มองอาเซียนผ่านวรรณกรรม

Advertisement


หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มองอาเซียนผ่านวรรณกรรม  (อ่าน 19 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
xcepter2016
Drift King
*****

การ์ม่า: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 20112


ดูรายละเอียด อีเมล์










« เมื่อ: มกราคม 29, 2017, 12:51:48 am »



ล้อแม็ก แม็ก แม็กซ์แต่งรถ

↑ ลงทะเบียนรับข่าวสาร

ล้อแม็ก

Advertisement

แม้ทุกวันนี้สื่ออย่าง ‘วรรณกรรม’ จะเป็นสื่ออันดับท้ายๆ ที่คนไทยจะให้ความสำคัญ เพราะสื่ออื่นๆ อย่างอินเทอร์เน็ตและโทรทัศน์ดูเป็นสื่อที่เข้าถึงได้ง่ายกว่า แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อวรรณกรรมคือสื่อที่มีอิทธิพลและสามารถสื่อสารใจความสำคัญไปสู่วงกว้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            และในโอกาสที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในอีก 2 ปีข้างหน้านี้ หลายภาคส่วนกำลังประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้จักประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นผ่านหลายๆ สื่อ ซึ่งสื่อ ‘วรรณกรรม’ ก็เป็นสื่อหนึ่งที่ได้รับการหยิบยกขึ้นมาใช้ในโอกาสนี้ด้วย จึงเกิดเป็น โครงการวรรณกรรมอาเซียน ที่มีจุดประสงค์เพื่อใช้สื่อวรรณกรรมในการสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจในประเทศเพื่อนบ้าน

            อุทยานการเรียนรู้ TK park จัด นิทรรศการพิพิธอาเซียน A journey through ASEAN ภาค 3 ตอน หลากความเหมือน หลายความต่าง ASEAN…Unity in Diversity ที่เปิดประตูสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้และเข้าใจมุมมองความแตกต่างที่เป็นหนึ่งเดียวของประเทศสมาชิก ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งส่วนหนึ่งของนิทรรศการในครั้งนี้ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคมที่ผ่านมา ก็เป็นการเสวนาดีๆ ที่ชื่อว่า “Inspired by idol วรรณกรรมสร้างความเป็นหนึ่ง” โดยวิทยากร คุณหญิงลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ นายกสมาคมอาเซียน-ประเทศไทย และ คุณประภัสสร เสวิกุล นักเขียนชื่อดังและศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ดำเนินการเสวนาโดย คุณวิภว์ บูรพาเดชะ บรรณาธิการนิตยสาร happening

ต้องยอมรับว่าคนไทยรู้จักประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนน้อยมาก สมาคมอาเซียน-ประเทศไทยจึงจัด โครงการวรรณกรรมอาเซียน ขึ้นมา โดยมีคุณหญิงลักษณาจันทรเป็นผู้คิดริเริ่มโครงการนี้ และได้นักเขียนคุณภาพอย่างคุณประภัสสร เสวิกุล เป็นนักเขียนท่านแรกที่เขียนวรรณกรรมที่เกี่ยวกับอาเซียนขึ้นมา “โชคดีที่วงการนักเขียนมีคุณประภัสสร ท่านเป็นศิลปินแห่งชาติและนักเขียนวรรณกรรมที่คนไทยชื่นชอบหลายเรื่อง จึงให้คุณประภัสสรเข้ามาช่วย โดยการให้ท่านเดินทางไปหาข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียนมานำเสนอในรูปแบบนวนิยาย ทำให้คนอ่านได้รู้จักวิถีชีวิต ความนึกคิด ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น” คุณหญิงลักษณาจันทรกล่าวถึงจุดเริ่มต้นของโครงการนี้

              ทางคุณประภัสสรเอง เมื่อสมัยที่ยังเป็นนายกสมาคมนักเขียน ก็เคยได้ร่วมโครงการวรรณกรรมสัมพันธ์ ซึ่งมีการรวมวรรณกรรมของไทยและกัมพูชารวมไว้ในเล่มเดียวกัน และต่อมาก็ขยายไปยังเวียดนามและลาว คุณประภัสสรจึงมีความคุ้นเคยกับนักประพันธ์ของอาเซียนดีพอสมควร “เป็นโอกาสอันดีที่ได้เขียนวรรณกรรมที่เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านของเรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราเข้าใจประเทศเพื่อนบ้านและความเป็นมาต่างๆ ได้ดีขึ้น ผมได้เดินทางไปยังประเทศเหล่านี้เพื่อไปสัมผัสชีวิตจริงๆ ทางการทูตต่างประเทศก็ช่วยเหลือติดต่อประสานงานให้ ผมมีโอกาสพบปะพูดคุยกับคนทั้งประชาชนทั่วไป นักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ ผู้นำทางศาสนา ผู้นำทางสังคมต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการเขียนหนังสือมาก” คุณประภัสสรเล่าถึงการทำงานในโครงการนี้

