Advertisement
วันนี้
ทนายเชียงใหม่[/b] จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับความผิดฐานโกงเจ้าหนี้กันว่า นำว่า เจ้าหนี้ ที่จะเอาผิดกับจำเลยได้นั้น มีขอบเขตแค่ไหน
คำว่า เจ้าหนี้นั้น ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นเจ้าหนี้ที่แน่นอน แต่อาจเป็นเจ้าหนี้ในหนี้ที่ไม่แน่นอนก็ได้ เช่น เป็นเจ้าหนี้ในมูลหนี้ละเมิด เป็นเจ้าหนี้ในมูลหนี้สัญญาซื้อขายที่ดิน เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาอื่นๆ แต่แม้ว่า คำว่า เจ้าหนี้นั้น จะต้องให้ได้ความว่า เป็นหนี้ที่ไม่มีข้อโต้แย้งได้ ยกตัวอย่างเช่น การเป็นหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน มีการวางมัดจำและค้างชำระค่าที่ดินอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งในกรณีเช่นนี้ ผู้จะซื้อที่ดินเพียงแต่วางมัดจำและชำระหนี้ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเท่านั้น ยังไม่ได้มีการชำระหนี้ให้ครบถ้วนและระยะสัญญาเจ้าหนี้อาจจะเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกเพราะเจ้าหนี้ชำระเงินไม่ครบถ้วน ทั้งนั้น จึงเป็นการที่หนี้ของเจ้าหนี้มีข้อโต้แย้งอยู่ แม้ต่อมาภายหลังจากที่ผู้จะขายได้ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่บุคคลอื่น ก็ไม่เป็นกรณีครบองค์ประกอบในฐานความผิดในข้อหาโกงเจ้าหนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๐ ได้ (
ทนายความเชียงใหม่)
ตามที่ผมได้ให้คำเสนอแนะข้อกฎหมายดังกล่าวได้มีคำพิพากษาของศาลฎีกากำหนดและยืนยันข้อกฎหมายดังกล่าวไว้ดังนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3120/2559
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินรวม 15 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต้องไปทำสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอีกครั้งหนึ่ง และเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ยังมิได้ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือ 8,500,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 สิทธิเรียกร้องที่จะให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินรวม 15 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาจะซื้อจะขายยังมิอาจบังคับกันได้ โจทก์ยังไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามความหมายในบทบัญญัติของ ป.อ. มาตรา 350 การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่โอนที่ดิน 3 แปลงใน 15 แปลงดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 จึงขาดองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
หากชอบบทความตามที่ทนายความเชียงใหม่ได้นำเสนอให้แก่ผู้อ่านได้รับทราบรับฟังดังกล่าวข้างต้นมาแล้วนั้น ก็สามารถที่จะติดต่อมายังสำนักงานกฎหมายตามเว็บไซต์หรืออาจจะค้นหาที่ google ข้างล่างนี้ได้เลยครับ
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง :
[url]http://www.นพนภัสทนายความเชียงใหม่.com/[/url]
Tags : ทนายความเชียงใหม่,ทนายเชียงใหม่