ทฤษฎีเกษตรยั่งยืนและพัฒนาการของประเทศกำลังพัฒนาสู่ประเทศพัฒนาแล้ว

Advertisement


หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทฤษฎีเกษตรยั่งยืนและพัฒนาการของประเทศกำลังพัฒนาสู่ประเทศพัฒนาแล้ว  (อ่าน 13 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Posthizzt555
Drift King
*****

การ์ม่า: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 12778


ดูรายละเอียด อีเมล์










« เมื่อ: มกราคม 10, 2019, 10:22:48 pm »



ล้อแม็ก แม็ก แม็กซ์แต่งรถ

↑ ลงทะเบียนรับข่าวสาร

ล้อแม็ก

Advertisement

นักเศรษฐศาสตร์คนสำคัญของโลกผู้หนึ่งคือ “คาร์ล มาร์ก” ได้กล่าวถึงจุดอ่อนของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมไว้มากมาย ไม่ใช่ว่านักเศรษฐศาสตร์ฝ่ายทุนนิยมจะไม่เข้าใจในสิ่งที่เขานำเสนอ แต่พวกเขาล้วนต้องการปิดบังอำพรางไว้ เสนอแต่ส่วนดีที่ให้ผลได้จริงในระยะอันสั้นไม่นานนัก เพราะนักเศรษฐศาสตร์เหล่านี้ ต้องการเห็นผลเป็นรูปธรรมจากการเสนอทฤษฎีของพวกเขานั่นเอง ดังนั้น นักเศรษฐศาสตร์ผู้มีปัญญามากเหล่านั้น ล้วนเข้าใจดีถึงจุดเสียของระบบทุนนิยมและรู้ดีว่ามันจะต้องมีวาระถึงความ เสื่อมตามหลักอนิจจังของสรรพสิ่งเข้าสักวัน เรื่องการเข้าสู่ความเสื่อมนี้ นักเศรษฐศาสตร์ลัทธิมาร์กซิส ได้ทำการศึกษาและวิจัยในเชิงวิชาการอย่างเป็นที่ยอมรับได้ ทั้งนี้ นักศึกษาทางด้านปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์ก็คงเข้าใจดีเช่นกัน

นักเศรษฐศาสตร์ท่านหนึ่งได้ศึกษาและเผยความจริงทั้งหมด และถูกนักปฏิวัติผู้อยู่ในภาคปฏิบัติฆ่าตายในภายหลัง ดังนั้น ผลงานการศึกษาของเขา จึงถูกทำลายและปิดบังไว้นานแสนนาน เขาได้กล่าวถึง เศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ คือ ระบบเศรษฐกิจที่เอื้อต่อสังคมทุกชนชั้นอย่างแท้จริง ไม่ใช่ระบบเศรษฐกิจที่เอื้อต่อระบบกษัตริย์แบบระบบศักดินา หรือระบบเศรษฐกิจที่เอื้อต่อชนชั้นนายทุนอย่างระบบทุนนิยม และไม่ใช่ระบบเศรษฐกิจที่เอื้อต่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่เข้ามาก่อการ ปฏิวัติรัฐประหาร อย่างเช่น คอมมิวนิสต์ก็หาไม่ เขาได้กล่าวถึงระบบเศรษฐกิจนี้ว่าจะเกิดขึ้นในโลกนี้ โดยจะต้องเกิดการก่อการปฏิวัติมากมายทั่วโลกเสียก่อน เพราะความไม่มีเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเป็นผู้โค่นล้มตัวเอง กล่าวคือ เศรษฐกิจแบบทุนนิยมไม่ได้ยั่งยืนแท้จริง ต้องมีวันพบจุดจบตามหลักอนิจจังเข้าสักวัน และช่วงการเปลี่ยนแปลงนั้นเอง จะเกิดการปฏิวัติทั่วโลกมากมาย และเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ระบบเศรษฐกิจเพื่อสังคมจึงจะเกิดขึ้นได้จริง ทั้งนี้ ระบบเศรษฐกิจเพื่อสังคม ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในประเทศใดประเทศหนึ่งโดยไม่มีประเทศอื่นๆ เชื่อมโยงเป็นระบบเดียวกัน เพราะการเกิดระบบเศรษฐกิจเพื่อสังคมโดยโดดเดี่ยวนั้น จะนำความล้าหลังมาให้ประเทศนั้นๆ ท่ามกลางระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่ประเทศอื่นๆ ขับเคลื่อนแข่งกันอย่างรุนแรง ดังนั้น แนวคิดของเขา จึงคัดค้านการเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่การเป็นคอมมิวนิสต์อย่างชัดเจน และถูกฆ่าตายในที่สุดเพราะเหตุนี้ เขายังได้ให้ความเห็นอีกว่า จำต้องให้เกิดระบบทุนนิยมขึ้นก่อน ระบบเศรษฐกิจเพื่อสังคมจึงจะเกิดขึ้นได้ในภายหลัง และจะต้องมีการปฏิวัติพร้อมๆ กันทั่วโลกอีกด้วย ในกลุ่มประเทศที่มีการปฏิวัติเหล่านั้นเอง กลุ่มอำนาจใหม่ที่มาจากภาคชาวนาและแรงงานจะรวมตัวกัน สร้างระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ของเขาขึ้นมา จำนวนมากมายแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศที่เกิดการปฏิวัติ และก่อให้เกิดการคัดเลือกโดยธรรมชาติ กล่าวคือ ประเทศที่สามารถสร้างระบบเศรษฐกิจเพื่อสังคมใหม่ที่สมบูรณ์ที่สุดได้ ก็จะเป็นผู้นำใหม่ของโลก


