Advertisement
ประโยชน์ทางยาของเบี้ย เบี้ยที่แพทย์แผนไทยใช้เป็นเครื่องยา ได้แก่
- เบี้ยผู้ เป็นหอยที่มีเปลือกหนาและแน่นรูปรีหรือรูปคล้ายชมพู ท้องยื่นเป็นผิวมัน ส่วนช่องปากยาวแคบ และไปสุดตอยปลายทั้ง ๒ ข้าง เป็นลำรางสั้นริมปากทั้ง ๒ ด้านเป็นหยักหรือมีฟัน ไม่มีฝาปิด หอยพวกนี้เป็นหอยเคลื่อนไหวช้าพบมากในทะเลเป็นเขตอบอุ่น รับประทานตัวอ่อนของกะรังเป็นอาหาร พบได้ในท้องทะเลของประเทศไทย
เบี้ยที่ผู้ใช้ทางยานี้เป็นเปลือกหอยแตกต่างเล็ก รูปไข่หรือรูปไข่กลับ หัวท้ายมนป่องกลาง ส่วนกว้างที่สุดราว ๑ เซนติเมตร ยาวได้ราว ๒ เซนติเมตร ด้านหลังมีขอบยกสูงกว่าตรงกลาง จัดเป็นเบี้ยหายากราคาค่อนข้างแพง
แพทย์แผนไทยเอาเบี้ยผู้มาเผาให้โชน ผสมกับพิมเสนออย่างดี ใช้โรยแผล กัดฝ้าละออง หรือใช้รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ ในคัมภีร์ปฐมจินดาร์ให้ยา ๒ ขนานที่เข้า “เบี้ยผู้เผา” ขนานหนึ่งคือ “ยากวาดเจียระไนเพ็ชร์” (ดูเรื่อง “ไส้เดือนดิน” หน้า ๑๒-๑๔) ส่วนอีกขนานหนึ่งคือ “ ยาแก้ชักเส้นกระเหม่นตัว “ ดังนี้
ยาแก้ชักเส้นกระเหม่นตัวขนานนี้ ท่านให้เอา
รากมะกล่ำเครือ ๑
รากหญ้านาง ๑
รากกรุงเขมา ๑
ข่าแก่ ๑
รากผู้เผา ๑
รวมยา ๕ สิ่งนี้เอาเสมอภาค ทำเป็นจุณ บดปั้นแท่งไว้ ละลายน้ำกินหาย
พระคัมภีร์มหาโชตรัต ให้ยา ๒ ขนานนี้เข้า “ เบี้ยผู้เผา “ เช่นเดียวกัน ขนานหนึ่งเป็นยาขับโลหิตสำหรับสตรี ดังนี้ ถ้าสตรี คลอดบุตรโลหิตนั้นกลับแห้งไป ท่านให้แต่งยานี้ ให้เอา
แก่นแสมทั้ง ๒
หญ้าพันงูแดง ๑
หญ้าพันงูขาว ๑
ผักโหมหิน ๑
รากสแก ๑
หัวบุก ๑
เบี้ยผู้เผา ๑๒ เบี้ยแช่สุรารับประทานให้มดลูกแห้งแล
Tags : เบี้ย