Advertisement
สรรพคุณของเถาเอ็นอ่อน - ราก เถา และใบมีรสขมเบื่อเอียน เป็นยาเย็น มีพิษ ออกฤทธิ์ต่อหัวใจและตับ ใช้เป็นยาฟอกเลือด (ราก, เถา, ใบ)
- เถานำมาต้มดื่มจะช่วยทำให้จิตใจชุ่มชื่น (เถา)
- เมล็ดมีรสขมเมา เป็นยาขับลมในลำไส้และในกระเพาะอาหาร ทำให้ผายและเรอ ช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง(เมล็ด)
- ใบและเถาเป็นยาบำรุงเส้นเอ็น แก้อาการปวดเมื่อย โดยใบมีรสเบื่อเอียน ใช้ทำเป็นลูกประคบ ด้วยการนำใบมาโขลกให้ละเอียด แล้วนำมาห่อกับผ้าทำเป็นลูกประคบแก้เมื่อยขบ แก้ปวดเสียวเส้นเอ็น ช่วยคลายเส้นเอ็น ทำให้เส้นเอ็นที่ตึงยืดหย่อน ส่วนเถามีรสขมเบื่อมัน ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง แก้เส้นเอ็นพิการเส้นแข็ง บรรเทาแก้อาการปวดเมื่อยเส้นเอ็น แก้อาการปวดบวม ลดปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดหลัง แก้ขัดยอก (ใบ, เถา)
- สมุนไพร เถาเอ็นอ่อน ช่วยลดกรดไขมัน ลดกรดยูริค ลดเบาหวาน ลดความเครียด ลดอาการภูมิแพ้ ช่วยซับสารพิษต่างๆที่เกิดจากอาหาร และมลภาวะเป็นพิษ ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เลือดในร่างกายข้นมาก หรือเลือดใสจางมาก
- สมุนไพร เถาเอ็นอ่อน ป้องกันมิให้กล้ามเนื้อหดตัว หรือทรุดตัว เมื่อกล้ามเนื้อไม่หดตัว ความเหี่ยวย่นจะไม่เกิดขึ้น สมุนไพร เถาเอ็นอ่อน ช่วยทำให้ความอบอุ่นทั่วร่างกาย เลือดไหลเวียนดี ขึ้น สมรรถภาพทางเพศสมบูรณ์ขึ้น ช่วยให้กระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรง ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย เส้นตึงที่เป็นมานาน
- สมุนไพร เถาเอ็นอ่อน โรคเบาหวาน โรคตับ โรคหัวใจ โรคภูมิแพ้ โรคริดสีดวง หรือโรคผอมแห้งแรงน้อย
- ในต่างประเทศใช้ลำต้นเป็นส่วนผสมในน้ำมันใส่ผมเพื่อช่วยบำรุงรากผม ป้องกันรังแค เมล็ดช่วยขับลมในสำไส้ แก้ปวดท้อง แน่นจุดเสียด
รูปแบบ/ขนาดวิธีใช้ของเถาเอ็นอ่อน - เถาใช้แก้อาการฟกช้ำดำเขียว โดยใช้เถาที่บดเป็นผง 0.35 กรัม ผสมกับเหล้าทาน หรือใช้ยาแห้งประมาณ 5-6 กรัม นำมาดองกับเหล้าอุปโภคครั้งละ 5 ซีซี วันละ 3 ครั้ง (ตำรับนี้ใช้แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้ด้วย)
- ใบ ใช้โขลกให้ละเอียด ห่อผ้าทำลูกประคบ ประคบตามเส้นเอ็นที่ปวดเสียวและตึงเมื่อยขบ ทำให้เส้นยืดหย่อนดี
- ต้มทานเป็นยาแก้เมื่อย ทำให้เส้นเอ็นหย่อน จิตใจชุ่มชื่น เป็นยาบำรุงเส้นเอ็นในร่างกายให้แข็งแรง แก้เส้นเอ็นพิการ
ฤทธิ์ทางเภสัช มีฤทธิ์แก้เคล็ดขัดยอก ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์แก้ปวด ฤทธิ์บำรุงข้อ ฤทธิ์บำรุงตับ ทดลองทำการทดสอบฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ของสารสกัดสมุนไพรก่อนจากวิธี plaque reduction assay พบว่า สารสกัดหยาบขมิ้นชันมีฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด H1N1 2009 ได้มากถึง 80% ที่ความเข้มข้น สูงสุดที่ทดสอบ (ที่ความเจือจาง 10240 เท่าของstock) นอกจากนี้
พบว่าสารสกัดของ Cryptolepis buchanani (เถาเอ็นอ่อน) มีฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ทั้งชนิด A/Puerto Rico/8/34 (H1N1) (PR8) และ A/Hong Kong/8/68 (H3N2) ด้วย ความเข้มข้นที่ยับยั้งได้ 50% (IC50) น้อยกว่า 7 µg/ml เมื่อทำการค้นคว้าขั้นตอนการติดเชื้อที่ถูกยับยั้ง พบว่า สารสกัดเหล่านี้ยับยั้งการติดเชื้อของไวรัสที่ขั้นตอนการเข้าเซลล์
การศึกษาทางพิษวิทยา ไม่มีข้อมูลข้อแนะนำ / ข้อควรระวัง เนื่องจากเถาเอ็นอ่อนเป็นสมุนไพรที่มีสารซึ่งมีฤทธิ์ต่อการกระตุ้นของหัวใจ ดังนั้นในการทานจึงไม่ควรบริโภคมากเกินกว่าคุณภาพที่กำหนดให้ใช้ และไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานจนเกินไป
Tags : สมุนไพรเถาเอ็นอ่อน