Advertisement
ข้อแนะนำที่ควรทราบก่อนจะใช้มะรุมรักษาโรค จากบทความแรกมาจนถึงบทความนี้ในเรื่องราวที่เกี่ยวกับ “มะรุม” สมุนไพรมหัศจรรย์ของไทยเราคาดว่าคงเป็นที่ถูกอกถูกใจของผู้ที่นิยม รับประทานมะรุมทั้งในแง่ของการอุปโภคเป็นอาหารและในแง่ของการใช้เป็นยาเพื่อป้องกันและเยียวยาโรคต่างๆ แต่ก่อนที่เราจะนำมะรุมมาใช้คุณสมบัติในด้านต่างๆนั้นก็ควรที่จะได้ทราบถึงข้อแนะนำหรือข้อที่ควรระวังในการใช้ เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มักจะมีข้อดีและข้อเสียในตัวของมันเองเสมอ ดังนั้นในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจกับข้อแนะนำและผลข้างเคียงที่ควรทราบก่อนจะใช้มะรุม โดยในวิถีชีวิตของคนไทยนั้น จะมีการอุปโภคเนื้อในฝัก ใบและดอกของมะรุมเป็นอาหารมาตั้งแต่อดีตแล้ว ซึ่งก็ไม่มีรายงานของอาการการเกิดพิษหรืออาการข้างเคียงเลย นั้นอาจเป็นเพราะในการบริโภคเพื่อเป็นอาหารนั้น เราจะมักบริโภคกันครั้งละไม่มากและไม่อุปโภคติดต่อกันหลายๆมื้อจึงทำให้สารบางชนิดที่มีผลต่อร่างกายมนุษย์ยังไม่ไปสะสมในร่างกายมากพอที่จะเกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้ ดังนั้นหากเราจะใช้ประโยชน์จากมะรุมเพื่อเป็นยาป้องกันและรักษาโรคแล้วจึงไม่ควรทานในจำนวนที่มากและใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป รวมถึงในรายที่เป็นโรคเกี่ยวกับเลือด เช่น G6PD ไข้เลือดออก ก็ไม่ควรกินมะรุมไม่ว่าจะเป็นการกินเป็นอาหารหรือยาเยียวยาโรคเพราะอาจทำให้เม็ดเลือดแดงเปราะและแตกง่ายอันจะทำให้เลือดไหลไม่หยุด หรือไตวายได้ และยังมีการทดลองความเป็นพิษในหนูทดลองพบว่า สารสกัดมะรุมทำให้สัตว์วิจัยเกิดอาการแท้ง จึงควรระมัดระวังในการใช้มะรุมในผู้หญิงมีครรภ์ด้วยเช่นกัน รวมถึงในตำรายาไทยได้ระบุว่า “
มะรุมจัดอยู่ในยารสร้อน มีฤทธิ์ขับลม(เช่นเดียวกับกระชายและข่า) หากทานมากและไม่มีการขับออก อาจทำให้เกิดภาวะโลหิตร้อนได้” แต่ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ใช่ว่
มะรุม[/url]จะมีความเป็นพิษมากจนไม่สามารถกินได้ เนื่องจากมีรายงานการวิจัยความเป็นพิษของมะรุมในหนูวิจัยที่ระบุว่า ให้หนูลองกินส่วนรากของมะรุม และให้สารสกัดจากส่วนรากของมะรุมโดยการฉีดใต้ผิวหนังในขนาด 10 กรัม/กิโลกรัม (น้ำหนักตัว)ปรากฏว่า ไม่พบความเป็นพิษในหนูทดลอง ดังนั้นจึงสรุปได้ว่ามะรุมนั้นมีคุณสรรพคุณทั้งด้านอาหารและด้านสมุนไพร แต่เราต้องค้นหาถึงข้อกำหนดและข้อแนะนำก่อนการใช้เพราะอีกด้านหนึ่งมะรุมยังคงมีสารบางชนิดที่ก็พร้อมที่จะทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อมนุษย์(หากใช้ไม่ถูกวิธี ใช้นานจนเกินไปหรือใช้ในจำนวนมากเกินกำหนด)ได้เช่นกัน
Tags : มะรุม