Advertisement
ก้าวเข้าสู่ปีใหม่แล้ว ห้วงเวลานี้นอกจากจะเป็นห้วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลอง ห้วงเวลาแห่งการรื่นเริง ยังเป็นห้วงเวลาของการมอบของขวัญให้แก่กัน แต่จะเลือกอะไรดีล่ะ โดยเฉพาะกับปีนี้ที่ใครๆ ก็ย้ำนักย้ำหนาว่า เผาจริง เดินเลือกหาอยู่นานก็มาพบกับ “ตัวเลือก” หนึ่งที่กำลังอยู่ในกระแสความนิยม นั่นคือ “หิน” ถ้าเป็นเมื่อก่อนอาจจะบอกว่า ให้หินแทนความหนักแน่น แต่มาถึงยุคนี้ หิน มีความหมายมากกว่านั้น “หิน” เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นมงคล เป็นเสมือนขุมพลังของผู้สวมใส่ ที่วันใดเมื่อเจ้าตัวมีพลังเหลือเฟือจะส่งไปกักเก็บอยู่ภายในหิน ต่อเมื่อถึงคราวที่อ่อนเปรี้ย เพลียแรง หรือเครียดๆ พลังจากหินจะส่งกลับมาให้กับผู้สวมใส่ นอกจากนี้ยังเชื่อว่า พลังจากหินสามารถช่วยบำบัดรักษาโรคได้อีก บางคนอาจจะมองว่าเพราะคนยุคนี้ขาดที่พึ่งทางใจ จึงเพียรหาอะไรที่สามารถเป็นที่พักพิงให้กับจิตใจที่กำลังอ่อนแอ สับสนวุ่นวาย หรืออย่างน้อยก็ช่วยสร้างความอุ่นใจให้กับตน ถ้าว่ากันตามหลักการ เรื่องนี้ก็มีเหตุผลรองรับอยู่ อย่างในศาสตร์ของจีนโบราณ มีการใช้หินเพื่อการบำบัดโรคมานานแล้ว หรือในอียิปต์โบราณ กรีก และประเทศในเอเชียตะวันออกหลายแห่ง มีหลักฐานแสดงถึงการนำหิน มาใช้ในการรักษา หลักฐานเก่าแก่ที่กล่าวอ้างถึงการรักษาสุขภาพ ปรากฏอยู่บนกระดาษปาปิรุสของอียิปต์ อายุราว 1,500 ปีก่อนคริสตกาล เขียนถึงการรักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ หนึ่งในนั้นมีวิธีการใช้หินและรัตนชาติเพื่อการบำบัดอยู่ด้วย ดูดวงด้วยหินสีได้รวมทั้งการใช้หินเป็นส่วนประกอบสำคัญของเครื่องสำอาง
เช่น พระนางคลีโอพัตราที่นิยมนำหินสีเขียวมาบดละเอียดทำเครื่องสำอางทาเปลือกตา หิน จึงเป็นคำตอบ แต่การจะเลือกซื้อหินชนิดไหน อย่างไร ก็มีหลักการอยู่เช่นกัน ขึ้นกับชนิดและสีของหินด้วย อาทิ “สีเขียว” เชื่อว่านอกจากจะทำให้จิตใจสงบ นอนหลับสบาย ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล “สีน้ำเงิน” ให้ความสดชื่น ร่าเริง “สีขาว” ลดความวิตกกังวล ช่วยให้การทำงานของไตมีความสมดุล “สีแดง” กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต “สีเหลือง” เสริมภูมิคุ้มกัน “สีดำ” ลดอาการเจ็บปวด ฯลฯ ดร.พิมพ์อุไร ลิมปพัทธ์ แห่ง “เดอะ บีด คลับ” (The Bead Club) ผู้ที่หลงใหลเสน่ห์ของหินและลูกปัด เล่าให้ฟังว่า หินนั้นถือเป็นสิ่งมีค่ามาแต่สมัยโบราณ และใช้เป็นเครื่องบรรณาการมาแต่อดีต “เวลาที่ฝรั่งพูดถึง “หิน” จะหมายรวมไปถึงเพชรด้วย แต่คนไทยจะแบ่งลักษณะความมีค่าเป็นหินรัตนชาติ และความนิยม ความนิยมของหินจะขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละประเทศ เช่น ประเทศเปรูจะนิยมหินสีดำที่ได้จากพื้นดินที่ดำสนิทเท่านั้น ถือว่าหมายถึงความมั่นคงของประเทศของเขา ลักษณะของหินที่ว่าจะคล้ายกับหินภูเขาไฟ ยิ่งมีรูพรุน มีการกัดเซาะของน้ำ-ลม ยิ่งสื่อถึงความแข็งแกร่งของวัฒนธรรมของเขา ส่วนใหญ่จะใช้ในการรักษาโรค รวมทั้งเป็นเครื่องประดับ หรืออย่างในมลรัฐอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ดูดวงด้วยหินสีได้ จะมองว่าเทอร์คอยซ์เป็นผืนฟ้าของเขา จึงนับถือเป็นที่สุด”
ดร.พิมพ์อุไร บอกอีกว่า แต่โบราณกาลหินเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงสถานภาพของผู้สวมใส่ว่าอยู่ในระดับใดอย่าง ที่ประเทศทิเบตจะมีหินอยู่ 3 อย่างที่ใครมีไว้ในครอบครอง หมายถึงการเป็นผู้ที่มีสถานภาพทางสังคมที่สูง อย่างน้อยอยู่ในระดับเสนาบดี หินทั้ง 3 ชนิดนั้นก็คือ เทอคอยซ์ อำพัน และปะการัง ในวันที่สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก เสด็จมาเยือนประเทศไทย จะเห็นว่าแม้แต่เจ้าหญิงของภูฏานก็จะสวมหินทั้งสามชนิดนี้ 1.ไทเกอร์ อายส์ 2.โกเมน 3.อำพัน 4.แจ๊สเปอร์ 5.โรส ควอทซ์ 6.อาเกต 7.โรโดโครไซด์ ในประเทศไทยเอง เมื่อก่อนก็นิยมเครื่องประดับอัญมณีที่เรียกว่า “นพเก้า” ประกอบด้วย เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิล มุกดา เพทาย และไพฑูรย์ มาทำเป็นหัวแหวน จี้สร้อยคอ และต่างหู สวมใส่กันเป็นชุดใหญ่ สำหรับการใช้หินเพื่อการบำบัดเพิ่งจะแพร่หลายกันมาไม่นาน แต่ความเชื่อในด้านโชคลาง สวมใส่เป็นเครื่องประดับแล้วจะส