิวโมซิสติสคารินิโอ (Pneumocystis Carinii)  จากนั้นอีก 1 เดือนต่อมา มีรายงานว่า มีหนุ่มรักร่วมเพศอีก 26 รายป่วยเป็นมะเร็งหลอดเลือด (Kaposi’s sarcoma) ทั้งที่ตามปกติแล้วโรคนี้มักเกิดขึ้นในกลุ่มคนสูงอายุ  นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยอีกหลายรายที่เป็นโรคปอดบวมและติดเชื้อประเภทฉวยโอกาส (Opportunistic infection) ผู้ป่วยทุกรายต่างไม่เคยมีโรคประจำตัวที่ร้ายแรงมาก่อนและไม่เคยได้รับยาประเภทกดระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมาก่อน

เมื่อได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่า เซลล์ที่เกี่ยวข้องกับภูมิต้านทานโรคไม่ได้ทำหน้าที่ตามปกติ  แม้ว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้จะได้รับการรักษาอย่างดีที่สุดแต่ก็ไม่มีใครรอดชีวิตแม้แต่รายเดียว ทั้งนี้เป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันโรคเสื่อม หรือบกพร่อง จึงมีผู้เสนอให้เรียกโรคนี้ว่า Acquired Immune Deficiency Syndrome หรือ AIDS

จากการศึกษาย้อนหลังพบว่า โรคชนิดนี้นั้นเกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 แต่เพิ่งจะมาตื่นตัวกันในปี พ.ศ. 2524 เมื่อมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ   ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 เป็นต้นมา ก็มีความเชื่อกันว่า โรคนี้จะต้องเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศที่ผิดปกติจำพวกรักร่วมเพศ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการเสพยาเสพติดอย่างแน่นอน   ต่อมามีการพบอีกว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการถ่ายเลือดก็เป็นโรคเอดส์ จึงทำให้เห็นแนวทางการศึกษาที่ชัดเจนยิ่งขึ้นและเริ่มมีการเผยแพร่ถึงวิธีการป้องกันการแพร่เชื้อและการติดต่อโรคอย่างละเอียด

การติดต่อของเชื้อ HIV และโรคเอดส์
เชื้อ HIV และโรคเอดส์ไม่สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสทางผิวหนัง อย่างเช่น การกอด  การอาศัยอยู่ร่วมกัน การใช้ห้องน้ำร่วมกัน การรับประทานอาหารด้วยกัน การใช้เสื้อผ้าร่วมกัน การว่ายน้ำในสระเดียวกัน  นอกจากนี้เชื้อ HIV และโรคเอดส์ยังไม่สามารถติดต่อผ่านลมหายใจ หรือผ่านอากาศ อย่างเช่น ไข้หวัด และไม่ได้ติดต่อผ่านพาหะนำโรค เช่น ยุง

 เชื้อ HIV นั้นสามารถติดต่อได้จากการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งต่างๆ ของผู้ป่วย เช่น น้ำอสุจิ น้ำหล่อลื่นในช่องคลอด น้ำลาย เสมหะ  หรือแม้แต่น้ำนมแม่ ฉะนั้นเมื่อมีบาดแผลจึงต้องระมัดระวังการสัมผัสกับสารคัดหลั่งเหล่านี้เป็นพิเศษ

โดยปกติ เชื้อ HIV เมื่อออกมานอกร่างกายของผู้ป่วยจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่นานเนื่องจากไม่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมเช่น ความแห้ง แสงแดด ความร้อน ภาวะกรด-ด่าง   อีกทั้งเชื้อ HIV นี้ยังไม่สามารถอาศัยอยู่ในร่างกายของสัตว์อื่น ๆ ได้ ยิ่งถ้าถูกสารเคมี หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น Sodium hypochlorite   70% alcohol   Formaldehyde   Glutaraldehyde    Betadine Solution  เชื้อ HIV ก็จะยิ่งมีอายุสั้นลงไปอีก หรือแม้แต่ผงซักฟอกที่ใช้ตามบ้านเรือนก็สามารถทำให้เชื้อ HIV  อายุสั้นลงได้เช่นเดียวกัน

