Advertisement
All New Honda City กลุ่มแรกในโลกคำนี้ดูยิ่งใหญ่อลังการมากสำหรับนักข่าว 20 ชีวิตในทริปนี้ แต่ในฐานะที่ถูกทำคลอดครั้งแรกในไทย ก็อาจจะดูไม่น่าแปลกใจนักต้องเกริ่นก่อนว่า การมาทดสอบ Honda City ในครั้งนี้ เป็นการถูกเชื้อเชิญมาทดสอบกันแบบพอหอมปากหอมคอ ก่อนจะ Full Test กันในช่วงกลางเดือนมกราคมอีกครั้ง ทำให้การทดสอบ ณ สนามทดสอบ ฮอนด้า อาร์แอนด์ดี เอเชีย แปซิฟิค ปราจีนบุรี เป็นการลองขับแบบ First Impression หรือ แรกสัมผัสขนาดแท้
0:11/0:20
Skip Ad
ฮอนด้า ซิตี้ เดิมทีเป็นรถขายดีเบอร์ต้นของตลาดในกลุ่มรถยนต์นั่งขนาด บีเซ็กเมนท์ แข่งขันเบียดกันแบบล้อต่อล้อมาโดยตลอดในด้านยอดขายกับคู่แข่งสำคัญในกลุ่มเดียวกันจากค่ายยักษ์ใหญ่อย่างโตโยต้า
การกลับมาพร้อมกับการถูกนำเข้าไปอยู่ในชนชั้นของ Eco Car Phase 2 และเรียกแทนตัวเองว่าเป็น รถซิตี้คาร์ จึงเป็นการปรับเปลี่ยนที่ดูมีความแปลกใหม่และน่าสนใจในหลายเรื่อง
All New Honda City มาพร้อมไฟหน้าแบบโปรเจคเตอร์พร้อมไฟส่องสว่าง สำหรับการขับขี่ในเวลากลางวันแบบ LED และไฟท้ายแบบ LED กระจังหน้าแบบโครเมียม เสาอากาศแบบครีบฉลาม และล้ออัลลอยดีไซน์ใหม่ขนาด 15 นิ้ว
ภายในห้องโดยสารแลดูหรูหราด้วยโทนสีดำ เบาะหนัง คอนโซลหน้าแบบ Piano Black มือจับเปิดประตูด้านในตกแต่งโครเมียม แต่จะมีภายในสีทูโทน ไอเวอรี่/ดำ เฉพาะรุ่น SV ให้เลือก
มาตรวัดเรืองแสงพร้อมหน้าจอแสดงข้อมูลการขับขี่ ระบบเครื่องเสียงหน้าจอสัมผัสขนาด 8 นิ้ว แบบ Advanced Touch รองรับการเชื่อมต่อ Apple CarPlay และระบบสั่งการด้วยเสียง SIRI พวงมาลัยแบบมัลติฟังก์ชัน ปุ่มควบคุมระบบเครื่องเสียงและปุ่มรับ-วางสายโทรศัพท์ ระบบปรับอากาศอัตโนมัติ ฯ
Honda City ในรุ่น RS จะดูโดดเด่นขึ้น ด้วยชุดแต่งรอบคัน กระจังหน้าแบบ Gloss Black และสัญลักษณ์ RS กันชนหน้าและกระจังหน้าสไตล์สปอร์ต กระจกมองข้างสีดำพร้อมไฟเลี้ยว สปอยเลอร์หลัง Gloss Black สัญลักษณ์ RS และล้ออัลลอยดีไซน์สปอร์ตขนาด 16 นิ้ว ห้องโดยสาร เบาะหนังกลับตกแต่งด้วยด้ายสีแดง หน้าจอแสดงข้อมูลการขับขี่ มาตรวัดเรืองแสงสีแดง
เครื่องยนต์เบนซิน 3 สูบ ขนาด 1.0 ลิตร DOHC VTEC TURBO 12 วาล์ว มาพร้อมเทอร์โบชาร์จ มอบพละกำลังสูงสุด 122 แรงม้า ที่ 5,500 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 173 นิวตัน-เมตร ที่ 2,000 – 4,500 รอบต่อนาที ฮอนด้าเคลมอัตราประหยัดน้ำมันที่ 23.8 กิโลเมตร/ลิตร
ระบบเกียร์อัตโนมัติแบบ CVT มีระบบควบคุมการเปลี่ยนเกียร์ที่พวงมาลัยแบบ 7 สปีด ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานไอเสียยูโร 5 ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ 99 กรัม/กิโลเมตร และสามารถรองรับน้ำมัน E20
โครงสร้างตัวถังนิรภัย G-Force Control หรือ G-CON ถุงลม 6 ตำแหน่ง ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก (ABS) พร้อมระบบกระจายแรงเบรก (EBD) ระบบช่วยควบคุมการทรงตัวขณะเข้าโค้ง (Vehicle Stability Assist – VSA) ระบบช่วยการออกตัวขณะอยู่บนทางลาดชัน (Hill Start Assist – HSA) และกล้องส่องภาพด้านหลังปรับมุมมองได้ 3 ระดับ (Multi-angle Rearview Camera)
ทรรศนคติต่อ ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชั่นที่ 5…
ต้องบอกว่า ฮอนด้า ดูจะถนัดมากในเรื่องการทำรถให้สวยถูกใจผู้ใช้ การเลือกใช้เส้นสายเพื่อให้เกิดอัตลักษณ์ที่โดดเด่นดูลงตัวในแทบทุกจุด
การจัดวางอุปกรณ์การอำนวยความสะดวกภายในอยู่ขั้นดี นอกจากสวยงามยังเน้นรองรับการใช้งานจริง ในทุกพื้นที่ซึ่งก็ถือเป็นอีกเรื่องเด่นของฮอนด้า
แต่การเลือกเน้นไปที่ความสวยงาม ทั้งภายนอกภายใน ไปจนถึงการเลือก Downsizing เครื่องยนต์จากเดิมเบนซิน 1.5 ลิตร 4 สูบ เป็น 1.0 ลิตร 3 สูบแทน ดูจะกระทบกระเทือนไปถึงการคุมต้นทุนการผลิตอยู่บ้าง แม้จะลดต้นทุนไปบ้างจากการเลือกใช้แชสซีย์เดิมแต่ปรับปรุงใหม่ แต่ก็ยังส่งผลไปถึงการขาดหายไปของออปชั่นบางอย่าง
ซึ่งดูคล้ายว่าเป็นปัญหาของฮอนด้า มานาน เมื่อเทียบกับคู่แข่งทั้งหมดในตลาด
แม้จะทำราคาการขายถูกลงกว่ารุ่นเดิม แต่ก็ยังเกิดการถูกแปะป้ายจากผู้บริโภคว่า ฮอนด้าเป็นสายกั๊กออปชั่น ยิ่งเมื่อนำไปเทียบกับคู่แข่งโดยตรงในเวลานี้อย่าง นิสสัน อัลเมร่า ใหม่
แต่การรู้ว่าจะขายอะไรให้กับลูกค้าตัวเองของฮอนด้า…ดูจะน่ากลัวกว่าอื่นใดทั้งปวง
ภายในคืออีกหนึ่งจุดเด่น การจัดวางช่องวางของ ขวดน้ำ แก้วน้ำ หรืออีกสารพัดมีพื้นที่อย่างเหลือเฟือ วัสดุภายในแบบบุนุ่มให้รู้สึกสัมผัสที่ดี
เบาะนั่งด้านหน้าออกแบบทรงมาคล้ายกับฮอนด้า ซีวิค นั่งโอบกระชับแผ่นหลังดี ส่วนเบาะแถวหลังช่วงวางขากว้างขวาง แต่ในส่วนของหลังคาดูจะลาดเอียงลงมากว่ารุ่นเดิมจนแบบรู้สึกพื้นที่บนหัวน้อยไปนิด
ด้านสมรรถนะ…
คุณจงลืมภาพรถแม่บ้าน ขับง่าย พวงมาลัยเบาโหวง ช่วงล่างอ่อนไหวง่าย ไปได้เลย
แม้จะเป็นการทดสอบอันแสนสั้นกับระยะทาง 2.18 กิโลเมตรในรอบใหญ่ และ 1.3 กิโลเมตรที่เลียนแบบสภาพถนนจริงในรอบเล็ก ก็พอจะเก็บอาการมาฝากและเล่าสู่กันฟังได้พอสังเขป
การกลับมาเกิดใหม่ของ ฮอนด้า ซิตี้ ยึดดีเอ็นเอความหล่อเหลาไว้เหมือนเดิม แต่เพิ่มเติมด้วยการอัพเกรดสมรรถนะใหม่ทั้งหมด
เครื่องยนต์ คือ สิ่งที่ฮอนด้าภาคภูมิใจจะนำเสนอ เบนซิน 3 สูบ ขนาด 1.0 ลิตร DOHC VTEC TURBO 12 วาล์ว เทอร์โบชาร์จ ตัวนี้ คือ เครื่องยนต์ที่บรรจุอยู่ในซีวิครุ่นที่ขายอยู๋ในประเทศจีน และอเมริกา การนำมายัดใส่รถที่มีขนาดเล็กลงและต้องปรับจูนให้ผ่านมาตรฐานอีโคคาร์เฟส 2 เป็นเรื่องที่น่าค้นหา
จุดเด่น คือ เครื่องยนต์ VTEC เต็มระบบอันเลื่องชื่อของฮอนด้า ระบบแคมชาฟท์ Dual VTC เพิ่มลดรองศาของแคมชาฟท์ในการเปิดปิดวาลว์ไอดี ไอเสีย ให้ตอบสนองต่อการทำงานได้ดีขึ้น
อินเตอร์คูลเลอร์แบบน้ำ ซึ่งพิเศษด้วยการติดตั้งไว้ 2 ตัว ตัวแรกไว้สำหรับการระบายความร้อนปกติ แต่อีกหนึ่งตัวไว้สำหรับการช่วยระบายความร้อนของเทอร์โบโดยตรง จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้เต็มที่
สนามทดสอบที่เป็นลักษณะของไฮสปีด จึงช่วยขับให้เราเห็นสมรรถนะของเครื่องยนต์ 1.0 ลิตร ตัวนี้ได้ชัดและง่ายขึ้น จังหวะการกดคันเร่งเพื่อไล่ความเร็ว พบว่าพละกำลังมาไวกว่าที่คาด ช่วงทางตรงเผลอนิดเดียววิ่งทะลุไปถึง 140-150 กิโลเมตรต่อช่วโมง แต่ตามมาด้วยรอบเครื่องยนต์ที่พุ่งสูงไปถึง 4000 รอบต่อนาที
จังหวะใช้ความเร็วปานกลาง แล้วยกคันเร่งก่อนจะกระแทกคันเร่งลงไปซ้ำอีกครั้ง ก็ยังตอบสนองได้ดี พบอาการเหวอค่อนข้างน้อย ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการเซ็ทเกียร์ CVT มาได้ลงตัวกว่าเดิม โดยในตัวชุดเกียร์ CVT ก็มีการปรับปรุงในส่วนขององศาของตัวสายพานกระดูกงูใหม่ให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม ฮอนด้า ยังเป็น ฮอนด้า ที่จงใจเซ็ทเครื่องยนต์ ไม่ให้ปรู๊ดปร๊าด หรือกระชากกระชั้น ยังคงเซ็ทให้รถเป็นเครื่องยนต์เทอร์โบแบบผู้ดี ใช้ชีวิตเรียบง่ายในยามปกติ แต่มีขุมสมบัติที่ซ่อนไว้ให้ใช้เหลือเฟือเมื่อต้องการ