            หนังสือเล่มแรกในโครงการนี้ เป็นวรรณกรรมที่เกี่ยวกับประเทศอินโดนีเซียที่ชื่อว่า จะฝันถึงเธอทุกคืนที่มีแสงดาว เล่าถึงมิตรภาพและความสัมพันธ์ในวัยเยาว์ของเพื่อนชาวไทยและอินโดนีเซีย ที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา โดยมีพื้นหลังเป็นประวัติศาสตร์ช่วงสั้นๆ ของอินโดนีเซียที่ต่อสู้เพื่อเอกราช ก่อนจะก้าวสู่การก่อตั้งประเทศ จนถึงการปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาล และอีกเล่มมีชื่อว่า รักในม่านฝน เป็นวรรณกรรมเกี่ยวกับประเทศเวียดนาม บอกเล่าเรื่องราวของคู่รักชาวเวียดนาม ซึ่งชะตาชีวิตได้พลิกผันในวันที่ฝนตก โดยมีพื้นหลังเป็นประเทศเวียดนามในช่วงสงครามกอบกู้เอกราช และการเผชิญความทุกข์ยากของชาวเวียดนาม จนถึงความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน และนอกจากนั้นยังมีวรรณกรรมอีกหลายเรื่องที่กำลังตีพิมพ์อยู่ในนิตยสาร ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเทศฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และมาเลเซีย โดยในแต่ละเรื่องคุณประภัสสรจะประพันธ์ให้ไม่มีความเชื่อมโยงกัน มีวิธีการนำเสนอที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของประเทศนั้นๆ เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ

            การสร้างประชาคมอาเซียนนั้น ไม่ได้มีแต่ในแง่เศรษฐกิจอย่างเดียว ยังมีด้านอื่นๆ อีกด้วย การสร้างความเข้าใจผ่านงานวรรณกรรมทั้งในแง่วิถีชีวิตและวัฒนธรรม จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง “เราอาจจะลืมไปว่าที่จริงเราอยู่กันใกล้มาก แต่เราไม่รู้จักกันเลย ในความนึกคิดอย่างของคนอินโดนีเซียหรือฟิลิปปินส์ก็ดี เขาภูมิใจที่ได้ต่อสู้เพื่อเอกราช ประเทศไทยอาจจะโชคดีที่ไม่ต้องผ่านสิ่งเหล่านี้ ซึ่งทำให้เราไม่เข้าใจความรู้สึกนึกคิดของประเทศอื่นๆ พูดง่ายๆ คือถ้าเราไม่ได้ร่วมชะตากรรมเดียวกัน เราจะไม่เข้าใจกัน” คุณหญิงลักษณาจันทรให้ความเห็น ซึ่งวรรณกรรมสามารถทำลายกำแพงเหล่านี้ลงได้ และอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราไม่รู้จักประเทศเพื่อนบ้านเลย นั่นคือเรื่องของภาษา “ภาษาเป็นอุปสรรคที่ชัดเจน เราไม่รู้ภาษาเพื่อนบ้านและเราไม่รู้ภาษาอังกฤษเพียงพอที่จะเขียนนวนิยายเป็นภาษาอังกฤษ น่าเสียดายมากๆ ที่ภูมิภาคเรามีรางวัลซีไรต์ แต่คนไทยกลับไม่รู้จักเท่าที่ควร กลับไปรู้จักนักเขียนต่างชาติมากกว่า”   