เขายังได้พยากรณ์อีกว่า ประเทศที่จะเข้มแข็งได้นั้น จะต้องเติบโตจากรากฐานของระบบเศรษฐกิจแบบ “ทุนนิยม” มาก่อน ไม่ใช่ “สังคมนิยม” ดังนั้น เขาจึงต่อต้านการปฏิวัติรัสเซียและถูกฆ่าตายนั่นเอง ในบทความฉบับนี้ ผู้เขียนได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมยิ่งขึ้นไปอีก พบว่า โลกจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงและเกิดการปฏิวัติพร้อมๆ กันทั่วโลกจริงแน่นอน เพราะพิษเศรษฐกิจจากระบบทุนนิยมเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาดเอาไว้ พร้อมปัจจัยเร่งจากภาวะโลกร้อนและภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทั้งนี้ ประเทศมหาอำนาจใหม่ น่าจะเป็นประเทศ “ไทย” เพราะเหตุผลดังต่อไปนี้๑) มีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเป็นพื้นฐาน เว็บเกษต
หลังปฏิวัติจึงจะพัฒนาประเทศได้เร็วตามหลักการของนักเศรษฐศาสตร์ลัทธิมาร์กซิส จึงไม่ใช่ จีนและรัสเซีย๒) มีศาสนาที่เจริญรุ่งเรือง จึงจะช่วยให้ผู้คนฟื้นฟูประเทศหลังภัยพิบัติได้เร็ว กว่าประเทศที่มีแต่ผู้คนเห็นแก่ตัว เห็นคนตายข้างถนนยังดูดายแบบอเมริกา๓) มีผู้นำที่รวมจิตวิญญาณของคนหลังภาวะวิกฤติได้ ผู้คนจึงจะรวมใจกันสร้างระบบใหม่ได้รวดเร็ว คือ ควรเป็นประเทศที่ยังมีระบบกษัตริย์ที่เข้มแข็ง๔) มีเกษตรกรรมเป็นฐานสำคัญ เพราะหลังภัยพิบัติสิ่งที่ต้องการคือปัจจัยสี่ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนา ที่มีจุดมุ่งหมายที่จะเข้าสู่ความเป็น “ประเทศที่พัฒนาแล้ว” ดังเช่น ประเทศในยุโรปหลายประเทศ ที่มีรากฐานมาจากการเกษตรกรรมและมีระบบการปกครองแบบกษัตริย์มาก่อนเหมือนกัน ที่ได้เข้าสู่ความเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว นั้น วิถีการดำเนินไปของประเทศไทยจะเป็นเช่นไร และวิถีการดำเนินไปของประเทศอื่นๆ ที่พัฒนาแล้วจะเป็นเช่นไร สามารถอธิบายได้ด้วยแบบจำลอง ดังนี้พัฒนาการของประเทศที่พัฒนาแล้วในแถบยุโรปประเทศ ในแถบยุโรปที่พัฒนาแล้ว มีรากฐานมาจากเกษตรกรรมและระบบการปกครองแบบกษัตริย์ก็จริง แต่ภายหลังได้เปลี่ยนกลไกลการขับเคลื่อนสังคมไปสู่ระบบทุนนิยมและการปกครอง โดยชนชั้นกลางผ่านการเลือกตั้ง ที่มีการต่อสู้ด้วยโฆษณาประชาสัมพันธ์และมีกลุ่มนายทุนหนุนหลัง ด้วยเหตุนี้ ความเจริญจึงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับอำนาจทางการปกครองของประเทศเหล่านี้ มีมากขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง องค์กรระดับโลกต่างๆ และการทำสัญญาทางการค้าต่างๆ ในภาวะนั้น อยู่บนฐานที่ได้เปรียบประเทศในกลุ่มที่ยังไม่ใช่ประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งสิ้น ดังนั้น การค้าขายจึงอยู่บนฐานของความได้เปรียบอยู่ก่อน ไม่ได้อยู่บนฐานแห่งความเป็นจริง ความยุติธรรม


