Advertisement
คือวัดที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ยกย่องว่าสวยงามที่สุดในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นวันที่มีการเปลี่ยนชื่อมาถึงสามครั้ง คือ วัดมหาสุทธาวาส
วัดสุทัศนเทพธาราม และวัดสุทัศนเทพวราราม ด้วยมีการจัดวางแผนผังวัดตามความเชื่อเรื่องไตรภูมิ ทุกชื่อจึงมีความหมายเดียวกันนั่นคือ สุทัสสนะนครบนเขาพระสุเมรุ(อันเป็นที่ประทับของพระอินทร์และเป็นศูนย์กลางสวรรค์ชั้นดาวดึงส์) นอกจากเคยมีชื่อมาสามชื่อแล้ว วัดสุทัศน์ก็ยังมีพระประธานถึงสามองค์ โดยมีชื่อคล้องจองกันว่า พระศรีศากยมุนี (พระประธานในวิหารหลวง) พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ (พระประธานในพระอุโบสถที่ยาวที่สุดในประเทศ) และ พระเสรฏฐมุนี (พระประธานในศาลาการเปรียญ) เมื่อกราบพระประธานครบทั้งสามองค์แล้ว ก็เดินต่อไปวัดสระเกศกันค่ะ
วัดสุทัศน์กับวัดสระเกศ ชื่อของสองวัดนี้มักจะได้ยินพร้อมๆ กันเสมอ โดยเฉพาะประโยคนี้ "แร้งวัดสระเกศ เปรตวัดสุทัศน์" ตำนานหนึ่งซึ่งเราๆ คงได้ฟังผ่านหูมาบ้าง เรื่องก็ม่อยู่ว่าในสมัยรัชการที่สองนั้น มีโรคห่าระบาด (ระบาดหนักชนิดคร่าชีวิตคนไปเป็นหมื่นในไม่กี่วัน) และในธรรมเนียมยุคนั้นการจะเฝาศพต้องทำกันนอกกำแพงเมืองการจะเอาศพออกจากเมืองก็เอาออกได้เพียงประตูเดียวคือประตูผี ทีนี้วัดสระเกศก็เป็นวัดแรกที่พอผ่านประตูผีมาแล้วเจอ ศพทั้งหลายจึงถูกนำมาทิ้งที่นี่เพราะสะดวกดี และด้วยความที่ศพมากจนไม่มีเวลาเผา ฝูงแร้งทั้งหลายจึงลงมารุมกินซากศพ จนกลายเป็นชื่อ แร้งวัดสระเกศ มานับแต่นั้น ส่วนเปรตวัดสุทัศน์ เล่ากันว่าช่วงเวลาที่อหิวาตกโรคระบาดจนเผาศพกันไม่ทันนั่นเอง ที่มักจะมีเปรตมาปรากฎตัวในเวลากลางคืนที่วัดสุทัศน์บ่อยๆ แต่แท้จริงแล้วเปรตวัดสุทัศน์มาจากภาพวาดบนฝาผนังพระอุโบสถที่เป็นรูปเปรตตนหนึ่งนอนพาดกายและพระสงฆ์กำลังยืนพิจารณาอยู่ และสิ่งที่ผู้คนเห็นเป็นเปรตนั้นแท้จริงแล้วเป็นเงาของเสาชิงช้า ที่อยู่หน้าวัดต่างหาก (ถ้าเป็นสมัยปัจจับันจะเรียกตอนจบของตำนานเปรตวัดสุทัศน์ว่าจบแบบปาหมอน ฮ่าๆๆ )
http://www.eldiariodecantabria.com