ใช้แก๊สแล้วเครื่องพัง จริงหรือ ?

Advertisement


หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ใช้แก๊สแล้วเครื่องพัง จริงหรือ ?  (อ่าน 5995 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
webmaster
บุคคลทั่วไป


อีเมล์










« เมื่อ: มิถุนายน 06, 2012, 12:30:33 am »



ล้อแม็ก แม็ก แม็กซ์แต่งรถ

↑ ลงทะเบียนรับข่าวสาร

ล้อแม็ก

Advertisement

ใช้แก๊สแล้วเครื่องโทรม เครื่องพังจริงหรือ



เรื่องเก่าๆ ที่ยังลือกันอยู่ ? รถแท็กซี่เป็นบทพิสูจน์

               ความเชื่อหรือการร่ำลือ...รถใช้แก๊สแล้วเครื่องโทรมหรือพังเร็ว เมื่อพังแล้วซ่อมไม่ไหว มักยกทิ้ง-เปลี่ยนเครื่อง (เชียงกง) ดูอย่างแท็กซี่สิ 3 ปีเครื่องก็พัง ไม่เห็นเกิน 5 ปีสักคัน !

               ทั้งหมดนี้...จริงหรือไม่ ? ตอบล่วงหน้าว่าจริง รถแท็กซี่ใช้แก๊สแล้ว 3-5 ปี เครื่องมักพังหรือหมดสภาพ ! แต่ยังไม่จบ !!! อ้าว...แล้วจะสนับสนุนการใช้แก๊ส ทั้งแอลพีจีและเอ็นจีวีในรถเพื่ออะไร และทำไมหลายประเทศทั่วโลกนิยมใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ?

               คำร่ำลือเหล่านี้..จริง ! แท็กซี่ใช้แก๊ส 3 ปี เครื่องพัง น้อยคันที่จะเกิน 5 ปี

               แต่คนร่ำลือและรับทราบ มักไม่คิดคำนวณต่อเนื่องอย่างละเอียดว่า รถแท็กซี่ใช้งานวันละกี่ 100 กิโลเมตร มากกว่ารถบ้านส่วนตัวกี่เท่า ?

               มีคำตอบให้ชัดเจนโดยไม่ต้องค้นหา เพราะผมเคยถูกให้สรุปข้อมูลพื้นฐานในโครงการแท็กซี่เอื้ออาทร ที่มีระบบซ่อมฟรีรวมในเงินผ่อน ดังนั้นระยะทางที่ใช้ต่อวันโดยเฉลี่ย ต้องถูกสรุปอย่างชัดเจน ได้ตัวเลขประมาณ 600 กิโลเมตร/วัน (อยู่ในช่วง 550-650 กิโลเมตร/วัน)

               ถ้าใครไม่เชื่อ ต้องเสียเงินสัก 50 บาท ขึ้นแท็กซี่อายุ 3-4 ปี แล้วถามผู้ขับว่า กะหนึ่ง (หมายถึง 12 ชั่วโมง รถคันหนึ่งถูกใช้งาน 2 กะ/วัน) ขับกันกี่กิโลเมตร ส่วนใหญ่ที่เป็นรถเช่า มักขับประมาณ 300 กิโลเมตร (อยู่ในช่วง 270-330 กิโลเมตร) นั่นคือ 2 กะรวมแล้วประมาณ 600 กิโลเมตร/วัน

               คิดเป็นเลขกลมๆ ว่า  1 ปีรถถูกใช้ 300 วัน จะได้คำนวณง่าย (เผื่อต้องจอดซ่อมบ้าง แต่ความจริงมักจะขาดหายจาก 365 วัน ไม่มากนัก) 300 วันๆ ละ 600 กิโลเมตร เท่ากับ 1 ปีรถถูกใช้งาน 180,000 กิโลเมตร

               ถ้าเครื่องหมดสภาพเมื่อใช้งาน 3 ปี คือ 180,000 กิโลเมตร x 3 = 540,000 กิโลเมตร หรือคิดแบบแย่ๆ แค่ 2.5 ปี แล้วเครื่องหมดสภาพ ก็เท่ากับ 450,000 กิโลเมตร