หรือธรรมชาติอย่างที่ควรจะเป็น แต่อย่างใด ภาวะแบบนี้ จึงมีฐานเป็น “ประเทศที่ยังไม่ใช่ประเทศที่พัฒนาแล้ว” เมื่อ ประเทศที่เป็นฐานเกิดความขาดเสถียรภาพ คลอนแคลนขึ้นมา ผลกระทบก็เกิดขึ้นทันที ดังที่เราได้เห็นว่า ประเทศในกลุ่มที่พัฒนาแล้วนี้นั้น ต่างได้รับผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจที่ถดถอยทั่วโลกทั้งสิ้น ไม่อาจหนีได้ เพราะประเทศเหล่านี้ ไม่ได้เอาฐานของความเจริญทางเศรษฐกิจไว้กับตนเอง ไม่ได้ยั่งยืนด้วยขาของตนเอง แต่เจริญขึ้นได้ด้วยการเหยียบลงที่ความอ่อนแอของประเทศอื่นๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งวัฒนธรรมบริโภคนิยม เป็นตัวเร่งให้เกิดความรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงได้มาก กล่าวคือ ยิ่งประชาชนในประเทศเคยร่ำรวย เคยได้เปรียบ เคยฟุ้งเฟ้อมากเท่าใด เมื่อโลกเข้าสู่ภาวะวิกฤติเกิดขึ้น ประชาชนเหล่านั้น จะมีความรุนแรงในการเรียกร้องต่อผู้ปกครองของเขามากขึ้น และส่งผลให้เกิดการปฏิวัติได้อย่างรวดเร็วฉับพลันแบบไม่เหลือกลไกลใดมาหยุด ยั้งหรือชะลอได้ ในกรณีของประเทศไทยนั้น มีรากฐานของพุทธศาสนาที่สอนให้มักน้อย สันโดษ และมีกษัตริย์ที่รับพุทธศาสนามีความสงบสันโดษ การเปลี่ยนแปลงที่ดูจะเกิดขึ้นก่อนใครในโลก จึงไม่รุนแรงและสามารถหยุดยั้งได้ แต่การเปลี่ยนแปลงของประเทศที่พัฒนาแล้วนี้นั้น จะเกิดทีหลัง เมื่อคราวที่โลกอับจนแล้วจริงๆ พวกเขาจะได้รับผลกระทบ หลังจากที่ผู้อื่นรับหน้าก่อนจนหมดแล้ว พวกเขาก็หนีความจริงไม่พ้น สุดท้าย การเปลี่ยนแปลงภายในประเทศที่เจริญแล้วเหล่านี้ จะรุนแรงและรวดเร็วเกิดคาดกว่าประเทศไทยเสียอีก และก่อให้เกิดความล่มสลายตามมาในที่สุดพัฒนาการของประเทศไทยผ่านความล่มสลายก่อนฟื้นฟูใหม่อย่าง ที่นักเศรษฐศาสตร์ลัทธิมาร์กซิส [url=http://www.kasedtakon.com]เกษตรกร
 ได้พยากรณ์แต่ต้นแล้วว่า ทั่วโลกจะต้องเกิดการปฏิวัติพร้อมๆ กันก่อนเพราะระบบเศรษฐกิจที่ไร้เสถียรภาพถูกพ่วงกัน ก็ต้องล่มด้วยกันแบบโดมิโน ประเทศไทยเองก็เช่นกัน จะต้องผ่านจุดล่มสลายไปก่อน แล้วฟื้นฟูประเทศขึ้นมาใหม่


