รู้จัก พญายอ สมุนไพรฆ่าเชื้อไวรัส

Advertisement


หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รู้จัก พญายอ สมุนไพรฆ่าเชื้อไวรัส  (อ่าน 21 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มม
หัดขับ
*

การ์ม่า: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 41


ดูรายละเอียด อีเมล์










« เมื่อ: สิงหาคม 21, 2018, 05:01:21 pm »



ล้อแม็ก แม็ก แม็กซ์แต่งรถ

↑ ลงทะเบียนรับข่าวสาร

ล้อแม็ก

Advertisement

[/b]
พญาย[/size][/b]
พญายอเป็นไม้พุ่งแกมเลื้อย เถาและใบมีสีเขียวใบไม้ไม่มีหนาม ใบยาวเรียวปลายแหลม ออกตรงข้ามเป็นคู่ ดอกออกเป็นช่อ อยู่ที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 3-6 ดอก กลีบดอกเป็นดอกปลายแยกสีแดงอมส้ม
[url=http://www.disthai.com/16913677/%E0%B8%9E%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD-%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2]พญายอ
ขึ้นได้งามในดินที่สมบูรณ์ แสงแดดปานกลาง พบได้ทั่วไปตามป่าในประเทศไทย หรือปลูกกันตามบ้าน ปลูกโดยใช้ลำต้นปักชำ เป็นต้นไม้ที่ปลูกง่าย ตัดกิ่งออกมาซัก 2-3 คืบ ปักขำให้รากออกมาดีแล้วก็ย้ายไปปลูกในแปลง ดูแลรักษาเหมือน พืชไม้ทั่วไป
ใบ เป็นยา ให้เก็บขนาดกลางที่สมบูรณ์ ไม่แก่หรือไม่อ่อนจนเกินไป ใบขอพญายอ[/url]สามารถลดอาการักเสบของหูได้ดี โดยเฉพาะส่วนที่สกัดด้วยสารละลาย “บิวทานอล” วงศ์สถิต ฉั่วกุล และคณะได้ศึกษาพบว่าสารสำคัญตัวหนึ่งเป็น “เฟลโวนนอยต์” ส่วนด้านที่มีการต้านพิษงูยังไม่ชัดเจน แต่ปลอดภัยพอที่จะใช้
ใบพญายอรักษาอาการอักเสบเฉพาะที่ (ปวด, บวม, แดง ร้อนแต่ไม่มีไข้) จากแมลงที่มีพิษกัดต่อย เช่น ตะขาบ แมงป่อง ผึ้ง ต่อ แตน รักษาโดยการเอาใบสดจากพญายอนี้มาสัก 10-15 ใบ (มากน้อยตามบริเวณที่เป็น) ล้างให้สะอาด ใส่ลงในครกตำยา ตำให้ละเอียด เติมแอลกอฮอล์พอชุ่มยา ตั้งทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ หมั่นคนยาทุกวัน กรองน้ำยา ใช้น้ำ และกากทาบบริเวณที่เจ็บปวดบวม หรือที่ถูกแมลงสัตว์กัดต่อย
ข้อมูลจากงานวิจัยระบุว่า สารสกัดจากใบพญายอ สามารถฆ่าเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคอีสุกอีใส งูสวัด (varicella zoster virus) ทั้งภายในและภายนอกเซลล์ คือ ยับยั้งไวรัสโดยตรง และยับยั้งการเพิ่มจำนสวนของไวรัส
ผู้ป่วยโรคเริมบริเวณอวัยยะสืบพันธุ์ที่ติดเชื้อครั้งแรกและติดเชื้อซ้ำ เมื่อรักษาโดยทาแผลของผู้ป่วยด้วยครีมพญายอ (5%) เปรียบเทียบกับยามาตรฐาน acyclovir พบว่า แผลของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาจากสารสกัดใบพญายอและ acyclovir จะตกสะเก็ดภายในวันที่ 3 และหายภายในวันที่ 7 แสดงว่าครีมพญายอและครีม acyclovir มีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยโรคเริมบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ให้หายได้เร็วพอกัน แต่ครีมพญายอ ไม่ทำให้เกิดอาการแสบระคายเคือง ในขณะที่ครีมทำให้แสบและราคาแพง
ผู้ป่วยโรคงูสวัด เมื่อรักษาโดยทาแผลด้วยครีมพญายอ (5%) วันละ 5 ครั้งทุกวัน ปรากฎว่าแผลจะตกสะเก็ดภายใน 1-3 วัน และหายภายใน 7-10 วัน พบว่าผู้ป่วยจะหายเร็วกว่าการใช้ยาชนิดอื่น และไม่พบอาการข้างเคียงใดๆ จากการใช้สารสกัดใบพญายอ
เห็นได้ชัดว่า สมุนไพรไทย พญายอ มีสรรพคุณมากมาย อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้สมุนไพร คุณผู้อื่นต้องศึกษาให้ละเอียด
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
รากของพญาปล้องทอง ประกอบด้วยสาร Lupeol, B-Sitosterol, Stigmasterol และมีการทดลองพบว่าสารสกัดด้วยสารละลายบิวทานอล (butanol) จากใบของพญาปล้องทอง มีสารประกอบฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) สามารถระงับอาการอักเสบได้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงได้มีการผลิต ครีมพญายอ ขึ้นเพื่อนำมารักษาผู้ป่วยโรคงูสวัดได้ ทำให้แผลตกสะเก็ดหายเร็ว ลดอาการปวดได้ดี และไม่พบผลข้างเคียงใดๆ จากการใช้ครีมพญายอ จึงไม่ทำให้เกิดอาการแสบระคายเคือง มีการนำมาออกจำหน่ายในระดับอุตสาหกรรม
[/b]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 1-3 เมตร มีลำต้นและกิ่งก้านสีเขียวเข้ม ใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน รูปรีแคบขอบขนานกว้าง 1-3 ซม. ยาว 4-12 ซม. ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีแดงส้ม มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียยาวโผล่พ้นหลอดออกมา ปลายแยกเป็น 2 ปาก ผลเป็นผลแห้ง ไม่ค่อยออกดอก ส่วนมากขึ้นตามป่า หรือปลูกกันตามบ้าน ดังนั้นการขยายพันธุ์จึงทำได้โดยการปักชำหรือ การแยกเหง้าแขนงไปปลูก
วิธีการปลูก
การปลูกพญายอ ส่วนใหญ่ใช้กิ่งปักชำโดยเลือกกิ่งที่สมบูรณ์ปราศจากโรค ไม่แก่ หรือไม่อ่อนเกินไป ตัดกิ่งพันธุ์ให้มีความยาว 6-8 นิ้ว และมีตาบนกิ่งประมาณ 1-3 ตา ให้มีใบเหลืออยู่ที่ปลายยอด ประมาณ 1/3 ของกิ่ง ทาปูนแดงบริเวณรอยตัดของต้นตอ และกิ่งพันธุ์เพื่อป้องกันเชื้อรา ปักชำลงในถุงที่มีวัสดุปักชำเป็นดินร่วนปนทราย จะช่วยให้อัตราการออกรากของกิ่งชำสูง คุณภาพของรากดี และสะดวกในการขุดย้ายต้นไปปลูก โดยปักชำกิ่งลงในวัสดุปลูกลึกประมาณ 3 นิ้ว เอียง 45 องศา รดน้ำให้ชุ่มและรักษาความชื้นให้เพียงพอ โดยกิ่งชำไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง และควรดูแลความชื้นในอากาศ กิ่งปักชำจะออกรากภายใน 3-4 สัปดาห์ เมื่อกิ่งชำที่มีอายุ 3-4 สัปดาห์ ที่ชำไว้ในแปลงชำหรือในถุงชำ โดยใช้ช้อนขุดหรือเสียมแซะกิ่งชำลงปลูกในหลุมปลูกที่เตรียมไว้ 1 ต้นต่อหลุม กลบดิน และกดดินที่โคนให้แน่น รดน้ำหลังจากปลูกทันที
การเก็บ เก็บใบขนาดกลาง ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป การเก็บเกี่ยวให้ใช้วิธีการตัดต้นเหนือระดับผิวดินประมาณ 10 ซม. หลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว ต้นตอเดิมยังงอกแตกแขนงเติบโตได้อีก และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตต่อไปได้
การดูแลรักษา ควรให้น้ำในระยะ 1-2 เดือนแรก ควรรดน้ำทุกวัน ถ้าแดดจัดควรรดน้ำเช้า-เย็น เมื่ออายุ 2 เดือนขึ้นไปแล้วอาจให้น้ำวันเว้นวัน ในฤดูฝนถ้ามีฝนตกอาจจะไม่ต้องให้น้ำ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมสมบูรณ์ ชอบดินร่วนปนทรายระบายน้ำดี ไม่ชอบดินลูกรังหรือดินเหนียว ชอบอากาศร้อนชื้น ขึ้นได้ดีทั้งที่มีแดดและที่ร่ม
ลักษณะใบพญาปล้องทอง
ส่วนที่นำมาใช้ ใช้ได้ทั้งใบ และราก
ใบ

  • นำมารักษาอาการอักเสบ ถอนพิษ รักษาแผลร้อนในในปาก เริม งูสวัด ให้ใช้ใบสด 10-20 ใบ นำมาตำผสมกับเหล้าหรือ น้ำมะนาว คั้นเอาน้ำดื่มหรือเอาน้ำทาแผลและเอากากพอกแผล
  • นำมาทาบริเวณที่แมลงสัตว์กัดต่อยเป็นผื่นคัน ให้ใช้ใบสด 5-10 ใบ ตำขยี้ทาบริเวณที่เป็นแผลที่แพ้ จะยุบหายได้ผลดี
  • นำมาแก้แผลน้ำร้อนลวก ให้ใช้ใบตำเคี่ยวกับน้ำมะพร้าวหรือน้ำมันงา เอากากพอกแผลที่ถูกน้ำร้อนลวกหรือไฟไหม้ แผลจะแห้ง หรือ นำใบมาตำให้ละเอียดผสมกับสุรา มีสรรพคุณดับพิษร้อนได้ดี

รากพญาย[/b]
ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ ขับระดู แก้ปวดเมื่อยบั้นเอว
[url=http://www.disthai.com/]http://www.disthai.com/
[/b]



GPSราคาถูก | เครื่องฟอกอากาศในรถยนต์ | Ran Online | Ragnarok | โปรโมชั่น | เกมส์ออนไลน์

Promotion
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