               ระยะทาง 450,000 กิโลเมตร สำหรับรถบ้าน ต้องใช้กี่ปี ? ส่วนใหญ่ใช้งานปีละ  3-4 หมื่นกิโลเมตร 10 ปีเครื่องหลวม...โอเคไหม ! และเห็นรถที่ใช้น้ำมันฯ ล้วนๆ 3-4 แสนกิโลเมตรก็เครื่องหลวม โดยตัวเลข 450,000 กิโลเมตร ที่เครื่องของรถแท็กซี่หมดสภาพ ก็ไม่ค่อยตรงกับความจริง เพราะหลายคันใช้ได้เกินอีกเป็นแสนกิโลเมตร และเป็นตัวเลขจากการใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพกลางหรือต่ำ ไส้กรองอากาศเทียม และการขับอย่างไม่ค่อยทะนุถนอม

               หากเป็นรถบ้านที่ดูแลดีกว่าทุกด้าน ระยะทางที่ทำได้ก่อนเครื่องหมดสภาพน่าจะเกินหรือสั้นกว่า 450,000 กิโลเมตร ?

               ทั้งหมดเป็นบทพิสูจน์จากการใช้งานจริงว่า รถใช้แก๊สสามารถใช้งานเป็นระยะทางไม่น้อยกว่าการใช้น้ำมัน ใช้แก๊สแล้วเครื่องพัง ไม่จริงอย่างที่หลายคนเข้าใจผิด โดยไม่ได้โยงถึงหลักทางวิศวกรรมว่า เมื่อใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิงแทนน้ำมันเบนซิน อายุการใช้งานของเครื่องจะสั้นลงจริงหรือไม่ และเพราะอะไร ? เนื่องจากพื้นที่จำกัด

               ประเด็นหลักๆ ที่ร่ำลือว่า แก๊สทำร้ายเครื่อง ก็คือ บ่าวาวล์หรือร้อนจนกรอบไปหมดทั้งเครื่อง

               เครื่องเบนซินที่ใช้กันอยู่มีชื่อเรียกจริงๆ ว่าแก๊สโซลีน (GASOLINE) ซึ่งเป็นอีกชื่อเรียกของน้ำมันเบนซิน ทั้งเครื่องคาร์บูเรเตอร์หรือหัวฉีด (ไม่นับระบบฉีดตรงเข้าห้องเผาไหม้ของเครื่องเบนซิน) การจ่ายเชื้อเพลิงเข้าสู่กระบอกสูบต้องจบก่อนวาวล์ไอดีปิด

               ในจังหวะที่ลูกสูบเลื่อนขึ้นในจังหวะอัด เตรียมเจอกับประกายไฟของหัวเทียนในจังหวะระเบิด รูปทรงของหัวลูกสูบและห้องเผาไหม้ของฝาสูบ รวมทั้งการเคลื่อนตัวของลูกสูบขึ้น ทำให้เกิดแรงดันสูง ย่อมเกิดความปั่นป่วนของอากาศและเชื้อเพลิงที่ผสมกันอยู่ คลุกเคล้าเป็น...ไอดี นั่นคือเป็นไอของอากาศที่ผสมเชื้อเพลิง ไม่ใช่เป็นอากาศที่มีเม็ดเชื้อเพลิงเป็นหยดๆ ไม่ว่าใช้เชื้อเพลิงอะไร ในจังหวะอัด ผู้ผลิตเครื่องล้วนพยายามทำให้เป็น...ไอดี มีสถานะเป็นไอ ที่พร้อมจุดไฟติด รังเกียจหยดของเหลว