ภายใต้ปัจจัยด้านบวก จึงจะกลายเป็นประเทศมหาอำนาจใหม่ได้ คือ๑) ผู้นำที่มีพลังรวมจิตวิญญาณของคนในชาติ หลังภาวะสิ้นหวัง ให้กลับมามีใจเดียวกัน ฟื้นฟูประเทศเข้าสู่สังคมใหม่ที่ดีกว่าเก่า ด้วยพลังความหวังใหม่๒) ศาสนาที่สร้างความสงบเป็นหนึ่งเดียวของคนในชาติ ไม่แตกแยกเป็นประเทศเล็กประเทศน้อย ต้องมีศาสนาที่ช่วยเชื่อมใจคนในชาติให้สามัคคี๓) เกษตรกรที่มีความยั่งยืนพอเพียงเลี้ยงตัวรอดได้ หลังภัยพิบัติของโลก ประชาชนจำเป็นต้องใช้ปัจจัยสี่ที่จำเป็นในการดำรงชีพ การเกษตรจึงจำเป็น๔) พื้นฐานทางด้านทรัพยากรด้านต่างๆ รวมทั้งทรัพยากรด้านบุคคลและปัญญา จากรากฐานของระบบทุนนิยมจะช่วยให้ประเทศฟื้นตัวได้รวดเร็วพัฒนาการของผืนดินและการเกษตรรูปแบบต่างๆการเกษตรแบบยั่งยืนหรือผสมผสาน จะเกิดในทันทีไม่ได้ ต้องมีพัฒนาการก่อน ดังนี้ยุคที่หนึ่ง “บุกเบิกที่ดิน”ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ แต่เดิมอาจไม่เหมาะสำหรับทำการเกษตรนัก จำเป็นต้องบุกเบิกดิน, น้ำ, ลม, ไฟที่ไม่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชที่ทนแล้ง ทนฝน ทนกรด ทนด่าง ฯลฯ ชนิดต่างๆ ตามปัญหาของผืนดินของแต่ละท้องถิ่น ช่วงนี้ จะปลูกพืชประเภท ข้าวฟ่าง, มันสัปปะหลัง, อ้อย ฯลฯ ซึ่งดูแลไม่มาก ทน แต่ให้กำไรน้อย และเป็นพืชที่มีความจำเป็นพื้นฐานของทั้งครัวเรือนและอุตสาหกรรม เงื่อนไขของความสำเร็จในขั้นนี้ คือ๑) ครองที่ดินราคาถูกคุณภาพต่ำ จำนวนมาก๒) เลือกปลูกพืชที่ดูแลง่าย ใช้ต้นทุนต่ำ อดทนสูง๓) เลือกปลูกพืชชนิดเดียวที่ให้ผลผลิตคราวละมากๆระยะ นี้ อาจต้องปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำๆ หรือหมุนเวียนสองชนิดต่อปี เพื่อปลัดเปลี่ยนสารอาหารในดิน และพักสารอาหารในดินบางชนิดให้ฟื้นสภาพปรับตัวตามพืชได้ทัน อาจต้องใช้เวลาประมาณ ๕๐ ปี หรือหนึ่งชั่วอายุของเกษตรกร จึงจะเปลี่ยนผืนดินให้สามารถปลูกพืชที่ให้กำไรได้ดีกว่านี้ได้ ระยะนี้ การปลูกพืชที่มีความอดทนมาก จะช่วยลดปริมาณหญ้าลงไปเรื่อยๆ และเพิ่มปริมาณสารอาหารที่จำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆยุคที่สอง “พัฒนาที่ดิน”ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ ของผืนดินที่เคยรกร้างทำการเกษตรได้ยาก หลังจากได้รับการบุกเบิกแล้ว จะทำการเกษตรได้ดีขึ้น ง่ายขึ้น ดินที่เคยไม่สม่ำเสมอ ก็จะเริ่มเรียบได้ระดับเท่ากันมากขึ้น มีสารอาหารอุดมสมบูรณ์ขึ้น ลมและน้ำหมุนเวียนลงชั้นใต้ดินได้มากขึ้นจากผลของการไถพรวนซ้ำแล้วซ้ำเล่าจน เหมาะสมที่จะปลูกพืชที่ให้กำไรได้มากขึ้น มีประโยชน์มากขึ้น แต่ต้องการการดูแลที่มากขึ้น เช่น ถั่ว, ข้าวโพด, พืชไร่ต่างๆ ที่มีราคาสูงขึ้น ซึ่งต้องการการดูแลมากขึ้นอีกเล็กน้อย ช่วงนี้ เป็นช่วงปรับเปลี่ยนยุคของครัวเรือนทางการเกษตร คือ จากรุ่นปู่ย่ามาสู่รุ่นพ่อแม่ ทำให้ที่ดินที่เคยกว้างขวางจากการจับจองครั้งแรกต้องแบ่งบันกัน จำนวนประชากรที่มากขึ้น ทำให้ที่ดินทางการเกษตรลดจำนวนลง แต่ยังเหมาะสมกับสภาพความต้องการได้ หากปลูกพืชชนิดใหม่ที่ให้ราคาดีขึ้นดังกล่าว ทั้งยังช่วยพัฒนาดินให้ดีขึ้น หมุนเวียนชนิดของพืชที่ปลูกได้หลากหลายมากขึ้น แต่การปลูกยังคงเป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ชนิดเดียวพร้อมๆ กันเหมือนเดิม หมุนเวียนชนิดกันไปทั้งปี ผืนดินและสังคมเกษตรจะเจริญไปพร้อมกัน เงื่อนไขของความสำเร็จในขั้นนี้ คือ๑) ครองที่ดินราคาถูก คุณภาพปานกลาง จำนวนปานกลาง๒) เลือกปลูกพืชที่ดูแลปานกลาง ใช้ต้นทุนปานกลาง ราคาปานกลาง๓) เลือกปลูกพืชหมุนเวียนเชิงเดี่ยว ผลัดเปลี่ยนไปตามความต้องการของตลาดระยะ นี้ การปลูกพืชจะเริ่มหลากหลายขึ้นตามความต้องการของตลาดมากขึ้น สินค้าเกษตรจะไม่เป็นประเภทที่ต้องการระดับพื้นฐานแต่อย่างเดียวอีกต่อไป แต่จะสนองความต้องการที่สูงขึ้น มากขึ้น ทั้งคุณภาพและราคา การตลาดเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นกว่าเดิม จึงต้องปลูกพืชหมุนเวียนกันสลับกันไป ทำให้เกิดความหลากหลายมากขึ้น แต่ยังคงเป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว คือ ปลูกชนิดเดียวกันทั้งแปลงเหมือนเดิม ระยะนี้ อาจใช้ระยะเวลาพัฒนาที่ดินถึง ๕๐ ปี หรือหนึ่งชั่วอายุคน ดินก็จะอุดมสมบูรณ์อย่างยิ่ง อีกทั้งสังคมเกษตรแต่เดิมที่ทำไม่หวังผลกำไร ก็เริ่มหันมาคิดถึงกำไรและต้นทุนมากขึ้น สังคมเกษตรก็พัฒนาตนเองตามชนิดของพืชไปด้วย ลูกหลานบางส่วนจะเริ่มถูกดึงไปสู่ภาคอื่นๆ ของสังคม ด้วยการศึกษาเล่าเรียน เพราะการปลูกพืชแบบหวังผลกำไรนี่เองยุคที่สาม “การสร้างความสมดุล”ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ ของผืนดินที่ได้รับการพัฒนาแล้ว จะอุดมสมบูรณ์ขึ้นมาก พร้อมๆ กับการเจริญเติบโตของสังคมเกษตรนั้นๆ เริ่มมีการสร้างคูคลองเพื่อการเกษตร เพราะผลกำไรที่ได้จากการเกษตรที่มากขึ้น และแรงขับดันจากความต้องการใช้ทรัพยากร จนผืนดินได้รับการพัฒนาในทุกๆ ด้านอย่างเต็มที่ พร้อมเต็มที่สำหรับการเกษตร มีทั้งเส้นทางการลำเลียงพืชผลที่ดีขึ้น เส้นทางการลำเลียงน้ำสู่พื้นที่ทางการเกษตร และสังคมเกษตรกรรมที่เติบโตขึ้นตามมา แผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์นี้ สามารถปลูกพืชได้ทุกชนิด ดังนั้น เกษตรกร จะเลือกปลูกพืชที่ให้ผลผลิตมาก เป็นที่ต้องการของตลาด ทำกำไรสูงๆ และต้องการการดูแลมากขึ้น ใช้ปุ๋ยบำรุงเร่งผลผลิตมากขึ้น และใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากขึ้น พืชที่มักปลูกในระยะนี้ คือ ข้าว, ไม้ดอก, ผักชนิดต่างๆ ฯลฯ สินค้าทางการเกษตรเหล่านี้ มีอายุการเก็บเกี่ยวที่สั้นลง แต่ได้ผลผลิตต่อเนื่องตลอด รายได้จะเข้ามาเร็วขึ้น ต่อเนื่องมากขึ้น เกษตรกรมีเงินไหลเข้ามาก และไหลออกมากด้วยพร้อมๆ กัน ทั้งยังมีลูกหลานที่มีการศึกษาดีขึ้นด้วย เงื่อนไขของความสำเร็จในขั้นนี้ คือ๑) ที่ดินจำนวนน้อย คุณภาพสูง บริหารได้คุ้มค่า๒) เลือกปลูกพืชที่ให้กำไรมากขึ้น ได้ผลผลิตเร็ว และต่อเนื่อง๓) ควบคุมสมดุลการใช้จ่าย การบริหารการเกษตร ปุ๋ย, ยากำจัดศัตรูพืชช่วง นี้เป็นการผลัดเปลี่ยนผืนดิน [url=http://www.kasedtakon.com]ข่าวเกษต จากรุ่นพ่อแม่มาสู่รุ่นลูก ที่ดินจึงลดจำนวนลงมาก หากเกษตรกรขาดปัญญา จะมีเงินไหลเข้ามาก และออกมากเกินกว่าที่ได้รับ จะได้รับผลเป็นหนี้มากมาย เพราะความไม่สมดุลของเงินที่ไหลเข้าออก และที่ไหลเข้ามากเพราะที่ดินสมบูรณ์มาก ปลูกพืชที่ทำกำไรได้มากขึ้น ที่ไหลออกมาก เพราะขาดปัญญาความเข้าใจในการบริหารและจัดการที่ดี ปรับตัวสู่ความเปลี่ยนแปลงไม่ทัน ดังนั้น สังคมเกษตรกรจึงเปลี่ยนไป ลูกหลานที่ได้รับการศึกษา เปลี่ยนวิถีชีวิตเข้าสู่ภาคพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมไปบางส่วน บางส่วนยังคงได้รับผืนดินที่เหลือจำนวนน้อย จึงมีความสมดุลในการถือครองที่ดินด้วยเหตุนี้ กรณีที่เกษตรกรสามารถควบคุมการใช้จ่าย รายได้รายจ่ายมีความสมดุล จะไม่เกิดหนี้มาก แต่หากไม่รู้จักใช้ปัญญาบริหารการใช้จ่าย จะก่อให้เกิดหนี้มากมาย