             คำถามหนึ่งที่หลายคนสงสัยว่า การศึกษาประเทศเพื่อนบ้านผ่านวรรณกรรม จะดีกว่าการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างไร ซึ่งประวัติศาสตร์ก็น่าจะให้ข้อเท็จจริงได้มากกว่า คุณหญิงลักษณาจันทรจึงให้คำตอบว่า “อยากจะเรียนว่า เราไม่ได้มีจุดประสงค์ในการเขียนประวัติศาสตร์ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงเป็นนวนิยาย เรารู้อยู่แล้วว่าประวัติศาสตร์มีปัญหาค่อนข้างเยอะ ก็รอให้ผู้ที่เชี่ยวชาญมาจัดการในเรื่องนั้นด้วยตนเอง แต่อย่างน้อยเราสามารถสร้างความรู้สึกร่วมในคนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านได้ ผ่านข้อมูลเชิงบวกของแต่ละประเทศ ซึ่งคุณประภัสสรเข้าไปสัมผัสมาและนำเสนอ ตัวอย่างเรื่อง รักในม่านฝน ที่เป็นเรื่องราวของเวียดนาม อ่านแล้วก็เกิดความรู้สึกที่ดีต่อคนเวียดนาม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด นวนิยายสามารถเปลี่ยนแนวคิดของผู้อ่านได้ สอนให้เราคิดกับประเทศเพื่อนบ้านในเชิงบวก รากเหง้าของวรรณกรรมเป็นสื่อที่ชัดเจนและง่าย ที่จะช่วยสร้างมูลค่าและเป็นสะพานสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน” คุณประภัสสรจึงช่วยเสริมว่า “ผมอยากเห็นคนไทยภูมิภาคนี้อ่านหนังสือเล่มเดียวกัน คนเราพูดกันคนละอย่างเพราะอ่านหนังสือคนละเล่ม”

จุดประสงค์หลักของประชาคมอาเซียน คือการทำให้ประเทศทั้งหมดในอาเซียนเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งพลังของวรรณกรรมก็เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอัตลักษณ์นี้ขึ้นมาได้ แม้แต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกันอยู่มากก็ตาม “เราต้องยอมรับว่าประเทศในอาเซียนมีความแตกต่าง แต่ในความแตกต่างนั้นก็มีความเหมือนกันอยู่ อย่างนิทานพื้นบ้านของแต่ละประเทศก็มีตัวละครเหมือนกันเยอะ หรือแม้แต่ภาษาก็มีรากของภาษาที่มาจากที่เดียวกัน อีกทั้งประเพณีต่างๆ ก็มีความคล้ายคลึงกัน เราต้องกลับมาอ่านงานวรรณกรรมของภูมิภาคเรา เพื่อจะได้เชื่อมโยงและเข้าใจว่าความมีอัตลักษณ์เดียวกันเป็นอย่างไร” คุณหญิงลักษณาจันทรแสดงทัศนะ

            แน่นอนว่าโครงการนี้จะไม่สำเร็จ หากหนังสือวรรณกรรมดีๆ เหล่านี้ไปไม่ถึงผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชน คุณหญิงลักษณาจันทรจึงมีความคาดหวังต่อไปว่า “สถาบันการศึกษาควรจะรับหนังสือเหล่านี้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของหนังสืออ่านนอกเวลาเรียนของเยาวชน อย่าลืมว่าการศึกษาของประเทศเราก็เป็นปัญหาหนึ่งที่กำลังหาทางออก แต่การให้เด็กอ่านหนังสือดีๆ และให้เขียนสิ่งที่ได้จากการอ่าน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเห็นมุมเดียวกัน อาจจะมีมุมมองที่ต่างกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราอยากเห็น”

             และท้ายที่สุดจุดประสงค์ของโครงการนี้ ก็คือการรวมประเทศทั้งหมดในอาเซียนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน รวมไปถึงลดความขัดแย้งที่เคยเกิดขึ้น เช่นเดียวกับจุดประสงค์ของประชาคมอาเซียน “เราอยู่ในความเกลียดชังและไม่เข้าใจกันมานานพอสมควร เราอยู่ในประชาคมอาเซียนแล้ว ถ้ายังมีอคติต่อกันจะอยู่ด้วยกันลำบาก ผมคิดว่าเป็นหน้าที่ของนักเขียนที่ต้องช่วยสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน เราไม่สามารถอยู่ลำพังประเทศเดียวได้ เราต้องอยู่ร่วมกันเป็นประชาคม ซึ่งวิธีการอยู่ร่วมกันที่ดีคือทำความรู้จักและเข้าใจกัน” คุณประภัสสรทิ้งท้าย

            วรรณกรรมอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เรารู้จักและเข้าใจประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนได้มากขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือการสร้างทัศนคติที่ดีต่อกัน ความเป็นประชาคมอาเซียนจึงจะเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์

วิชญ์พล พลพิทักษ์ชัย

แนะนำบทความ http://freesportsonsale.com
อื่นๆดูได้ที่ [url=http://www.freesportsonsale.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0/]ความรู้



GPSราคาถูก | เครื่องฟอกอากาศในรถยนต์ | Ran Online | Ragnarok | โปรโมชั่น | เกมส์ออนไลน์

Promotion
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