ช่วงล่าง คือสิ่งที่อยากจะจับจ้องมากที่สุด เพราะส่วนตัวไม่เคยเชื่อในสมรรถนะช่วงล่างของฮอนด้า
การให้ความสำคัญ และไล่ปรับแก้ ตั้งแต่ตัวบอดี้ที่เสริมให้แข็งแรงขึ้น การปรับเซ็ทแชสซีส์ตัวเดิมให้ลงตัวกว่าเก่า ไปจนถึงการปรับจูนระบบช่วงล่างให้รองรับกับความล้นเหลือของเครื่องยนต์ทำให้ภาพลักษณ์ของ ฮอนด้า ซิตี้ เปลี่ยนไป
ยกระดับ… น่าจะเป็นคำที่เหมาะสมและถูกยกมามอบให้กับสมรรถนะช่วงล่างของ ฮอนด้า ซิตี้ ใหม่ คันนี้
ช่วงล่างดูเป็นรถญี่ปุ่นผู้ดี มีความนุ่มนวล แต่แน่นหนึบ รองรับการใช้งานได้อย่างทั่วถึง ในช่วงทางตรงใช้ความเร็วสูงมาก ตัวรถยั่งนิ่งทรงอาการได้ดี ช่วงเข้าโค้งด้วยความเร็วสูงมากเช่นกัน ถ้าเป็นในรุ่นเดิมน่าจะมีอาการท้ายออก โยกย้วย แต่ตัวนี้จับสัมผัสได้น้อยมาก
ช่วงถนนที่เลียนแบบเนินหลุมของถนนเมืองไทย ช่วยขับอาการความนุ่มนวลของช่วงล่างมาให้เราสัมผัสได้ดี การให้ตัวในจังหวะยุบโยก ไม่ส่งให้ช่วยวิงเวียนไปยังผู้โดยสาร
คือ ไม่ได้เซ็ทมาให้ แน่นแข็งเป็นรถวัยรุ่น แต่ เซ็ทมาให้รองรับกับการใช้งานได้อย่างหลากหลายครบครัน ทั้งครอบครัว ส่วนพวงมาลัย อวบอูมขึ้น จับกระชับมือ มอบสัมผัสที่ดี แต่เหนืออื่นใด พวงมาลัยไม่เบาโหวงเหวง น้ำหนักดีขึ้นกว่ารุ่นเดิมมาก
ซึ่งซิตี้ เจเนอเรชั่น 5 นับเป็นการปรับจูนช่วงล่างกับกำลังเครื่องยนต์มาได้เหมาะสมกันเป็นอย่างดี แอบหลับตานึกมีบางอารมณ์แอบคิดว่านั่งอยู่บนรุ่นพี่ อย่างฮอนด้า ซีวิค
แต่อย่างไรก็ตาม ต้องย้ำอีกครั้งว่าเป็นการทดสอบสั้น ๆ คงต้องรอการนำมาลองขับในเส้นทางที่ยาวกว่านี้ ดูถึงเรื่องของการแล็คของเกียร์ จะมีมากกว่านี้ไหม อัตราการประหยัดจะเป็นอย่างไร ไปจนถึงเรื่องของความเงียบภายในห้องโดยสาร แม้จะทำได้ดีขึ้น แต่ต้องจับอาการบนถนนจริงอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดมียอดจองเข้ามาแล้วมากกว่า 4,500 คัน หลังจากเปิดตัวไม่ถึง 1 เดือนเต็ฒ แบ็คออเดอร์ที่ลูกค้าต้องรอรถ คือ เดือนมีนาคม 2563
ส่วนรถคันจริง ที่จะให้ผู้บริโภคได้ทดลองขับจะเริ่มลงโชว์รูมฮอนด้าทั่วประเทศ ในวันที่ 24 ธันวาคม นี้
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง :
รีวิว mg hsTags : รีวิวฮอนด้า 2020