ส่วนลูกหลานที่มีความตั้งใจศึกษาจนสำเร็จ ก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของภาคพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาประเทศในด้านอื่นๆ แต่หากไม่สำเร็จการศึกษา ก็จะกลับมาสร้างปัญหาให้สังคมเกษตรกร เนื่องจากจำนวนที่ดินไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น เกิดความไม่สมดุลกัน ในระยะนี้ จึงเต็มไปด้วยการเสี่ยง เป็นช่วงผลัดเปลี่ยนวิถีชีวิตของเกษตรกรรุ่นต่อไป และส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างยิ่ง หากขาดความระมัดระวังในการดูแลแล้ว ประเทศจะตกต่ำได้ในที่สุดยุคที่สี่ “การสร้างความยั่งยืน”[url=http://www.kasedtakon.com]ข่าวเกษต ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ ของผืนดินที่ได้รับการพัฒนาแล้วในขั้นนี้ หากมุ่งเน้นการสร้างกำไร จะประสบภาวะความตึงเครียดทางการตลาด กล่าวคือ เกษตรกรเป็นผู้ไม่มีอำนาจในด้านการตลาด เมื่อเทียบกับพ่อค้าคนกลาง หากยังคงคิดหวังกำไรจำนวนมาก จากการปลูกพืชชนิดเดียวอย่างเดิม จะต้องประสบกับภาวการณ์ขาดทุน เนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้นเพราะการซื้อที่ต่อเนื่อง ทำให้ระดับราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่สินค้าทางการเกษตรเมื่อมีจำนวนมากขึ้นในภาวะความต้องการที่เท่าเดิม กลับดึงระดับราคาให้ลดลง ผลสุดท้าย ภาวการณ์ขาดทุนจะเกิดขึ้น ตามมาด้วยภาวการณ์ขาดรายได้ และภาวการณ์เป็นหนี้ซ้ำซ้อน ในที่สุด ทางออกของเกษตรกร คือ ต้องปรับมาสู่ภาวการณ์ ลดต้นทุน เหมือนนายทุนทั่วไป เมื่อเข้าสู่ภาวะจุดสูงสุดของการประหยัดต่อขนาดแล้ว จะมีแต่การลดลงของผลได้ตามมา ถึงจุดนี้ นายทุนทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรหรือภาคอื่นๆ ก็ตาม ต้องสร้าง “สมดุลธรรมชาติภายใน” ให้เกิดขึ้น เมื่อสมดุลธรรมชาติภายในเกิดขึ้นแล้ว ต้นทุนจะลดลง เพราะมีการควบคุมกันเองตามธรรมชาติ และการส่งเสริมกันเองตามธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรภายนอกก็จะลดลง เงื่อนไขของความสำเร็จในขั้นนี้ คือ๑) ใช้ทรัพยากรเดิมที่มีน้อยให้คุ้มค่า ใช้ทรัพยากรภายนอกให้น้อยที่สุด๒) เลือกปลูกพืชเชิงผสมผสาน และสร้างสมดุลของพืชที่ปลูกโดยรวม๓) ใช้ปัญญาในการบริหารโดยมุ่งเน้นความยั่งยืน และการยังชีพก่อนผลกำไร๔) เชื่อมโยงด้วยระบบกตัญญู และการผันตัวของเกษตรกรรุ่นหลานสู่ภาคอื่นๆช่วง นี้ ผืนดินจะตกทอดสู่รุ่นลูกบางคน ส่วนลูกบางคนจะต้องแยกไปอยู่ภาคอื่นๆ เพื่อพัฒนาประเทศ เช่น ภาคพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม มีบางส่วนออกไปเป็นแรงงานในโรงงาน อย่างนี้ ที่ดินที่มีอยู่น้อยนิดแต่อุดมสมบูรณ์ก็สามารถสมดุลได้ เพราะปริมาณเกษตรกรลดลง ทั้งนี้ รายได้ของครอบครัวเกษตรกรส่วนหนึ่ง จะมาจากภาคอื่นๆ ที่เกิดจากลูกที่มีความกตัญญูส่งมาหล่อเลี้ยงบำรุง การเกษตรที่รายได้ลดลงตามกลไกลตลาด จะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก หากปรับตัวไปสู่การเกษตรเพื่อยังชีพ การเกษตรยั่งยืน และการเกษตรธรรมชาติ ครอบครัวเกษตรกรจะพอเพียงเลี้ยงตัวรอด หากต้องการรายได้เพิ่มจะอาศัยลูกกตัญญูจากภาคอื่นๆ ส่งมาหล่อเลี้ยงบำรุง ดังนั้น ความเจริญจะกระจายออกจากส่วนกลาง ไปสู่ชนบทได้ด้วยการเคลื่อนย้ายรายได้ด้วย “วิถีกตัญญู” นี้ เมื่อลูกที่ผันตัวเองเข้าสู่ภาคอื่นๆ มีความล้าในการทำงานที่ต้องอยู่กับการแข่งขันแบบทุนนิยม ก็จะเริ่มเข้าสู่วัยสร้างครอบครัว