เป็นส่วนใหญ่แล้วสาเหตุหลักของการติดต่อเชื้อ HIV เกิดได้ 3 ทาง
1. การร่วมเพศกับผู้ที่มีเชื้อ HIV โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัย
ไม่ว่าจะเป็นชายกับหญิงที่มีเพศสัมพันธ์ด้วยช่องทางธรรมชาติ หรือไม่ธรรมชาติก็ตาม รวมทั้งการร่วมเพศระหว่างชายกับชาย หญิงกับหญิง สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการติดต่อโรคเอดส์ได้ ทั้งนี้จากข้อมูลของทางกองระบาดวิทยา ระบุว่า 83% ของผู้ติดเชื้อเอดส์นั้นได้รับเชื้อมาจากการมีเพศสัมพันธ์ทั้งสิ้น  ส่วนการจูบนั้นถึงจะติดต่อได้ยาก แต่ถ้าคุณ หรือคู่นอนเป็นแผลที่ริมฝีปาก หรือในปาก ความเสี่ยงการติดเชื้ออาจจะเพิ่มขึ้น

2. การรับเชื้อทางเลือด
การติดเชื้อ HIV พบได้ใน 2 กรณี คือ
ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือแม้แต่การใช้กระบอกฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ HIV   ซึ่งพบบ่อยในกลุ่มของผู้ที่เสพสารเสพติดด้วยการฉีดยาเข้าเส้น  รวมทั้งการใช้เข็มในการเจาะหูและส่วนต่างๆ ของร่างกาย  การสักลงบนผิวหนัง
รับเลือดมาจากการผ่าตัด หรือเพื่อรักษาโรคเลือดบางชนิด  แม้ว่าเราจะไม่มีทางรู้เลยว่า เลือดที่รับบริจาคมาจากแหล่งไหน แต่ปัจจุบันได้มีการตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยโดยจะนำเลือดที่รับบริจาคมาไปตรวจหาเชื้อ HIV ก่อนเสมอ  ดังนั้นเลือดที่ผ่านการบริจาคจึงมีความปลอดภัย 100%

นอกจากนี้เชื้อ HIV ยังสามารถติดต่อผ่านทางน้ำเหลืองได้ด้วย  แต่โอกาสที่จะติดเชื้อได้นั้นต้องเป็นแผลเปิด และมีเลือด หรือน้ำเหลืองที่มีเชื้อเข้าไปเป็นจำนวนมากเท่านั้น

3. การติดต่อผ่านแม่สู่ลูก
เกิดจากคุณแม่ที่มีเชื้อ HIV อยู่แล้ว และเกิดการตั้งครรภ์ทำให้มีการถ่ายทอดเชื้อไปสู่ลูก  ปัจจุบันได้ค้นพบวิธีการป้องกันการแพร่เชื้อ HIV จากแม่ไปสู่ลูกได้สำเร็จแล้ว ด้วยการรับประทานยาต้านไวรัสในช่วงตั้งครรภ์เพราะว่าจะช่วยป้องกันความเสี่ยงจากการติดเชื้อเอดส์ของทารกลดลงได้เหลือเพียงร้อยละ 8 เท่านั้น แต่ก็ถือว่า ยังมีความเสี่ยงอยู่ไม่ได้ปลอดภัย 100% นัก   ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ การตรวจเลือดก่อนแต่งงาน

ติดตามเนื้อหาต่อได้ที่ https://www.honestdocs.co/signs-of-hiv-or-aids



GPSราคาถูก | เครื่องฟอกอากาศในรถยนต์ | Ran Online | Ragnarok | โปรโมชั่น | เกมส์ออนไลน์

Promotion
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