Advertisement
ใครหลายคนต่างก็มีความกลัวเก็บซ่อนเอาไว้ภายในใจ หรือมีความกลัวบางอย่างที่คนอื่นได้รู้แล้วก็อาจจะไม่เข้าใจ วันนี้เรามีอีกหนึ่งอาการที่นับได้ว่าเป็นโรคมาแชร์ให้ได้อ่านกัน นั่นคือ โรคกลัวที่แคบ ว่าโรคนี้มีสาเหตุมาจากอะไร แล้วต้องทำยังอาการเหล่านี้ถึงจะหายไปจนกลับมามสุขภาพ[/url]กาย สุขภาพใจที่ดีได้เหมือนเดิม โรคกลัวที่แคบ คืออะไร ? ต้องขออธิบายเอาไว้ก่อนว่า โรคกลัวที่แคนี้ไม่ได้ส่งผลอันตรายใดๆ ต่อร่างกายได้อย่างร้ายแรง มีชื่อโรคเป็นภาษาอังกฤษ คือ
Claustrophobia จัดอยู่ในกลุ่มอาการวิตกกังวลผิดปกติ โดยเป็นโรคที่เฉพาะเจาะจงรายบุคคล อาการจะเกิดขึ้นเมื่อต้องอยู่ในสถานกาณ์ที่ทำให้ตัวเองอยู่คนเดียวภายในบริเวณที่ปิดล้อม หรือเป็นพื้นที่แออัด อาทิ ห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ หรืออยู่ในลิฟต์ที่เต็มไปด้วยคนเยอะๆ ด้วยสภาพแวดล้อมแบบนี้จะทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจ หายใจไม่สะดวก หรือเริ่มมีอาการหงุดหงิดเกิดขึ้
สาเหตุของโรคกลัวที่แคบ นักจิตวิทยาท่านหนึ่งได้ให้แนวความคิดเกี่ยวกับโรคนี้เอาไว้ว่า อาจเกิดจากความผิดปกติของ อะมิกดะลา (amygdala) ที่เป็นส่วนหนึ่งของสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมความรู้กลัว หรือหวาดระแวง ทั้งยังอาจเกี่ยวข้องกับความทรงจำในอดีตที่ทำให้กระทบกระเทือนต่อจิตใจของเรา ในบางกรณี ความกลัวที่แคบอาจเริ่มต้นขึ้นจากเหตุการณ์ที่ผ่านมาในวัยเด็กจนฝังใจ นั่นเป็นเพราะเมื่อเรายังเด็ก สภาพจิตใจของเราค่อนข้างอ่อนไหวต่อสิ่งรอบข้างได้ง่าย อาทิ การถูกกลั่นแกล้ง , การถูกกักขัง หรืออุบัติเหตุที่ทำให้ต้องติดอยู่ในที่แคบนานๆ อย่าง ลิฟต์ค้าง โดยสิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้คุณกลัวบริเวณที่มีจำกัด ไม่ว่าจะเป็น อุโมงค์ ตู้เสื้อผ้า รถไฟใต้ดิน หรือห้องเล็กๆ เป็นต้น อาการแบบไหนถึงเข้าข่าย กลัวที่แคบ ? - ตัวสั่น
- มีเหงื่อออก
- หัวใจเต้นเร็ว แรงขึ้น
- ความดันโลหิตสูง
- ริมฝีปากซีดแห้ง
- วิงเวียนศีรษะ มึนหัว
- ท้องไส้ปั่นป่วน
- แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก
อาการเหล่านี้จะสามารถหายได้ภายใน 5 - 10 นาที แต่จะต้องสังเกตอาการของตัวเองอย่างถี่ถ้วนว่าอยู่ในระดับที่รุนแรงหรือไม่ เพื่อจะได้เข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที
โรคกลัวที่แคบ ต้องรักษายังไง ?
- เข้ารับการรักษาด้วยวิธีการบำบัดจิตใจที่ผิดปกติ (CBT) : นักจิตวิทยาจะสอนให้เรารู้จักควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก และวิธีคิดจากลบให้กลายเป็นบวก ซึ่งการบำบัดในรูปแบบนี้ยังเหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าอีกด้วย
- การบำบัดเชิงอารมณ์ด้วยเหตุและผล (REBT) : เป็นการบำบัดที่ทำไปควบคู่กับการบำบัดแบบ CBT ตามโปรแกรมการบำบัดของนักจิตวิทยา
- การผ่อนคลายผ่านการมองเห็น : ให้หารูปภาพ หรือออกไปอยู่ในพื้นที่ที่คุณรู้สึกผ่อนคลายเพื่อเป็นการฟื้นฟูสภาพจิตใจ อาทิ การมองรูปภาพ หรือมองออกไปข้างนอกที่มีทิวทัศน์กว้างขวาง
- การกินยาตามตามที่แพทย์แนะนำ : ยาแก้โรคซึมเศร้า
ที่มา : [url=http://temurdemir.com/2020/01/29/claustrophobia/]โรคกลัวที่แค[/color]
อ่านเพิ่มเติม : [url=http://temurdemir.com/category/%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%82%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e/]สุขภา[/color]
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : [url=https://www.sanook.com/health/]วิธีดูแลสุขภาพ
Tags : ลดความอ้วน