ในช่วงนี้ บางส่วนจะกลับมาสร้างครอบครัวในชนบทที่ห่างออกไป คือ ชนบทที่มีที่ดินราคาถูกยังไม่ได้รับการพัฒนา เพื่อสร้างครอบครัวพร้อมรายได้ที่สะสมมา ในรูปชุมชนใหม่ ชุมชนท้องถิ่นที่ห่างไกลแต่เดิมก็จะเริ่มถูกบุกเบิกใหม่อีกครั้งด้วยลูก หลานกลุ่มนี้ แต่พวกเขาจะกลับมาพร้อมเทคโนโลยีที่ได้รับจากการเคยเป็นแรงงานภาคอุตสาหกรรม ยังสามารถสร้างพื้นที่แปลงเกษตรใหม่ๆ ที่รกร้างและถูกทิ้งขว้างไว้ได้ ด้วยเครื่องมือทางการเกษตร ในขณะที่กลุ่มเกษตรกรรุ่นลูกที่ครองที่ดินที่อุดมสมบูรณ์แต่เดิมนั้น ผันเข้าสู่วิถีแห่งความยั่งยืนและความพอเพียง พวกเขาจะมีรายได้น้อยลง และมุ่งหวังผลทางด้านการศึกษาของลูกหลานมากขึ้น ประเทศจะพัฒนาสู่ขั้นต่อไป แต่หากมีความผิดพลาดไปจากนี้ ประเทศก็จะเข้าสู่ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจได้ขั้นที่ห้า “เกษตรยุคเทคโนโลยี”ผืน แผ่นดินในประเทศจะถูกพัฒนาแยกเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก จะก่อให้เกิดเกษตรยั่งยืน และสังคมเกษตรพอเพียง ที่มีความสมดุลในตนเอง เลี้ยงตัวรอดได้ และส่วนที่สองคือ “เกษตรสมัยใหม่” ที่จะเข้าไปบุกเบิกพื้นที่ทางการเกษตรที่รกร้างและไม่เหมาะแก่การเกษตร ที่ยังเข้าไม่ถึง การบุกเบิกพื้นที่ทางการเกษตรใหม่ๆ ในครั้งนี้ จะใช้เทคโนโลยีทั้งสิ้น แตกต่างจากรอบแรกในรุ่นปู่ย่าที่ใช้แรงกาย แรงวัวแรงควายเป็นสำคัญในการพลิกฟื้นผืนนาให้อุดมสมบูรณ์ พวกเขาจะมีพื้นที่ทางการเกษตรลดลงกว่าแต่ยุคเก่าก่อน แต่เพราะปัญญาและเทคโนโลยี จะทำให้มีการวางแผนการเพาะปลูกที่ดี มีการบริหารการจัดการที่ดี มีการจัดการทางการตลาดที่ดี ทำให้เกิดความสมดุลของความต้องการและปริมาณผลผลิต ราคาสินค้าทางการเกษตรได้รับการวางแผนและพยากรณ์ล่วงหน้าจากส่วนกลาง ทำให้สามารถควบคุมและพยากรณ์ปริมาณสินค้าทางการเกษตรที่จะออกมาและควบคุมกล ไกลราคาได้ในระดับหนึ่ง ในขั้นนี้ ภาครัฐบาลจะเข้ามามีส่วนร่วม ในการสนับสนุนช่วยเหลืออย่างมาก เนื่องจากเกษตรกรรุ่นใหม่นั้น ยังขาดประสบการณ์ทางการเกษตร (เนื่องจากเพิ่งผันตัวออกมาจากภาคพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม) ส่วนกลุ่มเกษตรยั่งยืนก็จะเกิดสังคมเกษตรพอเพียงและการผันตัวเองของเกษตรกร รุ่นหลานเข้าสู่ภาคอื่นๆ มากขึ้น ดังนั้น ภาครัฐบาลจึงต้องเข้ามามีส่วนช่วยในการสนับสนุนการศึกษา และการกระจายความเจริญของเมือง รองรับแรงงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้ทัน สมดุลของการพัฒนาจึงจะเกิดขึ้นได้ แน่นอนว่าภาครัฐบาล ต้องกระจายความเจริญอย่างรวดเร็วภายใน ๒๐ ปี ก่อนที่เยาวชนรุ่นหลานจะสำเร็จการศึกษาออกมาแก่งแย่งงานกันในตัวเมืองมาก เกินไป จนนำไปสู่ภาวะเสื่อมอันเนื่องมาจากความมากเกินสมดุล มากเกินไป และนำเมืองที่เคยเจริญไปสู่ความเสื่อมโทรม และถึงกับล่มจมได้ในที่สุด ทั้งนี้ เงื่อนไขของความสำเร็จในขั้นนี้ คือ๑) ปัญญาธรรม จะทำให้รู้จักความพอเพียง และใช้ปัญญาพัฒนาประเทศ๒) การบริหารภาครัฐบาล ที่ช่วยเหลือด้านปัญญาและเทคโนโลยีแก่เกษตรกร๓) การขยายความเจริญ และการเกิดเมืองรองรับกลุ่มเยาวชนรุ่นหลานใหม่ๆสังคม เกษตรแต่เดิมจะต้องได้รับปัญญา ด้วยการพัฒนาสังคมพุทธธรรมขึ้นมาสร้างวัฒนธรรมแห่งความพอเพียงเอาไว้ หาไม่เช่นนั้นแล้ว กิเลสและความอยากได้อยากมีอยากเป็น จะนำเกษตรกรจำนวนมาก เข้าสู่วังวนหนี้สิน อันเกิดจากการยั่วยุของลัทธิและอิทธิพลแห่งทุนนิยมบริโภคนิยม ส่วนสังคมเกษตรสมัยใหม่ หรือเกษตรเทคโนโลยีที่เกิดจากเกษตรกรรุ่นลูกที่ผันตัวออกมาจากภาคอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรมนั้น จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากส่วนกลางก่อน ซึ่งเป็นการวางแผนด้วยปัญญา โดยภาพรวม เป็นปัญหาของระดับสูง ที่ต้องอาศัยการกระจายตัวของเมืองออกสู่ชนบทรองรับความเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย ดังนั้น เกษตรยั่งยืนและสังคมเกษตรเทคโนโลยีจะเคลื่อนที่ไปได้ จำต้องขับเคลื่อนด้วยการพัฒนาพุทธธรรม สังคมเกษตรจึงจะเข้าสู่ความยั่งยืนได้อย่างแท้จริง หากจิตใจของเกษตรกรไม่มีความพอเพียง ไม่มีความสมถะ มีแต่กิเลสตัณหาตามกระแสโลกาภิวัตน์แล้ว ประเทศย่อมพ่ายแพ้ แผนการเกษตรที่ยั่งยืนย่อมไม่เกิด หนี้ย่อมท่วมทับถมจากรากหญ้า จากเกษตรกรจนถึงระดับประเทศ อันนำไปสู่ความล่มสลายได้ในที่สุด เพราะเกษตรกรเป็นรากฐานที่สำคัญของประเทศ หากไม่อาจยืนหยัดได้ด้วยลำแข้งตนเองอีกต่อไปแล้ว ประเทศก็ไม่อาจยืนยงต่อไปได้ ลองคิดดูว่า ถ้าเกษตรกร เป็นหนี้มากๆ พวกเขาจะทำอย่างไร ลูกหลานคงแย่งกันเข้ามาทำงานในโรงงานมากมาย ทิ้งไร่นาไว้ให้พ่อแม่ที่แก่เฒ่า เมื่อรุ่นพ่อแม่ตายลงไป ใครจะเป็นชาวนา แล้วราคาสินค้าทางการเกษตรจะแพงมากขึ้นขนาดไหน (ยังไม่นำเรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติและโลกร้อนที่ทำลายพืชผลทางการเกษตรมา คิด) ประเทศย่อมล่มจมได้ไม่ยาก โลกนี้ก็จะเกิดการแย่งอาหารกันจนต้องฆ่ากันตายเป็นอันมากเป็นแน่แท้ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ความเป็นมหาอำนาจใหม่๑) ความกตัญญูของลูกหลานชาวเกษตรกร ที่เข้าไปทำงานในภาคอื่นๆ จะเป็นผู้กระจายรายได้และกระจายความเจริญไปสู่ชนบท แล้วกลับไปพัฒนาท้องถิ่นของตนเมื่อทำงานไม่ได้ หากลูกหลานเกษตรกรไม่มีความกตัญญูไม่รักถิ่นเกิด ความเจริญก็จะไม่กระจาย รายได้ก็ไม่กระจายไปสู่ชนบท และสุดท้ายชนบทจะถูกทอดทิ้ง ในเมืองจะเสื่อมโทรมเพราะความแออัดและการแก่งแย่งแข่งขัน๒) ความพอเพียงสมถะของชาวเกษตรกรแบบยั่งยืน สำหรับเกษตรกรเดิมที่ได้รับสืบทอดผืนที่ดิน หากพัฒนาตนเองไปสู่การเกษตรแบบยั่งยืน ลดต้นทุนลง อยู่แบบสมถะสันโดษ มีความพอเพียง เลี้ยงลำแข้งตัวเองได้ ก่อหนี้ให้น้อย อาศัยรายได้ส่วนเหลือ ส่งลูกหลานเรียนใกล้บ้าน ไม่เลือกงานสูงเกินไป เช่น วิทยาลัยการพาณิชย์, วิทยาลัยเทคโนโลยี ฯลฯ ก็จะพัฒนาท้องถิ่นของตนได้๓) การบริหารประเทศที่เข้าใจพื้นฐานของประเทศ หากไม่เข้าใจว่าประเทศไทยมีพื้นฐานมาจากการเกษตร ก็ทำให้ไม่อาจมีเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเองได้ มีแต่หนี้สินหมุนเวียน หากไม่เข้าใจว่าประเทศไทยมีพื้นฐานวัฒนธรรมจากพุทธศาสนา ก็ทำให้ไม่สามารถขับเคลื่อนให้ประชาชนดูแลท้องถิ่นตนเองได้ มีแต่การเรียกร้องด้วยการประท้วงและความรุนแรง หากไม่เข้าใจว่าประเทศไทยมีระบบกษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจ ก็จะทำให้ไม่สามารถรวมใจประชาชนให้สงบสุขได้๔) ความเข้าใจว่องไว ปรับตัวทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านธรรมชาติ, ภัยพิบัติ, เศรษฐกิจ, เสถียรภาพการปกครองทั้งโลก, ภาวะโลกขาดผู้นำ, ภาวะประชาชนไม่เข้าใจหน้าที่ของผู้ตาม ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ต้องวางแผ



GPSราคาถูก | เครื่องฟอกอากาศในรถยนต์ | Ran Online | Ragnarok | โปรโมชั่น | เกมส์ออนไลน์

Promotion
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