Advertisement
ฮีตเตอร์แท่ง จำหน่ายฮีตเตอร์แท่ง ฮีตเตอร์แท่งคุณภาพดี : เทคโนโลยี อินสตรูเมนท์ บจก.
ฮีตเตอร์ (Heater) อุปกรณ์ทำความร้อนเป็นอุปกรณ์ทำความร้อนในอุตสาหกรรม ที่มีหลักการพื้นฐานคือ เมื่อมีกระแสไหลผ่านลวดตัวนำที่มีค่าความต้านทานสูง ลวดตัวนำจะร้อน ดังนั้นลวดที่ใช้ผลิตฮีตเตอร์จะต้องมีคุณสมบัติเหนียวและทนอุณหภูมิได้สูง สำหรับลวดฮีตเตอร์ของ TIC เป็นลวด Kanthal (นิกเกิ้ล : โครเมียม/80 : 20) จากประเทศสวีเดน ทนอุณหภูมิได้ถึง 1,250°C ส่วนประกอบอื่นๆ ในการผลิตฮีตเตอร์ มีดังนี้
- ฉนวนแม็กนีเซียมออกไซค์ (MgO) มีค่าความนำไฟฟ้าต่ำแต่นำความร้อนดีมาก ทำหน้าที่กั้นกลางระหว่างลวดฮีตเตอร์กับปลอกโลหะ เพื่อป้องกันไม่ให้มีกระแสรั่ว (Leak Current) จากลวดฮีตเตอร์ออกไปยังผิวโลหะ จุดสำคัญ คือห้ามมีความชื้นในฉนวนเด็ดขาดเพราะจะทำให้ค่าความนำไฟฟ้าสูงขึ้น หากมีความชื้นแก้ไขได้โดยการอบในเตาอบ
- Insulation Tester เป็นเครื่องทดสอบความเป็นฉนวนของฮีตเตอร์เพื่อให้แน่ใจว่าในการใช้งานจริงจะไม่มีกระแสรั่วจากลวดฮีตเตอร์สู่ผิวโลหะ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ได้ มาตรฐานของ TIC ได้กำหนดการทดสอบแรงดันที่ 1500 VAC และค่าความเป็นฉนวนต้องมากกว่า 500 MΩ
- ฮีตเตอร์ถูกแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ ตามลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนี้
- ฮีตเตอร์แท่ง หรือ Cartridge Heater ใช้ให้ความร้อนกับวัสดุที่เป็นของแข็ง เช่น เหล็ก และโลหะต่างๆ ตัวอย่างการใช้งาน เช่น งานบรรจุหีบห่อ งานขึ้นรูปพลาสติก
- ท่อกลม/ครีบ หรือ Finned Heater และฮีตเตอร์ท่อกลม ใช้ให้ความร้อนกับอากาศ เช่น ใช้ในห้องอบแห้ง ในเตาอบ
- ฮีตเตอร์จุ่ม หรือ Immersion Heater หรือบางทีเรียกว่าฮีตเตอร์ต้มน้ำ ใช้ให้ความร้อนกับของเหลวทุกชนิด ตัวอย่างการใช้งาน เช่น งานต้มน้ำ - ต้มน้ำมัน งานผสมสาร
- ฮิตเตอร์บอบบิ้น หรือ Bobbin Heater ใช้ให้ความร้อนของเหลวเหมือนฮีตเตอร์จุ่ม
- ฮีตเตอร์ อินฟราเรด หรือ Infrared Heater ใช้ให้ความร้อนกับวัตถุโดยไม่ต้องสัมผัสโดยตรง ไม่เหมาะกับวัตถุที่มีลักษณะมันวาว เนื่องจากวัตถุมันวาวจะมีคุณสมบัติสะท้อนแสง ทำให้ไม่สามารถดูดซับรังสีอินฟราเรดได้อย่างเต็มที่ ใช้ติดตั้งในเตาอบหรือเหนือคอนเวย์เยอร์ได้