               แม้จ่ายเข้าไปในสภาพของเหลวอย่างน้ำมันเบนซิน แต่จังหวะอัดที่เตรียมจุดระเบิด ก็คลุกเคล้ากลายเป็น...ไอ ไม่ว่าเชื้อเพลิงใด เดิมเป็นของเหลวจับต้องได้อย่างเบนซิน หรือเป็นไออย่างแก๊ส ในจังหวะอัด ก็ถูกคลุกเคล้าเป็น...ไอดี ที่พร้อมจุดระเบิด ดังนั้นเครื่องยนต์และหัวเทียน ย่อมไม่รู้สึกถึงความแตกต่างของสถานะเชื้อเพลิงในช่วงจ่ายเข้า เพราะอย่างไรก็ต้องคลุกเคล้าจนเป็นไอ วาวล์ไอดีที่เชื้อเพลิงถูกฉีดหรือไหลผ่าน มีความร้อนต่ำเพราะอากาศและเชื้อเพลิงไหลผ่านบ่อย ทุกครั้งที่เป็นจังหวะดูดของเครื่อง

               การที่เชื้อเพลิงเป็นไอหรือละอองของเหลว ไหลผ่านวาวล์และบ่าวาวล์ไอดี จึงไม่มีความแตกต่างด้านการสึกหรอของบ่าวาวล์ไอดีเลย

               ประเด็นที่เข้าใจผิดว่า ใช้แก๊สแล้วแห้ง ส่งผลให้บ่าวาวล์แห้งและสึกหรอเร็วขึ้น จึงไม่ใช่บ่าวาวล์ไอดีที่ภาระน้อย ไม่ต้องการเบาะกันกระแทกระหว่างวาวล์กับบ่า

               บ่าวาวล์ไอเสีย เป็นอีกจุดที่ถูกเพ่งเล็งว่า เมื่อใช้แก๊สแล้วมักสึกเร็ว มีส่วนจริงบ้างเมื่อใช้เอ็นจีวี แต่ไม่ใช่เพราะแก๊ส...แห้ง ! ตามความเชื่อผิดๆ หากเป็นผลจากค่าออกเทนของเอ็นจีวีในระดับ 120 และแอลพีจีในระดับ 105 ต่างจากน้ำมัน ที่มีค่าออกเทน 91-95

               เครื่องใช้จังหวะไฟจุดระเบิดเหมาะสมกับออกเทน 91-95 เมื่อใช้แก๊สที่มีออกเทนสูง 105-120 กับจังหวะไฟจุดระเบิดเดิม หากปรับตั้งไม่ได้หรือไม่ได้ปรับตั้งไฟจุดระเบิดให้ล่วงหน้า (ไฟแก่) ก็จะกลายเป็นการจุดระเบิดล่าช้า (ไฟอ่อน) เพราะพื้นฐานของเชื้อเพลิง คือ ออกเทนยิ่งสูง-ยิ่งลามช้า

               ในกระบอกสูบหลังจุดระเบิดล่าช้า ความร้อนและแรงดันถีบลูกสูบไม่เต็มที่-เผาไหม้ไม่ทันสุด แต่วาวล์ไอเสียเปิดตามจังหวะปกติ ความร้อนที่ควรถีบลูกสูบต่อ ก็พ่นออกผ่านบ่าและวาวล์ไอเสียสู่พอร์ต เป็นสาเหตุของการใช้แก๊สแล้วบ่าวาวล์สึกเร็วในรถบางรุ่น เมื่อใช้เอ็นจีวีแบบไม่ตั้งไฟจุดระเบิด (หรือตั้งไม่ได้ในรถรุ่นใหม่ๆ)

               โดยรวมกับการใช้แก๊สไม่ทำให้อายุเครื่องสั้นลง หากไม่เชื่อลองถามคนขับแท็กซี่ที่ใช้รถเครื่องเดิม ในรถอายุสัก 3-4 ปี นั่นเป็นบทพิสูจน์จากการใช้งานจริง !

ที่มา siamsport.co.th



GPSราคาถูก | เครื่องฟอกอากาศในรถยนต์ | Ran Online | Ragnarok | โปรโมชั่น | เกมส์ออนไลน์

Promotion
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 06, 2012, 12:32:14 am โดย webmaster » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: